หน่วยข่าวกรองสหรัฐยัน ‘โควิด-19’ไม่ได้สร้างโดยมนุษย์

 

สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐ แถลงยืนยันเมื่อวันพฤหัสบดี(30เม.ย.)ว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ต้นตอโรคโควิด-19 ไม่ได้ถูกสร้างจากมนุษย์ ถือเป็นการหักล้างแนวคิดที่ว่าโควิด-19 ถูกสร้างขึ้นในห้องทดลองในประเทศจีน

สำนักงานข่าวกรองสหรัฐ ระบุว่าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เผยแพร่ในวงกว้างบ่งชี้ว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไม่ได้สร้างขึ้นโดยมนุษย์ หรือมาจากการตัดต่อพันธุกรรมใดๆ แต่สำนักงานข่าวกรองจะยังเดินหน้าค้นหาข้อมูลต่อไปว่าการระบาดของไวรัสมาจากการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่มนุษย์ หรือเป็นผลจากอุบัติเหตุในห้องแลบในเมืองอู่ฮั่น ศูนย์กลางการระบาดของโควิด-19 ในช่วงแรกๆ

แถลงการณ์จากสำนักงานข่าวกรองสหรัฐชิ้นนี้ มีนัยยะสำคัญเพราะถือเป็นการหักล้างทฤษฎีต้นกำเนิดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ผ่านมาว่าเป็นไวรัสที่ถูกสร้างขึ้นในห้องทดลองของจีน แต่ทางการสหรัฐยังคงค้นหาต้นตอของการระบาดของไวรัสว่าเป็นรูปแบบการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนได้อย่างไร หรืออาจมีต้นตอจากความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุระหว่างการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือไม่

ด้านทำเนียบขาว เรียกร้องให้ค้นหาความจริงเกี่ยวกับต้นตอของโควิด-19 และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก็แสดงความคลางแคลงใจเกี่ยวกับบทบาทของจีนและองค์การอนามัยโลกในเรื่องนี้ส่วนนายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐตั้งคำถามเกี่ยวกับความโปร่งใสของรัฐบาลจีน พร้อมระบุว่าจีนยังคงทำให้ทั่วโลกตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงหากไม่ยอมเปิดเผยว่าต้นตอของโรคโควิด-19 มาจากไหน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878677

 

โดย.....
ศาสตราจารย์นายแพทย์อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

ตามที่มีข่าวว่า ไทยจะมีวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ใช้ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ทำให้หลายคนวิตกกังวลว่า ไทยจะไม่รอดพ้นจากการระบาดโควิด-๑๙ ระลอกสอง

ในช่วงนี้ ก่อนถึงเวลาปลายปีหน้า ผมขอเรียนข้อเท็จจริงว่า ตอนนี้คนไทยได้ใช้วัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ที่มีประสิทธิภาพดีมากและปลอดภัยจากฤทธิ์ข้างเคียงทั้งหลายอยู่แล้ว นั่นคือการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อเข้าไปที่ชุมนุมชน หรือในที่มีคนแออัด และอากาศไม่ถ่ายเท ทั้งนี้เพราะการสวมหน้ากากอนามัย คือด่านสกัดกั้นเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ มิให้เข้ารูจมูก และปากของเรา

ท่านอย่าสวมหน้ากากอนามัยต่ำกว่ารูจมูกนะครับ

หากสวมกระชับก็ป้องกันโรคได้เด็ดขาด หากเกิดพลาดพลั้งรับเชื้อเข้ารูจมูกบ้าง จำนวนเชื้อจะน้อยมาก เชื้อจำนวนน้อยนิดนี้จะไปก่อโรค แต่จะไม่ปรากฏอาการใดๆ หรือมีเล็กน้อยเท่านั้น

ท่านจะไม่ป่วยรุนแรง ไม่ถึงตายแน่นอน แต่กลับจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นได้ ทำให้ตัวเรามีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเองโดยที่ยังไม่ต้องไปฉีดวัคซีน

