วัคซีนโควิด : หญิงไทยรับไฟเซอร์อีก 2 เข็ม หลังติดเชื้อ ทั้งที่รับซิโนฟาร์มครบโดสแล้ว

 
 

เช้าตรู่ของวันที่ฝนตกหนัก อากาศเย็นยะเยือกแม้อยู่ในช่วงฤดูร้อน ขณะฉันและสามีกำลังต่อแถวเข้าร้านอาหารเช้าชื่อดังริมท่าเรือของเมืองพอร์ตแลนด์ เมืองท่องเที่ยวสำคัญของรัฐเมน ชายผิวขาววัยกลางคน 2 คนเดินออกมาจากร้านอาหาร ทั้งสองมองเราเหมือนเป็นตัวประหลาด หนึ่งในนั้นตะโกนใส่หน้าฉันว่า

“เธอเป็นบ้าอะไร จะใส่หน้ากากกันทำไมอีก คนเขาเลิกใส่กันแล้ว!”

เมื่อมองไปรอบตัว มีแค่เรา 2 คนที่ใส่หน้ากาก นอกนั้นคนที่กำลังยืนรอต่อแถวกันไม่มีใครใส่กันเลย ฉันตอบไปว่าฉันยังต้องการที่จะปกป้องตัวเองและคนอื่น โควิดยังไม่ได้หายไปไหน นายคนนั้นเดินส่ายหน้าใส่ก่อนจะตะโกนทิ้งท้ายใส่พวกเราว่า

“You guys are all f_ _ _ _ked up!!”

วัคซีน
 

ช่วงที่โลกเริ่มเผชิญการระบาดของโควิดตั้งแต่ต้นปี 2019 และมนุษย์กำลังคิดค้นหาวัคซีนป้องกัน การใส่หรือไม่ใส่หน้ากากกลายเป็นสัญลักษณ์ของการช่วงชิงพื้นที่ทางการเมือง ในสหรัฐอเมริกา ฝ่ายอนุรักษ์นิยมสุดโต่งเชื่อว่าการใส่หน้ากากอนามัยคือสิ่งที่กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตหรือกลุ่มเสรีนิยมเห็นพ้อง พวกเขาอ้างว่าสหรัฐฯเป็นประเทศที่ถือระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงถือเป็นสิทธิ์ทางการเมืองของพวกเขา ที่เลือกที่จะไม่ใส่ ไม่ควรมีใครที่จะมาลิดรอนสิทธิ์การหายใจโดยปลอดโปร่งของพวกเขา

Shoppers in a line with masks on

แต่พวกเขาละเลยที่จะเข้าใจว่าระบอบประชาธิปไตยคือการให้สิทธิ์ทางการเมืองต่อประชาชนทุกคนก็จริง แต่ต้องเป็นไปภายใต้ขอบเขตที่ว่าสิทธิ์ทางการเมืองที่ตัวเองมีจะไม่ไปทำร้าย รุกราน หรือย่ำยีสิทธิ์ทางการเมืองของผู้อื่น

การไม่ใส่หน้ากากของฝ่ายหนึ่งอาจทำร้ายหรือกระทั่งฆ่าคนอื่นด้วยการเป็นตัวแพร่กระจายโรคระบาด ด้วยเหตุนี้ผู้ว่าการของแต่ละรัฐต้องประกาศเป็นกฎหมายให้ทุกคนต้องใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ หากไม่ใส่จะจับและปรับ จวบจนกระทั่งทุกวันนี้หลายคนที่ยังเชียร์โดนัลด์ ทรัมป์ เลือกที่จะไม่ฉีดวัคซีนเพราะยังเชื่อว่าวัคซีนคือเครื่องมือทางการเมืองของพรรคเดโมแครต

การปะทะกันระหว่างอุดมการณ์ทางการเมืองของ 2 ฝ่ายยังมีให้เห็นอยู่โดยทั่ว ฉันไม่เคยคาดว่าจะเจอเหตุการณ์นี้ด้วยตัวเอง นายคนนั้นหาได้รู้ไม่ว่าพวกเราติดโควิดเมื่อเกือบ 2 เดือนที่แล้ว ใช้เวลาเป็นเดือนกว่าที่ร่างกายจะคืนสภาพจนเกือบปกติ การที่พวกเรายังใส่หน้ากากอนามัย ก็เพื่อป้องกันคนอื่นไม่ให้รับเชื้อจากพวกเราหากเรายังเป็นพาหะขณะเดียวกันพวกเราก็เข็ดขยาดกับการล้มป่วยเพราะโควิดอีก

Trump at walter ReedReuters

ยูเออีกับความเข้มงวดในการสกัดโควิด

แท้จริงแล้ว ถิ่นพำนักหลักของเราอยู่ที่รัฐอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่มีเหตุให้เดินทางมาสหรัฐอเมริกา อาบูดาบีถือว่าเป็นรัฐที่มีมาตรการการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดได้เข้มงวดที่สุดจากทั้งหมด 7 รัฐของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)

ระยะที่โควิดเริ่มระบาด ยูเออีประกาศล็อกดาวน์ แต่ละรัฐต่างประกาศเคอร์ฟิวสำทับอีกชั้น รถบรรทุกขนาดใหญ่ออกวิ่งฉีดน้ำทำความสะอาดถนนหนทางในช่วงเคอร์ฟิว ถือเป็นช่วงที่รัฐบาลแต่ละประเทศยังจับแพะชนแกะในเรื่องการจัดการการแพร่กระจายของเชื้อโควิด

รัฐอาบูดาบีเข้มงวดกว่ารัฐอื่นมาก ประกาศเปิดเมืองช้ากว่ารัฐอื่น ประชาชนที่จำเป็นต้องเดินทางเข้าออกระหว่างรัฐอาบูดาบีจะต้องตรวจหาเชื้อโควิดแบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) และระบบการตรวจหาเชื้อแบบใช้ชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลเร็ว แต่สถานที่ราชการมักนิยมผลการรับรองจากการตรวจแบบ PCR มากกว่า

เวลาเดินทางเข้าออกระหว่างรัฐ ผู้ที่เดินทางจะต้องตรวจก่อนเดินทางออกจากรัฐ 2 วัน และตรวจหาเชื้อก่อนกลับเข้ามาในรัฐล่วงหน้าก่อน 2 วัน พอกลับเข้ามาในรัฐอาบูดาบีก็ต้องตรวจซ้ำในวันที่ 4 ของวันที่กลับเข้ามา และตรวจซ้ำอีกรอบในวันที่ 8 เป็นการตรวจเพื่อย้ำว่าเราไม่มีเชื้อโควิดที่กำลังฟักตัวอยู่ในร่างกาย

 

วัคซีนซิโนฟาร์ม 2 แบบ ที่ผลิตจากกรุงปักกิ่งและนครอู่ฮั่น

วัคซีนฟรี

ด้วยความเข้มงวดในการตรวจโควิดของประเทศนี้ โอกาสการติดโควิดภายในรัฐอาบูดาบี จึงถือว่าค่อนข้างต่ำมาก อีกทั้งรัฐบาลยังจัดหาวัคซีนให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่เว้นคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศของเขา พวกเราก็ได้รับสิทธิ์ในการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม

หลังฉีดครบโดส เราทิ้งระยะห่างให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานตามที่ทางกระทรวงสาธารณสุขของรัฐอาบูดาบีแนะนำ นั่นคืออย่างน้อย 21 วัน พวกเราจึงเดินทางจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปสหรัฐอเมริกา ด้วยความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมว่าเมื่อได้วัคซีนกันครบ ทำตามที่รัฐบาลแนะนำทุกอย่าง ตรวจ PCR จนจมูกพรุนเสียขนาดนี้ โควิดคงไม่มาหาเรา

ทว่า 2 วันหลังเดินทางถึงรัฐเวอร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา จู่ ๆ สามีชาวอเมริกันก็บ่นว่ารู้สึกแย่ ครั่นเนื้อครั่นตัว นั่งทานข้าวกันอยู่ก็นั่งห่อตัวเพราะปวดท้อง ปวดบริเวณท้องน้อย บ่นว่าเหมือนจะเป็นไข้หวัด หรือไม่ก็ไส้ติ่ง คืนนั้นเขานอนซมทั้งคืน วันรุ่งขึ้นจึงพาเขาไปห้องฉุกเฉิน ผลการตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด แต่หมอให้กลับบ้าน เพราะมองว่าอาการไม่มาก นอกจากนี้รัฐเวอร์มอนต์เป็นรัฐที่มีอัตราการติดเชื้อโควิดต่ำกว่ารัฐอื่น ๆ เนื่องเพราะความหนาแน่นของประชากรน้อย และมีอัตราการฉีดวัคซีนจนครบโดสต่อประชากรของรัฐสูงที่สุดในสหรัฐอเมริกาคือที่ 66.6% ในขณะนี้

ผ่านไป 2 วัน ฉันก็มีอาการบ้าง เริ่มจากแสบคอและปวดเมื่อยตามร่างกาย จึงไปตรวจแบบ PCR ที่แผนกตรวจเชื้อของโรงพยาบาล พอตกกลางคืน ฉันมีไข้ หนาว ๆ ร้อน ๆ เมื่อยเปลี้ยจนยืนแทบไม่ไหว ไอทั้งคืน แสบคอ ที่แปลกมากคือหูอื้อ อื้อแบบตุบ ๆ แถมมึน เหมือนสมองไม่ทำงาน ด้วยความที่มีโรคประจำตัว คือ หอบหืด และความดันสูง

วันรุ่งขึ้นจึงไปที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเดิม บอกเจ้าหน้าที่ว่าฉันอาจติดโควิด เขาไม่ให้เข้าไปทันที ให้ออกไปยืนรอข้างนอก ส่งพยาบาลออกมาถามอาการ บอกว่าทำอะไรมากไม่ได้ ให้กลับไปนอนพัก ดื่มน้ำเยอะ ๆ ถ้าจะมาก็ให้มาตอนรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก พูดง่าย ๆ คือ ใกล้ตายแล้วค่อยมา

ฉันถามกลับไปว่าทำไมเขาถึงปฏิเสธเรา เพราะวันนั้นสามี อาการเดียวกัน เขารับเข้าตรวจในห้องฉุกเฉิน แล้วให้กลับบ้าน แต่กับเรา เขาไม่แม้กระทั่งจะให้เข้าไป เขาบอกว่าเขาทำความสะอาดห้องผู้ป่วยโควิดแล้ว และไม่มีผู้ป่วยจากโควิดมานานแล้ว ฉันจึงกลับมานอนพักที่บ้าน ดื่มน้ำ ทานยาลดไข้พาราเซตามอลไป คาดว่าคงดีขึ้น จากนั้นก็มีคนของรัฐเวอร์มอนต์ โทรมาแจ้งผลตรวจว่าเป็นบวก

ฉันงุนงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และตั้งคำถามว่า เราฉีดซิโนฟาร์มมา 2 โดสแล้ว ทำไมถึงยังติดโควิด แม้ค่าประสิทธิภาพ (efficacy) ของซิโนฟาร์มอยู่ที่ 79% แต่พวกเราก็ยังติดโควิด พวกเราเป็นห่วงว่าจะเป็นตัวแพร่เชื้อให้กับคุณแม่วัย 75 ปีของสามี แม้ว่าคุณแม่ได้รับวัคซีนของโมเดอร์นา ครบ 2โดส 1 เดือนล่วงหน้าก่อนที่พวกเรามาถึงอเมริกา พวกเราก็ยังต้องคอยระวังเรื่องอาหารการกินและการใช้ห้องน้ำ แต่โชคดีที่ ผลตรวจโควิด 3 รอบของคุณแม่ออกมาเป็นลบทุกครั้ง

กราฟิกBBC
 

ขณะนอนพัก อาการของฉัน เป็นแบบเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ต่อมรับกลิ่นรับรสไม่ทำงาน ฉันสามารถยื่นหน้าลงไปในกระบะทรายแมวในระยะประชิดได้สบาย ๆ เพราะไม่ได้กลิ่นอะไรเลย ต่อมรับรสก็แย่ลง คืนถัดมาก็เริ่มมีอาการประหลาด ต้นคอแข็ง ปวดกรามกับใบหน้าซีกซ้าย เจ็บจนชา จากนั้นน้ำลายก็ไหลไม่หยุด ตอนแรกกลัวว่าจะเป็นอาการเส้นเลือดในสมองตีบแบบอ่อน (mild stroke) เพราะฉันมีทั้งความดันสูง และไขมันในเลือดสูง คืนนั้นอาการทรุดลง ไข้ขึ้น ไอไม่หยุด ไข้ขึ้นถึง 103 องศาฟาเรนไฮต์ อาจเพราะคิดว่าดีขึ้น เลยหยุดกินไทลีนอล

