27 เม.ย. 63 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา

คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก

ในหัวข้อ "โควิด 19 ยารักษาไวรัสโรคโควิด-19" ว่า "โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ ไวรัสนี้จึงยังไม่มียารักษาจำเพาะ

ยาที่ใช้รักษา จึงยืมยาจากโรคอื่นมาใช้ เช่น chloroquine/hydroxychloroquine หวังไปทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง

ป้องกันการถอดร่างไวรัสในเซลล์ ผลการรักษายังไม่เป็นที่แน่ชัด หรือยืนยันว่าได้ผล จากการศึกษาที่ชัดเจน

 

ยาต้าน HIV สูตรผสมโลพินาเวียร์และริโทรนาเวียร์ ถูกนำมาใช้รักษาโรค โควิด-19 เพราะลักษณะเอนไซ protease

ของไวรัสโควิด-19 กับ HIV มีส่วนคล้ายกัน จึงมีการนำมาใช้ การศึกษาเปรียบเทียบให้กับไม่ให้ ในรายโควิดที่รุนแรง

ผลไม่แตกต่างกัน หรือ กล่าวว่า โควิด-19 เป็นรุนแรงแล้ว ยา 2 ตัวนี้ไม่ช่วย แต่ในรายที่ไม่รุนแรง คงต้องรอผลการศึกษา

ยานี้มีอาการข้างเคียงค่อนข้างมาก

 

flavipiravir ในบ้านเราได้นำเข้ามา ยานี้ ญี่ปุ่น คิดขึ้นมาเพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่ และต่อมาพบว่ามีฤทธิ์กว้าง ขัดขวางการสร้าง RNA ไวรัสชนิดอื่น ๆ ด้วย เคยมีการนำมาใช้ใน Ebola แต่ผลก็ไม่ได้เป็นดังเป้าหมาย และขณะนี้ก็ได้นำมานี้มาใช้ในการรักษา โควิด-19 กันมาก และรอผลการศึกษาที่เป็นเชิงวิทยาศาสตร์ ถึงประสิทธิผล ในการศึกษาวิจัยที่จะมีการเผยแพร่ ประเทศไทย ได้มีการนำมาใช้ในรายที่มีอาการรุนแรง ที่มีปอดบวม

 

Remdesivir เป็นยาที่คิดค้นใหม่ ยังไม่ผ่านการรับรองของ อย. ในชาติใด จึงเป็นยาที่อยู่ระหว่างการวิจัยในระยะ 3 และเคยพยายามศึกษากับไวรัส MERS ยานี้ได้ถูกนำมาใช้ศึกษาในโรค โควิด-19 ในผู้ป่วยรายแรกของอเมริกา และมีการศึกษาเป็นจำนวนมาก ในขณะนี้มากกว่า 100 โครงการคงจะทราบผลเร็ว ๆ นี้ แต่มีข่าวออกมาจากอเมริกา ว่าได้ผลดี ทำให้หุ้นในอเมริกาขึ้นมาได้ และหลังจากการนั้นทางบริษัทก็ออกมาปฏิเสธว่าข่าว คงต้องรอผลสรุปอย่างเป็นทางการ ถึงผลการรักษา และรอขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาก่อน ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย

 

พลาสมาของคนที่หายป่วย ได้มีการศึกษาในจีน เกาหลี มีมากกว่า 5 รายงานการศึกษา ในคนไข้ขณะนี้ที่รายงานเกือบ 30 คน ในรายงานจะบอกได้ผลดี เชื่อว่ามีการให้มากกว่ารายงานและรายงานส่วนมาก จะรายงานโดยสรุป ขณะนี้มีการศึกษากันทั่วโลก เกือบทุกประเทศ ประเทศไทยขณะนี้ก็มีโครงการนี้อยู่ โดยขอบริจาคพลาสม่าจากผู้ที่หายป่วยแล้ว

การรักษาโรคโควิด 19 ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อสรุป และแนวทางการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่จำเพาะ และได้ผลอย่างชัดเจน".

