คืบหน้า! เผย '8 วัคซีน' ต้านโควิด เริ่มทดสอบทางคลินิก
 

ขณะนี้ หลายชาติพยายามเร่งพัฒนาวัคซีนต้าน โควิด-19 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ต้องรอถึงปีหน้ากว่าที่โลกจะมีวัคซีนมาใช้รักษาโรคนี้ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีวัคซีนต้นแบบ 8 ตัวที่อยู่ในขั้นการทดสอบทางคลินิก

เริ่มด้วย วัคซีนของบริษัทแคนชิโน ไบโอโลจิกส์ อิงค์ของจีน ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพปักกิ่ง กำลังทดสอบทางคลินิกเฟส 1 และเฟส 2 เป็นการทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 60 ปี เฟสนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 108 คน ซึ่งการทดสอบเฟส 1 และ 2 จะดำเนินการไปควบคู่กัน

2. วัคซีนของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ ปัจจุบันเข้าสู่เฟส 1/2 ทำการทดสอบในอาสาสมัครผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี 1,100 คนอายุ 18-55 ปี สุ่มรับวัคซีน และเริ่มประเมินและศึกษาวัคซีนในมนุษย์

3. วัคซีนของบริษัทอิโนวิโอของสหรัฐ กำลังทดสอบในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 40 คนในสหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบคู่ขนานเฟส 1/2 ในเกาหลีใต้ควบคู่กันไป คาดว่าจะมีผลการทดสอบเบื้องต้นในเดือน มิ.ย.

4. วัคซีนของปักกิ่ง อินสติติวท์ ออฟ ไบโอโลจิคัล โพรดัคส์ / อู่ฮั่น อินสติติวท์ ออฟ ไบโอโลจิคัล โพรดัคส์ ซึ่งการทดลองยังอยู่ในเฟส 1

5. วัคซีนที่พัฒนาโดยปักกิ่ง อินสติติวท์ ออฟ ไบโอโลจิคัล โพรดัคส์ /ซิโนฟาร์ม เริ่มการทดสอบทางคลินิกตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. 2563 และกำลังวางแผนจะเริ่มการทดสอบเฟส 2 ควบคู่ไปกับเฟส 1

6. วัคซีนที่พัฒนารวมกันโดยเยอรมนี-จีน-สหรัฐ โดยบริษัทไบโอเอ็นเทค/โฟซุน ฟาร์มา/ไฟเซอร์ โดยในเยอรมนีเริ่มการทดสอบในเฟส 1/2 ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 200 คน อายุระหว่าง 18 ถึง 55 ปี เริ่มทดสอบในสัปดาห์นี้ไปแล้ว เตรียมขยายไปทดสอบเพิ่มในสหรัฐ คาดในเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2563 อาจนำมาใช้ในกรณีฉุกเฉินได้

7. วัคซีนของบริษัทซิโนวัคของจีน อยู่ในการทดลองเฟส 1 กำลังดำเนินการทดลองแบบสุ่มในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 144 คนระหว่างอายุ 18 ถึง 59 ปี

และ 8. วัคซีนของบริษัท โมเดอร์นา ร่วมกับสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐ (NIAID) กำลังทดสอบทางคลินิกในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 45 คน อายุระหว่าง 18-55 ปี 

สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (เอ็นไอเอช) ยังได้ขยายการทดลองให้ครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุ โดยทดสอบในอาสาสมัครวัย 56-70 ปี 3 คน และอายุ 71 ปีขึ้นไป 3 คน เพิ่งยื่นเรื่องไปยัง อย.ของสหรัฐ (เอฟดีเอ) เพื่อขอเข้าสู่การทดสอบในเฟส 2

อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังความเร็วในการพัฒนาและวิจัยวัคซีนต้านโรคโควิด-19 เป็นผลมาจากความพยายามของจีนในการจัดเรียงสารพันธุกรรมของไวรัส “ซาร์ส-โควี-2” (Sars-CoV-2) ซึ่งเป็นไวรัสก่อโรคโควิด-19 และแบ่งปันข้อมูลตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค. ทำให้นักวิจัยทั่วโลกสามารถเพาะตัวอย่างไวรัสและศึกษาการทำงานของไวรัส แม้ไวรัสตัวนี้เพิ่งถูกตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว

  • ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาจไม่ได้วัคซีนอย่างที่คิด

ขณะที่หลายประเทศกำลังเร่งพัฒนาวัคซีนต้านโรคโควิด-19 และนักการเมืองก็พูดถึงเรื่องการพัฒนาวัคซีนที่มาถึงขั้นการทดลองในคน แต่อีกความเป็นไปได้ที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคระบาดกำลังเป็นกังวลอยู่ในเวลานี้คือ อาจไม่มีวัคซีนมารักษาโควิด-19 ซึ่งก็เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หลายๆ ครั้งในอดีต

ดร.เดวิด นาบาร์โร ศาสตราจารย์ด้านสาธารณสุขระดับโลกจากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน และที่ปรึกษาโรคโควิด 19 ของดับเบิลยูเอชโอ กล่าวว่า มีไวรัสจำนวนหนึ่งที่ยังไม่มีวัคซีนรักษา

 

“เราไม่สามารถสันนิษฐานได้เต็มร้อยว่าจะมีวัคซีน หรือถ้ามี วัคซีนนั้นจะผ่านการทดลองว่ามีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยเพียงพอ และเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ทั่วโลกต้องต่อกรกับไวรัสในฐานะเป็นภัยคุกคาม โดยสามารถใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไปได้” ดร.นาบาร์โร กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยังมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ได้ ส่วนหนึ่งเพราะไวรัสตัวนี้ไม่ได้กลายพันธุ์เร็ว อย่างที่พบในเชื้อโรคตัวอื่นๆ อย่างมาลาเรีย หรือเอดส์ (HIV) แต่อีกหลายๆ คน รวมทั้ง ดร.แอนโธนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคติดต่อและภูมิคุ้มกันบกพร่องของสหรัฐ กล่าวว่า อาจต้องใช้เวลาเป็นปีหรือปีครึ่ง

คริส วิตตี ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของอังกฤษประเมินไว้ว่า อย่างน้อยๆ ก็หนึ่งปีหรือเร็วกว่านั้น แต่หากการพัฒนาวัคซีนเกิดขึ้นได้จริงในเวลาเหล่านี้ จะถือเป็นชัยชนะอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

“เราไม่เคยเร่งพัฒนาวัคซีนในเวลาหนึ่งปีหรือปีครึ่งเลย ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปไม่ได้ แต่จะเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องมีแผนสำรองไว้ด้วย” ดร. ปีเตอร์ โฮเตส อธิการบดีของวิทยาลัยเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งชาติของวิทยาลัยแพทยศาสตร์เบย์เลอร์ในฮุสตันกล่าว

คณะนักวิจัยของออสเตรเลีย เปิดเผยว่า วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสต้นตอโควิด-19 ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลอง แสดงศักยภาพกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เพียงพอจะฆ่าเชื้อไวรัสได้ในขั้นทดลองก่อนดำเนินการทดสอบในมนุษย์

วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยมหาวิทยาลัย ควีนส์แลนด์ ของออสเตรเลีย โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า การหนีบในระดับโมเลกุล หรือ โมเลคูลาร์ แคล็มพ์ (molecular clamp) ซึ่งได้รับสิทธิบัตรแล้ว และวัคซีนนี้ถูกนำไปทดสอบในหนูเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า สามารถกระตุ้นแอนติบอดี้ที่จำเป็นต่อการโจมตีไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 ได้ 

ด้านบรรดาผู้นำของโครงการวิจัยนี้ต่างยินดีกับผลลัพธ์ที่ดีพอต่อการเร่งพัฒนาวัคซีนตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ โดยศาสตราจารย์ พอล ยัง ผู้ร่วมนำการวิจัยของโครงการร่วมของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ระบุว่า เป็นสิ่งที่ทีมงานคาดหวังไว้และทำให้ทีมวิจัยโล่งอก ที่ฝากความเชื่อมั่นไว้กับเทคโนโลยี จากความร่วมมือด้านนวัตกรรมความพร้อมเกี่ยวกับโรคระบาด ทั้งจากรัฐบาลกลางและรัฐควีนส์แลนด์ ตลอดจนบรรดาพันธมิตรเพื่อการกุศลนี้