ฉันนอนกระสับกระส่ายทั้งคืน อาการคือหนาวสั่นแต่จับตัวแล้วร้อนจัด พอทานยา ดื่มน้ำตาม สักพักก็เหงื่อท่วมตัว จนเหมือนจะดีขึ้น คืนถัดมาเลยทานยากัน ทั้ง NyQuil และ Ibuprofen ถ้าอยู่ไทยหรือเมืองใหญ่ป่านนี้ฉันคงถูกแอดมิตไปแล้ว นี่ดันมาป่วยแถบชานเมืองชนบทของอเมริกา คือต้องใกล้ตายหมอถึงจะช่วย แต่ก็ยังมีข้อดีคือทางนี้จะมีคนของรัฐคอยโทรมาถามอาการคนที่ติดโควิดอย่างใกล้ชิด

ถ้านับวันตั้งแต่ที่ติด ฉันยังต้องกักตัว จนครบ 14 วัน แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าฟังจากอาการแล้ว เขาแนะนำให้พักยาวกว่านั้น อย่าเพิ่งออกกำลังกายหนัก เพราะปอดยังไม่แข็งแรงดี โทรคุยกับหมอ เขาก็แนะนำให้ไปเอกซเรย์ปอดหลังจากนี้

จนวันที่ 10 ของการพักรักษาตัวที่บ้าน คิดว่า อาการดีขึ้น ออกไปเดินเล่นยามเย็น เดินแค่ประมาณกิโลนิด ๆ แล้วคืนนั้นก็ทรุดอีก รอบนี้หายใจไม่ออก รู้สึกว่าตรงช่วงหลอดลมมันตีบ ต้องใช้ยาพ่นตลอดเวลา ปกติไม่ได้ใช้มานานมาก พอนอนราบกลับยิ่งหายใจไม่ออก ต้องนั่งหลับ วันรุ่งขึ้นจึงไปโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ Dartmouth-Hitchcock ในรัฐนิวแฮมเชียร์ ยอมขับไปไกล ประมาณชั่วโมงครึ่ง แต่อุ่นใจกว่าโรงพยาบาลเล็ก เมื่อวันก่อน

 

graphicBBC
 

พอไปถึงห้องฉุกเฉิน ชี้แจงตามความเป็นจริงว่าติดโควิด เจ้าหน้าที่ที่ยืนกันอยู่ต่างผงะ ถอยห่างช้า ๆ เขาบอกให้ฉันยืนรอข้างนอก จะให้เจ้าหน้าที่เฉพาะมาดูแล เขาอธิบายว่าคนไข้โควิดแทบไม่มีแล้ว เขาเลยต้องเตรียมห้องเฉพาะให้ สักพักมีนางพยาบาลมารับตัว พาไปห้องฆ่าเชื้อ หนังที่เกี่ยวกับเชื้อโรคเป็นยังไง ที่ฉันเจอคืออย่างนั้น เข้าห้องฆ่าเชื้อ มีเตียงเดียว พยาบาลใส่ชุดครบกันเชื้อ หน้ากากแบบเหมือนในหนัง

โรงพยาบาลนี้ เป็นโรงเรียนการแพทย์ด้วย เขาเลยให้ความสนใจทุกกรณีศึกษา ยิ่งโดยเฉพาะเราฉีดวัคซีนครบโดส แต่ยังติดโควิด เขาวัดความดัน ตรวจค่าออกซิเจน ซึ่งตกลงมาที่ 93 ส่วนเครื่องเอกซเรย์ปอดก็ทันสมัยมาก เขาดึงเครื่องเข้ามาถึงในห้องฆ่าเชื้อกันเลย ผลคือปอดแข็งแรงดี แต่หืดหอบกำเริบฉับพลัน (acute exacerbation of asthma) เพราะโควิดไปกระตุ้น ต้องนอนสูดออกซิเจนพักใหญ่ ระหว่างนั้นเขาก็ฉีดสเตียรอยด์เข้าเส้นเพื่อขยายหลอดลม หมอแนะนำให้ไปพักฟื้นที่บ้านเพราะสบายกว่า แต่ให้คอยระวังอาการ สั่งยาสเตียรอยด์เพิ่ม แล้วหมอก็ย้ำว่าถ้าหายใจไม่ออกรอบนี้ควรโทรหา 911 ทันที

ฉีดแล้วติด แต่หายแล้ว ควรฉีดอีกไหม

หมอบอกว่าการที่ฉันได้วัคซีนเชื้อตายมาแล้ว 2 เข็ม แล้วยังติดโควิด ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง ถ้าอยากฉีดพวกไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาเพิ่มก็ทำได้ แต่ค่อยฉีดหลังจากหายดี นอกจากนี้หมอยังสำทับอีกว่าให้เตรียมใจ เพราะคนไข้ที่เคยติดโควิดเมื่อเจอวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ แบบ 2 ยี่ห้อนี้ เข็มแรกจะมีอาการแพ้หนัก จะรู้สึกเหมือนป่วยไข้หนักกว่าปกติ

ในความไม่รู้ และความสุ่มเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโลกขณะนี้ พวกเราถือเป็นคนที่ยังมะงุมมะงาหรากับเรื่องของโควิดและการฉีดวัคซีน พวกเรายังตั้งข้อสงสัยว่าอะไรควรหรือไม่ควร จะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย พวกเราสองสามีภรรยาใช้เวลาหาข้อมูลและถกเถียงกันว่าควรจะฉีดวัคซีนเสริมเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันหรือไม่ ในช่วงขณะนั้นมีข่าวการแพร่ระบาดโควิดรอบใหม่ที่ บาห์เรน เซเชลส์ ชิลี และ มองโกเลีย ทั้งที่ประเทศเหล่านี้ล้วนได้รับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มกันถ้วนหน้า

ขณะเดียวกันก็มีข่าวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ชี้แจงว่าคนที่ร่างกายยังไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันแม้ว่าจะได้วัคซีนครบ 2 โดส ควรรับโดสที่ 3 เพื่อเป็นตัวเสริมให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานให้ดีขึ้น ส่วนอิสราเอลก็เริ่มฉีดไฟเซอร์โดส 3ให้ประชาชน เพราะสายพันธุ์เดลตา สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างทะลุทะลวงแม้ว่าตัวผู้ป่วยฉีดวัคซีนจนครบโดสแล้วก็ตาม

จากการติดตามหาอ่านข้อมูลขั้นต้น พวกเราเห็นว่าการฉีดวัคซีนจนครบโดส ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหนก็ตาม โอกาสที่จะติดโควิดสายพันธุ์เดลตาถือว่าสูงมาก แต่การเลือกว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนตัวไหนอย่างไรก็ยังถือว่าสำคัญ เพราะระดับศักยภาพของวัคซีนแต่ละขนานจะต่างกัน ถ้ายิ่งศักยภาพของวัคซีนสูง โอกาสที่จะเสียชีวิตหรือป่วยหนักจากสายพันธุ์เดลตามีค่าความเสี่ยงต่ำ แต่ถ้าศักยภาพของวัคซีนต่ำ โอกาสที่จะเสียชีวิตและป่วยหนักจากสายพันธุ์เดลตามีค่าความเสี่ยงสูง อย่างเช่นกรณีการเสียชีวิตของหมอและบุคลากรสาธารสุขในอินโดนีเซีย ทั้งที่พวกเขาได้รับวัคซีนซิโนแวคจนครบโดสแล้วก็ตาม

พวกเราเปลี่ยนความคิดกันใหม่ จากที่มองว่าฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มแล้วทำไมยังติดโควิด พวกเรามองกลับอีกด้าน ว่าถ้าไม่ได้รับการป้องกันจากวัคซีนซิโนฟาร์มป่านนี้พวกเราอาจป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลหรือถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้ กรณีที่ฉันต้องไปโรงพยาบาลเป็นเพราะหืดหอบที่กำเริบ เพราะโควิดไปกระตุ้น แต่ไม่ได้เป็นเพราะตัวโควิดโดยตรง

เรารอดูอาการจนคาดว่าน่าจะคืนสู่ปกติ ราว 20 วันนับจากที่อาการดีขึ้น แล้วจึงตัดสินใจฉีดไฟเซอร์เสริม ด้วยความเชื่อว่าซิโนฟาร์มกับภูมิที่มีอาจจะต้านสายพันธุ์เดลตาได้ไม่เพียงพอ ข้อมูลที่โปร่งใสเกี่ยวกับซิโนฟาร์มมีปรากฏเป็นข่าวน้อยมาก จีนซึ่งเป็นผู้ผลิตก็ไม่เปิดเผยข้อมูล ยูเออีก็แทบจะไม่เปิดเผยข้อมูล จึงเกิดความกังขาต่อสมรรถภาพของซิโนฟาร์ม

ฉันและสามีใช้เวลาศึกษาอ่านข้อมูลของกรณีของอิสราเอลเพิ่มเติม จากข่าวของฟอร์บสที่รายงานว่ามีประชากรจำนวน 40% – 50% ติดโควิดแม้ว่าได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบโดส ตามผลการวิจัยกระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอลรายงานว่าศักยภาพของไฟเซอร์ต่อโควิดสายพันธุ์เดลตาตกมาที่ 64% จาก 95-96% ในการป้องกันโควิดรุ่นแรกก่อนกลายพันธุ์

ขณะที่ซิโนฟาร์มมีค่าศักยภาพที่ 79% ก่อนการเกิดเดลตา แต่ไม่มีข้อมูลหลังจากที่โควิดสายพันธุ์เดลตาเริ่มระบาด พวกเราชั่งน้ำหนักกันแล้ว จึงเลือกฉีดไฟเซอร์เสริม ด้วยหลักการเดียวกันกับการกินข้าวปลาอาหาร นั่นคือกินอิ่มดีกว่ากินไม่พอ พวกเราคิดกันแบบนั้น ที่สำคัญ พวกเรากลัวที่จะติดโควิดกันอีก ความรู้สึกตอนที่หายใจไม่ออกเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด มันรู้สึกว่าเราใกล้ความตายเพียงนิดเดียว

หลังรับวัคซีนเอ็นอาร์เอ็มเอ สามีไม่ค่อยมีอาการมาก ส่วนตัวฉันมีไข้อ่อน ๆ พอเป็นพิธี หลังจากผ่านการต่อสู้กับโควิดพวกเรารู้สึกว่าไม่มีอะไรที่จะแย่ไปกว่าตอนไม่สบายช่วงที่เป็นโควิดอีกแล้ว การที่พวกเราได้วัคซีนทั้งหมด 4 โดสถือเป็นเรื่องที่พวกเราต้องเสี่ยง เพราะยังไม่มีผลการรับรองทางการแพทย์ฟันธงออกมาว่าการได้รับวัคซีนถึง4 โดส และตัวยาวัคซีนคนละตัวนั้น ผลข้างเคียงจะเป็นอย่างไร พวกเรายังใช้ชีวิตกันได้ตามปกติ แต่ก็คอยสังเกตอาการ

สิทธิ์การฉีดวัคซีนโดยทั่วถึง

วันนี้พวกเราได้รับวัคซีนทั้งหมด 4 โดส ไม่เคยคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจ เพราะคนไทยอีกจำนวนมากในประเทศยังไม่ได้รับวัคซีนแม้แต่เข็มแรก คำว่า pandemic มีรากมาจากภาษากรีก pan แปลว่าทั้งหมด demic มาจาก demos ซึ่งแปลว่าคน -ic แปลว่า belong to แปลง่าย ๆ คือ all the people คือเป็นเรื่องของคนทุกคน

pandemic คือเรื่องของมวลมนุษยชาติ โรคติดต่อไม่มีพรมแดน ไม่มีเรื่องสัญชาติหรือศาสนาเข้ามาแบ่งแยก มันไม่ใช่เป็นเรื่องแค่คนของประเทศใดประเทศหนึ่ง ฉันเองแม้ไม่ได้เป็นคนของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่รัฐบาลก็ฉีดให้คนต่างชาติฟรี รัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ฉีดให้คนต่างชาติที่เข้ามาในประเทศของเขาฟรี มนุษย์ทุกคนควรได้รับสิทธิ์การฉีดวัคซีนโดยทั่วถึง ไม่มีใครเป็นหนี้บุญคุณใคร เพราะเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลพึงกระทำให้กับประชาชนทุกคน

ข้อมูลจาก https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_6515663

 