หากพลาดพลั้งไปรับเชื้อ ในขณะสวมหน้ากากอนามัยในที่อื่นๆ อีก ภูมิคุ้มกันของเราจะถูกกระตุ้นให้เกิดสูงขึ้นไปอีก และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

แตกต่างจากการไม่สวมหน้ากากอนามัย ซึ่งเมื่อรับเชื้อจะรับเต็มจำนวนเข้าไปในปอด และเสี่ยงต่อการป่วยหนัก เพราะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไม่ทัน

เชื้อไวรัสจำนวนมากก็เข้าไปทำลายเซลล์จำนวนมากของเราด้วย และการต่อสู้เชื้อไวรัสจำนวนมากที่ร่างกายรับเข้ามาในทางเดินหายใจอย่างทันทีทันควันนั้น ร่างกายจะปล่อย cytokine storm ได้

cytokine storm คือสารที่เซลล์ภูมิคุ้มกันปล่อยออกมาต่อสู้เซื้อโรคจำนวนมาก แต่ปล่อยออกมามากเกินไป จนทำลายเซลล์ตนเองด้วย ทั้งสองกลไกนี้ทำให้เนื้อปอดถูกทำลายมากและพิการ สูญเสียหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนได้

ดังนั้นคนไทยต้องสวมหน้ากากอนามัย เมื่อเข้าไปในชุมชนที่เราไม่รู้จัก เพราะหากพลาดพลั้งเกิดรับเชื้อ ก็จะรับจำนวนน้อยมาก และไม่ป่วยรุนแรง แถมยังเกิดภูมิต้านทานโรคได้อีก

ดังนั้น หน้ากากอนามัยคือวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ที่ดีที่สุด เพราะราคาหน้ากากอนามัยถูกมากกว่าวัคซีนที่คาดว่าตกประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ บาท

หน้ากากอนามัยของไทยมีทั่วไปแล้ว หน้ากากผ้าใช้ได้เลย ไม่ต้องฉีดก็เกิดภูมิต้านทาน หรือไม่ป่วยเลยก็ได้ และไม่เกิดฤทธิ์ข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง ร้อนตรงที่ฉีดวัคซีน หรือมีไข้ เป็นต้น

ยิ่งสวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างทางสังคมแล้ว ขอยืนยันว่า ท่านกำลังใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙ ที่ดีที่สุดในโลก ไม่ต้องคอยวัคซีนที่ต้องฉีดในปีหน้าหรอกครับ รีบใช้วัคซีนที่ดีที่สุดตัวนี้กันวันนี้เลยตามข้อบ่งใช้นะครับ และเลิกวิตกกังงวลว่า จะไม่มีวัคซีนได้ใช้ หรือจะมีการระบาดระลอกสอง นายกรัฐมนตรีก็ไม่ต้องแย่งซื้อวัคซีนให้เจ็บคอหรือเพลียใจเปล่าๆ

ขายแพงก็ไม่ต้องซื้อ รอคนไทยผลิตเองยังทันใช้เลยครับ

(ท่านอาจารย์อมร อนุญาตให้เผยแพร่ได้ ช่วยกันแชร์ต่อเยอะๆนะครับ)

 

มีหนาวกันทั้งบาง! นักไวรัสวิทยาเผยที่อ้างว่าวัคซีนป้องฝีดาษคนใช้ป้องฝีดาษลิงได้ 85% นั้นเก่าคร่ำครึ นานกว่า 40 ปีแล้ว อาจต้องตรวจสอบใหม่ ซ้ำร้ายไวรัสยังพัฒนาไปไกล

09 มิ.ย.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊กมีเนื้อหาว่า ตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนไข้ทรพิษ (ฝีดาษคน) ในการป้องกันการติดเชื้อฝีดาษลิงคือ 85% ตัวเลขนี้ใช้อ้างอิงต่อๆกันไปจนเป็นตัวเลขที่น่าจะเป็นมาตรฐานจริงๆ ไปแล้ว ถ้าสืบหาต้นตอของตัวเลขนี้จะพบว่าเป็นการเก็บข้อมูลในประเทศซาร์อีมาตั้งแต่ปี 1981-1986 หรือ 40 ปีก่อน ในครอบครัวที่มีการสัมผัสผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง ในตารางจะเห็นว่า กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนฝีดาษพบอัตราการติดเชื้อจากกลุ่มที่สัมผัสผู้ป่วยที่ 9.28% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน พบอัตราการติดเชื้อที่ 1.31% ตัวเลขดังกล่าวนำมาใส่สูตรคำนวณได้ค่าประสิทธิผลของวัคซีนอยู่ที่ 85% จึงเป็นตัวเลขเดียวที่อ้างอิงต่อๆกันมา