ขณะเดียวกัน ได้มีการส่งตัวอย่างจากการทดลองในหนูไปยังสถาบันโดเฮอร์ตีในนครเมลเบิร์น เพื่อทดสอบความสามารถในการโจมตีไวรัสต้นตอโควิด-19 โดยเฉพาะ

ศาสตราจารย์คันทา ซับบาเรา จากสถาบันแห่งนี้พบแอนติบอดี้ระดับสูงในตัวอย่างการทดลอง บ่งชี้ว่าสามารถฆ่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่มีชีวิตในการเพาะเลี้ยงเซลล์ได้ ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญยิ่ง เพราะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้ม กันที่คล้ายกับของวัคซีนโรคซาร์ส (SARS) ในแบบจำลองสัตว์ ซึ่งนำไปสู่การป้องกันการติดเชื้อได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878926

 
 

3 พ.ค.2563 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ 'โควิด 19 กับความซื่อสัตย์'

เมื่อวานเล่าเรื่องคุณหมอโนกุจิ วันนี้ขอเล่าต่อ ในภาวะที่มีการระบาดของโรค โควิด 19 และในยามปกติ  

 

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ “ความซื่อสัตย์” ผู้ป่วยไปหาหมอถ้าไม่บอกความจริงทั้งหมด ก็จะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ติดโรคเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมามีโรงพยาบาล  แห่งหนึ่งติดโรค จากผู้ป่วยอยู่คนเดียว ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ ติดโรคไปร่วม 10 คน

ถ้าเราเป็นกลุ่มเสียงสัมผัสโรคมา หรือไม่สบายเจ็บป่วย ควรบอกความจริง กับแพทย์ผู้รักษา  ตั้งแต่การตรวจกรองเข้าโรงพยาบาลตามความเป็นจริง การบริจาคโลหิตก็เช่นเดียวกัน จะมีให้กรอกข้อมูล  ก็ขอให้บอกตามความเป็นจริง

คุณหมอโนกุจิ มีความคิดและเป็นนโยบายส่วนตัว เน้นถึงความซื่อสัตย์ ผมได้เห็นบันทึกของคุณหมอ และบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร American J Trop Med Hyg ในปี 1928  เชื่อเลยว่าคุณหมอเป็นคนซื่อสัตย์มาก ในบทความนี้ เขียนการทดลองที่ใช้เชื้อไข้เหลือง จากคนไข้ชื่อ อาชีบี้ ไปฉีดให้ลิง ลิงเสียชีวิตจากไข้เหลือง แต่คนไข้ อาชีบี้ ไม่ตาย และต่อมาไวรัสของคนไข้ ที่เอามาทำวัคซีน ไข้เหลือง จึงชื่อว่า อาชีบี้ ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ 

ถ้าใครอ่านหนังสือการ์ตูนถึงตอนนี้ จะทราบว่าท่านได้ทำร่วมกับหมอหลายคน ในการหาเชื้อก่อโรคที่ทำให้เกิดไข้เหลือง และใช้ลิงเป็นสัตว์ทดลอง จุดอวสานของท่าน ท่านติดโรคไข้เหลือง ที่ได้รับจากลิงในการทดลอง และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในหน้าที่การงาน 
ที่หลุมศพของคุณหมอโนกุจิ ถ้าใครไปมา จะได้เห็น ลายมือของคุณหมอ noguchi เขียนไว้ ว่า ความซื่อสัตย์เป็นนโยบายที่ดีที่สุดของเรา

จึงอยากสอนให้ทุกคนมีความซื่อสัตย์ไม่ว่าจะเป็นหมอหรือไม่ใช่เป็นหมอ

​ในการควบคุมโรคระบาด โควิด 19 นอกจากความซื่อสัตย์แล้วยังต้องอาศัยระเบียบวินัย ถ้าทุกคนช่วยกันมีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามคำแนะนำ ให้มากที่สุด คงไม่ต้องใช้กฎหมายโรคติดต่ออันตรายมาบังคับ เราก็จะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ หรือแม้แต่การระบาดก็จะทำให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด

ยังมีอีกหลายตอนที่คุณหมอโนกุจิ ได้พยายามต่อสู้กับโรคระบาด เช่นโรคกาฬโรคในจีน โรคซิฟิลิสในอเมริกา และไข้เหลืองในแอฟริกา จะได้นำมาเล่าต่อไป

ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ http://www.thaipost.net/main/detail/64908

 

หน่วยข่าวกรองสหรัฐยัน ‘โควิด-19’ไม่ได้สร้างโดยมนุษย์

 

สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐ แถลงยืนยันเมื่อวันพฤหัสบดี(30เม.ย.)ว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ต้นตอโรคโควิด-19 ไม่ได้ถูกสร้างจากมนุษย์ ถือเป็นการหักล้างแนวคิดที่ว่าโควิด-19 ถูกสร้างขึ้นในห้องทดลองในประเทศจีน

สำนักงานข่าวกรองสหรัฐ ระบุว่าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เผยแพร่ในวงกว้างบ่งชี้ว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไม่ได้สร้างขึ้นโดยมนุษย์ หรือมาจากการตัดต่อพันธุกรรมใดๆ แต่สำนักงานข่าวกรองจะยังเดินหน้าค้นหาข้อมูลต่อไปว่าการระบาดของไวรัสมาจากการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่มนุษย์ หรือเป็นผลจากอุบัติเหตุในห้องแลบในเมืองอู่ฮั่น ศูนย์กลางการระบาดของโควิด-19 ในช่วงแรกๆ

แถลงการณ์จากสำนักงานข่าวกรองสหรัฐชิ้นนี้ มีนัยยะสำคัญเพราะถือเป็นการหักล้างทฤษฎีต้นกำเนิดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ผ่านมาว่าเป็นไวรัสที่ถูกสร้างขึ้นในห้องทดลองของจีน แต่ทางการสหรัฐยังคงค้นหาต้นตอของการระบาดของไวรัสว่าเป็นรูปแบบการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนได้อย่างไร หรืออาจมีต้นตอจากความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุระหว่างการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือไม่

ด้านทำเนียบขาว เรียกร้องให้ค้นหาความจริงเกี่ยวกับต้นตอของโควิด-19 และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก็แสดงความคลางแคลงใจเกี่ยวกับบทบาทของจีนและองค์การอนามัยโลกในเรื่องนี้ส่วนนายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐตั้งคำถามเกี่ยวกับความโปร่งใสของรัฐบาลจีน พร้อมระบุว่าจีนยังคงทำให้ทั่วโลกตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงหากไม่ยอมเปิดเผยว่าต้นตอของโรคโควิด-19 มาจากไหน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878677

 

โควิด 19 ระบาด คาดจะยืดเยื้อไปอีก 2 ปี จนกว่าคนส่วนใหญ่จะติดเชื้อ

รายงานจากทีมผู้เชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยรัฐมินนิโซตา ของสหรัฐฯ เผยแพร่รายงาน แนะนำให้สหรัฐฯเตรียมรับมือสถานการณ์ที่แย่ที่สุด ที่รวมถึง โควิด 19 ระบาด ระลอกสอง ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ซึ่งคือช่วงปลายปี

ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาโรคระบาด มหาวิทยาลัยมินนนิโซตา ไมค์ ออสเตอร์โฮล์ม ระบุว่า สถานการณ์ โควิด 19 ระบาด จะไม่หยุด จนกว่าจะมีประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อถึง 60 – 70 เปอร์เซ็นต์

ออสเตอร์โฮล์ม ได้เขียนวิจัยเกี่ยวกับความเสี่ยงการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่มาเป็นเวลา 20 ปี และเป็นที่ปรึกษาให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯหลายสมัย

รายงานดังกล่าวคาดว่า การระบาดจะยาวนานไปอีก 18 ถึง 24 เดือน เพราะโควิด 19 เป็นโรคใหม่ ไม่มีใครมีภูมิคุ้มกัน ในขณะที่เริ่มมีภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) คือกลุ่มประชากรส่วนใหญ่เกิดภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ เริ่มเกิดขึ้น

 

 

รายงานระบุ เพราะโควิด 19 มีระยะฟักตัวนานกว่า มีการแพร่ระบาดของคนที่ไม่มีอาการมากกว่า และต้องมีคนติดเชื้อจำนวนมากกว่าไข้หวัดใหญ่ก่อนที่การระบาดจะสิ้นสุด โควิด 19 ดูเหมือนจะระบาดง่ายกว่าไข้หวัดใหญ่