‘หมอภูมิคุ้มกัน’ เล่าอาการติดโควิดสายพันธุ์เดลต้า เผยข้อดีวัคซีนซินโนแวค แม้ติดเชื้อมีอาการ แต่ช่วยขจัดไวรัสเร็วขึ้น

พญ.ประภาพร พิสิษฐ์กุล สาขาวิชาโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ ภาควิชา​อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เล่าอาการหลังการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า โดยระบุว่า

เป็นไปตามคาดนะคะ ทราบผล sequencing ของไวรัสที่ติดเชื้อเป็นสายพันธุ์ Delta (B.1.617.2) ผลตรวจจาก swab ของหมอแสดงในข้อมูล COVID-19 Network Investigations (CONI) Alliance หมอ hi-lighted ด้วยสีแดงนะคะ

htt

ล่าสุดมีข้อมูลตีพิมพ์ในวารสาร Science (DOI: 10.1126/science.abg6296) พบว่าในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศปิดและมีปริมาณไวรัสสูงๆ ที่มีการถ่ายเทอากาศไม่ดี (หรือไม่มี filter ที่ดักจับไวรัสได้) ถ้าเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นนานๆ ในที่สุดแล้วเราก็จะต้องหายใจเข้าปอดไปอยู่ดี (ไม่ว่าหน้ากากที่เราใส่จะดีเพียงใด) สิ่งนี้คงเป็นปัจจัยที่ทำให้หมอติดเชื้อด้วยค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าต้องเข้าไปในสถานที่แบบนั้นอย่าอยู่นานนะคะ เพราะจะมีโอกาสรับเชื้อได้มากขึ้น

https

จากข้อมูลที่ทราบกันดีว่าสายพันธุ์เดลต้ามีการกลายพันธุ์ที่เพิ่มความสามารถในการติดเชื้อได้ดีและสามารถเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์มนุษย์ได้ดี ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มจำนวนในร่างกายได้เร็วมีระยะฟักตัวที่สั้นและทำให้มีอาการแสดงได้เร็วดังนั้นการรู้ว่าเราเกิดการติดเชื้อโควิดได้เร็วเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะให้การรักษาได้อย่างรวดเร็วและลดโอกาสการเกิดข้อแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ การเข้าถึงการตรวจได้เร็วจะช่วยในส่วนนี้มาก (หวังว่าการปลดล็อกการตรวจหลายอย่างจะทำให้ขั้นตอนนี้เร็วขึ้น)

วันนี้หมอเลยมาเล่าอาการของการติดเชื้อโควิด สายพันธุ์ Delta ของหมอให้ฟังกันและดูว่าการฉีด Sinovac ช่วยเราอย่างไรนะคะ

โดยอาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิดจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ

1. ระยะแรกของการติดเชื้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการเริ่มต้นคล้ายเป็นหวัดทั่วไปนะคะ มีไข้ ปวดเมื่อยตัว มีน้ำมูก ระคายคอ คันคอ เจ็บคอ อาการเหล่านี้แถบจะแยกไม่ได้จากอาการหวัดทั่วไปเลย แต่อาการจมูกไม่ได้กลิ่น ดูเหมือนจะเป็นอาการที่ค่อนข้างจำเพาะกับการติดเชื้อโควิด (แต่อาการจมูกไม่ได้กลิ่นนี้ ไม่ได้เกิดในวันแรกๆ จะมาพร้อมๆ กับอาการคัดจมูกและมีน้ำมูก) ถ้าดูในรูปจะเห็นว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ไวรัสเพิ่มจำนวนในร่างกาย การรักษาก็คือการรักษาตามอาการ (ให้ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก แก้ไอ เจ็บคอ) และการให้ยาต้านไวรัสในช่วงนี้จะช่วยลดปริมาณไวรัสลงและช่วยให้มีโอกาสการเกิดอาการแทรกซ้อนลดลง โดยระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อ การทำงานของภูมิคุ้มกัน

การฉีดวัคซีนช่วยเราอย่างไรในระยะนี้ วัคซีนที่กระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิด CD8 T cells ให้มีความทรงจำต่อเชื้อโรคได้ดีจะทำให้เมื่อร่างกายเรารับเชื้อเข้าไปแล้ว CD8 T cells เหล่านี้จะเป็นกองหน้าที่แข็งแรงและมีความทรงจำกับเชื้อโรคที่เคยเห็นตอนได้วัคซีนกระตุ้นก็จะออกมาขจัดเชื้อโรคและอาจทำให้เรารับเชื้อแต่ไม่มีอาการเลยก็ได้ โดยวัคซีนที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้น CD8 memory T cells ที่ดีคือ mRNA vaccine และ Viral vector DNA ค่ะ ส่วน Sinovac ซึ่งใช้ตัวกระตุ้นภูมิเป็น Alum จะมีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้าง antibody ได้ดี แต่ไม่ค่อยกระตุ้น CD8 memory T cells (อันนี้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ Sinovac ป้องกันการติดเชื้อได้ไม่ค่อยดีค่ะ)

https:

แล้ว Sinovac ช่วยระบบภูมิคุ้มกันเราตรงไหน

เมื่อเรารับเชื้อเข้ามาในร่างกาย ตัวเชื้อจะจับกับตัวรับบนผิวเซลล์ในทางเดินหายใจ แล้วมุดเข้าไปในเซลล์ไปใช้อุปกรณ์ของใช้ทั้งหลายในเซลล์ของเราเพื่อเพิ่มจำนวนไวรัส และเมื่อไวรัสกินอยู่หลับนอนในเซลล์เราเรียบร้อยแล้วไวรัสก็ทำลายผนังเซลล์ทำให้เซลล์ตายและย้ายไปอยู่บ้านใหม่ เมื่อเซลล์ตายก็เหมือนกับบ้านพังต้องมีเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆ มาเก็บกินซากปรักหักพังรวมทั้งออกมารบกับไวรัสตัวร้ายที่ทำลายบ้านช่อง ดังนั้นการปล่อยให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้ง่ายๆและเพิ่มจำนวนเร็วๆ จะทำให้เกิดการอักเสบตามมาและการอักเสบที่มากๆ จะนำไปสู่ระยะที่สองของการติดเชื้อ

2. ระยะที่สองของการติดเชื้อ

เมื่อเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นก็มีโอกาสลุกล้ำเข้าไปสู่ปอดและทำให้เกิดการอักเสบได้ โดยการดำเนินของโรคระยะที่สองจะอยู่ในช่วงปลายสัปดาห์แรกต่อกับสัปดาห์ที่สอง ในช่วงนี้ถ้าภูมิคุ้มกันของเราสามารถจัดการขจัดเชื้อโรคได้เร็วเราก็อาจไม่เกิดปอดอักเสบหรือเกิดเล็กน้อยและสามารถดีขึ้นได้
แต่ถ้าภูมิคุ้มกันเราคุมไวรัสไม่อยู่อะไรจะเกิดขึ้น จะเกิดการสู้รบกันระหว่างเม็ดเลือดขาวกับเชื้อโรค มีการใช้อาวุธ ทิ้งระเบิด (cytokine เป็นอาวุธของเม็ดลือดขาวที่ใช้สั่งการและทำลายไวรัส) ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Cytokine storm เกิดขึ้น และเมื่อเกิดภาวะนี้แล้วก็ต้องมีการใช้ยาต้านอักเสบกลุ่ม steroid หรือยา biologics อื่นๆ เพื่อหยุดการอักเสบ
ดังนั้น Protective immunity ที่ได้จาก Sinovac ก็จะมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถจัดการขจัดไวรัสไปให้เร็วขึ้นและการอักเสบและการลุกลามไปที่ปอดเกิดลดลง ถึงเป็นที่มาของข้อมูลที่ Sinovac ช่วยลดอาการรุนแรง ลดการตายในผู้ป่วยติดเชื้อโควิดไงคะ

 

https://ww

สำหรับข้อสังเกตของผู้ติดเชื้อโควิดว่าเราจะเริ่มมีอาการของปอดอักเสบร่วมไหม แนะนำว่าให้วัด oxygen ปลายนิ้วมือก่อนและหลังออกกำลังกายสัก 3 นาที ถ้าลดลงหลังออกกำลังกายคงต้องสงสัยว่าอาจมีอาการของปอดอักเสบร่วมด้วย

ทีนี้มาดูอาการของหมอก็จะเห็นว่าไม่ใช่ mild case ซะทีเดียวเพราะวันที่ 5 ของการติดเชื้อก็มีค่าเม็ดเลือดขาว lymphocyte ที่ต่ำ (จริงๆ แล้วลดลงทั้งเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือดด้วย ถ้าเทียบกับผลการตรวจร่างกายเมื่อก่อนหน้านี้) มีค่าการอักเสบ CRP เพิ่มขึ้น มีตับอักเสบ และ CT chest พบว่ามีปอดอักเสบ 5% ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ค่อนข้างตกใจพอสมควรเพราะเรารู้เรื่องกลไกการเกิดโรคด้านภูมิคุ้มกันของโควิดค่อนข้างละเอียด กังวลว่าเราจะเดินหน้าไปเป็น cytokine storm ไหม ต้องได้ยา steroid ไหม เมื่อมีปอดอักเสบหมอเลยได้ยาต้านไวรัส ซึ่งใช้เวลา 2 วันหลังได้ยาต้านไวรัสแล้วอาการก็ดีขึ้น ซึ่งหมอคิดว่าสาเหตุหนึ่งที่ดีขึ้นคงมีส่วนจากระบบภูมิคุ้มกันที่เคยได้รับการกระตุ้นด้วย Sinovac มาสองเข็ม ถึงแม้ว่าภูมิคุ้มกันจะตกและทำให้ติดเชื้อ แต่ memory cells ทั้งหลายก็คงจะพอมีให้เรียกกลับมาทำงานขจัดเชื้อโรคได้ทันในช่วงปลายสัปดาห์แรก และส่วนตัวไม่ได้มีโรคประจำตัวในกลุ่มเสี่ยง (นอกจากอยู่ในกลุ่มอายุที่ระดับ antibody ลดลงเร็ว) และเป็นคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (ตอนเม็ดเลือดขาวต่ำก็ออกกำลังกายในห้องพักกับลูกชาย) ถึงแม้จะมีปริมาณเชื้อค่อนข้างมาก (ถ้าจำได้ Ct 18) ก็สามารถรอดกลับมาหายได้ด้วยการมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ Delta ที่แข็งแรงมากขึ้นค่ะ และการป่วยครั้งนี้ได้เข้าโครงการวิจัยของทางรามาธิบดีที่ทำการตรวจและติดตามผู้ป่วยโควิดด้วยค่ะ หวังว่าตัวเองจะไม่เกิด long term side effect ใดๆตามมา

สุดท้ายนี้อยากบอกทุกท่านว่าในเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้วัคซีนก็คงช่วยเราไม่ได้ 100% เราคงต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกันของเราเองให้ดี
ป.ล. หวังว่าจะเข้าใจการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแบบง่ายๆ ที่เล่ามานี้นะคะ
ไว้ครั้งหน้าจะมาเล่าหลักการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนแต่ละเทคโนโลยีและวิธีง่ายๆ ของการเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อการฉีดวัคซีนค่ะ

#Sinovacveteran
#Deltasurvivor

 

ข้อมูลจาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2830007

 

 ปาฏิหาริย์  "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

แพทย์สมุทรสาคร สุดทึ่ง ปาฏิหาริย์ "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร เกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ "โควิด"-19  ณ ห้องประชุมพันท้ายนรสิงห์ ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานในการประชุมนั้น  "ซิโนแวค"

 

ปาฏิหาริย์  "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

โดยในที่ประชุมได้มีการรายงาน ให้ทราบถึงสถานการณ์ของเตียงในโรงพยาบาลหลัก ทั้งของรัฐและเอกชน  ตลอดจนเตียงสนามที่มีอยู่ในศูนย์ห่วงใยคนสาครทั้ง 7 แห่งว่า ขณะนี้สถานการณ์เตียง เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ"โควิด"ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ  เตียงผู้ป่วยในห้อง I.C.U. ขณะนี้เข้าสู่ขั้นวิกฤติแล้ว ด้วยจำนวนเตียงที่มีอยู่อย่างจำกัด แม้จะมีการขยายเต็มขีดความสามารถแล้วก็ตาม "ซิโนแวค"

 

ปาฏิหาริย์  "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

ทางด้านนายแพทย์ธนพัฒน์ พวงเพชร นายแพทย์ชำนาญการ รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลสมุทรสาคร ได้นำผู้สื่อข่าวขึ้นไปดูระบบห้อง I.C.U. ของโรงพยาบาลสมุทรสาคร ที่มีผู้ป่วย"โควิด"เกินจำนวนเตียงแล้ว จนต้องจัดให้มีส่วนพื้นที่พักคอย เพื่อรอนำส่งเข้ามา เมื่อเตียงว่างลง

