10 ม.ค. 2564 นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "โควิดมาเฟีย !" ผ่าน www.thaipost.net โดยมีเนื้อหาดังนี้

ถาม โควิด ๒ ต่างกับโควิด ๑ อย่างไร


ตอบ โควิด ๑ เป็นโควิดโลกาภิวัฒน์ ที่แพร่เข้าบ้านเราตามความใกล้ชิดกับต่างประเทศแต่โควิด ๒ เป็น โควิดมาเฟีย ที่มีชุมชนแรงงานเถื่อนสมุทรสาคร กับบ่อนพนันตอนเหนือตะเข็บชายแดนพม่า และอาณาจักรบ่อนตะวันออก เป็นฐานส้องสุมโรค

ฐานโควิดทั้งสามฐานนี้ล้วนเกิดจากโครงข่ายมาเฟียทั้งสิ้น แพร่เข้ามาแล้วก็กระจายได้กว้าง เร็ว เงียบ เรามัวแต่ดักโรคที่สุวรรณภูมิ กว่าจะรู้ตัวว่าเข้าบ้าน เข้าห้างแล้ว ก็ไล่ตามไล่ตรวจกันไม่หวาดไม่ไหว จนวันนี้ก็ถึงขั้นต้องตั้งด่านตรวจกักกันกันทั้งภาคเลย

วิกฤตทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าบ้านเราไม่มีโครงข่ายมาเฟียบ่อนพนันและมาเฟียค้าแรงงานเถื่อน ที่เติบกล้าครบวงจรแล้ว

ถาม เติบกล้าครบวงจรอย่างไร

ตอบ ระบบมาเฟียนั้น มันต้องมีการจับมือกันระหว่างซุ้มผู้ประกอบการกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยต้องจัดตั้งกันจนเป็นระบบเลยทีเดียว อย่างบ่อนระยองนี่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ระบุว่าถึงขั้นพัฒนาเป็นระบบให้สัมปทาน ที่เจ้าพ่อจ่ายเงินซื้ออำนาจตำรวจด้วยข้อตกลงเดียวกับเจ้าหน้าที่กลุ่มเดียว ก็ซื้อได้เรียบร้อยหมด ซื้อได้พื้นที่ทั้งจังหวัด ได้ความสมยอมของตำรวจทุกเหล่าทั้งโรงพักในพื้นที่และส่วนกลางเช่นกองปราบ และได้ทุกระดับด้วยทั้งจังหวัด กองบัญชาการ และกรม

เมื่อซื้ออำนาจได้เบ็ดเสร็จด้วยการจ่ายเบ็ดเสร็จแบบนี้เมื่อใด ฝ่ายเอกชนผู้ประกอบการ(เจ้าพ่อ)ก็จะมั่นคงพอที่จะลุยลงทุนได้เต็มพิกัด จนระยองกลายเป็นมาเก๊าเมืองไทยไปเลยทีเดียว แล้วก็ยังขยายต่อไปจันทบุรี ชลบุรี อีกด้วย เมื่อโควิดเข้าบ่อนก็ลามเข้าบ้านจนถึงขนาดต้องปิดภาคตะวันออกตรวจกันอย่างที่เห็น

ถาม ถ้าซื้ออำนาจรัฐทั้งระบบอย่างนี้ไม่ได้ ก็ลงทุนจนเป็นองค์การมาเฟียไม่ได้

ตอบ เหมือนคุณเป็นพ่อเลี้ยงแม่สอด ลุยตัดไม้สักในพม่าได้มากมาย ต้องขนเป็นขบวนใหญ่จากแม่สอดมาลงเรือส่งออกที่คลองเตยเป็นสิบคันรถฯ ถามว่าคุณจะผ่านตำรวจมาได้อย่างไร ทั้งตำรวจภูธรตาม สน.รายทาง, ตำรวจป่าไม้,ตำรวจกองปราบ,ตำรวจทางหลวง,ตำรวจวิทยุฯ ทั้งหมดนี้คุณจะควักไปจ่ายไปเป็นด่านๆ ไม่ได้ มันต้องจ่ายครั้งเดียว แล้วให้เขาไปจัดการกันเอง มันถึงจะเป็นไปได้และคุมต้นทุนทางกฎหมายได้

ถาม ก็หนีไม่พ้นระบบขอสัมปทานขนไม้เถื่อนอีก ระบบสัมปทานอย่างนี้ก็ต้องมีมาเฟียอยู่ในฟากตำรวจด้วย ถึงจะจัดการอำนาจตำรวจได้เบ็ดเสร็จทุกส่วน

ตอบ ถูกต้องครับ เฉพาะสัมปทานบ่อนนี้ กำเริบเสิบสานมากตั้งแต่ยุค คสช.แล้ว คุณจะพบว่าในสมัย คสช.นั้น ระบบโยกย้ายแต่งตั้งตำรวจได้ถูกรื้อทิ้งหมดเลย กล่าวคือ
- ก่อน คสช.นั้น อำนาจโยกย้ายแต่งตั้ง ผู้การ,ผู้กำกับ จะอยู่ที่การประเมินผลและเสนอ กตร. โดยกองบัญชาการต่างๆ โดยระบบนี้การย้ายตำรวจข้ามภาคจะเกิดขึ้นได้ยาก
- ยิ่งไปกว่านั้นการย้ายแต่ละครั้ง จะทำได้เมื่อผู้นั้นดำรงตำแหน่งเกิน ๒ ปีแล้ว ถ้าก่อน ๒ ปี ต้องมีเหตุผลโดยชอบที่อธิบายได้
- ในส่วนของการเลื่อนระดับ ให้ถืออาวุโสเป็นเกณฑ์ เว้นแต่จะมีเหตุผลโดยชอบอันอธิบายได้
คุณลองคิดดูสิครับว่า ถ้าเกณฑ์ทั้งสามข้างต้นถูกรื้อทิ้งไปแล้ว อะไรจะเกิดขึ้น คำตอบก็คือ “มาเฟียตำรวจ” นั่นเอง

ถาม คงวิ่งเต้นหรือขายตัว กันได้ทั้งประเทศเลยเป็นแน่

ตอบ นั่นแน่นอนอยู่แล้วครับ เมื่อผู้กำกับหรือสารวัตร ใน สน.ระยอง สิบกว่า สน. จะถูกเตะถูกย้ายเมื่อไหร่ไปไหนก็ได้ แล้วเอาใครมานั่งก็ได้ อาวุโสเท่าใดก็ได้อย่างนี้ ซุ้มอำนาจในกรุงเทพ ก็ย่อมคัดสรรผู้ยอมตนเป็นลูกน้อง มาร่วมอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับสัมปทานบ่อนระยองได้ โดยสะดวก

ในแนวดิ่งนั้นคนไม่ดีจะก้าวข้ามอาวุโสตะกายขึ้นไปครองอำนาจได้ทุกขณะเช่นกัน

ถาม เห็นคุณสนธิระบุว่า คราวที่แล้วมีผู้กำกับในระยอง ชลบุรี ถูกเตะโด่งออกนอกภาค ๒ สิบกว่าคนเลยนะครับ

ตอบ อันที่จริงเขาเตะข้ามภาคกันมาหลายปีแล้ว เพราะช่วง คสช.นั้นมีการซื้อขายตำแหน่งอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ถ้าคุณไม่เชื่อไปถามบิ๊กโจ๊กดูก็ได้ แต่พอมาถึงกรณีให้สัมปทานบ่อนตะวันออก มันก็เตะตามความเหมาะสมเพื่อหาคนที่ยอมร่วมมือมาอยู่ระยองเท่านั้น

ถาม เมื่อ คสช.รื้อระบบบริหารบุคคลของตำรวจจนเละเทะอย่างนี้ หลายปีที่ผ่านมานี้ คนดีๆมียางอายมีฝีมือในราชการตำรวจ คงต้องจมอยู่ตามพื้นที่บ้านนอก และหาความก้าวหน้า ก้าวขึ้นมาระดับสูงได้ยากมากใช่ไหมครับ

ตอบ เป็นเช่นนั้น อย่าหวังเลยว่าตำรวจยุคลุงตู่ จะใช้งานเพื่อบ้านเมืองได้อย่างจริงจัง “โควิดมาเฟีย ” ในวันนี้ เป็นผลบั้นปลายของความทรุดโทรมในราชการตำรวจยุค คสช. คุณอย่าไปเพ่งเล็งให้ปราบบ่อนหรือแรงงานเถื่อน หรือย้ายตำรวจเท่านั้น เพราะมันถึงขั้นเป็นโรคช้ำรั่วกันไปแล้ว

ถาม “ช้ำรั่ว” มันเป็นอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ไม่ใช่หรือครับ มันเกี่ยวกับโควิดที่ตรงไหน