 
 
 

ประเด็นคือ ตัวอย่างที่ใช้คำนวณถือว่าน้อยมาก ผู้สัมผัสเชื้อ 1,420 คน และ ผู้ติดเชื้อ 53 คน ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขที่นำมาคำนวณประสิทธิผลของวัคซีนโควิดน้อยๆ แบบนี้คงไม่ได้รับความสนใจเท่าไหร่ เพราะ Real word data ของวัคซีนโควิดต้องระดับหลายหมื่นคน หรือถึงหลักแสนคน ถึงจะสร้างความน่าเชื่อถือ อีกอย่างหนึ่งคือ เนื่องจากตัวเลขนี้เก็บในช่วงการให้วัคซีนไข้ทรพิษยังดำเนินการอยู่ ซึ่งไม่มีใครตอบได้ว่า 40 ปีต่อมาภูมิคุ้มกันที่ยังเหลืออยู่ยังเป็น 85% หรือไม่ และประเด็นเรื่องของสายพันธุ์ไวรัสฝีดาษลิงเมื่อ 40 ปีก่อน กับวันนี้ไม่เหมือนกัน ตัวเลข 85% อาจจะไม่ใช่ตัวเลขที่ถูกต้องในการอ้างอิง เพราะไม่น่าจะมีใครทราบว่า วัคซีนฝีดาษคนจะป้องกันฝีดาษลิงสายพันธุ์ปัจจุบันได้เท่าไหร่ คงต้องทำการทดลองกันอย่างจริงจังครับ

ตารางอ้างอิงมาจาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2491159/

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/x-cite-news/157938/

 

 

11 ส.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่าโควิด-19 เราไม่สามารถหนีกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ

ในอดีตที่ผ่านมามีการระบาดของโรคร้ายแรงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไข้ทรพิษ กาฬโรค และความรู้ การแพทย์ไม่ทันสมัยเหมือนสมัยนี้ เราก็สามารถผ่านพ้นกันมาได้จนทุกวันนี้ การระบาดของโรค จะไม่ยืดยาวนานอย่าง โควิด-19 ในปัจจุบัน

ตามกฎเกณฑ์ของวิวัฒนาการ กระต่ายเคยทำลาย พืชเกษตรเสียหายมาก มนุษย์จึงใช้ไวรัสที่ก่อโรครุนแรงในกระต่ายถึงเสียชีวิต และเป็นโรคระบาด ใส่ให้กระต่าย ผลปรากฏว่ากระต่ายเสียชีวิตจำนวนมากแต่ก็จะมีจำนวนหนึ่งที่ทนต่อไวรัสนี้ และหลงเหลืออยู่แพร่พันธุ์ต่อมา เพิ่มจำนวนได้เท่าเดิม

เมื่อมองย้อนไปถึงการระบาดของโรคในอดีต การระบาดส่วนใหญ่จะใช้เวลาปีเดียว มีการติดต่อกันมาก อย่างเช่นอหิวาตกโรคในรัชกาลที่ 2 หรือ ไข้หวัดใหญ่สเปน ในรัชกาลที่ 6 ระบาดอยู่เพียงปีเดียว ก็เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาล แต่มีการสูญเสียค่อนข้างมากโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากร

 
 
 