 

ส่วนผู้ป่วย "โควิด" ที่จะต้องนำเข้าห้อง I.C.U. ก็ต้องมีอาการหนัก ซึ่งมีหลายกลุ่มอายุ ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป จนถึงผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ทำให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ที่ประจำห้อง I.C.U. ต้องทำงานกันอย่างหนัก คอยเฝ้าติดตามอาการของผู้ป่วยทุกคนอย่างใกล้ชิด

 

และรักษาทุกคนอย่างสุดกำลังความสามารถ แต่ผู้ป่วยบางรายที่อาการสาหัสมาก เกินจะเยียวยาได้แล้วนั้น สุดท้ายก็ต้องเสียชีวิตลงอย่างที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะทางแพทย์ พยาบาล หรือครอบครัวของผู้ป่วย

 

ปาฏิหาริย์  "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

นายแพทย์ธนพัฒน์ฯ ยังกล่าวอีกว่า ผู้ป่วย "โควิด"19 ที่เข้ารักษาตัวในห้อง  I.C.U. แล้วเสียชีวิตเกือบทั้งหมด โดยเป็นผู้ป่วยคนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

ขณะที่ผู้ป่วย "โควิด" รายหนึ่งเป็นที่น่าแปลกใจมาก เพราะมีน้ำหนักตัวมาก ประมาณ 140 กิโลกรัม ซึ่งถือเป็นเคสที่มีความเสี่ยงสูงมาก ต่อการเสียชีวิต กว่าคนไข้รายอื่นๆ แต่สุดท้ายคนไข้รายนี้ ก็ปลอดภัยดี และสามารถพ้นภาวะวิกฤตไปได้อย่างเหลือเชื่อ เมื่อนำมาศึกษาจึงพบว่า คนไข้รายนี้ที่มีน้ำหนักถึง 140 กิโลกรัม เคยได้รับการฉีดวัคซีน "ซิโนแวค" มาแล้ว 2 เข็ม  ดังนั้น การฉีดวัคซีน ยังคงมีความจำเป็น ที่จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้   "ซิโนแวค"
 

ปาฏิหาริย์  "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

นายแพทย์ธนพัฒน์ พวงเพชร รอง ผอ.รพ.สมุทรสาคร กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า โดยในช่วงที่เตียง I.C.U. ไม่เพียงพอนั้น ทางโรงพยาบาลสมุทรสาครก็ต้องปรับระบบในโรงพยาบาลหลายส่วน และปรับห้องผู้ป่วยในแผนกอื่นๆ เพื่อทำเป็นห้อง I.C.U. "โควิด" เพิ่มด้วย

 

อีกทั้งทางโรงพยาบาลสมุทรสาคร ยังต้องปรับแผนการฉีดวัคซีนใหม่ เพื่อลดผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง อันได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และกลุ่มที่มีโรคเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มเหล่านี้หากติดโควิด-19 จะเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและเข้าห้องไอซียู. จึงอยากให้คนกลุ่มนี้ได้รับวัคซีนก่อน

 

ส่วนประชาชนกลุ่มปกติที่ยังไม่ได้รับวัคซีน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ก็ขอให้รักษามาตรการทุกอย่างให้เข้มข้น ส่วนอีกหนึ่งอย่างที่จะช่วยลดผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองเข้มก่อนเป็นกลุ่มสีแดง จนต้องนำเข้ามารักษาตัวในห้อง  I.C.U. ได้ ก็คือ เครื่องช่วยหายใจอัตราการไหลอากาศ (ไฮโฟลว์)

 

ซึ่งตอนนี้ทางโรงพยาบาลสมุทรสาครต้องการอีกประมาณ 100 เครื่อง เพื่อช่วยรักษาผู้ป่วย"โควิด" ที่มีจำนวนมาก และอาการป่วยตอนนี้พบว่าเปลี่ยนระดับที่รวดเร็วมาก ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่ จึงต้องรักษาผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองเข้มนี้ให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นกลุ่มสีแดงนั่นเอง "ซิโนแวค"

 ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/crime/474224?adz=

 

13 ก.ค.64 - เวลา 13.30น. ที่กระทรวง​สาธารณสุข​ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ​ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวถึงวัคซีนปป้องกันไวรัสโควิด-19 ว่า ประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีนมาตั้งแต่ 28 ก.พ.2564 หลังจากนั้นเราก็รณรงค์​การฉีดวัคซีนกันเรื่อยมา วันนี้เรายังฉีดวัคซีนไม่ถึง 13 ล้านโดส เนื่องจากปริมาณ​วัคซีน​มีจำกัด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารวัคซีนให้ไเ้ประโยชน์​สูงสุด โดยการศึกษาวิจัยรูปแบบการให้วัคซีน​ในประเทศไทยจึงมีความจำเป็น ระยะแรกวัคซีนทุกบริษัท​ผลิตมาจากต้นแบบสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่มีต้นกำเนิดมาจากอู่ฮั่น​ ซึ่งการผลิตออกมาได้ใช้​เวลาร่วม 1 ปี แต่ในระยะเวลา 1 ปีไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงตัวมันเอง มีการกลายพันธุ์​เพื่อหนีออกจากระบบภูมิต้านทานของเรา จึงเห็นว่าบริษัทไหนก็ตามแต่ที่ผลิตวัคซีนได้ก่อน การศึกษาในประสิทธิภาพ​วัคซีนด็จะได้สูง แต่ถ้าบริษัทไหนที่ใช้สายพันธุ์​เดิม แล้วมาศึกษาวิจัยในระยะหลังๆ ประสิทธิภาพ​วัคซีนจะเริ่มต่ำลง

ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ในประเทศไทยเมื่อมีข้อจำกัดเรื่องวัคซีนที่ใช้ในขณะนี้ เราใช้วัคซีนรูปแบบเชื้อตาย กับรูปแบบไวรัสเวกเตอร์ โดยวัคซีนเชื้อตายเป็นของซิโนแวค ส่วนไวรัสเวกเตอร์ คือแอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ ซึ่งวัคซีนทั้ง 2 รูปแบบต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยไวรัสเชื้อตายจะทำมาโดยวิธีโบราณ ที่ทำมากว่า 50 ปีแล้ว ซึ่งเพาะเลี้ยงไวรัสบนเซลล์เพาะเลี้ยง เช่นเดียวกับ โปลิโอ เชื้อพิษสุนัขบ้า​แล้วมาฆ่าทำลายด้วยสารเคมี หลังจากนั้นทำให้บริสุทธิ์​ แล้วจึงมาทำในรูปแบบวัคซีนโดยใส่ตัวเร่งภูมิต้านทานที่เรียกว่า เกลืออลูมิเนียม​ ส่วนไวรัสเวกเตอร์​เป็นเทคโนโลยี​ใหม่ที่ใช้ดีเอ็นเอที่มีรหัสพันธุกรรม​ แปลโค๊ด​เดียวกันกับพันธุกรรม​ส่วนของโปรตีนโคโรนาไวรัส ใส่เข้าไปในเอนเทอโรไวรัสของลิงชิมแปนซี​ โดยเหตุผลที่ใช้ลิงชิมแปนซี เพราะว่าไม่อยากใช้ Human Antino ไวรัส เนื่องจากถ้ามนุษย์เรามีภูมิต้านทานต่อ Human Antino ไวรัส เมื่อฉีดเข้าไป ภูมิต้านทานจะทำลายตัว Antino ไวรัสตัวนั้น ถ้าใช้ชิมแปนซี โอกาสที่จะถูกทำลายมีน้อย ซึ่งเมื่อเข้าไปแล้วไวรัสตัวดังกล่าวก็จะติดเชื้อในร่างกายเรา แต่แพร่ออกจำนวนไม่ได้ เรียกได้ว่าไวรัสถูกทำหมั้นไปแล้วเรียบร้อย

"เปรียบเสมือนว่า ถ้าเราฉีดไวรัสของชิมแปนซี เราก็เป็นไข้หวัดชิมแปนซี แน่นอนมีอาการปวดเมื่อย มีอาการไข้บ้าง แต่ไวรัสตัวนี้ไม่สามารถแพร่พันธุ์​ได้ เจริญเติบโตไม่ได้ ก่อโรครุนแรงไม่ได้ และไปแพร่สู่คนอื่นก็ไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกัน​ก็จะสร้างโปรตีนในส่วนที่เรียกว่าคล้ายกับโคโรนาไวรัสที่เราใส่เข้าไป กระตุ้นให้ร่างกายเราสร้างภูมิ​ต้านทาน ​ไวรัสเวกเตอร์นี้จะบอกว่าเป็นวัคซีนใหม่ก็ไม่​ใช่ ในกลุ่มวัคซีนเวกเตอร์​ที่มีการใช้ในมนุษย์​มาก่อนคือวัคซีน​อีโบลา​ที่ใช้มากว่า 5 ปี จึงเห็นว่าตัวนี้ไม่ใช่ตัวแรก" ศ.นพ.ยง กล่าว

ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า แต่เดิมจะเห็นได้ว่าวัคซีน​ชนิดเชื้อตาย การกระตุ้นภูมิต้านทาน​จริงๆได้น้อยกว่า การกระตุ้นภูมิต้านทาน​ของไวรัสเวกเตอร์ เพราะถึงแม้ไวรัสเวกเตอร์​จะไม่สามารถ​แพร่พันธุ์​ได้ แต่จะต้องมีการให้ติดเชื้อ​ในเซลล์​ก่อน จึงสามารถกระตุ้น​ภูมิต้านทาน​โดยก่อกำเนิดมาจากเซลล์​ของเรา สร้างโปรตีนที่เป็นแอนติเจนมากระตุ้นภูมิต้านทาน ซึ่งภูมิต้านทานที่ได้มาจากไวรัสเวกเตอร์ จึงสูงกว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากเชื้อตาย เดิมทีวัคซีนซิโนแวคต้องยอมรับว่าการกระตุ้นภูมิต้านทาน​สูงเท่าเทียม หรือสูงกว่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากคนที่หายป่วยแล้ว เพราะฉะนั้นภูมิต้านคนที่ป่วยสูงขนาดนี้ เมื่อฉีดวัคซีน​เชื้อตายเข้าไปจึงมีภูมิต้านทานสูงกว่าหรือเท่าเทียม จึงสามารถป้องกันโรคได้ แต่ตอนเริ่มต้นเมื่อใช้วัคซีน​ชนิดนี้ไป การป้องกันโรคก็จะสูง แต่อย่าลืมว่าไวรัสมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา จึงต้องการภูมิต้านทานที่สูงขึ้น ทำให้สามารถหลบหลีกวัคซีนเชื้อตายที่ต่ำกว่าได้ง่ายกว่า

ศ.นพ.ยง กล่าวเพิ่มเติม​ว่า ปัจจุบันนี้การศึกษาของเราทำให้รู้ว่าเมื่อให้ครบ 2 เข็มของวัคซีนเชื้อตายนี้แล้วภูมิต้านทานได้เท่ากับคนที่หายจากโรคโดยเฉพาะหายจากการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิม แต่เมื่อมาติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ไม่ว่า อัลฟ่าหรือเดลต้า มันต้องการภูมิต้านทานที่สูงขึ้นจึงทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีน ลดลงและลดลงทุกตัว ของวัคซีนที่ผลิตมาจากสายพันธุ์อู่ฮั่น แต่เนื่องจากวัคซีนบางตัวมีภูมิต้านทานที่สูงกว่า เมื่อลดลงแล้วก็ยังพอที่จะป้องกันได้ เพราฉะนั้นในทางปฏิบัติ​จึงต้องพิจารณา​ดูว่า ถ้าเราฉีดวัคซีนแอสต​ร้า​ฯ 2 เข็ม ห่างกัน 10 สัปดาห์​ เรารู้ว่าถ้าฉีดไวรัส​เวกเตอร์​ 2 เข็ม ห่างกันน้อยกว่า 6 สัปดาห์​ภูมิต้านทานที่กระตุ้นขึ้นสูงไม่ดี เท่ากับที่ห่างกันเกินกว่า 6 สัปดาห์​ ยิ่งห่างนานเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งแต่เดิมคิดว่าไวรัสเวกเตอร์ หรือแอนตร้าฯเข็มเดียว ก็เพียงพอที่สามารถป้องกันไวรัสสายพัน​ธุ์อู่เดิมได้ แต่พอมาเจอไวรัสเดลต้าเข้า วัคซีนแอสตร้าฯเข็มเดียว ไม่สามารถป้องกันได้ แต่กว่าจะรอใช้เวลากว่า 10 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น จึงสามารถป้องกันได้ จึงเป็นที่มาของการหาจุดสมดุลว่าจะทำอย่างไรให้คนไทยมีภูมิคุ้มกัน​เกิดขึ้นเร็วที่สุด ในขณะที่ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม​ไปมาก