รายงานแนะนำว่า รัฐบาลควรต้องพัฒนาแผนที่เป็นรูปธรรม รวมถึงนำมาตรการบรรเทาผลกระทบกลับมาใช้ใหม่ เพื่อรับมือกับช่วงพีคของโรค ที่จะเกิดขึ้น

“วัคซีนมีอินธิพลต่อสถานการณ์การระบาด แต่วัคซีนจะไม่มีใช้จนกว่าอย่างน้อยก็ปี 2021 และเราไม่รู้ว่าจะมีความท้าทายแบบไหนเกิดขึ้น ในช่วงที่กำลังพัฒนาวัคซีน”

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://today.line.me/

เนื้อหาต้นฉบับ https://today.line.me/TH/pc/article/QJ0qqj?utm_source=lineshare

 


1 พ.ค.63-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหาดังนี้
ยาต้านไวรัสรักษา โควิด 19 Remdesivir
ยานี้เป็นยาใหม่ ที่ยังไม่ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในการรักษาโรค
เคยมีการมารักษาโรคปอดบวมตะวันออกกลาง
ยาจะไปขัดขวางการเพิ่มจำนวน RNA ของไวรัส
ยานี้เป็นยาของบริษัทยักษ์ใหญ่ของ  ประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้มีการศึกษานำมาใช้รักษาโควิด 19 ที่มีการเผยแพร่ครั้งแรกในประเทศจีน แต่การศึกษายังไม่สมบูรณ์เพราะผู้ป่วย น้อยลง
และได้มีการเผยแพร่ผลของการรักษา แบบเปรียบเทียบกับยาหลอกจำนวน 237 คน ในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก
ผลการรักษาไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยยสำคัญ ระหว่าง Remdesivir กับยาหลอก
จากการศึกษาเพิ่งออกมาใหม่ ที่ทำในหลายประเทศ โดยมีผู้วิจัยหลักอยู่ในสหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาเปรียบเทียบการให้ยา Remdesivir กับยาหลอกในผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 และมีอาการหนัก
ในจำนวน 1063 คน พบว่าผู้ป่วยหายเร็วขึ้น และลดอัตราการตายจาก 11.6 เปอร์เซ็นต์ ลงเหลือ 8% ผู้ป่วยที่หายสามารถกลับบ้านได้เร็วกว่า
ยานี้ต้องรอขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ และเป็นยาที่ใช้สำหรับฉีดเข้าเส้น ไม่ใช่ยารับประทาน
ข้อมูลต่างๆ ที่ยังเป็นความหวัง สำหรับผู้ติดเชื้อและมีอาการหนัก
ยานี้ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย
ยังคงต้องรอและจะมีข้อมูลออกมาอย่างต่อเนื่องแน่นอน ถ้าเราสามารถรักษาผู้ป่วยลดอัตราการเสียชีวิต ลดอัตราการเป็นปอดบวมได้ ความวิตกกังวลต่างๆก็จะน้อยลง

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ http://www.thaipost.net/main/detail/64759

 

 

 

เอเอฟพี - ผลการศึกษาใหม่ครั้งใหญ่ ได้พิสูจน์ว่าทดลองต่อต้านไวรัส มีประสิทธิผลช่วยปกป้องชีวิตคนไข้ ผู้มีอาการสาหัสจากการติดเชื้อโควิด-19 จากการเปิดเผยของ นพ.แอนโธนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติของสหรัฐฯในวันพุธ (29 เม.ย.)

นายแพทย์แอนโธนี เฟาซี กล่าวที่ทำเนียบขาว ว่า “ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า remdesivir ส่งผลในทางบวกอย่างชัดเจน และมีนัยสำคัญ ในการลดระยะเวลาของการฟื้นไข้” เขากล่าว “นี่คือ ข้อพิสูจน์ว่ายาสามารถบล็อกไวรัส” พร้อมเปรียบเทียบมันกับการค้นพบวิธีการรักษาโรคเอดส์เมื่อ 4 ทศวรรษก่อน