เราประมาณการกันว่า ไข้หวัดใหญ่ ระยะเวลา 3 ปี เกือบทุกคนจะเป็นหนึ่งครั้ง และเมื่อครบ 9 ปีโดยเฉลี่ยแล้วจะเป็นครบทั้งไข้หวัดใหญ่ A (H1N1, H3N2) และ B รวม 3 ตัว ดังนั้นในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาก่อน การให้ครั้งแรกของชีวิตจะต้องให้ 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน แต่ถ้าใครอายุเกิน 9 ปี ก็ถือว่าน่าจะเคยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มาแล้ว การให้วัคซีนจะเป็นเข็มกระตุ้น 1 ครั้ง Covid 19 ก็น่าจะเช่นเดียวกันถ้าใช้ระยะเวลา 3 ปี ประชาชนส่วนใหญ่ก็น่าจะเคยติดเชื้อมาเป็นส่วนใหญ่แล้ว

ในปัจจุบันการแพทย์เราดีขึ้นก็ตาม การระบาดของโรคเราต่อสู้กับมันมาตลอด ทำให้ระยะเวลาในการระบาดยืดยาวออก และในที่สุดประชากรส่วนใหญ่ ก็คงจะต้องเคยติดโรค เปรียบเสมือนไข้หวัดใหญ่ โรคทางไวรัส ส่วนใหญ่เป็นในเด็กอาการจะไม่มีรุนแรง อาการจะรุนแรงในกลุ่มเปราะบาง

เรายืดระยะการระบาดมาถึง 2 ปีครึ่งแล้ว เพื่อให้มีการพัฒนา การรักษา การป้องกัน ด้วยวัคซีน ปัจจุบันก็ทราบแล้วว่า วัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ช่วยลดความรุนแรง การระบาดในระยะหลัง จึงมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก อาจจะเป็นจำนวนเป็นหลายหมื่น ถ้ารวมผู้ติดเชื้อมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ และไม่ได้ตรวจ ก็อาจจะเป็นแสนก็ได้ ปัญหาของโรค จึงอยู่ในกลุ่มเฉพาะเปราะบาง จำนวนการนอนโรงพยาบาล จึงอยู่ที่ 2,000 - 3,000 คน การเสียชีวิต 20-30 คน

เรารับความจริงแล้วว่า โรคนี้จะอยู่กับเราตลอดไป และจะอยู่ด้วยกันได้ ไวรัสจะทำร้ายเราน้อยลง เรามีระบบภูมิต้านทานที่ดีขึ้น ที่เคยได้รับวัคซีน หรือติดเชื้อมาแล้ว และมียาที่ดีขึ้น อัตราการสูญเสียก็จะน้อยลง เหมือนโรคทางเดินหายใจทั่วๆไป โดยเฉพาะในเด็ก เมื่อเป็นแล้ว โตขึ้นก็จะมีภูมิต้านทาน และถ้าได้รับเชื้อความรุนแรงของโรคก็จะน้อยลงเอง

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/198446/

 

 
หนีไม่พ้น "โอไมครอน" BA.2 ระบาดขาขึ้นเป็นหลักแสน ค่าตรวจวันละ 100 ล้านบาท
 
 

จับตา "โอไมครอน" BA.2 ไทยหนีไม่พ้น ระบาดขาขึ้นเป็นหลักแสน ตรวจ RT-PCR หมด ต้องใช้เงินวันละ 100 ล้านบาท หมอยง ชี้ สภาพอย่างในปัจจุบันนี้ คงเป็นไปไม่ได้ ที่ทุกคนเมื่อตรวจพบเชื้อแล้ว จะต้องอยู่โรงพยาบาล

เกาะติด "โอไมครอน" หรือ โอมิครอน โควิด-19 กลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่มีแนวโน้มจะมาแทนที่ BA.1 กลายเป็นสายพันธุ์หลัก ล่าสุด หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ Yong Poovorawan โควิด-19 การระบาดอยู่ในขาขึ้น

หมอยง โพสต์ระบุ ตามที่ได้กล่าวแล้ว สายพันธุ์ที่มีแนวโน้มไปได้เร็ว BA.2 เราคงหนีไม่พ้น ขณะนี้ การระบาดอยู่ในขาขึ้นในทวีปเอเชีย สิงคโปร์มีประชากรน้อยกว่าเรา 10 เท่า ยังมีผู้ป่วยมากกว่าหมื่นห้า ญี่ปุ่นขึ้นไปเกือบแสน เกาหลี ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบ มากกว่าเราทั้งนั้น