"เรารู้ว่าถ้าใช้วัคซีนเชื้อตายซิโนแ​วค​ 2 เข็ม ภูมิต้านทานสูงไม่พอที่จะป้องกันไวรัสที่มีการกลายพันธุ์มาถึงเดลต้าแล้ว แต่ในขณะเดียวกันแอตร้าฯเข็มเดียวก็ไม่เพียงพอป้องกันไวรัสเดลต้า กว่าจะรอ 2 เข็มก็ช้าไป จีงเป็นที่มาของการทำการศึกษาว่า ถ้าเช่นนั้นเราจึงฉีดวัคซีนเชื้อตายก่อนค่อยตามด้วยไวรัสเวกเตอร์​ ซึ่งการฉีดไวรัสเชื้อตายก่อนเปรียบเสมือนทำให้ร่างกายเราติดเชื้อ แล้วไปสอนนักรบ หรือสอนหน่วยความจำของร่างกายไว้ หลังจากนั้น 3-4 สัปดาห์​ค่อยไปกระตุ้นด้วยวัคซีนที่เป็นไวรัสเวกเตอร์ที่มีอำนาจในการกระตุ้น​เซลล์​ของร่างกายมากกว่า ผลปรากฎ​ว่าผลกระตุ้นสูงกว่า และเร็วกว่าที่เราคาดคิดไว้ ถึงแม้จะกระตุ้นได้ไม่เท่า แอสตร้าฯ 2 เข็ม แต่ก็จะให้ภูมิต้านทานที่สูงในเวลาแค่ 6 สัปดาห์"ศ.นพ.ยง ระบุ

ศ.นพ.ยง ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้คนไข้เรามากกว่า 40 คนที่เราได้ติดตามมา จะเห็นได้ว่ากลุ่มก้อนแรกถ้าเราฉีดซิ​โน​แวค 2 เข็ม ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะสูงเท่ากับคนไข้ที่หายแล้ว แต่เนื่องจากปัจจุบันเป็นสายพันธุ์​เดลต้า จึงทำให้ภูมิในขณะนี้ป้องกันไม่ได้ แต่ถ้าเราฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็มแล้ววัดภูมิต้านทานอีก 1 เดือนหลังจากนั้น แสดงว่าห่างกัน 10 สัปดาห์​ แล้ววัดที่ 14 สัปดาห์​ ภูมิต้านทาน​จะสูงเพียงพอ หรือพอสมควรป้องกันไวรัสที่กลายพันธุ์​ได้ แต่เราต้องใช้เวลาถึง 14 สัปดาห์​จึงทำ​ให้​ภูมิสูงขนาดนั้น แต่ถ้าเรามาฉีดวัคซีน 2 เข็มที่สลับกัน โดยวัคซีนเข็มแรกเป็นซิโนแวค แล้วเข็มสอง เป็นแอสตร้าฯ จะเห็นได้ว่าภูมิต้านทานขึ้นมาใกล้เคียงกับการฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็ม ถึงแม้จะน้อยกว่ากันนิดเดียวโดยฉีดแอสตร้า 2 เข็มภูมิต้านทานอยู่ที่ 900 แต่ถ้าฉีดสลับกันเหมือนที่กล่าวข้างต้นภูมิต้านทานอยู่ที่ 800 ซึ่งเปรียบเทียบกับการฉีดซิโนแวค 2 เข็มอยู่ที่ประมาณ 100 แต่ถ้าการติดเชื้อในธรรมชาติจะอยู่ระหว่าง 70-80 ถ้าเป็นแบบนี้ไวรัสที่กลายพันธุ์​ก็มีโอกาสป้องกันได้มีมากกว่า แล้วผลสัมฤทธิ์​ในระดับภูมิต้านของร่างกายให้สูงขึ้นใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์  เพราะฉะนั้นในสถานการณ์​ในการระบาดของโรคที่เป็นไปอย่างรุนแรง เรารอเวลา 12 สัปดาห์ไม่ได้ การที่ต้องการให้ภูมิสูงขึ้นเร็ว การฉีดวัคซีนสลับเข็มเรามีภูมิที่สูงใกล้เคียงกับวัคซีนที่ใช้เวลาถึง 12 สัปดาห์​ จึงน่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับประเทศไทย ณ เวลานี้

"แต่ในอนาคตถ้ามีวัคซีนอื่นที่ดีกว่า พัฒนาที่ดีกว่า เราค่อยหาวิธีการที่ดีกว่า หรือไวรัสกลายพันธุ์​ไปมากกว่านี้ก็อาจจะมีวัคซีนที่จำเพาะเจาะจงกับสายพันธุ์​นั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ไข้หวัดใหญ่ที่ต้องมีการฉีดทุกปี เพราะฉะนั้นเวลาทุกวันของเรามีค่ามากในการต่อสู้กับโรคร้าย จึงขอ​สนับสนุนให้เห็นว่าข้อมูลทางวิชาการที่ศึกษามาจะเป็นประโยชน์ในการใช้จริง"ศ.นพ.ยง กล่าว

เมื่อถามว่า เชื้อกลายพันธุ์​ในขณะนี้มีความคืบหน้าอย่างไร และมีผลต่อการฉีดวัคซีนในไทยหรือไม่ ศ.นพ.ยง กล่าวว่า เราได้ทดสอบการ Blocking antibody จะเห็นได้ว่าการเปรียบเทียบซิโนแวค 2 เข็มกับซิโนแวคบวกกับแอตร้าฯที่สลับกันแล้ว เปอร์เซ็นต์​การขัดขวางตัวไวรัส ขึ้นไปได้ถึงสูงทีเดียว แต่ทั้งนี้ความปลอดภัยต้องมาก่อน

จากการศึกษาเรื่องความปลอดภัยเบื้องต้น มีการฉีดวัคซีน​สลับกันแบบนี้ในประเทศไทยมากกว่า 1,200 คนแล้ว ที่ฉีดมากที่สุดคือ รพ.จุฬาลงกรณ์​โดยที่ถูกลงบันทึกในแอพฯหมอพร้อม โดยให้บันทึกอาการข้างเคียงลงไป ปรากฏว่าไม่มีใครในจำนวนนี้มีอาการข้างเคียงรุนแรง เพราะฉะนั้นจึงยืนยันว่าการให้วัคซีนที่สลับกันมีความปลอดภัยในชีวิตจริง ส่วนการศึกษาของเราจะมีการนำออกมาอีกครั้งหนึ่ง ขอให้ผู้ปฏิบัติสบายใจว่า เราไม่ได้มีการฉีดสลับเป็นคนแรก

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/109562

 

13 ก.ค.64 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง  "เผชิญโควิดระลอกใหม่ด้วย “ความคิดใหม่”" ผ่านเว็บไซต์ www.thaipost.net มีเนื้อหาดังนี้                                                                        

ความคิดใหม่ ที่ ๑ : เราต้องรู้จักอยู่กับโควิด

ถาม    อะไรคือความคิดเก่า?

ตอบ    ต้องทำยอดผู้ติดเชื้อให้เป็นศูนย์ ใครติดเชื้อต้องทุ่มเทหาตัวมากักกันให้หมดรวมทั้งกลุ่มเสี่ยงด้วย  พบเชื้อแล้วต้องอยู่โรงพยาบาล โรงพยาบาลที่ตรวจพบต้องรับรักษาเสมอ  ผู้ติดเชื้อจะอยู่กับบ้านไม่ได้  วัคซีนต้องจัดหาและฉีดให้ราษฎรโดยรัฐเท่านั้น  รัฐเท่านั้นที่จะจัดการตรวจเชื้อ ฯ

ความคิดที่เห็นตนเองเป็นพ่อ ไม่ยอมให้ชาวบ้านเลือกอะไรได้เอง ทั้งวัคซีน ทั้งการตรวจ ทั้งการดูแลรักษาตนเอง จนปฏิเสธทั้งเสรีภาพชาวบ้านกับการทำงานของกลไกการตลาดทั้งหมดอย่างนี้  นี่แหละครับคือความคิดเก่า  ที่ทำให้ประชาชนต้องกลายเป็นเสมือนไก่ในเล้าปิดที่มีโรคระบาดเต็มเล้า   มีสัตว์แพทย์ คอยออกจอชี้แจงยอดติดเชื่อยอดตาย กับผู้จัดการเดินวนพูดนะจ๊ะๆๆ ไปวันๆเท่านั้น

ถาม    ความคิดใหม่เป็นอย่างไร?

ตอบ ความคิดเก่ามันฝืนทั้งความจริงและสิทธิพื้นฐาน     คุณเห็นไหม ในที่สุดรัฐก็ต้อง   ยอมขยายประตูนำเข้าวัคซีน ทั้งโดยภาคเอกชนและส่วนท้องถิ่น  รวมทั้งเครื่องมือตรวจเชื้อก็เริ่มขยายประคูแล้ว  

นี่คือทิศทางที่ถูก ผู้ติดเชื้อจะมีโอกาสตรวจตนเอง ดูแลตนเองได้  ถ้าไม่ไหวก็มีสถานที่แยกตัวชุมชนเป็นโรงเรียน เป็นวัดมาช่วยก็ได้    แต่ทิศทางนี้ ปัจจุบันก็ยังมีแรง  กีดกั้นจากความคิดเก่าๆอยู่อีกมาก

ในทางตะวันตกที่ประชาชนไม่ยอมเป็นไก่ เขาจะให้ชาวบ้านดูแลตนเองได้  การจัดหาและกระจายวัคซีนก็เปิดกว้างเข้าถึงง่ายกว่านี้   ตัวอย่างที่ชัดมากๆ ก็เช่นที่อเมริกา

ถาม    ก็คนป่วยล้นโรงพยาบาล ตายเป็นเบือแล้ว  เขาถึงยอมให้คนรักษาตัวอยู่กับบ้านได้ไม่ใช่หรือ

ตอบ    ไม่ใช่ครับ  เขาไม่ยอมกันแต่แรกโดยเห็นเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนเลย  ชาวบ้านในเมืองเขา ตรวจเชื้อได้เร็ว ซื้อเครื่องตรวจจากร้านขายยาข้างบ้านก็ได้  พบเชื้อแล้วรัฐก็มีข่ายที่ปรึกษาและชุดยากับเครื่องมือดูแลตนเองให้  ไปไม่ไหวจริงๆจึงจะรับเข้านอนโรงพยาบาล

ถาม    เขาเถียงเรื่องชนิดวัคซีนกันเหมือนบ้านเราหรือไม่ 

ตอบ    ให้เสรีภาพแล้ว คุณก็รับผิดชอบตนเอง เลือกเองไปตามที่คุณเชื่อ แล้วจะมาเถียงอะไรกันอีกให้หนวกหู  จะฉีดหรือไม่ ยี่ห้ออะไร ฉีดกี่เข็ม ฉีดข้ามชนิดได้ไหม ก็เลือกเอาเอง   แต่ถ้าไม่ยอมฉีด ไม่ยอมตรวจ แล้วขึ้นเครื่องบินไม่ได้ ก็ไม่รู้นะ

ถาม    บ้านเราเอาตัวอย่างเขามาปรับใช้ได้บ้างไหม

ตอบ    ยอดผู้ติดเชื้อไม่ต้องประกาศ บอกยอดผู้ป่วยในโรงพยาบาลกับความคับขันเท่านั้นก็พอ จะได้ตื่นตัวดูแลตัวเองกันมากๆ  

มาตรการการดูแลตนเองหรือโดยชุมชนนั้นเราต้องสนับสนุน พร้อมชุดยาและเครื่องมือจากรัฐ

วัคซีนตัวไหน   เครื่องมือตรวจเชื้อด้วยตนเองแบบไหนที่โลกเขาใช้กันแล้ว  ต้องเอาเข้ามาได้โดยสะดวก  อย.ต้องลดบทบาทลงมาดูที่ข้อมูลและการโฆษณาเท่านั้น   ภาษีทุกชนิดที่เกี่ยวข้องต้องไม่เสีย พอไม่เสียแล้ว รัฐก็ประกาศเข้าคุมราคาไม่ให้ค้ากำไรเกินควรอีกที    