ตอบ โรคช้ำรั่วนี้มันกลั้นฉี่ไม่ได้ ก็เพราะระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กระเพาะปัสสาวะมันเสื่อมไปหมดจนถึงหูรูดแล้ว ในทำนองเดียวกันเมื่อระบบตำรวจเสื่อมอาชญากรรมก็ต้องกำเริบไหลเรื่อยออกมาเหมือนปัสสาวะนั่นเอง

ถาม อย่างนี้เราก็ปราบบ่อนไม่ได้

ตอบ ถ้ากล้าจริงลงมือจริงก็ยังพอมีทางจะทำทั้งระบบด้วยตัวระบบเองได้ ไม่ต้องประกาศให้ชาวบ้านแจ้งนายกฯหรอกครับ วิธีนี้ในทางปกครองแล้ว มันน่าอายมาก

ถาม ขณะเดียวกันก็ต้องลงมือปฏิรูปผ่าตัดตำรวจไปด้วยเลย

ตอบ ผมไม่เคยเห็น คสช.เขาเอาจริงปฏิรูปอะไรเป็นเรื่องเป็นราว เขาปฎิวัติเข้ามาเป็นรัฐบาลประจำเท่านั้น ดูคดีนายบอสเป็นตัวอย่าง จะพบว่าเขาไม่มีเจตจำนงและความกล้าหาญที่จะปรับเปลี่ยนอะไรเลย ระบบสำคัญหลายอย่างในบ้านเมืองวันนี้จึงยังทรุดโทรมช้ำรั่วอยู่เหมือนเดิม

ที่ผมเรียก คสช. ว่า “คณะเสียเวลาแห่งชาติ ” จึงไม่น่าจะผิด

ถาม มาวันนี้เลือกตั้งแล้วสืบทอดเป็นรัฐบาลพลังประชารัฐแล้ว แล้วเป็นอย่างไรครับ

ตอบ ก็เป็น พปชร.คือ “พาประเทศช้ำรั่ว ” เสียเวลาไปวันๆเหมือนเดิมไงล่ะครับ

ถาม ฝ่ายค้านช่วยอะไรบ้านเมืองได้บ้างไหม

ตอบ ฝ่ายค้านไม่มี เรามีแต่ฝ่ายแค้นกับฝ่ายล้มเจ้าเท่านั้น ทุกวันนี้รายการขุดคุ้ยบ้านเมืองของคุณสนธิฯกำลังทำหน้าที่แทนฝ่ายค้านอยู่
โดดเดี่ยวเปิดหน้าลุยอยู่นอกระบบแต่มีคนฟังมากอย่างนี้...น่าเป็นห่วงมากครับ

 

วัคซีนมีหลายชนิด ขณะนี้ที่อนุญาตให้ใช้ในมนุษย์ใน ภาวะปกติ และฉุกเฉิน ที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม

1 mRNA วัคซีน เช่น วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ moderna
วัคซีนชนิดนี้จะเป็น mRNA ที่ถูกห่อหุ้มด้วย lipid nanoparticle เมื่อฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อ particle จะเข้าสู่ เซลล์กล้ามเนื้อ mRNA จะถูกถอดออก ใน cytoplasm หรือของเหลวในเซลล์ แล้วmRNA จะเข้าสู่ ribosome ทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนด messenger RNA
ดังนั้น RNA ที่ใส่เข้าไปจะต้องมี Cap, 5’ UTR, spike RNA, 3’UTR และ poly A tail อยากให้พวกเราสนใจวิทยาศาสตร์ จะเข้าใจง่ายขึ้น ในรูปแบบที่กล่าวถึงโรงงาน ribosome จะสร้างโปรตีนตามกำหนดและ ส่งผ่านออกทาง golgi ออกสู่นอกเซลล์
โปรตีนที่สร้างออกมาจะเป็นแอนติเจนไปกระตุ้นร่างกายสร้างแอนติบอดี ที่เป็นภูมิต้านทานต่อโรคโควิด 19
ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ทำได้ง่าย และเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เพราะทำในโรงงาน กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูง
ข้อเสียอยู่ที่ว่า RNA สลายตัวได้ง่าย เก็บที่อุณหภูมิต่ำมากๆ และวัคซีนชนิดนี้เป็นชนิดแรกที่ใช้ในมนุษย์ อาการข้างเคียงหลังฉีดพบได้บ่อยกว่า วัคซีนที่ทำโดยชนิดเก่า เช่นมีไข้ ปวดเมื่อย และผลระยะยาวคงต้องรอการศึกษาต่อไป เช่นติดตามเป็นปีหรือหลายปี

2 ไวรัสvector (ของอังกฤษ, AstraZineca และรัสเซีย Spuknic V)
วัคซีนนี้จะใช้วิธีการเอาสารพันธุกรรมของไวรัส ใส่เข้าไปในไวรัสที่จะเป็นเวกเตอร์ หรือ ตัวฝากนั่นเอง ที่ใช้อยู่เป็น adenovirus, vesicula stomatitis virus ไม่ก่อโรคในคน
การใส่เข้าไปเข้าใจว่าเป็น cDNA ของ covid 19 เพื่อให้ไวรัส vector ส่งสารพันธุกรรม ของ covid-19 เข้าไปในเซลล์มนุษย์ เมื่อเข้าไปแล้ว ไวรัสจะถอดรูปพันธุกรรมที่ส่งเข้าไป จะต้องเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ เพื่อลอกแบบ และเปลี่ยนให้เป็น mRNA ส่งออกมา แล้วส่วนของ mRNA จะไปที่ ไรโบโซม เพื่อทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ คือ spike โปรตีน ส่งผ่านออกมาทาง golgi ออกนอกเซลล์เช่นเดียวกับ mRNA
โปรตีนที่ส่งออกมา จะทำหน้าที่เป็นแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี ต่อเชื้อโควิค 19
ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้คือ ผลิตได้จำนวนมากได้ง่าย เพราะทำจากโรงงาน เป็น DNA จะมีความคงทนกว่า จึงสามารถเก็บได้ในอุณหภูมิ 2 - 8 องศา ราคาจะถูก เพราะทำได้จำนวนมาก
วัคซีนนี้เป็นชนิดใหม่เช่นเดียวกัน ผลระยะยาวจึงยังไม่ทราบ และ จะต้องคำนึงอีกประการหนึ่งคือขั้นตอนที่ผ่านนิวเคลียสของเซลล์ เราไม่ทราบว่าจะมีการรวมตัว integrate กับ DNA ของมนุษย์ ตามหลักการ แล้วไม่ ผลระยะยาวก็คงต้องติดตามต่อไป

3 วัคซีนเชื้อตาย (ของจีน Sinovac, Sinopharm)
วิธีการผลิตจะใช้หลักการกับวัคซีน ที่ทำมาแต่ในอดีตเช่น วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนโปลิโอ พิษสุนัขบ้าและอื่นๆอีกหลายชนิด
นักวิทยาศาสตร์จะใช้เชื้อโควิด 19 เพราะเลี้ยงบน Vero cell เซลล์ชนิดนี้ ใช้ทำวัคซีนหลายชนิดเช่นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และใช้กันมานานมาก อย่างที่เราฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
เมื่อเพาะได้จำนวนไวรัสจำนวนมาก ก็จะเอามาทำลายฤทธิ์หรือฆ่าเชื้อให้ตายแล้วนำมา formulation ใส่สารกระตุ้นภูมิต้านทาน
ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้คือ วิธีการทำเป็นวิธีที่เรารู้กันมาแต่โบราณ ในเรื่องความปลอดภัย เป็นเชื้อตายสามารถให้ในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อไม่ไปเพิ่มจำนวน
การกระตุ้นภูมิต้านทานจะได้ระดับต่ำกว่าวัคซีนที่กล่าวมาจากข้างต้น
ข้อเสียของวัคซีนชนิดนี้คือการผลิตจำนวนมาก จะทำได้ยาก เพราะไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสก่อโรค จะต้องเพาะเลี้ยง ในห้องชีวนิรภัยระดับสูง ต้นทุนในการผลิตจะมีต้นทุนสูง
เราจะเห็นว่าวัคซีนไวรัสตับอักเสบ เอไม่สามารถลดราคาลงให้ถูกลงได้ ในทำนองเดียวกันการผลิตจำนวนมากของวัคซีน covid19 ชนิดเชื้อตายก็จะมีขีดจำกัด

การตอบแบบสอบถามวันนี้ จะดูข้อสรุป เข้าใจว่าจะมีคนตอบมาประมาณ 40,000 คน สิ่งที่ต้องการวันนี้อยากให้เด็กรุ่นใหม่สนใจงานวิทยาศาสตร์ เรามาช่วยกันส่งเสริม