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/64359

 

    
 

            มาพร้อมกับการแพร่ระบาดของไวรัส คงปฏิเสธไม่ได้กับข้อมูลแชร์ต่อๆกันบนโลกออนไลน์แบบ

ไม่มีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ อาจไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป และสร้างความเข้าใจผิดได้ ดังนั้นเราจึงได้รวบรวม

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ COVID-19 โดยมี ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาช่วยตอบคำถามไขข้อเท็จ

ให้ทุกคนได้เข้าใจอย่างถูกต้อง ดังนี้

 

              1. ฉีดแอลกอฮอล์ใส่หน้ากากอนามัยแล้วนำมาใช้ต่อได้

              ไม่จริง : การฉีดแอลกอฮอล์ใส่หน้ากากอนามัยเป็นส่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะด้านหน้า

ของหน้ากากอนามัยมีการเคลือบสารกันซึมไว้ ดังนั้นการฉีดแอลกอฮอล์ใส่หน้ากากอนามัย จะทำให้

คุณสมบัติของสารกันซึมนั้นเสื่อมประสิทธิภาพ เกิดการรั่วซึมและไม่สามารถป้องกันฝุ่นหรือเชื้อโรคได้

 

              2. การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็น COVID-19

              ไม่จริง : วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้เฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่เท่านั้น ไม่สามารถป้องกัน

COVID-19 ได้ และในขณะนี้วัคซีนของ COVID-19 ยังอยู่ในขบวนการศึกษาวิจัย ต้องใช้เวลาหลายเดือน

กว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงกับคน

 

 

              3. ไม่มีไข้ก็สามารถเป็น COVID-19 ได้

              จริง : ในระยะเริ่มต้นของโรคผู้ป่วยร้อยละ 50 อาจไม่มีไข้ได้ แต่หากเข้าสู่ระยะที่เป็นมากขึ้นหรือ

ต้องนอนโรงพยาบาลผู้ป่วยกว่าร้อยละ 90 จะมีไข้ชัดเจน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับระยะของโรค ถ้าหากเป็นวันแรก ๆ

การตรวจวัดไข้อาจไม่พบได้

 

              4. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือสามารถป้องกัน COVID-19 ได้

              ไม่จริง : การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเหมาะสำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้ คนที่มีอาการคัดจมูกหรือเป็น

ไซนัสอักเสบ แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่บอกว่าการล้างจมูกจะช่วยป้องกัน COVID-19 ได้

 

              5. การกินวิตามิน หรือสมุนไพร จะช่วยป้องกัน COVID-19

              ไม่จริง : อย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่าในขณะนี้ไม่มีวิตามินหรือสมุนไพรที่ช่วยป้องกัน COVID-19

เพราะกำลังอยู่ในกระบวนการศึกษาวิจัย ดังนั้นการกินวิตามิน หรือสมุนไพร ไม่สามารถช่วยป้องกัน COVID-19 ได้

 

              6. หากกลั้นหายใจได้เกิน 10 วินาที แสดงว่าไม่เป็น COVID-19

              ไม่จริง : การกลั้นหายใจไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็น COVID-19 หรือไม่ รวมถึงแอปพลิเคชัน

หรือวิธีเช็กลิสต์ต่าง ๆ ที่ออกมาตามโซเชียลมีเดีย ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ ต้องดูที่อาการและความเสี่ยงที่เข้าเกณฑ์เป็นหลัก

 

              7. คนทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากาก N95

              จริง : หน้ากาก N95 ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้คนทั่วไปใส่ในชีวิตประจำวันหรือใส่เป็นเวลานาน ๆ

เพราะเป็นหน้ากากที่มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อโรคได้สูง เมื่อใส่นาน ๆ จะเกิดความอึดอัด ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับ

บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องเข้าไปใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็น COVID-19 ส่วนคนทั่วไปโดยเฉพาะคนที่ไม่ป่วย

สามารถใช้หน้ากากผ้าได้ เพราะประหยัดและนำกลับมาใช้ซ้ำได้

 