ถาม    ในทางกฎหมายทำได้หรือครับ

ตอบ    นี่คือภาวะฉุกเฉิน จะมัวคิดเป็นขุนนางหวงอำนาจ เฝ้าแต่ละเมียดอำนาจไม่ได้ นายกฯต้องออกกฎหมายพิเศษ ตราพระราชกำหนดออกมาเลย    จะไปรอ  หมอขุนนาง หรือหมอวิชาการเสนอทำไม    มันชัดเจนแล้วว่าเรื่องโควิดนี้ เราต้องคืนเสรีภาพให้ประชาชนดูแลตนเองได้  ทั้งโดยความเป็นจริงและหลักการ

“ความคิดเก่า” ไม่ควรมีที่อยู่อีกต่อไป

ถาม    จีนเขาก็ใช้ใช้ความคิดเก่า เอาโควิดอยู่หมัดเลยไม่ใช่หรือ

ตอบ    ระบบพรรคเดียวของเขามันถี่ถ้วนจนสร้างความรับผิดชอบของทุกฝ่ายได้  บ้านเราไม่มีโครงสร้างเช่นนั้น  อย่างบ้านเรานี้ ถ้าการนำไม่ดี  คิดไม่เป็น หาความรับผิดชอบไม่ได้  มันก็ไปไหนไม่เป็นเลย ไม่เห็นหรือ
อย่างเรื่องฉีดวัคซีนนี่  ที่ถูกแล้ว ต้องรับจดทะเบียนแสดงความประสงค์เป็นตำบลก่อน  พอรัฐได้วัคซีนในมือแล้วจึงติดต่อให้มาฉีดตามตำบล ตามเวลาที่นัดหมายอีกที  ไม่มีใครเขารับนัดกันทีเดียวทั้งประเทศเป็นสองสามเดือนอย่างนี้หรอกครับ  ระบบนี้มันจัดการความเสี่ยงไม่ได้หรอก

ถาม    เขาไม่เห็นหรือครับ ว่าระบบจองวัคซีนของ “หมอพร้อม”มันใช้ไม่ได้

ตอบ    มันเป็นเรื่องที่ต้องซักถามกันในสภาว่าทำไมต้องแทงม้าตัวเดียว แล้วให้จองทีเดียวแบบนั้น   ลึกๆแล้วคุณต้องการเร่งสร้างภาพทางการเมืองให้ชาวบ้านสบายใจว่าได้วัคซีนแล้ว  ใจเย็นได้แล้วๆว่า “วัคซีนกำลังจะหมุนไป” ใช่หรือไม่ 

คุณทำได้อย่างไร ทั้งๆที่เห็นความเสี่ยงอยู่เต็มหน้าอย่างนั้น  นี่ไม่ใช่เรื่องคอร์รัปชั่นครับ  แต่เป็นเรื่องความไว้วางใจให้กุมชีวิตของเรา

ความคิดใหม่ที่ ๒ : การบริหารใหม่

ถาม    ถ้า กระทรวงหรือหมอเก่าๆ คัดค้านทิศทาง ตามความคิดใหม่นี้ จะว่าอย่างไร

ตอบ    นายกฯต้องรู้ว่าตนคือผู้นำและผู้รับผิดชอบ  ที่จริงนั้น ศบค.ยุบเสียก็ได้   แล้วตั้งผู้ช่วยรัฐมนตรีพร้อมคณะที่ปรึกษาในเรื่องโควิดนี้โดยเฉพาะ   ทำงานเต็มเวลามีหน้าที่ขบคิดรวบรวมหาข้อมูล ความคิดจากฝ่ายต่างๆ มาสกัดเป็นทางเลือกทางนโยบาย ( Delivery Office )  ให้นายกฯตัดสินใจโดยอธิบายได้ให้ได้ เรื่องไหนสำคัญก็เข้า ครม.  ถ้ารัฐมนตรีสาธารณะสุขขวางคลอง นายกฯก็ปลดเลย   ไม่ใช่ไปรวบเอาอำนาจตามกฎหมายมาให้นายกฯสั่งการเองทั้งหมด  แต่ข้อมูลกับงานมันกลับอยู่ที่กระทรวงอย่างนี้ มันผิดหลักจริงๆ

ถาม    แล้ว นายกฯทุกวันนี้ ทำอะไรอยู่

ตอบ    ปัญหาอยู่ที่เขาไม่ยอมเป็น “ผู้นำ” ครับ  เขาให้ ศบค.เป็นผู้พิจารณาและพูดให้เขาฟังเป็นเรื่องๆตามแต่วิกฤตมันจะพาไป  งานการมันจึงตามหลังปัญหาตลอด   ศบค.เองก็ตัดสินโดยการประชุมเป็นครั้งคราวตามประเด็นปัญหาที่ปรากฎเท่านั้น  

ทำงานอย่างนี้ มันสร้างการตัดสินใจไปในอนาคตด้วยข้อมูลและทางเลือก ที่ครบถ้วนกลั่นกรองแล้วไม่ได้

ถาม    ทำไมการจัดหาวัคซีน ถึงเละตุ้มเป๊ะเช่นทุกวันนี้

ตอบ    นายกฯอังกฤษ ตั้ง “คณะทำงานจัดหาวัคซีน” ตั้งแต่ได้ข่าวอูฮั่นแล้ว เขาเลือกจากคนที่เหมาะสมโดยครบถ้วนจริงๆ หมอขุนนางจากกระทรวงมีที่นั่งแค่ ๑ ที่นั่ง   หมอวิชาการอาวุโสที่มั่นใจตนเองมาก แต่ความรู้น้อยไม่เท่าทันกับความก้าวหน้าในวงวิชาการที่เกี่ยวข้องเขาก็ไม่เอา  ผู้ใหญ่ภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ในการหาแหล่งเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ เขาก็เอาเข้ามานั่งด้วยจะได้ชี้ให้เห็นถึงการจัดการความเสี่ยง ไม่ใช่แทงม้าตัวเดียว แล้วเอาม้าขาเป๋มาทดแทนแบบบ้านเรา

ถาม    พูดมาถึงตรงนี้ก็หลายประเด็นมาก  แล้วใครเขาจะฟังที่อาจารย์พูด

ตอบ    ผมพูดกับ “ประชาชน”  

ถาม    แล้วไม่มีอะไรจะพูดกับนายกฯ เลยหรือครับ?

ตอบ    นายกฯเปรม  ท่านก็มาจากระบบเลือกตั้งครึ่งใบเหมือนกัน   แต่ท่านไม่มีอีโก้ และรู้ซึ้งถึงความรับผิดชอบว่าท่านต้องเป็นผู้นำ   ที่สำคัญท่านรู้จักใช้ความรู้ ท่านรู้ว่าท่านไม่รู้อะไรบ้าง รู้ว่าความรู้อะไรที่ต้องใช้ ความรู้นั้นอยู่ที่ไหน ใครคือคนที่ต้องพึ่งพาให้มาช่วยบ้านเมือง แต่นายกฯปัจจุบัน ไม่ใช่คนอย่างนั้น  และอุปนิสัยที่ฝังลึกอย่างนี้ มันเปลี่ยนกันไม่ได้ด้วย   เป็นเรื่องส่วนบุคคลคุณอย่าไปเหมารวมว่าทหารใช้ไม่ได้    

ถาม    ท่านนายกฯเปรมไม่พูด “นะจ๊ะ” ด้วยนะครับ

ตอบ    นายกฯจะพูดจ้ะพูดจ๋าก็ไม่เป็นไร ถ้อยคำมันไมใช่ปัญหา  แต่ท่าทีและพฤติการณ์ที่แสดงจนรู้ได้ว่าไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับความทุกข์ยากของประชาชนเลยนั้น ตรงนี้ต่างหาก   ที่เป็นปัญหาด้านการสื่อสารของนายกฯคนนี้

ถาม    พูดอย่างนี้ ต้องมีคนไม่เห็นด้วยกับอาจารย์มากทีเดียว

ตอบ    เราต้องสร้างระบบที่ทำให้ประโยชน์อันเป็นธรรมของราษฎรจำนวนมากที่สุดปรากฏขึ้นมาเป็นเสาหลักในบ้านเมือง ให้ได้  ตรงนี้คือกระบวนการทางการเมืองที่พวกเราราษฎรต้องช่วยกันคิดอ่านและแสดงออก  จนเกิดการตัดสินใจ ของ “ประชาชน”ขึ้นมาได้ในที่สุด

ผมยังเชื่อว่ากระบวนการนี้ยังเป็นไปได้  ราษฎรคนไหนจะรักหรือเกลียด ลุงตู่หรือโทนี่ทักษิณ หรือบ้าชูสามนิ้วไล่งับหางชาติตัวเองไปวันๆ ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของเขา  ผมไม่ใส่ใจ ผมใส่ใจกับกระบวนการของ “ประชาชน” เป็นส่วนรวม

ถาม    แล้วพวกที่เห็นว่า คนไทยมากเรื่อง จะเอาวัคซีนฟรี โยกโย้จะเอาโน่นเอานี่อยู่ตลอดเวลา สู่รู้ไปเสียทุกอย่าง ล่ะครับ

ตอบ    ในบทความนี้ ผมพยายามชี้บ่งว่าชาวบ้านกำลังถูกทำให้เป็นเสมือนไก่ในเล้าปิด ที่โรคกำลังระบาดจนร้องเจี๊ยวจ๊าวไปหมด   ถ้าภาพนี้ถูกต้อง คุณจะมาตัดสินว่าไก่เล้านี้ไม่รู้จักพอ หนวกหู พูดมากไม่ได้    เราทุกคนล้วนเป็นไก่ในเล้าปิดนี้เหมือนกัน  คุณอาจต่างกับเขาก็ตรงเป็นไก่ที่ไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง

ช่วยกันคิดใหม่จนเลิกเป็นไก่ แล้วเป็นเสรีชนร่วมกันเผชิญวิกฤตรักษาบ้านเมืองให้ลูกหลานตาดำๆต่อไปเถิด นะจ๊ะ นะจ๊ะ นะจ๊ะ นะครับ..

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/109565

 

(คุยกับหมอสันต์เรื่องสถานะการณ์โควิด19 ต่อจากครั้งที่แล้ว)

ถาม

สถานะการณ์โควิดตอนนี้วิกฤติมากและเกินจุดที่จะเยียวยาแล้วใช่ไหม?

นพ.สันต์

ไม่ใช่หรอกครับ นับถึงวันนี้ (7 กค. 64) ข้อมูลจริงของประเทศไทยเป็นอย่างนี้นะ

มีคนติดเชื้อแล้ว 294,653 คน (0.43% ของประชากรทั้งหมด)

ตายไปแล้ว 2,333 คน (อัตราตาย 0.79%)

ฉีดวัคซีนครบแล้ว 3,082,746 คน (4.60%)

จำนวนโด้สวัคซีนที่ฉีดไปแล้ว 11,328,043 โด้ส

ผมไฮไลท์ให้เห็นอีกทีนะ มีคนไทยเพิ่งติดเชื้อโควิดไปเพียง 0.43% ของประชากรทั้งหมด ขณะที่ประเทศที่ติดโรคนี้หนักๆเขาติดโรคนี้กันระดับ 10% และคนไทยก็เพิ่งฉีดวัคซีนครบแล้วเพียง 4.6% ขณะที่ประเทศที่เขาขยันฉีดเขาฉีดไปแล้ว 50% คือถ้าเปรียบเรื่องนี้เป็นการทำสงครามของไทยเราก็เพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นรบกันเหยาะๆแหยะๆที่โน่นนิดที่นี่หน่อยเท่านั้นเอง สงครามใหญ่ยังไม่เกิดขึ้น ยัง..ยัง ยังไม่ถึงวิกฤติหรือจุดที่เยียวยาไม่ได้หรอก ยังอยู่อีกไกล และยังมีอะไรที่ลงมือทำแล้วจะพลิกสถานะการณ์ได้อีกแยะ

ท่านที่กังวลว่าอัตราการติดเชื้อ 0.43% นี่ของหลอกหรือเปล่าเพราะเราตรวจค้นหาเชิงรุกได้น้อย ก็ให้มาดูที่อัตราตายก็ได้ครับซึ่งเป็นตัวเลขจริงที่ช่วยควบคุมว่าอัตราการติดเชื้อน้อยกว่าความเป็นจริงหรือเปล่า กล่าวคือหากอัตราการติดเชืัอตรวจได้น้อยกว่าความเป็นจริงอัตราตายก็จะสูงกว่าตัวเลขสากลโดยอัตโนมัติเพราะคนไทยสมัยนี้คนที่ใกล้ตายเกือบทั้งจะหมดมาตายที่โรงพยาบาลและคนที่ถูกรับเข้าโรงพยาบาลทุกคนล้วนถูกตรวจหาเชื้อโควิด อัตราตายจากโควิดของไทยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ 0.79% ซึ่งต่ำกว่าอัตราตายสากลที่มีอัตราตายเฉลี่ยทั่วโลก 2.16% ยิ่งหากรวมพวกติดเชื้อที่คาดเดาเอาว่ายังมีอีกมากเพราะไม่ได้ตรวจอัตราตายก็จะยิ่งต่ำกว่าอัตราตายสากลไปมากกว่านี้อีก ตัวเลขอัตราตายที่ต่ำกว่าสากลนี้เป็นตัวช่วยคุมว่าตัวเลขการติดเชื้อไม่ได้ต่ำกว่าความเป็นจริงไปมากนัก

ถาม

แล้วแนวทางแก้ไขต้องมีอะไรใหม่ไหม?