และหลังจากนี้อีกสักระยะหนึ่งเมื่อทุกคนมีความรู้มากขึ้น จะตั้งแบบสอบถามขึ้นอีก ดูการเปลี่ยนแปลงและความต้องการ เพราะมีการพูดกันว่ากลัววัคซีนจะเหลือ
ยง ภู่วรวรรณ

 
 

9 ม.ค.64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan โดยมีรายละเอียดดังนี้

วัคซีน covid 19 อาการข้างเคียงของวัคซีนผมในฐานะที่เคยทำวิจัยเกี่ยวกับวัคซีน ในอดีตมาร่วม 40 ปี

วัคซีนใหม่ ที่อยู่ระหว่างการวิจัย จะต้องถูกบันทึก อาการที่ไม่พึงประสงค์ ที่เกิดขึ้น หลังการให้วัคซีนทั้งหมด จะต้องถูกบันทึก และแบ่งเป็นความรุนแรงน้อย ปานกลาง และมาก

อาการเฉพาะที่ เช่นบริเวณที่ฉีด หรืออาการทั้งระบบ เช่น ไข้ ปวดศีรษะ เมื่อยล้า

ความรุนแรงมาก ถึงกับต้องนอนโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต

จะต้องประเมินตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีน มากน้อยแค่ไหน หรือ ไม่เกี่ยวข้อง มากน้อยแค่ไหน

ผมเคยฉีดวัคซีนให้คนไข้ในงานวิจัย แล้วได้รับแจ้งว่าคนไข้เสียชีวิต แต่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก็ถือว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง ต้องรายงานทันทีและสอบสวน อย่างรวดเร็วว่าเกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ที่ฉีด อาจจะทำให้ง่วง หาวนอน แล้วเกิดอุบัติเหตุก็ได้ 

หรือ เมื่อฉีดวัคซีนแล้วเดินออกนอกโรงพยาบาล ตกท่อ ก็ถือว่าเป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ ต้องตรวจสอบ เพราะวัคซีนอาจจะทำให้ตามัว เวียนศีรษะ แล้วเดินตกท่อก็ได้

ดังนั้นในวัคซีนใหม่เกือบทุกชนิดจึงต้องมีการศึกษาในรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน และมีผู้มีความรอบรู้ เป็นกลาง มาประเมินรวมด้วย 

ถึงแม้จะได้เริ่มนำมาใช้แล้วในช่วง 2 ปีแรก ก็ยังต้องมีการติดตามอาการข้างเคียง และ อาการไม่พึงประสงค์ต่อไป เพื่อหาอุบัติการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ 

วัคซีนใช้ป้องกันโรคกับคนปกติ จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมาก่อน ข้อมูลการศึกษาที่ต้องการ จึงเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ ในเรื่องของความปลอดภัย.

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/89265

 

 

 

 
ผู้จัดการสุดการณ์ - ความหวังและหนทางรอดเพียงหนึ่งเดียวของชาวไทยและชาวโลกในเวลานี้ คือ  การมีวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19  ยิ่งเร็ว ยิ่งดี ยิ่งมีประสิทธิภาพ ยิ่งมีโอกาสรอดพ้นวิกฤต รัฐบาลหลายประเทศจึงทุ่มเม็ดเงินช่วงชิงวัคซีนแบบว่าใครเงินถึงก็ได้ไปก่อน

เช่นเดียวกันกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เกาะเทรนด์ทุ่มพันล้านซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ลอตแรก ในเดือนกุมภาฯ นี้ เพื่อฉีดให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและกลุ่มเสี่ยง รับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดซ้ำที่แพร่กระจายไปในวงกว้าง หลังจากเกิดเคสแพร่เชื้อในกลุ่มแรงงานต่างชาติเถื่อน กับ “บ่อนพนัน” ทำชาติพัง การเร่งรีบจัดหาวัคซีนถือเป็นเรื่องเร่งด่วนสุดที่ไม่อาจรอคอยได้อีกต่อไป

 ล่าสุด ครม. มีมติเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 อนุมัติการจัดซื้อวัคซีนจากบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) ประเทศจีน โดยไม่รีๆ รอๆ วัคซีนจากบริษัท แอสตราเซเนกา แห่งอังกฤษ ที่รัฐบาลไทยสั่งจองไปก่อนหน้า ซึ่งกว่าจะมาคาดว่าประมาณกลางปี 2564 

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมในกรณีเร่งด่วนว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และองค์การเภสัชกรรม จะร่วมดำเนินการและจัดซื้อจากบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค จำนวน 2 ล้านโดส ในวงเงินจัดสรร 1,228 ล้านบาท วัคซีนที่นำเข้าเร่งด่วนจากบริษัทของจีน จะแบ่งเป็น 2 แสนโดสแรก นำเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์ ส่งมอบให้โรงพยาบาลต่างๆ นำไปฉีดให้เจ้าหน้าที่ทำงานภาคสนามในพื้นที่ควบคุมสูงสุด เช่น สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี และตราด ประมาณ 2 หมื่นคน และในกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อมีภาวะแทรกซ้อนสูง รวมทั้งกลุ่มจำเป็นอื่นๆ อีกประมาณ 1.8 แสนคน

เดือนมีนาคม 2564 จะได้วัคซีนอีก 8 แสนโดส โดยจะฉีดเข็มที่ 2 ให้กลุ่มที่ 1 จำนวน 2 แสนโดส ส่วนอีก 6 แสนโดส จะฉีดในกลุ่มจังหวัดที่ควบคุมสูงสุด ชายแดนภาคตะวันตก ภาคใต้ และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มที่ติดเชื้อที่มีภาวะแทรกซ้อนสูง และกลุ่มจำเป็นอื่นๆ อีกประมาณ 5.4 แสนคน

เดือนเมษายน 2564 จะได้รับวัคซีนเพิ่มอีก 1 ล้านโดส รวมเป็น 2 ล้านโดส โดยจะฉีดเข็มที่ 2 ให้แก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีนในเดือนมีนาคม ประมาณ 6 แสนคน ส่วนอีก 4 แสนโดส จะฉีดให้แก่บุคลากรอื่นๆ เพิ่มเติม โดยการฉีดแต่ละคนต้องได้รับวัคซีนจำนวน 2 โดส

หลังจากนั้น ประเทศไทย ที่จองซื้อวัคซีนรวมทั้งสิ้น 26 ล้านโดส จากบริษัท แอสตราเซเนกา คาดว่าจะนำเข้ามาเพื่อให้คนไทยได้ใช้ประมาณกลางปี 2564 ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ยังอนุมัติเพิ่มเติมในการจัดหาซื้อวัคซีนอีก 35 ล้านโดส เพื่อฉีดให้ครอบคลุมคนไทยอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด รวมวัคซีนทั้งหมด 63 ล้านโดส ภายในปี 2564

 เพจ “ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha” ยืนยันว่า “.... ผมขอย้ำว่า “คนไทยจะได้รับการฉีดวัคซีนฟรี” นะครับ” และยังกล่าวถึง “ระยะยั่งยืน” ว่า เราได้ตั้งศูนย์การผลิตในประเทศอยู่ที่ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งมีโรงงานอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างใหม่ โดยได้การรับถ่ายทอดเทคโนโลยีมาแล้ว สามารถผลิตวัคซีนตามมาตรฐานของออกซฟอร์ดและแอสตราเซนเนกา โดยมีกำลังการผลิตที่ 200 ล้านโดสต่อปี 

“นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเป็นอีกแหล่งผลิตภายในประเทศ ที่มีองค์ความรู้ มีศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนที่ทันต่อวิวัฒนาการของเชื้อโรคได้ในอนาคต สร้าง “ความมั่นคงด้านสาธารณสุข” และส่งเสริมบทบาทให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด หรือวัคซีนโรคอื่นๆ ในภูมิภาค

“ผมมองว่า “ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส” ใครที่มีวิสัยทัศน์ สร้างความพร้อม ย่อมได้รับประโยชน์ โดยในวิกฤตโควิดนี้ หากเราทำตามสิ่งที่ผมเล่ามาได้ ก็จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยเป็น “ศูนย์กลางด้านการแพทย์ (Medical Hub)” ได้อีกด้วยครับ”

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ขยายความถึงศักยภาพของประเทศไทยที่จะผลิตวัคซีนเอง ว่าขณะนี้ บริษัท สยาม ไบโอไซเอนซ์ อยู่ระหว่างการถ่ายทอดกระบวนการผลิตจากบริษัทแอสตร้าเซเนก้า จะเริ่มผลิตในประเทศปลายเดือนพฤษภาคม 2564 มีกำลังผลิต 200 ล้านโดสต่อปี ซึ่งบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ถือหุ้น 100% โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก่อตั้งจากพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อผลิตยาคุณภาพดีราคาถูกให้ประชาชนได้ใช้โดยไม่หวังผลกำไร