              8. หากเคยเป็น COVID-19 แล้วร่างกายจะมีภูมิต้านทาน

              จริง : COVID-19 คือการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งตามหลักการทั่วไปของการติดเชื้อไวรัสนั้น

หากหายดีแล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานต่อโรคนั้น ๆ ป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำ แต่ในอนาคต

ต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเพราะหากมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ก็อาจมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้

 

              9. ล้างมือด้วยสบู่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ดีกว่าเจลแอลกอฮอล์

              ไม่จริง : การล้างมือด้วยสบู่และเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไปนั้นมีประสิทธิภาพการ

ฆ่าเชื้อได้เท่าเทียมกัน แต่การล้างมือด้วยสบู่มีข้อดีกว่าเล็กน้อยเพราะจะสามารถล้างได้สะอาดและหมดจดกว่า

เจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะถ้ามื้อเปื้อน ส่วนเจลแอลกอฮอล์จะเหมาะสำหรับการพกพาใช้ระหว่างวันเพราะสะดวกกว่า

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/64439

       เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้หญิงที่ดื่มเครื่องดื่ม อัลกอฮอล์ มักจะเมาเร็วและเมานานกว่าผู้ชาย จากข้อมูลทางสรีระวิทยา พบว่ามีสาเหตุมาจาก 2 อย่างคือ

          1.ร่างกายผู้หญิงมีไขมันมากกว่าผู้ชาย ไขมันทำหน้าที่ดูดซับอัลกอฮอล์ทำให้ผู้หญิงเมานานกว่าผู้ชายเนื่องจากไขมันจะสะสมอัลกอฮอล์ ไว้ก่อนปล่อยสู่กระแสเลือดทำให้กระบวนการการกำจัด อัลกอฮอล์ ออกจากร่างกายช้าลง

          2.ผู้หญิงสร้างเอ็นไซม์ dehydrogenase ซึ่งทำหน้าที่สลาย อัลกอฮอล์ น้อยกว่าผู้ชายทำให้ผู้หญิงเมาเร็วและเมาได้มากกว่าผู้ชาย

1.Omega-3 เป็นสารที่พบมากในอาหารเสริมจำพวกน้ำมันพืชและถั่วบางชนิด รวมทั้งจากอาหารทะเลจำพวกปลาน้ำลึก และสาหร่ายทะเลแต่ข้อมูลจากการศึกษาพบว่า มีหลักฐานน้อยมากว่า Omega-3 ช่วยป้องกันโรคหัวใจ

2.อาหารเสริมบางชนิดอาจเป็นโทษ เช่นการแนะนำให้กิน วิตามินD ร่วมกับ แคลเซียมอาจทำให้เกิดการเพิ่มโอกาสการแข็งตัวของเลือด (blood clotting) ในเส้นเลือดเป็นสาเหตุของความเสี่ยง ที่จะเกิดอาการ Stroke หรือการอุดตันของเส้นเลือดในสมอง นำไปสู่อาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้

3.อาหารเสริมบางชนิดเช่น วิตามิน A,B,C,D,E และbeta carotene รวมทั้งพวกวิตามินรวมทั้งหลาย มีผลน้อยมากกับสุขภาพโดยรวมของคนปกติที่ไม่มีอาการขาดวิตามินแต่อย่างใด

4.มีการแนะนำว่าอาหารที่ประกอบด้วยธัญพืช ผัก ผลไม้ ถั่วและน้ำมันมะกอก ช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจแต่โดยรวมก็ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าช่วยป้องกันโรคหัวใจได้อย่างชัดเจน

 

 

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไข่แดง        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนื้อแดง

         

 

 

 

 

 

          เป็นที่รู้กันว่าไข่แดง (Egg yolks) มีสาร Choline ปริมาณสูง เมื่อเรากินไข่แดงสาร Choline จะถูกจุลินทรีย์ในลำใส้เปลี่ยนให้เป็นสาร Trimethylamine oxide (TMAO) ซึ่งเป็นสารที่เป็นสาเหตุทำให้ผนังของเส้นเลือดแดงหนาขึ้น (arterial plaque formation) ส่งผลให้เส้นเลือดแดงแคบลงหรืออุดตัน เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะที่หัวใจและสมองน้อยลง ไข่แดงจึงถูกถือว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ

          ส่วนเนื้อแดง (red meet) เช่นเนื้อวัว แพะ แกะ หมู นอกจากจะมีไขมันอิ่มตัว (saturated fat) และคอเลสเตอรอล(cholesterol) สูง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดและหัวใจ แล้วยังมีสาร L- carnitine ซึ่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสาร TMAO โดยจุลินทรีย์ในลำใส้ด้วยเช่นกัน

          ดังนั้นสรุปได้ว่าทั้งไข่แดงและเนื้อแดงมีสารที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ปัจจัยที่ประกอบกันคือ จำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ซึ่งมีผลจากการวิจัยสนับสนุนว่า อาสาสมัครที่ได้รับยาปฏิชีวนะจะทำให้จำนวนจุลินทรีย์ในลำใส้มีปริมาณน้อยลงส่งผลให้ความเข้มข้นของ TMAO ลดลงอย่างมาก และเมื่อหยุดยาปฏิชีวนะปริมาณความเข้มข้นของ TMAO จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกัน ผลการวิจัยยังสรุปว่าผู้ที่กินอาหารมังสะวิรัต จะมีปริมาณจุลินทรีย์ในลำใส่น้อยกว่าผู้ที่กินอาหารทั้งเนื้อและพืช ดังนั้นผู้ที่กินอาหารมังสะวิรัตจึงน่าจะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าผู้ที่กินอาหารที่ประกอบไปด้วยเนื้อแดงสูง

 

 

        trimethylamine n-oxide เป็นผลพลอยได้โดยจุลินทรีย์ในลำไส้ มีข้อมูลจากการวิจัยพบว่า ปริมาณ TMAO ที่เพิ่มขึ้นในเลือดเชื่อมโยงกับการเกิดแผ่นที่เกาะบนผนังของหลอดเลือดแดง (arterial plaque) และเมื่อมีการสะสมมากขึ้น ทำให้เส้นเลือดแดงอุดตันและนำไปสู่โรคหัวใจ

          ผลการวิจัยในอาสาสมัคร 3 กลุ่มที่ให้กินอาหารจำพวกเนื้อแดง เนื้อขาว(สัตว์ปีก) และธัญพืช พบว่ากลุ่มอาสาสมัคที่กินเนื้อแดงมีสาร TMAO สูงกว่ากลุ่ม อาสาสมัครที่กินเนื้อขาวและธัญพืช ทั้งในเลือดและปัสสาวะถึงกว่า 10 เท่า นอกจากนั้นยังพบว่าหลังจากอาสาสมัครกลุ่มที่กินเนื้อแดงหยุดกินเนื้อแดงนาน 30 วัน ปริมาณของ TMAO ทั้งในเลือดและในปัสสาวะจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

          ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า

1.การกินจุลินทรีย์ probiotics เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจอาจไม่ได้ผลดีอย่างที่เคยคิดไว้ เนื่องจากปริมาณจุลินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นในลำไส้จะส่งผลให้มีการสร้าง TMAO เพิ่มขึ้นด้วย

2.การกินอาหารที่เป็นเนื้อแดงเป็นครั้งคราวอาจมีมีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจแต่อย่างใดเนื่องจากเมื่อหยุดกินเนื้อแดงการสร้าง TMAO ก็จะลดลงด้วย

 

 

Image result for ใยหิน

 

          แร่ใยหินจัดเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogens) กลุ่มที่ 1 (class 1) แร่ใยหินเป็นเส้นใยแร่ซิลิเกต ที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต วัตดุก่อสร้างต่างๆ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องทนไฟ ท่อซีเมน ฉนวนกันความร้อน กระเบื้องยางปูพื้น กระดาษลูกฟูก รวมทั้งอะไหล่รถยนต์บางชนิด ผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากแร่ใยหินมากที่สุดได้แก่ผู้ทำงานด้านก่อสร้างจากการตัดแต่งแผ่นกระเบื้อง ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นแร่ใยหินเข้าสู้ระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด

 

 

vImage result for งูสวัด

 

          โรคงูสวัด (varicella) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส varicella-zoster ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับการเกิดโรค อีสุกอีใสในเด็ก หลังจากอาการของโรค อีสุขอีใสหายแล้ว ไวรัสจะเข้าไปซ่อนตามปมประสาทต่างๆ เมื่อใดก็ตามเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ไวรัสจะเพิ่มจำนวนและออกมาจากที่ซ่อนในปมประสาท ทำให้เกิดโรคงูสวัด มีตุ่มน้ำใสๆเกิดขึ้นบนผิวหนัง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณ บั้นเอว แนวชายโครง รวมทั้งแขน ขา และใบหน้า แม้ว่าโรคนี้อาจรักษาให้หายได้ในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ แต่อาการปวดแสบบริเวณรอยโรค อาจรุนแรงมากและโรคเรื้อรังเกินกว่า 4 สัปดาห์ หรือ อาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนได้

          ดังนั้นผู้ที่สภาวะร่างกายมีภูมิคุ้มกันลดลงโดยเฉพาะผู้สูงอายุจึงควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดเพื่อลดความเสี่ยงเกิดโรค ปัจจุบันวัคซีนมีประสิทธิภาพการป้องกันโรคสูงแม้จะไม่ถึง 100% แต่ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถป้องกันโรคได้นานไม่น้อยกว่า 5 ปี

 

 

1.เพื่อป้องกันการแพ้ถั่วลิสง(Peanut allergies) จะต้องไม่ให้เด็กกินถั่วช่วงอายุ 3 ปีแรก

                - รายงานทางวิทยาศาสตร์พบว่าแม้เด็กที่ให้กินถั่วก่อนอายุ 1 ปี ก็ไม่มีความเสี่ยงต่อการแพ้ถั่วแต่อย่างไร

2.น้ำมันปลา (Fish oil) มี โอเมการ์ 3 ถ้ากินประจำจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

                - รายงานวิจัย พบว่าการได้รับโอเมการ์ 3 ทุกวันไม่ช่วยป้องกันโรคหัวใจแต่อย่างใด

3.มีคำแนะนำว่าถ้ามีเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ จะต้องดำเนินการกำจัดไรฝุ่น หนู และแมลงสาบในบ้านให้หมด เพื่อลดการเกิดอาการของโรคภูมิแพ้

                - รายงานการวิจัยพบว่าการกำจัดสัตว์เหล่านี้ไม่ได้ช่วยลดการเกิดอาการของโรคภูมิแพ้แต่อย่างใด

4.มีคำแนะนำว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเข่าเสื่อมเนื่องจากความฉีกขาดของกระดูกอ่อน (Osteoarthritis) ต้องได้รับการผ่าตัดเข่าอาการเจ็บปวดจึงจะหาย

                - การวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดและโดยการผ่าตัดอาการเจ็บปวดจะทุเลาได้ในอัตราใกล้เคียงกัน

5.มีคำแนะนำว่าผู้สูงวัยระยะอายุกลางคนขึ้นไปถ้าได้รับการรักษาด้วย ฮอร์โมน Testosterone จะช่วยให้อาการเสียความจำจะดีขึ้น

                - ผลการวิจัยพบว่า ฮอร์โมน Testosterone ไม่มีผลในการเพิ่มความจำแต่อย่างใด

6.มีคำแนะนำว่าการกิน แปะก๊วย (Ginkgo) ประจำจะช่วยรักษาความจำให้ดีขึ้นโดยเฉพาะในผู้สูงวัย

                - รายงานผลการวิจัยพบว่า การกินแปะก๊วยเป็นประจำไม่ได้ช่วยให้ความจำดีขึ้นแต่อย่างใด