นพ.สันต์

ไม่มี ก็ทำตามแนวทางที่ทำมานั่นแหละแต่ทำให้มันดีขึ้นกว่าเดิม คือด้านหนึ่งก็กดโรคให้อยู่ อีกด้านหนึ่งก็ระดมฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้

ถาม

ตามเสียงของแพทย์ต่างๆที่แสดงความเห็นออกมาใน public โรคมันกดไม่อยู่แล้วไม่ใช่หรือ?

นพ.สันต์

ไม่จริ๊ง..ง โรคเพิ่งกระจายไปได้แค่ 0.43% ของประชากรจะบอกว่ากดไม่อยู่ได้อย่างไร โรคนี้ระบาดไปทั่วโลกนานปีกว่าแล้วนะ แล้วทำไมเราติดโรคแค่ 0.43% ขณะที่ประเทศอื่นเขาติดกัน 5% บ้าง 10% บ้าง นี่แหละคือเรายังกดโรคไว้อยู่ เพียงแต่ว่ามาระยะหลังนี้แนวโน้มเวลาที่จำนวนเคสดีดตัวเพิ่มเป็นสองเท่า (doubling time) มันชักจะสั้นลงจึงมีคนกังวลว่าโรคมันกำลังลุกลาม นั่นเป็นแค่ความกังวล แต่ความเป็นจริงคือตามกลไกของการระบาดตอนนี้โรคยังอยู่ในระยะกระจายเป็นหย่อมๆ (cluster of cases) ยังไปไม่ถึงระยะการระบาดในชุมชน (community infection) ดังนั้นการตั้งหน้ากดโรคจึงเป็นทางไปทางเดียว ทางอื่นไม่มี การคิดจะปล่อยหรือเลิกควบคุมโรคนั้นไม่ใช่ทางเลือกเลย

ทุกวันนี้ในชนบทซึ่งเป็นฐานที่มั่นอย่างแท้จริงของการควบคุมโรคในระดับประเทศนั้นกลไกการควบคุมโรคยังได้ผลดีระดับใกล้ 100% เลยทีเดียว การที่ชนบทหยุดโรคในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาได้เป็นเครื่องยืนยัน

ปัญหาก็เหลืออยู่แค่สองจุด หนึ่ง คือกลไกด่านกักกันโรคในระดับประเทศ หมายถึงว่าการกักกันโรคจากภายนอกประเทศไม่ให้เข้ามาซึ่งเรายังทำได้ไม่ดี สอง คือเรายังขาดรูปแบบการควบคุมโรคที่ได้ผลดีสำหรับกรุงเทพและปริมณฑล ถ้าเราเอารูปแบบการควบคุมโรคที่ได้ผลดีแล้วในชนบทมาลองประยุกต์ใช้ ผมหมายถึงว่าคัดลอกรูปแบบ รพ.สต. และ อสม. มาประยุกต์ เช่นมองคอนโดหนึ่งหลัง โรงงานหนึ่งโรง หรือสลัมหนึ่งสลัมว่าเป็นเสมือนหมู่บ้านในชนบทหนึ่งหมู่บ้าน นี่เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าจะลองดู

ถาม

หมายความว่าไม่ต้องล็อคดาวน์

นพ.สันต์

ไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าล็อคดาวน์มีความหมายเหมือนอย่างที่เคยทำมาคือยังมีการเดินทางไปมาหาสู่กันได้ล็อคดาวน์หรือไม่ล็อคดาวน์ก็แปะเอี้ย ความสำคัญมันอยู่ที่การเปลี่ยนยุทธศาสตร์การควบคุมโรคในกรุงเทพและปริมณฑลโดยเอาความสำเร็จของการควบคุมโรคในชนบทเป็นแม่แบบ

ถาม

คุณหมอว่าหนึ่งในสองปัญหาใหญ่อยู่ที่ความอ่อนแอของด่านกักกันโรค การเปิดภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ก็ยิ่งเพิ่มปัญหาสิ

นพ.สันต์

แซนด์บ็อกซ์หรือแซนด์พิทหมายถึงกะบะหรือหลุมทรายสำหรับเด็กเข้าไปเล่น มันเป็นที่จำลองที่ปลอดภัยสำหรับการทดลองเล่นโน่นนี่นั่นสำหรับเด็ก คอนเซ็พท์ของการเปิดภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ก็คือเพื่อเป็น test model ว่าเราจะเปิดประเทศได้โดยปลอดภัยได้ไหม ผมว่ามันมีข้อดีตรงที่มันเปิดให้รัฐได้ใช้เป็นสนามซ้อมในการทำด่านกักกันโรคที่มีประสิทธิภาพ ผมกลับมีความเห็นว่าควรจะเปิดแซนด์บ็อกซ์แบบนี้เยอะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด่านที่เราแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานไม่ได้ เช่นแม่สอดแซนด์บ็อกซ์ แม่สายแซนด์บ๊อกซ์ สระแก้วแซนด์บ็อกซ์ เป็นต้น ยิ่งลองทำแยะยิ่งดี เพราะเมื่อสามารถลองผิดลองถูกได้ ความรู้ว่าวิธีใหนดีไม่ดีก็จะเกิดตามมา ดีกว่านั่งตะบันทำแบบเดิมๆที่ทำมาแล้วหลายสิบปีทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่ามันเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ถาม

เรื่องความกังวลว่าแพทย์พยาบาลจะติดเชื้อป่วยตายจนไม่มีใครมารักษาคนป่วย?

นพ.สันต์

ก่อนอื่นผมออกตัวก่อนว่าผมเป็นเหมือนทหารผ่านศึกที่ปลดประจำการแล้ว ไม่รู้หรอกว่าในสนามรบสมัยนี้เขาใช้ปืนกันแบบไหนโยนระเบิดกันอย่างไร ดังนั้นผมไม่รู้หรอกว่าการบำรุงขวัญกำลังใจให้แพทย์พยาบาลที่หน้างาน ณ วันนี้เราควรจะต้องทำมากประมาณไหน ตรงนี้ผมไม่รู้จริงๆ คนที่ดูแลหน้างานอยู่จริงๆเท่านั้นที่จะให้น้ำหนักได้และตัดสินใจได้ ผมรู้แต่การใช้หลักฐานข้อมูลในภาพรวมมาประเมินความเสี่ยง อย่างเช่นความเสี่ยงที่แพทย์และพยาบาลที่หน้างานจะป่วยจะตายจากโรคนี้มากจนไม่มีคนทำงาน ข้อมูลความจริงทั่วโลกคืออัตราการป่วยและตายจากโควิดของแพทย์พยาบาลไม่ต่างจากอัตราป่วยและตายจากโควิดของประชาชนทั่วไปในเพศและวัยเดียวกันที่โครงสร้างสุขภาพคล้ายกัน ข้อมูลอันนี้ทำให้เรารู้ว่าความกังวลที่ว่าแพทย์พยาบาลจะติดโรคตายกันมากจนไม่มีใครมารักษาคนไข้นั้นเป็นความกังวลที่มากเกินความจริง

ถาม

แล้วถ้าคนไข้ล้นโรงพยาบาลทั่วประเทศขึ้นมาละ?

นพ.สันต์

ก็ต้องทำสองอย่าง นอกโรงพยาบาลก็ทำระบาดวิทยาเชิงรุกให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ในโรงพยาบาลก็บริหารกำลังพลเพื่อตรึงกำลังให้สู้ได้นานที่สุด คำว่าบริหารกำลังพลผมหมายถึงการทดลองเอาหลักฐานวิทยาศาสตร์มาเปลี่ยนวิธีทำงานให้มันมีคนมาทำงานมากขึ้น ทำงานได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่นแพทย์พยาบาลที่ติดโรคแต่ไม่มีอาการอาจจะไม่ต้องหยุดงาน และวอร์ดที่มีแพทย์พยาบาลติดโรคโดยไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องปิดวอร์ด เพราะไม่มีหลักฐานว่าการทำทั้งสองอย่างจะทำให้อัตราตายของทั้งแพทย์พยาบาลและคนป่วยลดลงแต่อย่างใด การจัดเวรขึ้นกะของพยาบาลก็อาจจะเปลี่ยนให้มันสอดคล้องกับรอบของระยะฟักตัวของโรค เช่นขึ้น 14 วัน หยุด 14 วันแบบพวกทำงานบนแท่นเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง เป็นต้น

ถาม

แต่ทุกวันนี้ในแง่การคัดกรองเชิงรุกนโยบายบังคับให้รพ.ที่ตรวจพบโควิดต้องเป็นผู้รับผู้ป่วยไว้รักษาในราคาที่รัฐล็อคไว้ ทำให้ไม่มีการตรวจคัดกรองเชิงรุก

นพ.สันต์

ก็แจก kit ให้ไปตรวจคัดกรองตัวเองในบ้านหรือในโรงงานของใครของมันสิครับ ไม่ต้องมาร้องขอให้รพ.หรือห้องแล็บตรวจให้ สมัยนี้มีวิธีตรวจคัดกรองแบบง่ายๆที่มีความไวพอควรให้ใช้หลายแบบแล้ว ตรวจเสร็จหากได้ผลบวกก็ค่อยเข้าสู่กระบวนยืนยันและการรักษา เช่นเริ่มด้วยการแจ้งผ่านอสม.หรือศูนย์ควบคุมโรคเขตของตัวเองทราบ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ก็จะจัดชั้นใส่สีและให้คำแนะนำแผนการรักษาให้เป็นคนๆไป คนที่อาการหนักจึงจะไปจบที่โรงพยาบาล โดยวิธีนี้คนก็ไม่ต้องประดังไปโรงพยาบาลเสียตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัยโรค และเมื่อป่วยจริงแล้วก็อาจจะไม่ต้องไปโรงพยาบาลเลยเพราะไม่มีอาการหรืออาการเบา อาจจะแค่รักษาตัวเองอยู่ที่บ้านแบบ home isolation ก็ได้ วิธีนี้นอกโรงพยาบาลก็ยังทำระบาดวิทยาเชิงรุกได้อยู่ ในโรงพยาบาลก็บริหารกำลังพลสู้กับโรคไป จนกว่าโรคจะสงบหรือการฉีดวัคซีนจะครอบคลุมทั้งประเทศ

ถาม

มีประเด็นเรื่องประสิทธิผลของวัคซีนที่ใช้ไหม?