 นายทรงพล ดีจงกิจ  กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ไบโอไซเอนซ์ จำกัด ซึ่งได้รับลิขสิทธิ์การผลิตวัคซีนแอสตราเซเนกา แถลงความคืบหน้าเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากแอสตราเซเนกา มาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2563 ได้เตรียมความพร้อมทั้งสถานที่ โรงงาน วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ เครื่องจักร ปัจจุบันอยู่ในขั้นทดสอบการผลิตเพื่อให้ได้วัคซีนที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีกำลังการผลิตปีละ 200 ล้านโดส หรือเดือนละ 15-20 ล้านโดส จะมีการทดสอบการผลิต 5 รอบ รอบแรกผลิตไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 กำลังผลิตรอบ 2 เมื่อผลิตครบ 5 รอบก็จะนำไปยื่นขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ถ้าสำเร็จ เดือนมิถุนายนนี้คนไทยจะได้ฉีดวัคซีนที่ผลิตในเมืองไทยแน่นอน

 นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ  ให้ข้อมูลว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฉุกเฉินทั่วโลก มีเพียง 4 ชนิด จากผู้ผลิต 9 ราย ไทยจะรับขึ้นทะเบียน อย.เฉพาะวัคซีนที่มีผลของเฟส 3 มีประสิทธิผลชัดเจนเท่านั้น โดยวัคซีนที่ยอมรับกันในเวลานี้มีเพียง 3 ชนิดคือ ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และแอสตราเซเนกา ที่เหลือเป็นการทดลองเฟส 2 แม้แต่วัคซีนของจีนและรัสเซียที่ขึ้นทะเบียนในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2563 ก็ยังไม่มีผลเฟส 3 เป็นทางการ อย่างไรก็ตาม อย.ก็ไม่ได้ปิดกั้นภาคเอกชนในการนำเข้าวัคซีนมาจำหน่ายในประเทศ แต่ต้องได้รับการอนุมัติจาก อย. ซึ่ง อย. ได้เตรียมความพร้อมในการขึ้นทะเบียนแบบฉุกเฉินไว้แล้ว

ด้าน  “หมอยง” ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่บทความผ่านทางเฟซบุ๊กในหัวข้อ "โควิด 19 วัคซีน (ต่อ)" ให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วโลก ว่า “.... ขณะนี้มีวัคซีนกำลังรอขึ้นทะเบียน Pending ในภาวะฉุกเฉินอีกหลายตัว แบ่งกลุ่มวัคซีนได้เป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรก mRNA วัคซีน มีการศึกษากันมาก มีการศึกษาในมนุษย์ถึงระยะที่ 2 -3 ถึง 3 ชนิด กลุ่มนี้มีความก้าวหน้า และขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินแล้ว 2 ชนิด ได้แก่ ของ Pfizer BioNtech และ Moderna ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคถึงร้อยละ 95

วัคซีน Pfizer ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว มากกว่า 8 ประเทศได้แก่ ประเทศซาอุดิอาระเบีย สวิตเซอร์แลนด์ ประเทศในเครือ EU นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ Faroe Iceland กรีนแลนด์และเซอร์เบีย และขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉิน อีก 18 ประเทศรวมทั้งสิงคโปร์ที่ใกล้กับบ้านเราด้วย วัคซีนของ Moderna ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินในอเมริกาและแคนาดา

กลุ่มที่สอง ใช้ไวรัสเป็นตัวนำ ก็มีการศึกษากันมากเช่นเดียวกันและมีการศึกษาในมนุษย์ระยะท้ายในมนุษย์อยู่ 4 ชนิด และได้ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉิน 3 ชนิดได้แก่ Ad 5-nCov ของ Cansino ประเทศจีน Sputnik V ของรัสเซียและ AstraZeneca ประเทศอังกฤษ ประสิทธิภาพรวม 70% มีการแจกแจงแบบให้ครึ่ง dose แล้วตามด้วยเต็มโดส (90%) และเต็มโดส (62%) การให้ครึ่งโดส จากความผิดพลาดของโรงงานโดยบังเอิญ และวัคซีนดังกล่าว เพิ่งขึ้นทะเบียนได้ล่าสุด 30 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา จากประเทศเจ้าของคืออังกฤษ

วัคซีนของจีนขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในประเทศจีนเท่านั้น AstraZeneca ขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในอังกฤษและอาร์เจนตินา วัคซีนของรัสเซียขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในรัสเซีย เบลารุส และอาร์เจนตินา

กลุ่มที่สาม วัคซีนเชื้อตาย มีการศึกษาในมนุษย์ระยะท้าย 5 ชนิด และได้ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินแล้ว 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนของ Sinovac และ Sinopharm ประเทศจีน วัคซีน Sinovac ขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในประเทศจีน ส่วนของ Sinopharm ขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะปกติในจีนสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบาห์เรน

นั่นคือภาพรวมความก้าวหน้าของวัคซีนโควิดทั่วโลกจากคำอธิบายของ “หมอยง”

อย่างไรก็ดี ต้องไม่ลืมว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สัมพันธ์กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ หากปล่อยให้เชื้อลาม เอาไม่อยู่ ล็อกดาวน์ปิดประเทศหมุนวนกลับมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจทรุดหนัก รัฐบาลของประเทศต่างๆ จึงแข่งขันกันช่วงชิงวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 เพื่อคุมเชื้อไม่ให้แพร่กระจายควบคู่กันไปกับการสร้างภูมิต้านทาน เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมทางสังคม ดำเนินต่อไปได้อย่างเป็นปกติสุข

ความล่าช้าในการจัดหาวัคซีน นอกจากจะเป็นความเสี่ยงในชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนแล้ว ยังหมายถึงการติดอยู่ในกับดักวิกฤตเศรษฐกิจของชาติด้วย ซึ่งช่วงส่งท้ายปีที่ผ่านมาที่เชื้อไวรัสฯลามหนัก “หมอยง” จึงกระทุ้งรัฐบาลให้ขบคิดเรื่องนี้โดยเร่งด่วน อย่าไปรอเฉพาะวัคซีนจาก AstraZeneca บริษัทเดียว

“หมอยง” ชี้ว่าทั่วโลกมีวัคซีนที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ฉีดในภาวะฉุกเฉินแล้วถึง 6 ชนิด มีของจีน 3 ชนิด รัสเซีย 1 ชนิด อเมริกา 1 ชนิด และอเมริการ่วมกับเยอรมนี 1 ชนิด ขณะนี้มีประมาณ 10 ประเทศเริ่มฉีดวัคซีนแล้วมากกว่า 5 ล้าน โดส และภายในมกราคม จะมีการฉีดอีกหลายสิบเท่า และคาดว่าในเดือนมกราคม จะมีการฉีดวัคซีนมากขึ้นเนื่องจากมีกว่า 30 ประเทศ ได้ขึ้นทะเบียนสามารถใช้วัคซีนได้แล้ว แต่เมื่อดูแผนที่และข้อมูลการวางแผนการให้วัคซีนทั่วโลก แม้กระทั่งแผนการขึ้นทะเบียนการใช้อย่างฉุกเฉิน ยังไม่มีประเทศไทย แต่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี สิงคโปร์ มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ นำหน้าไปแล้ว เราจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยขยับตัวได้เร็วกว่านี้ เพราะการระบาดครั้งนี้รุนแรงกว่าที่คิด และผู้รับวัคซีนควรมีสิทธิ์เลือกที่ว่าจะฉีดหรือไม่

นั่นเป็นคำถามที่ “หมอยง” ทิ้งท้ายไว้เมื่อปลายปีก่อนที่จะมี “ข่าวดี” รับศักราชใหม่ที่รัฐบาลไทยจัดหาวัคซีนจากจีนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลานี้

สำหรับการเตรียมฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนนั้น แรกสุด  อินโดนีเซีย  ซึ่งเป็นประเทศพี่ใหญ่สุดของอาเซียน และมีประชากรมาสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก วางเเผนจะเริ่มเเจกจ่ายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับประชาชนกว่าร้อยล้านคนภายในเดือนมีนาคมนี้ ที่น่าสนใจคือ อินโดนีเซีย มีแผนจะฉีดให้กับประชากรวัยทำงาน เป็นกลุ่มแรกๆ ถัดจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เเละเจ้าหน้าที่ทางการ โดยหวังว่าช่วยขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในขณะที่หลายชาติ ทั้งสหรัฐฯ เเละยุโรป เลือกฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุ ก่อนเนื่องจากเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจเเละโรคเเทรกซ้อนมากกว่า