ก่อนหน้านี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผลการทดลองทางคลินิกในจีน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า พบว่า ยาทดลองต่อต้านไวรัส “Remdesivir” ของบริษัท Gilead Sciences Inc ล้มเหลวในการช่วยเหลือคนไข้โควิด-19 ที่มีอาการหนัก ในเรื่องนี้ นพ.เฟาซี บอกว่า การทดลองในจีนนั้น “ไม่ได้มีการศึกษาอย่างพอเพียง”

นพ.แอนโธนี เฟาซี ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติของสหรัฐฯ และเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของคณะทำงานเฉพาะกิจรับมือกับการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ บอกว่า Gilead บริษัทยายักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อยู่ระหว่างพูดคุยกับรัฐบาลในการปล่อยยา Remdesivir ออกมาก่อน เพื่อใช้กับเคสที่มีความจำเป็นเร่งด่วน

เขาบอกว่า มันมีความหมายกับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เพราะว่าในการศึกษานั้นได้ทดลองกับผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลแล้วเท่านั้น ไม่รวมถึงกลุ่มคนที่มีอาการเล็กๆ น้อยๆ หรือมีอาการในระยะแรกๆ

ในฐานะเคยเป็นหัวขบวนในการค้นหาแนวทางรักษาระหว่างวิกฤตเอชเอวี หรือ โรคเอดส์ ซึ่งเริ่มขึ้นในทศวรรษ 1980 นพ.เฟาซี บอกว่า ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้เขาย้อนนึกถึงเมื่อครั้งสามารถผ่าทางตันช่วงต้นๆ ระหว่างการแพร่ระบาดของเอดส์

“มันย้อนให้นึกถึงเมื่อ 34 ปี ในปี 1986 ตอนที่เรากำลังดิ้นรนหายารักษาไอชไอวี และเราไม่มีอะไรเลย” เขากล่าว “มันเปิดประตูสู่ข้อเท็จจริงที่ว่า ตอนนี้เรามีศักยภาพในการรักษาคนไข้แล้ว”

นพ.เฟาซี เน้นย้ำว่า ผลการศึกษาในสหรัฐฯมีความน่าเชื่อถือ ต่างจากเวอร์ชันที่มีจุดอ่อน ในการวิจัยที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ที่เผยแพร่ในวารสารด้านการแพทย์ The Lancet “มันเป็นการทดลองที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม”

เขาบอกว่า องค์การอาหารและยา จะเริ่มทำให้ remdesivir ง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับบุคคลที่มีความจำเป็นจริงๆ แต่การปล่อยสู่ตลาดมวลชนนั้นจำเป็นต้องอนุมัติภายใต้เงื่อนไขที่ซับซ้อนกว่า

ทรัมป์เรียกผลการศึกษานี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นเหตุการณ์ที่เป็นบวกอย่างมาก

ทั้งนี้ รายงานจากนิวยอร์กไทมส์อ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล บอกว่า ทางองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ อาจแถลงตัดสินใจอนุญาตให้ใช้ยา remdesivir ในกรณีฉุกเฉินอย่างเร็วที่สุดในวันพุธ (29 เม.ย.) เลย

ก่อนหน้านี้ ในวันเดียวกัน Gilead Sciences แถลงว่า ทางบริษัทได้รับข้อมูลที่น่าพึงพอใจในการใช้ยา remdesivir ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19

Gilead ระบุว่า ผลการศึกษาการใช้ยา remdesivir ซึ่งทางบริษัทดำเนินการร่วมกับสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติ มีผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมายในเบื้องต้น

Gilead ยังเปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวนอย่างน้อย 50% ที่ได้รับยา remdesivir เป็นเวลา 5 วัน มีอาการดีขึ้น และผู้ป่วยจำนวนมากกว่า 50% ที่ได้รับยา remdesivir สามารถออกจากโรงพยาบาลภายในเวลา 2 สัปดาห์
 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://news1live.com/

เนื้อหาต้นฉบับ https://news1live.com/detail/9630000045118

คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาลัยไต้หวัน  เตือนมาว่า ภายในปี 2563 นี้อย่าเข้าใกล้ พบปะ หรือ ทานอาหารร่วมกับคนที่เป็นโควิด-19 มาก่อน 

 

(I) จากผลการผ่าศพผู้ป่วย

 