นพ.สันต์

ถึงจะมีประสิทธิผลต่างกันก็ไม่ควรยกมาเป็นเรื่องใหญ่ ในวงการแพทย์นี้เป็นธรรมเนียมมาช้านานแล้วว่าวัคซีนป้องกันโรคระบาดหากมีประสิทธิผล 50% เราก็เอาออกใช้แล้ว วัคซีนทั้งสามตัวที่ WHO อนุมัติให้ใช้มีประสิทธิผลเกิน 50% หมด ส่วนตัวไหนดีกว่าตัวไหนจริงๆแล้วยังไม่มีงานวิจัยเปรียบเทียบแบบ RCT จึงยังไม่มีใครพูดได้เต็มปากได้แต่อ้างหลักฐานเบื้องต้น ไปภายหน้าเวลาจะเปิดเผยให้เรื่องมันแดงขึ้นมาเองว่าตัวไหนดีกว่าตัวไหนแต่ไม่ใช่ตอนนี้ เรื่องวัคซีนนี้ความสำคัญมันอยู่ที่การไม่มีวัคซีนใช้ ทำให้การฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม (vaccine coverage) ในระดับประเทศเนิ่นช้าออกไปมาก ดัชนี vaccine coverage นี้เป็นดัชนีควบคุมโรคตัวหลักที่ WHO ใช้โดยไม่แยกแยะชนิดหรือประสิทธิผลของวัคซีน เรื่อง coverage นี้มันเป็นประเด็นสำคัญมากแต่ก็เป็นสภาวะจำยอมที่ไม่มีใครทำอะไรได้ ได้แต่ร้องเพลงรอ แต่ผมอยากให้เรามองย้อนหลังไปว่าหนึ่งปีกว่ามานี้เราก็ไม่มีวัคซีน เพิ่งฉีดไป 4.6% ก็แทบจะเท่ากับยังไม่ได้ฉีด แต่ทำไมเรากดโรคให้ต่ำอยู่แค่ระดับ 0.43% ได้ละ เป็นเพราะความสามารถในการทำระบาดวิทยาเชิงรุกของเราไม่ใช่หรือ นั่นแหละคือจุดแข็งของเรา แล้วทำไมเราไม่โฟกัสที่จุดแข็งของเรา

ถาม

ความเห็นเรื่องการฉีดวัคซีนเข็มที่สามให้แพทย์พยาบาลหน้างาน

นพ.สันต์

ผมตอบไปแล้วว่าผมเหินห่างจากงานการแพทย์ที่ด่านหน้ามานาน ไม่รู้เลยว่าควรทำอะไรแค่ไหนในแง่ของการสร้างขวัญกำลังใจ ตรงนี้ผมตอบไม่ได้ ต้องให้คนที่ดูแลหน้างานจริงๆเป็นคนตอบ

ถาม

จากนี้ไปคนไทยทั่วไปควรเตรียมรับมือกับโควิดอย่างไร ต้องซื้อเครื่องทำออกซิเจนไว้ใช้ที่บ้านไหม หลวงพ่อที่วัดฝากถามเลยไปถึงว่าต้องเปลี่ยนแปลงเร่งรัดวิธีการทำศพหรือเปล่า?

นพ.สันต์

ใส่หน้ากาก อยู่ห่าง ล้างมือ ฉีดวัคซีน และร่วมมือกับรัฐในการควบคุมโรคยังเป็นยุทธศาสตร์หลักสำหรับประชาชนทั่วไป

ส่วนการตุนเครื่องทำออกซิเจนนั้นเป็นเรื่องที่จะเสียมากกว่าได้ คือเสียเงินแต่โอกาสจะได้ใช้จริงมีน้อยมากจนไม่คุ้มที่จะเสียเงิน สำหรับเมืองไทยนี้ถ้ามีการระบาดของโรคจนขนาดต้องดูแลกันเองที่บ้านมากระดับนั้นขึ้นมาจริง การที่รัฐหรือองค์กรการกุศลจะจัดตั้งระบบแชร์เครื่องทำออกซิเจนแบบโฮมยูสไปตามบ้านต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก

ส่วนที่หลวงพ่อฝากถามเรื่องควรปรับวิธีเผาศพให้เร็วขึ้นไหมนั้น อันนี้มันต้องเป็นดุลพินิจของหลวงพ่อเองนะครับ ใครทำงานอะไรอยู่ก็ต้องพยายามปรับวิธีทำของตัวเองให้มันดีขึ้นๆนี่มันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ถ้าถามผมว่าคนจะตายมากจนเผาศพไม่ทันไหม ข้อมูลเท่าที่ผมมีอยู่ตอนนี้คือคนไทยตายเฉลี่ยวันละประมาณ 1,285 คน ในจำนวนนี้ตายจากโควิดประมาณ 75 คน ตายจากอุบัติเหตุประมาณ 35 คน ขณะที่โควิดทำให้คนตายมากขึ้น อุบัติเหตุกลับมีคนตายน้อยลง โหลงโจ้งแล้วนับถึงวันนี้โควิดยังไม่ได้เพิ่มอัตราตายรวมได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนอัตราตายรวมในอนาคตจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมโรคของรัฐบาลและคนไทยทุกคน ซึ่งไม่สามารถคาดเดาตัวเลขได้ หลวงพ่ออยากรู้จริงๆก็ต้องไปถามหมอดูละครับ

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

บรรณานุกรม

Bandyopadhyay S, Baticulon RE, Kadhum M, et al. Infection and mortality of healthcare workers worldwide from COVID-19: a systematic review. BMJ Global Health 2020;5:e003097. doi:10.1136/bmjgh-2020-003097

10072564 news 01

กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ มีมติเห็นชอบ ให้ Rapid Antigen Test เป็นชุดตรวจโควิดได้ที่บ้าน เตรียมชง ‘อนุทิน – อย.’ ไฟเขียว 12 ก.ค. ก่อนจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป

----------------------------------------------------

จากกรณีที่ ประชาชนเริ่มประสบปัญหาความยากลำบากจากการเข้าแถวต่อคิวเพื่อรอรับการตรวจหาเชื้อโควิด ส่งผลให้หลายหน่วยงานออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐออกมาแก้ไขปัญหา รวมถึง ชมรมเภสัชชนบท ที่ทำจดหมายเปิดผนึก เรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงการใช้ชุดตรวจโควิดเบื้องต้น

(ข่าวประกอบ : ชมรมเภสัชชนบทร้อง 3 หน่วยงานรัฐ หนุนใช้ชุดตรวจโควิดเบื้องต้นสำหรับประชาชน)

แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ล่าสุด กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีมติเห็นชอบให้ ชุดตรวจโควิด ประเภท Rapid Test แบบตรวจหา Antigen หรือการตรวจหาเชื้อไวรัส ด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างจากทางจมูก และน้ำลายให้เป็นชุดตรวจหาเชื้อได้เองที่บ้าน โดยจะเสนอให้ อย. รวมถึง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข พิจารณาให้ความเห็นชอบในวันจันทร์ที่ 12 ก.ค.2564 นี้

แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยอีกว่า การอนุมัติใช้ Rapid Test แบบตรวจหาเชื้อไวรัส เป็นชุดตรวจโควิดแบบเร่งด่วนที่จะช่วยลดความแออัดของประชาชนที่ไปรอตรวจหาเชื้อโควิดในจุดต่างๆในพื้นที่ กทม.ได้ รวมถึงจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตรวจหาเชื้อเชิงรุกได้อย่างมีรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้หากผู้รับผิดชอบอนุมัติแล้ว จะส่งผลให้ชุดตรวจโควิดแบบเร่งด่วน สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยคาดว่าจะมีราคาอยู่ที่ชุดละ 300-400 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อชุดตรวจโควิด ประเภท Rapid Test แบบตรวจหาเชื้อไวรัส ที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าจาก อย. ได้ประกาศอยู่ในเว็บไซต์ของกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ โดยข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 6 ก.ค.2564 มีบริษัทที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าจาก อย. รวม 24 บริษัท

ข้อมูลจาก https://www.isranews.org/article/isranews/100354-isranews_news-29.html

 

1).สถานะการณ์จะเลวร้ายอีกใน2อาทิตย์ข้างหน้า
2). ทุกรพ.ในกทม. ไม่รับคนไข้แล้ว...มันเต็มจนล้น
3). แต่คนป่วยใช้วิธีการให้
Taxi ขับไปทิ้งตนเองที่หน้า
ER..รพ. ไม่รู้จะทำอย่างไร
กลายเป็นคนป่วยเพ่นพ่าน
4). ทุกรพ.ในกทม. ไม่รับตรวจเด็ดขาด เพราะกลัวว่าเมื่อตรวจเป็นบวกแล้วต้องรับผู้ป่วย...มันเกิดขึ้นแล้วครับ....
5).รพ. สนามเต็มหมดแล้ว
6). เดือนสิงหาจะมีผู้ป่วยนอนข้างถนน
7) ตลาด ชุมชน โรงงาน แคมป์ และติดเชื้อในบ้าน ยังเป็นเป้า + โรคเรื้อรัง 6 โรค
8) ไม่ควรไปไหนเด็ดขาด
ขออยู่บ้านและอยู่บ้านๆๆๆๆ
9) วัคซีนสองเข็มอาจเอาdelta ไม่อยู่ ดังนั้นต้องล๊อกดาวน์ ตัวเองและทุกคน..อย่างเดียว

7 ก.ค. 2564 วิจัยกรุงศรีรายงานว่า การส่งออกที่เติบโตดีในเดือนพฤษภาคมช่วยหนุนการผลิตภาคอุตสาหกรรม แต่การใช้จ่ายในประเทศทรุดลงต่อเนื่องจากการระบาดระลอกที่สามของ COVID-19 โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนพฤษภาคมหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (-3.1% MoM sa)  ตามการลดลงในทุกหมวดการใช้จ่าย ผลกระทบจากการระบาดรอบสามของ COVID-19 มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด จำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นทรุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์  แม้มาตรการภาครัฐจะช่วยพยุงกำลังซื้อภาคครัวเรือนได้บางส่วน เช่นเดียวกับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงจากเดือนก่อน (-2.3%) ตามอุปสงค์ในประเทศและความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ทรุดลง ทำให้การลงทุนลดลงทั้งในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ และหมวดก่อสร้าง ขณะที่ภาคท่องเที่ยวยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียงเล็กน้อย (6,052 คน) จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยวในประเทศได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกสาม อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกที่เติบโตดีต่อเนื่อง (44.4%YoY) อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทำให้การส่งออกปรับดีขึ้นและกระจายตัวทั้งในตลาดและหมวดสินค้า และช่วยหนุนให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัวจากเดือนก่อนในช่วงที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ทำให้ทางการต้องยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล  กับอีก 4 จังหวัดภาคใต้ รวมถึงจำกัดกิจกรรมในพื้นที่ดังกล่าวที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาด อาทิ การก่อสร้าง การนั่งรับประทานในร้านอาหาร  เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน   ขณะเดียวกันรัฐบาลได้อนุมัติมาตรการวงเงิน 8,500 ล้านบาท เพื่อเยียวยาแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมที่เข้มงวดดังกล่าว เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังจึงมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความเสี่ยงขาลงและยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด การจัดหาและการกระจายวัคซีน ซึ่งล่าสุดวิจัยกรุงศรีได้ทบทวนประมาณการจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ของไทยอีกครั้งโดยใช้ข้อมูลถึงวันที่ 28 มิถุนายน การคาดการณ์อยู่บนพื้นฐานของแบบจำลอง SIR ใช้ข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันผนวกเข้ากับ mobility index ผลการประมาณค่าด้วยสมมติฐานแบ่งออกเป็น 3 กรณี  ดังนี้

 1) Best case (เส้นสีเหลือง): การติดเชื้อในอนาคตจะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับรูปแบบการติดเชื้อจากจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในอดีต (บนสมมติฐานว่าลักษณะการแพร่เชื้อและการควบคุมจะเหมือนกับช่วงตั้งแต่ต้นปี 2563) ผลการศึกษาพบว่าจะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันต่ำกว่า 100 รายจะเป็นประมาณต้นเดือนตุลาคม

2) Base case (เส้นสีส้ม): การติดเชื้อในระยะข้างหน้าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบการติดเชื้อในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (หรือการแพร่ระบาดจะมีผลจากสายพันธุ์ใหม่และลักษณะการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น) ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะยังเพิ่มขึ้นได้อีก และ peak ของการติดเชื้อจะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม โดยการติดเชื้อจะลดลงตามการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น (คาดอัตราการฉีดเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5-2.7 แสนโดสต่อวัน) ควบคู่ไปกับการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ จะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันต่ำกว่า 100 เมื่อพ้นกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป 

3) Prolonged case (เส้นสีแดง): รูปแบบการติดเชื้อในอนาคตคล้ายกับประเทศบราซิลและอิตาลี ซึ่งมีลักษณะเหมือนภูเขาหลายลูกซ้อนกัน จากการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจเร็วกว่าผลของภูมิคุ้มกันหมู่ที่จะเกิดขึ้นในวงกว้างจากการฉีดวัคซีน ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันกลับมาเพิ่มขึ้น ในกรณีนี้ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและจะยังคงอยู่ในระดับสูงแม้พ้นสิ้นเดือนตุลาคมไปแล้ว

 สำหรับภาวะเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่ผลกระทบจากไวรัสกลายพันธุ์อาจมีไม่มาก ในเดือนมิถุนายนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ด้านการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นประมาณ 8.5 แสนตำแหน่งสูงกว่าตลาดคาด ส่วนอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 5.9% สูงกว่าเดือนก่อนเล็กน้อย ล่าสุดจำนวนผู้ยื่นขอรับสิทธิสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 มิถุนายนปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดเมื่อเดือนมีนาคม 2563

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/108887