อินโดนีเซีย เตรียมแจกจ่ายให้ประชาชนในเฟสแรก ด้วยวัคซีนของบริษัท Sinovac Biotech ของจีน โดยรัฐบาลได้ทำข้อตกลงซื้อวัคซีน 125.5 ล้านโดส ซึ่งตอนนี้วัคซีนลอตแรก 3 ล้านโดส ได้มาถึงอินโดนีเซียแล้ว ขณะที่วัคซีนของ Pfizer คาดว่าจะส่งถึงอินโดนีเซียในช่วงไตรมาส 3 ส่วนวัคซีนที่พัฒนาโดย AstraZeneca-Oxford จะเริ่มแจกจ่ายในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งการฉีดวัคซีนของอินโดฯ ในกลุ่มคนวัยทำงานก่อนนั้นถูกจับตามองจากนานาชาติเป็นพิเศษ

การฉีดวัคซีนของอินโดนีเซีย จะเริ่มจากบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการก่อน จากนั้นจะแจกจ่ายให้คนวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ซึ่งเป็นลำดับการเข้าถึงวัคซีนที่เเตกต่างจากสหรัฐฯ เเละสหราชอาณาจักร ที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงวัยก่อน ทำให้การเเจกจ่ายวัคซีนครั้งนี้ของอินโดนีเซีย ถูกจับตามองจากนานาประเทศเป็นพิเศษ

Budi Gunadi Sadikin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย กล่าวว่า อินโดนีเซียจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้ประชากร 181.5 ล้านคน หรือประมาณ 67% ของประชากรทั้งหมด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และต้องการวัคซีนเกือบ 427 ล้านโดส กรณีที่ต้องฉีดวัคซีนให้ประชากรคนละ 2 ครั้ง เพื่อลดอัตราการสูญเสีย 15%

ขณะที่ Faisal Rachman นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Mandiri บอกว่า ประชาชนวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี เป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ “พวกเขาจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะการบริโภคในครัวเรือนมีส่วนช่วยเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมากกว่า 50% ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นในประเทศนั้น เป็นการลดความเชื่อมั่นของประชาชน”

 
 
ขณะที่อินโดฯ กำลังเร่งมือฉีดวัคซีนให้คนวัยทำงาน ชาวสิงคโปร์ จำนวนไม่น้อยกลับลังเลที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 หลังจากกระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ เตรียมจัดสรรและกระจายวัคซีนไปยังพื้นที่ต่างๆ โดยลอตแรกของวัคซีนจาก Pfizer-BioNTech มาถึงสิงคโปร์ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เหตุผลที่ประชากรชาวสิงคโปร์ ขอยืดเวลารับวัคซีนออกไปประมาณ 6-12 เดือน เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศดีขึ้นมาก หลังควบคุมและคัดกรองผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์แรงงานต่างชาติได้เป็นอย่างดี โดยผู้ติดเชื้อรายใหญ่แทบเป็นศูนย์ และมีอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ต่ำที่สุดในโลก

รัฐบาลสิงคโปร์ ทุ่มงบฯ ซื้อวัคซีนราว 754 ล้านดอลลาร์ จากอาร์คทูรัส เทราพิวติกส์โฮลดิงส์, โมเดอร์นา, ไฟเซอร์ และซิโนแวค เพียงพอต่อพลเมืองทั้งหมดราว 5.7 ล้านคน ภายในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยฉีดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย และเป็นไปตามความสมัครใจของผู้เข้ารับการฉีด

สำหรับ  ฟิลิปปินส์  วางแผนจัดหาวัคซีนอย่างน้อย 50 ล้านโดส ในปี 2564 เพื่อฉีดให้ประชากร 1 ใน 4 ภายในปลายปี 2564 หรือต้นปี 2565 กลุ่มเป้าหมายแรกที่จะได้รับวัคซีน คือ บุคลากรทางการแพทย์และพนักงานในอุตสาหกรรมสำคัญ และกลุ่มเสี่ยง ภายใต้งบประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ และเจรจากับหลายบริษัท

ฟิลิปปินส์ ตั้งเป้าลงนามซื้อวัคซีนจากไฟเซอร์-ไบออนเทค ภายในเดือนมกราคมนี้ เจรจากับโมเดอร์นา ขอซื้อ 20 ล้านโดส และเจรจากับแอสตร้าเซนเนก้า, โนวาแวกซ์ และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน อย่างน้อย 80 ล้านโดส รวมทั้งกำลังรอผลวัคซีนสปุตนิกไฟว์ของรัสเซีย และซิโนแวคของจีนอีกด้วย

ส่วน  มาเลเซีย  เตรียมทุ่มงบ 504 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซื้อวัคซีนให้เพียงพอกับประชากร 26.5 ล้านคน หรือราวๆ 80% ของประชากรทั้งประเทศ โดยเตรียมซื้อวัคซีนจากแอสตร้าเซนเนก้า 6.4 ล้านโดส ผ่านโครงการโคแวกซ์ และซื้อตรงอีก 6.4 ล้านโดส คาดว่าวัคซีนชุดแรกจะมาถึงในไตรมาส 2 ของปีนี้ และยังเจรจาซื้อวัคซีนกับซิโนแวค 14 ล้านโดส, แคนซิโนไบโอโลจิกส์ 3.5 ล้านโดส และสปุตนิกไฟว์ 6.4 ล้านโดส รวมทั้งเจรจากับโมเดอร์นาและ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ด้วย

สำหรับเวียดนาม กำลังพัฒนาวัคซีนของตนเอง โดยบริษัทนาโนเจน ฟาร์มาซูติคอล ไบโอเทคโนโลยีของเวียดนาม กำลังเริ่มทดลองวัคซีนนาโนโคแวกซ์ทางคลีนิคเฟสแรก ถ้าประสบผลสำเร็จคาดว่าจะผลิตได้ในปี 2565 อีกสองบริษัทจะเริ่มทดลองทางคลินิกในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมนี้ นอกจากนั้น เวียดนามยังเจรจาจัดซื้อจากไฟเซอร์ และผู้ผลิตรายอื่นๆ ในสหรัฐ สหราชอาณาจักร จีน และรัสเซีย

ขณะที่  รัฐบาลกัมพูชา  นายกรัฐมนตรี  “ฮุนเซน”  จะจัดซื้อวัคซีนเฉพาะที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เท่านั้น โดยกัมพูชาจะไม่ใช้ประชาชนของตัวเองทดสอบวัคซีนจากที่ต่างๆ ทั้งนี้ รัฐบาลกัมพูชา ประกาศเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมาว่า จะจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 จำนวน 1 ล้านโดส สำหรับฉีดเฟสแรกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่กำหนดการมาถึงของวัคซีนยังไม่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ผู้นำเขมรยืนยันว่า วัคซีนสำหรับประชาชน 3.2 ล้านคน จะถูกจัดเตรียมภายใต้กลไก COVAX ส่วนวัคซีนสำหรับชาวเขมรอีกราว 13 ล้านคน หรือ 80% ของประชากรทั้งหมดของประเทศจะสั่งซื้อภายใต้กระบวนการต่างๆ ที่รวมถึงการเจรจาโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิตวัคซีน ผู้บริจาค และอื่นๆ

เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเทศส่วนใหญ่อาเซียนวางแผนเอาไว้ค่อนข้างดี ขณะที่รัฐบาลลุงแม้ว่าจะขยับตัวช้าไปนิด แต่การที่ยอมรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงก็ต้องถือว่า สอบผ่าน เช่นกัน

ส่วนการที่ กลุ่มซีพีโดยบริษัท ซีพี ฟาร์มาซูติเคิล กรุ๊ป (CP Pharmaceutical Group) ได้ลงทุน 515 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 15,450 ล้านบาท เข้าครองสัดส่วนการถือหุ้น 15% ในบริษัท ซิโนแวค ไลฟ์ ไซแอนซ์ (Sinovac Life Sciences) ซึ่งเป็นหน่วยที่รับผิดชอบการผลิตวัคซีนโคโรนาแวค CoronaVac ในเครือ “ซิโนแวค ไบโอเทค” นั้น แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์และวิเคราะห์กันไปต่างๆ นานา แต่หากมองในแง่ดีก็ต้องบอกว่า น่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่ทำให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้นกว่าเดิม
 