1. covid-19 มันคือการรวมกันของ ซาร์ กับ เอดส์ หมอหลายคนบอกว่า คนถึงแม้จะรักษาหายจากโควิด-19 แล้ว แต่มันจะมีผลเลือดเป็นบวกอยู่อีก นี้ไม่ใช่การกลับมาเป็นใหม่ แต่เป็นเพราะมันไม่สามารถรักษาหายขาดได้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโควิด-19

2. ภูมิต้านทานโดนทำลายอย่างหมดสิ้น.. ทั้งนี้ซาร์จะทำร้ายแค่ปอด จะไม่กระทบกับภูมิต้านทาน.. ส่วนเอดส์จะทำลายภูมิต้านทาน.. ส่วนโควิด-19 นั้นทำลายอวัยวะของเราเหมือนกับ ซาร์+เอดส์

3. การล้มเหลวของปอดอย่างเฉียบพลันเป็นผลทำให้ตายของซาร์ แต่ covid-19 ทำให้ตายเพราะการล้มเหลวของอวัยวะหลายๆอย่าง

 

(II) โปรเซสเซ. Peng Zhi Yong จากมหาลัย อู่ฮั่น บอกผลจากการผ่าศพร่างกายว่า

1. คนที่หายจากโควิด-19 ผลตรวจเลือพบว่าระดับของดัชนี lymphocyte จะไม่กลับมาเหมือนเดิม ระบบภูมิต้านทานของร่างกายจะไม่เหมือนเดิม

2. แม้ผลตรวจของคนที่ให้กลับบ้านได้จะเป็นลบ แต่ภูมิต้านทานนั้นเสียหายไปแล้ว  มันสามารถกลับมาเป็นโรคใหม่ได้ง่ายมาก

3. ลักษณะคล้ายๆกับไวรัสตับอักเสบบี ที่จะมีเชื้อโรคไวรัสอยู่ในร่างกาย เป็นพาหะแพร่เชื้อได้อย่างนาน

4. ทีนี้ก็ต้องมาดูกันว่าคนที่หายจากโควิด-19แล้วนั้นจะสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้อีกไหม

 

(III) หมอที่ทำและการรักษาเสนอว่า

1. ตอนนี้เราเน้นรักษาคนไข้ ที่ติดเชื้อ แต่คนที่รักษาหายแล้วนั้นยังมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย ต้องดูว่าจะแพร่เชื้อได้อีกไหม? มีภูมิต้านทานไหม?

2.หากเป็นอย่างนี้สงครามกับโควิด-19 ก็ยังไม่จบลงง่ายๆ

เลยแนะนำว่าภายในปีนี้หรือปีหน้าออกไปข้างนอกก็ยังต้องใส่หน้ากาก และอย่าไปอยู่ที่คนรวมกันเยอะๆ

ใช้หลัก stay home และ social distancing ต่อไป

 

30 เม.ย.63- รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า ความสำคัญของห้องสุขาในยุค COVID-19

เมื่อวานได้รับการติดต่อโฟนอินจากรายการข่าว พิธีกรได้ถามถึงเหตุผลในการที่หลายหน่วยงานกำลังออกมาตรการให้ร้านอาหารต่างๆ รวมถึงสวนสาธารณะ ต้องทำความสะอาดห้องสุขาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทั้งวัน

 
 

จริงอยู่ที่เราทราบกันดีว่าไวรัสโรค COVID-19 นี้ติดเชื้อผ่านทางเดินหายใจ โดยละอองเสมหะ น้ำมูก หรือการหยิบจับสิ่งที่ปนเปื้อนมาขยี้ตา ล้วงแคะแกะเกาจมูกและปาก

เชื้อเข้าไปในร่างกายโดยการติดเชื้อผ่านเซลล์ปอดโดยมีตัวรับ Angiotensin Converting Enzyme 2 (ACE2 receptor) เป็นหลัก

อย่างไรก็ตามพบว่า เซลล์ในอวัยวะอื่นๆ ในทางเดินอาหารก็มีตัวรับนี้เช่นกัน จึงเป็นตัวอธิบายว่า สามารถตรวจพบสารพันธุกรรม RNA ของไวรัสนี้ในอุจจาระได้ แถมตรวจพบได้ยาวนานกว่าในทางเดินหายใจอีกต่างหาก บางรายงานพบว่าตรวจได้ยาวนานเป็นเดือน