Here is my time line

เดินทางออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 23 ธันวาบินสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์จากAmarillo เท็กซัสไปที่ Dallas เท็กซัสเปลี่ยนเครื่องเป็นQatar แอร์เว้ยบินจากDallas ไปเมืองDoha แล้วก็กรุงเทพมาถึงกรุงเทพเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมเวลา 7 โมงเช้า มีรายละเอียดมากมายในกระบวนการที่จะบินกลับจากสหรัฐไปกรุงเทพที่สำคัญที่สุดก็คือเราต้องไปตรวจร่างกายและทำเทสว่าไม่เป็นโรคโควิช 72 ชั่วโมงก่อนออกเดินทางหมอที่เท็กซัสได้ตรวจเราแบบ rapid test ใช้เวลาแค่ 15 นาทีผลออกมาเป็นในnegative รวมทั้งคุณเกี่ยวก็เลยได้ขึ้นเครื่องบินมาเมืองไทยแต่การตรวจแบบนี้มันไม่ละเอียดพอมาคิดย้อนหลังไปเริ่มมีอาการตั้งแต่นั่งอยู่บนเครื่องบินแล้วอาหารไม่มีรสชาติอะไรก็ไม่อร่อยไม่มีแรงนอนอย่างเดียวมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลา 7 โมงเช้า ก็ถูกพาไปกักตัวที่โรงแรมดุสิตศรีนครินทร์อาการยังไม่มากแต่ภายใน 48 ชั่วโมงต่อมาอาการทรุดลงอย่างรวดเร็วไข้ขึ้นปวดเมื่อยตามร่างกายทุกอณูขุมขนปวดจนกระทั่งคิดว่ากระดูก มันจะแตกปวดแม่กระทั่งจับเส้นผมก็ไม่ได้ใครถูกตัวก็ไม่ได้ยิ่งไปนวดยิ่งปวดหนักหมดแรงนอนพังพาบท้องเสียอย่างรุนแรงพยาบาลเข้ามาเทสต์โควิชผลออกมาเป็นบวกคราวนี้ก็ชุลมุนวุ่นวายโรงพยาบาลปิยะเวทส่งรถแอมบูเลนส์มารับตอนกลางตึกในระหว่างที่นอนบนรถแอมบูเลนส์ก็คิดได้ว่าเรามีโอกาสจะเดี้ยงเหมือนกัน นี่เราจะตายหรือนี่ตอนนั้นมันก็เลยเศร้าใจสุดสุดทำงานมาชั่วชีวิตยังไม่มีโอกาสได้ใช้เงินและเอ็นจอยไลฟ์ก็ทำท่าจะตายเสียแล้ว
คุณหมอที่โรงพยาบาลปิยะเวทตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้องโดยการให้ยา Favipiravir 3200 mg ต่อวันทานไปวันแรกดีอย่างเหลือเชื่อตื่นมาตอนเช้าหายไป 80% มาถึงตอนนี้เป็นวันที่ห้าของยานี้ได้ลดลงมาเหลือ 1200 มิลลิกรัมต่อวันรู้สึกดีขึ้นเป็นปกติทุกอย่างความเจ็บปวดได้หายไปเราโชคดีที่ไม่มีอาการทางปอด โชคดีที่ได้มาป่วยในเมืองไทยได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีถ้าป่วยอยู่ที่เท็กซัสอาจจะตายมีเพื่อนอเมริกันคนหนึ่งป่วยพร้อมเราอายุเท่ากันที่Texas ตอนนี้ก็ตายไปแล้ว ขอบคุณเพื่อนทุกคนที่เป็นห่วงผมไม่มีปัญหาแล้วได้ใดทั้งสิ้นพร้อมที่จะออกจากโรงพยาบาลนี้ทุกเมื่อ มีงานที่ต้องทำอีกมากมาย

 ส

 
 เช็กที่นี่! สรุปขั้นตอนการขอหนังสือรับรองการเดินทางข้ามจังหวัด ในพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เสี่ยงโควิด-19 ระบาดหนักนั้น ต้องทำอย่างไร เอกสารรับรองออกนอกพื้นที่ กรอกอย่างไร ใครรับรองบ้าง

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 (โควิด-19) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
ประชาชนใน 5 จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวดอย่างยิ่ง อันประกอบด้วย จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรสาคร จะเดินทางออกนอกพื้นที่ ต้องมีการแสดงเอกสารบัตรประจำตัวควบคู่กับเอกสารรับรอง ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 17) ที่เริ่มบังคับใช้วันนี้ (7 ม.ค.) เป็นวันแรก

ล่าสุดรายงานข่าวว่าประชาชนในทั้ง 5 จังหวัดดังกล่าวพากันออกไปที่หน่วยงานราชการในพื้นที่ เช่น ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ฯลฯ เพื่อติดต่อสอบถามเกี่ยวกับเอกสารรับรองการเดินทางข้ามจังหวัด ขณะที่บางส่วนก็พากันวิพากษ์วิจารณ์ถึงมาตรการที่ประกาศใช้ว่าทำให้เกิดความลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน แม้ส่วนใหญ่จะทราบว่าภาครัฐดำเนินการเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคโควิด-19 ก็ตาม

ตัวอย่างแบบคำขอฯ
 
ตัวอย่างแบบคำขอฯ

จากข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 17) ระบุไว้ในข้อ 2 ย่อหน้าที่สอง ว่า บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นโดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่นๆ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจำเป็นที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ เว้นแต่เป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทย กำหนด

ดังนั้น ผู้ที่ต้องการจะเดินทางออกนอกพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรสาคร จะต้องพกบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารประตัวที่ทางราชการออกให้ ควบคู่กับเอกสารรับรองการเดินทางข้ามจังหวัด

โดยสามารถแบ่งประเภทของกลุ่มคนที่จะเดินทางได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. บุคคลทั่วไป
2. พนักงาน/ลูกจ้าง

- กรณีเป็นบุคคลทั่วไป สามารถไปขออนุญาตที่เจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ เป็นต้น

- กรณีเป็นลูกจ้างหรือพนักงานในบริษัทห้างร้านต่างๆ สามารถยื่นเอกสารให้หัวหน้างานพิจารณาอนุญาตและเซ็นชื่อรับรอง

ตัวอย่างเอกสารรับรองฯ
 
ตัวอย่างเอกสารรับรองฯ

บุคคคลที่มีความจำเป็นในการเดินทางออกนอกพื้นที่ 5 จังหวัด จะต้องกรอกแบบฟอร์มในเอกสาร 2 ฉบับ คือ แบบคำขอเอกสารรับรองความจำเป็นในการเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และ เอกสารรับรองความจำเป็นในการเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

ทั้งนี้เอกสารทั้ง 2 ฉบับไม่ได้แตกต่างกันมาก ฉบับหนึ่งเป็นคำขอฯ ให้กรอกแล้วยื่นไว้กับเจ้าหน้าที่หรือหัวหน้าหน่วยงาน/ต้นสังกัด สำหรับเอกสารรับรองฯ นั้น หลังจากกรอกและได้รับการเซ็นชื่อรับรองแล้ว จำเป็นต้องพกติดตัวไว้เพื่อแสดงกับเจ้าหน้าที่เมื่อถูกตรวจสอบในระหว่างการเดินทาง

ข้อมูลที่กรอกออกเป็น 3 ส่วน คือ

- ข้อมูลส่วนตัว
เป็นการกรอกข้อมูลส่วนตัวของเรา ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อายุ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน อาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

- เหตุผลการเดินทางออกนอกพื้นที่
ในส่วนนี้ต้องกรอกว่าต้องการเดินทางออกจากพื้นที่ใด คือ สถานที่ที่เราอยู่ปัจจุบัน ตำบล อำเภอ และจังหวัด พร้อมกับอธิบายเหตุผลความจำเป็นลงไปด้วย
 
 

- ช่วงเวลาเดินทาง
ให้เลือกทำเครื่องหมาย 2 ช่อง ระหว่าง เดินทางเที่ยวเดียว และ เดินทางไป-กลับ รวมทั้งต้องระบุยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางลงไปด้วย

เมื่อกรอกครบหมดแล้วทั้ง 2 ฉบับ เซ็นชื่อ เพื่อเป็นการรับรองข้อมูลที่กรอกไปว่าเป็นความจริง เนื่องจากการให้ข้อมูลเท็จ และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย

หลังจากนั้นก็รอให้เจ้าหน้าที่ (หากเป็นบุคคลทั่วไป) หรือหัวหน้างาน (หากเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง) พิจารณา ซึ่งหากได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จะต้องเซ็นชื่อและเก็บแบบคำขอฯ เอาไว้ ส่วนประชาชนที่ไปขอก็จะได้รับเอกสารรับรองฯ ที่มีการเซ็นชื่อรับรองมาติดตัวไว้ใช้แสดงกับเจ้าหน้าที่เมื่อถูกร้องขอในระหว่างเดินทาง

-
 
-

 
 

 

 

นายกฯ เปิดแผนฉีดวัคซีนโควิดให้คนไทยฟรี อย่างน้อยครึ่งประเทศภายในปีนี้ "อนุทิน" ยันไม่ปิดกั้นเอกชนนำเข้าวัคซีน ชี้ต้องทำตามขั้นตอน ผ่านอนุมัติจาก อย.-กรมวิทย์

    เมื่อวันที่ 6 มกราคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha" ว่า รัฐบาลมีแผนการฉีดวัคซีนฟรี เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชนชาวไทยให้ได้อย่างน้อย 50% หรือครึ่งประเทศ ภายในปีนี้
    โดย “ระยะเร่งด่วน” เราจะได้รับวัคซีนล็อตแรก 2 ล้านโดส จากบริษัท ซิโนแวค ประเทศจีน ช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย.นี้ ซึ่ง 2 แสนโดสแรก (เดือน ก.พ.) ตั้งเป้าจะฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางการแพทย์และผู้สูงอายุก่อน จากนั้นเดือนมีนาคมและเมษายน จะได้รับอีก 8 แสนโดส และ 1 ล้านโดส ตามลำดับ นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้สั่งจองจากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้าฯ อีก 26 ล้านโดส กำหนดรับมอบภายในเดือน พ.ค. และจัดหาเพิ่มเติมอีก 35 ล้านโดส ซึ่งจะทยอยอนุมัติและส่งมอบต่อไป (รวมเป็น 63 ล้านโดส) เพื่อสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับชาวไทย ซึ่งขอย้ำว่าคนไทยจะได้รับการฉีดวัคซีนฟรี
    สำหรับ “ระยะยั่งยืน” เราได้ตั้งศูนย์การผลิตในประเทศอยู่ที่บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ฯ ซึ่งมีโรงงานอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างใหม่ โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาแล้ว สามารถผลิตวัคซีนตามมาตรฐานของออกซ์ฟอร์ดและแอสตร้าเซนเนก้า โดยมีกำลังการผลิตที่ 200 ล้านโดสต่อปี นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเป็นอีกแหล่งผลิตภายในประเทศ ที่มีองค์ความรู้ มีศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนที่ทันต่อวิวัฒนาการของเชื้อโรคได้ในอนาคต สร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข และส่งเสริมบทบาทให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด หรือวัคซีนโรคอื่นๆ ในภูมิภาค
    ทั้งนี้ มองว่าทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส ใครที่มีวิสัยทัศน์ สร้างความพร้อม ย่อมได้รับประโยชน์ โดยในวิกฤติโควิดนี้ หากเราทำตามสิ่งที่เล่ามาได้ จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ได้อีกด้วย แต่ระหว่างรอกระบวนการ รอรับวัคซีน ตามระยะเวลาที่บอก ขอให้พวกเราทุกคนระมัดระวังในการใช้ชีวิต อย่าประมาทกับเชื้อโรค ช่วยกันอีกครั้ง หยุดเชื้อเพื่อชาติ ต้องสวมหน้ากากเสมอ เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวเราและคนรอบข้างที่เรารัก รวมถึงประเทศไทยของเรา
    ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมทางไกลผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1/ 2564 โดยมีนายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สธ. ผู้บริหาร สธ.ร่วมประชุมว่า ยังอยู่ในระหว่างการกักกันตัวเอง ผลตรวจ 2 ครั้ง เป็นลบ วันนี้จะตรวจอีกครั้ง ซึ่งข่าวดีของคนไทยที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) วัคซีนของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้าฯ คาดว่าปลายเดือนม.ค.นี้ จะผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คนไทยจะได้รับวัคซีนที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน
    สำหรับภาคเอกชนนั้น สธ.ไม่ได้กีดกันการนำเข้า แต่ต้องมีการตรวจสอบมาตรฐานทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง การนำเข้าวัคซีนโควิด-19 จะต้องได้รับการอนุมัติจาก อย. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพปลอดภัย ส่วนวัคซีน 2 ล้านโดสที่ซื้อจากประเทศจีน จะเริ่มฉีด 2 แสนโดสในเดือน ก.พ.นี้ มีแผนที่จะให้กับกลุ่มเสี่ยงที่ต้องทำงานในพื้นที่ควบคุมสูงสุด เช่น บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรด่านหน้า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และประชาชนกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อมีอาการรุนแรง.
    

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/89034

 

หมอยง ชี้วัคซีนโควิดที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม พร้อมเผยข้อดี-ข้อเสีย

 

"หมอยง" เผย วัคซีนโควิด-19 มีหลายชนิด แต่ที่อนุญาตให้ใช้ในมนุษย์ภาวะปกติและฉุกเฉิน ที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม พร้อมอธิบายข้อดีและข้อเสีย

 

วันนี้ 6 ม.ค. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุ ความรู้เรื่องวัคซีนโควิด-19

 

วัคซีนมีหลายชนิด ขณะนี้ที่อนุญาตให้ใช้ในมนุษย์ในภาวะปกติ และฉุกเฉิน ที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม


 

1. mRNA วัคซีน เช่น วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ moderna

 

วัคซีนชนิดนี้จะเป็น mRNA ที่ถูกห่อหุ้มด้วย lipid nanoparticle เมื่อฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อ particle จะเข้าสู่ เซลล์กล้ามเนื้อ mRNA จะถูกถอดออกใน cytoplasm หรือของเหลวในเซลล์ แล้ว mRNA จะเข้าสู่ ribosome ทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนด messenger RNA

ดังนั้น RNA ที่ใส่เข้าไปจะต้องมี Cap, 5’ UTR, spike RNA, 3’UTR และ poly A tail อยากให้พวกเราสนใจวิทยาศาสตร์ จะเข้าใจง่ายขึ้น ในรูปแบบที่กล่าวถึงโรงงาน ribosome จะสร้างโปรตีนตามกำหนด และส่งผ่านออกทาง golgi ออกสู่นอกเซลล์

 

โปรตีนที่สร้างออกมาจะเป็นแอนติเจนไปกระตุ้นร่างกายสร้างแอนติบอดี ที่เป็นภูมิต้านทานต่อโรคโควิด-19

 

ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ คือ ทำได้ง่าย และเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เพราะทำในโรงงาน กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูง  

 

ข้อเสียอยู่ที่ว่า RNA สลายตัวได้ง่าย เก็บที่อุณหภูมิต่ำมากๆ และวัคซีนชนิดนี้เป็นชนิดแรกที่ใช้ในมนุษย์ อาการข้างเคียงหลังฉีดพบได้บ่อยกว่าวัคซีนที่ทำโดยชนิดเก่า เช่น มีไข้ ปวดเมื่อย และผลระยะยาวคงต้องรอการศึกษาต่อไป เช่น ติดตามเป็นปี หรือหลายปี

2. ไวรัส vector (ของอังกฤษ, AstraZineca และรัสเซีย Spuknic V)
 

วัคซีนนี้จะใช้วิธีการเอาสารพันธุกรรมของไวรัสใส่เข้าไปในไวรัสที่จะเป็นเวกเตอร์ หรือตัวฝากนั่นเอง ที่ใช้อยู่เป็น adenovirus, vesicula stomatitis virus ไม่ก่อโรคในคน

 

การใส่เข้าไปเข้าใจว่าเป็น cDNA ของโควิด-19 เพื่อให้ไวรัส vector ส่งสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไปในเซลล์มนุษย์ เมื่อเข้าไปแล้วไวรัสจะถอดรูปพันธุกรรมที่ส่งเข้าไป จะต้องเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ เพื่อลอกแบบ และเปลี่ยนให้เป็น mRNA ออกมาในไซโตพลาสซึม แล้วส่วนของ mRNA จะไปที่ ไรโบโซม เพื่อทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ คือ spike โปรตีน ส่งผ่านออกมาทาง golgi ออกนอกเซลล์เช่นเดียวกับ mRNA

 

โปรตีนที่ส่งออกมาจะทำหน้าที่เป็นแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19

 

ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ คือ ผลิตได้จำนวนมากได้ง่าย เพราะทำจากโรงงาน เป็น DNA จะมีความคงทนกว่า จึงสามารถเก็บได้ในอุณหภูมิ 2-8 องศาฯ ราคาจะถูก เพราะทำได้จำนวนมาก

 

วัคซีนนี้เป็นชนิดใหม่เช่นเดียวกัน ผลระยะยาวจึงยังไม่ทราบ และจะต้องคำนึงอีกประการหนึ่งคือขั้นตอนที่ผ่านนิวเคลียสของเซลล์ เราไม่ทราบว่าจะมีการรวมตัว integrate กับ DNA ของมนุษย์หรือไม่ หวังว่าคงไม่ ผลระยะยาวก็คงต้องติดตามต่อไป

 

3. วัคซีนเชื้อตาย (ของจีน Sinovac, Sinopharm)

 

วิธีการผลิตจะใช้หลักการกับวัคซีนที่ทำมาแต่ในอดีต เช่น วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนโปลิโอ พิษสุนัขบ้า และอื่นๆอีกหลายชนิด

 