แม้ยังไม่มีรายงานใดที่พิสูจน์ชัดๆ ว่าเกิดการติดเชื้อจากอุจจาระได้ แต่ก็ยังคงแนะนำว่าต้องระมัดระวัง เพราะอาจมีการสูดละอองน้ำอุจจาระจากการราดน้ำหรือ flush สุขภัณฑ์ เข้าทางเดินหายใจได้ การรักษาความสะอาดสุขาจึงจำเป็นที่จะต้องทำ

นอกจากนี้ ตัวรับ ACE2 ยังพบในกระเพาะปัสสาวะ อัณฑะ และไตอีกด้วย แต่อดีตถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานวิจัยที่จะสามารถตรวจพบตัวไวรัสในปัสสาวะ และอสุจิได้

แต่...แต่...แต่... ล่าสุดวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมานี้เอง Sun J และคณะจากประเทศจีน เพิ่งตีพิมพ์งานวิจัยที่พิสูจน์ให้เห็นว่า สามารถตรวจพบ"ตัวไวรัส"จากปัสสาวะของผู้ป่วยอายุ 72 ปีที่ติดเชื้อโรค COVID-19 ได้ และได้ทำการทดสอบด้วยว่าไวรัสที่ตรวจพบในปัสสาวะของผู้ป่วยนี้ยังสามารถติดเชื้อไปสู่เซลล์อื่นได้ด้วย นี่จึงเป็นรายงานล่าสุดที่ตอกย้ำให้ทุกคนต้องระมัดระวังเรื่องโอกาสแพร่เชื้อผ่านทางปัสสาวะด้วย

ดังนั้นการทำความสะอาดสุขา นอกจากทำความสะอาดบริเวณที่หยิบจับบ่อยๆ เช่น ประตูห้องสุขา ก๊อกน้ำ ปุ่มกดต่างๆ และตัวสุขภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอุจจาระแล้ว ยังต้องทำความสะอาดที่โถปัสสาวะด้วย

พออ่านรายงานทางการแพทย์ล่าสุดเกี่ยวกับปัสสาวะแล้ว และมาประกอบกับความรู้เกี่ยวกับอุจจาระ ก็น่าจะพอสรุปได้ว่า เพื่อความปลอดภัย ประชาชนเวลาไปใช้ห้องสุขานอกบ้าน ควรใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยด้วย และหมั่นล้างมือบ่อยๆ นะครับ

นอกจากนี้ที่ผมเป็นห่วงมากๆ คือ พนักงานที่ทำความสะอาดห้องสุขา ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษจากนายจ้าง กรุณาจัดสรรอุปกรณ์ป้องกันแก่เค้าให้เพียงพอ และจัดฝึกอบรมโดยเชิญวิทยากรที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการจัดให้มีการตรวจร่างกาย คัดกรองโรค COVID-19 แก่พนักงานอย่างสม่ำเสมอนะครับ เค้าทำงานช่วยเหลือพวกเราทุกคนแล้ว ก็ต้องช่วยกันดูแลเค้าด้วยครับ.

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/64667

 

  

 

29 เม.ย.63 - สถาบันData -Driven Innovation  Laboratory  แห่งมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ เทคโนโลยีแอนด์ดีไซน์ทำ Model พยากรณ์ จุดสิ้นสุดของการระบาดโคโรนาไวรัส 2019 หรือโควิด-19 ของแต่ละประเทศ  โดยการระบาดในประเทศไทยขณะนี้มีจุดสิ้นสุดอยู่ที่   97%  และจะสิ้นสุด 100% ในวันที่ 11 มิถุนายน 2563    ส่วนการระบาดของสหรัฐอเมริกา สิ้นสุดใน วันที่5กันยายน  2563  และสิงคโปร์ สิ้นสุด วันที่ 26กรกฎาคม 2563

 

ขณะที่ การสิ้นสุดระบาดของทั้งโลก อยู่ในเดือนพฤศจิกายน  2563

ส่วนยอดระบาดโควิด ของทั้งโลก  ณ เวลาช่วงเช้า วันที่  29เม.ย.มียอด 3,136,508   ราย  เสียชีวิต  217,813  ราย และหายแล้ว 953,309  ราย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/64576