นักวิทยาศาสตร์จะใช้เชื้อโควิด-19 เพาะเลี้ยงบน Vero cell เซลล์ชนิดนี้ใช้ทำวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และใช้กันมานานมาก อย่างที่เราฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

 

เมื่อเพาะได้จำนวนไวรัสจำนวนมาก ก็จะเอามาทำลายฤทธิ์หรือฆ่าเชื้อให้ตายแล้วนำมา formulation ใส่สารกระตุ้นภูมิต้านทาน

 

ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ คือ วิธีการทำเป็นวิธีที่เรารู้กันมาแต่โบราณ ในเรื่องความปลอดภัย เป็นเชื้อตายสามารถให้ในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อไม่ไปเพิ่มจำนวน

 

การกระตุ้นภูมิต้านทานจะได้ระดับต่ำกว่าวัคซีนที่กล่าวมาจากข้างต้น

 

ข้อเสียของวัคซีนชนิดนี้ คือ การผลิตจำนวนมากจะทำได้ยาก เพราะไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสก่อโรค จะต้องเพาะเลี้ยง ในห้องชีวนิรภัยระดับสูง ต้นทุนในการผลิตจะมีต้นทุนสูง

 

เราจะเห็นว่าวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอไม่สามารถลดราคาลงให้ถูกลงได้ ในทำนองเดียวกันการผลิตจำนวนมากของวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตายก็จะมีขีดจำกัด

 

การตอบแบบสอบถามวันนี้จะดูข้อสรุป เข้าใจว่าจะมีคนตอบมาประมาณ 40,000 คน สิ่งที่ต้องการวันนี้อยากให้เด็กรุ่นใหม่สนใจงานวิทยาศาสตร์ เรามาช่วยกันส่งเสริม และหลังจากนี้อีกสักระยะหนึ่งเมื่อทุกคนมีความรู้มากขึ้น จะตั้งแบบสอบถามขึ้นอีก ดูการเปลี่ยนแปลงและความต้องการ เพราะมีการพูดกันว่ากลัววัคซีนจะเหลือ

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/454227?adz=

 

เช็ค 10 จุดเสี่ยง 'โควิด-19' แหล่งสะสมโรคในที่สาธารณะ

 

ป้องกัน "โควิด-19" นอกจากใส่หน้ากากอนามัย-อยู่ห่าง-ล้างมือ แล้ว อย่ามองข้ามสิ่งรอบตัว อย่าง ธนบัตร เหรียญ, โทรศัพท์มือถือ, ราวบันได ฯลฯ ที่เสี่ยงสะสมเชื้อโรคในแบบที่ทุกคนมองข้าม

การระบาด "โควิด-19" ครั้งใหม่ในประเทศไทยกลายเป็นวาระสำคัญต้อนรับ 2564 และมียอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้รัฐบาลจะมีมาตรการประกาศพื้นที่ควบคุมออกเป็นระดับ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่มีประกาศ “ล็อกดาวน์” เหมือนอย่างในเดือนมีนาคมในปี 2563 ที่ผ่านมา

 

หากใครยังต้องออกไปทำงาน เดินทาง และทำธุระในที่สาธารณะ นอกจากการใส่ “หน้ากากอนามัย” ตลอดเวลา อาจจะยังป้องกันเชื้อไม่พอ เพราะเชื้อไวรัสอาจยังคงแฝงตัวอยู่ตามสถานที่ หรือสิ่งของต่างๆ ที่เราคาดไม่ถึง และต้องสัมผัสอยู่บ่อยครั้ง วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งเหล่านั้น แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ให้รีบทำความสะอาดร่างกายหลังสัมผัสทันที เช่น ล้างมือ เป็นต้น

ผศ. นพ. ภาวิทย์ เพียรวิจิตร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดเสี่ยงของการสะสมเชื้อโรคบนสิ่งของต่างๆ คือ

160974958740

  • 1. ธนบัตร-เหรียญ

หลังจากสัมผัสหรือจับแล้ว ควรรีบทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยสบู่ทันที หรือเปลี่ยนช่องทางการจ่ายเงินให้สะดวกมากขึ้น อย่างเช่นการโอนเงิน หรือการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทน

160974958158

  • 2. พัสดุ

เนื่องจากขั้นตอนการจัดส่งพัสดุ ต้องใช้การส่งต่อสิ่งของ เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทาง ดังนั้น ก่อนจะถึงมือเรา จึงมีผู้สัมผัสมันเป็นจำนวนมาก และเราก็ไม่สามารถรู้ได้ถึงสุขภาพของคนในกระบวนการส่งต่อนั้น ดังนั้น หลังการรับพัสดุ จึงควรพ่น และ เช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์ก่อนสัมผัส และ มีการล้างมือรวมทั้งกำจัดหีบห่อ หลังจากเปิดหีบห่อแล้ว โดยใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ฉีดทิ้งไว้ในห้องแยกเป็นเวลา 2 วัน พัสดุที่ทิ้งไว้ไม่ได้ให้ฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ก่อนจับ

 

160974957932

 

  • 3. ที่จับประตู หรือลูกบิด

แนะนำให้ใช้ไหล่ดัน เพื่อเปิดประตู หรือใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ฉีดก่อนสัมผัสลูกบิด

160974957188

  • 4. โต๊ะทำงาน

ควรทำความสะอาดโต๊ะทำงานของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยแอลกอฮอล์

160974956643

  • 5.โทรศัพท์สำนักงาน และโทรศัพท์มือถือ

ควรใช้สเปรย์สำหรับทำความสะอาดโทรศัพท์ที่มีสารป้องกันเชื้อโรคได้สูงสุด เพราะโทรศัพท์เป็นสิ่งใกล้ตัวเรามากที่สุด และอยู่ติดกับตัวเราตลอดเวลา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการทำความสะอาดมักจะหลีกเลี่ยงความเปียก และความชื้น ดังนั้นเราควรหมั่นล้างมือของเราให้สะอาดเพื่อป้องกันอีกชั้นหนึ่ง

160975001638

  • 6.ราวบันไดเลื่อน

เป็นอีกหนึ่งจุดที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และเป็นที่ที่มีความจำเป็นต้องสัมผัสเพื่อความปลอดภัย แม้ว่าหลายๆ คนจะสามารถใช้งานบันไดเลื่อนได้โดยไม่ใช้ราวจับ แต่บ่อยครั้งเมื่อเสียหลัก การจับราวบันไดเลื่อนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหากมีผู้ที่มีเชื้อนี้ มาจับโดยไม่ระมัดระวัง เราก็มีโอกาสสัมผัสเชื้อไปโดยปริยาย ดังนั้น เราจึงควรงดเว้นการจับราวบันไดเลื่อน และหากจำเป้นต้องจับ ควรทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์ทันที

 

160974956413

 

  • 7. ปุ่มกดลิฟต์

เป็นอีกจุด ที่มีความเสี่ยงในการสะสมของเชื้อ เนื่องจากเป็นจุดที่มีผู้ใช้งานร่วมกันมาก หากมีการเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจำก็จะช่วยลดการสะสมของเชื้อได้ แต่นอกจากลดความเสี่ยงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อลงแล้ว หากเราใช้ปากกา หรือไม้จิ้มฟันในการกดลิฟต์ ก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการป้องกันตัวเองได้

160975004066

  • 8. บัตรคูปองอาหาร บัตรจอดรถตามที่สาธารณะ

เป็นอีกอย่างที่มีการเปลี่ยนมือตลอดเวลา โดยที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเคยผ่านมือใครมาก่อน ดังนั้น การใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อพ่นหลังจากได้รับบัตรมา จึงเป็นตัวช่วยที่ดี ที่จะช่วยเราป้องกันเชื้อได้

160974955260

  • 9. ตู้ ATM หรือตู้อัตโนมัติต่างๆ

เนื่องจากโดยปกติแล้ว จะมีผู้มาใช้บริการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ และเราก็ไม่อาจรู้ได้ว่าผู้ที่ใช้งานก่อนเราจะเป็นผู้ป่วยหรือไม่ หากผู้ให้บริการมีการเช็ดปุ่มกดของตู้ATMด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ก็จะลดความเสี่ยงให้ผู้ใช้บริการลงได้ แต่เนื่องจากสภาพการใช้งาน แป้นกดจึงมักไม่ได้รับการเช็ดบ่อยนัก  ดังนั้น หลังจับตู้ ATM หรือ ตู้กดต่างๆ จึงควรทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์หรือสบู่ทันที

160974955287

  • 10. ห้องน้ำสาธารณะ

ห้องน้ำจะเป็นจุดเสี่ยงที่เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อ ดังนั้นเราจึงอาจจะใช้ทิชชู่สัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ แทนหลังเสร็จธุระ และควรทำความสะอาดมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์หลังการใช้งาน

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/915456?anf=