"จะเห็นว่าการเปลี่ยนสายพันธุ์แต่ละครั้งจำนวนผู้ป่วยในบ้านเรา จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า จากระลอกแรกเป็นหลักสิบ ระลอก 2 เป็นหลักร้อย และระลอก 3 เป็นหลักพัน ระลอก 4 เจอสายพันธุ์เดลตาเป็นหลักหมื่น ครั้งนี้เป็นระลอก 5 สายพันธุ์ "โอไมครอน" (โอมิครอน) ไม่แน่ใจว่าจะขึ้นเป็นหลักแสนหรือเปล่า ไม่อยากเห็นตัวเลขขึ้นแบบนั้นเลย"

หมอยง ระบุต่อว่า เมื่อวานผมเข้าร่วมบรรยาย Webinar กับ อินโดนีเซีย และ ว่านเย็น บรรยายกลุ่มโรคเด็กกับ อียิปต์ ในเรื่องของ COVID-19 เราคงต้องยอมรับความจริง โรคนี้ในเอเชียจะต้องขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วจึงค่อยลงมาอีก จะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ในยุโรปและอเมริกาอยู่ขาลงแล้ว

หมอยง, COVID-19, BA.2, โอไมครอน, โอมิครอน

หมอยง, COVID-19, BA.2, โอไมครอน, โอมิครอน

"มีโทรศัพท์เข้ามา โดยเฉพาะมีผู้ป่วยใหม่ขอคำปรึกษาจำนวนมาก แสดงให้เห็นจำนวนผู้ป่วยเป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นการติดในครอบครัว และจะติดทั้งครอบครัว" หมอยง ระบุพร้อมบอกอีกว่า จำนวนผู้ติดเชื้อในบ้านเราอยู่ในขาขึ้น ยอดสูงสุดจะเป็นเท่าไหร่ อาจจะถึง 3 - 5 หมื่น หรือมากกว่าก็ได้ ขณะนี้ ที่เห็นชัดก็คือว่าถ้าเรารวมผู้ป่วยตรวจยืนยัน RT-PCR กับ ATK ก็น่าจะเกิน 25,000 แล้ว และดูอัตราการเสียชีวิต ในภาพรวมดังแสดงในรูป จะอยู่ที่น้อยกว่า 2 ใน 1,000 ถ้าเอาผู้ที่มีอาการน้อยและตรวจพบ ATK มารวมด้วยอัตราการเสียชีวิตก็จะอยู่ที่น้อยกว่า 1 ใน 1,000

นอกจากนี้ หมอยง ยังระบุอีกว่า เมื่อมีจำนวนผู้ป่วยมากขนาดนี้และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันก็คือ ลดการติดต่อโรคให้ได้มากที่สุด ผู้ที่ตรวจ ATK เป็นบวก แล้วไม่มีอาการ ให้แยกตัวกักตัวเองเลย อาจไม่จำเป็นที่ต้องไปตรวจยืนยันเลย ให้ปฏิบัติตัวเหมือนผู้ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ค่าตรวจจะมีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น คงขึ้นอยู่กับอาการมากกว่า สมมติว่าถ้าเราติดเชื้อรวมทั้ง ATK เกินกว่า 50,000 ราย และต้องตรวจ RT-PCR หมด รวมทั้งมีการตรวจกรองกลุ่มเสี่ยงอีก ซึ่งขณะนี้เราตรวจกันวันละประมาณ 50,000 คน และถ้าต้องตรวจเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 คน ค่าตรวจคนละ 1,000 บาท เราจะต้องใช้เงินค่าตรวจวันละ 100 ล้านบาท

"ผู้ที่มีอาการ ก็จะต้องแยกแยะว่ามีอาการมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีอาการน้อยและสามารถแยกตัวที่บ้านได้ก็ควรอยู่บ้าน เพราะขณะนี้ทราบดีแล้วว่าส่วนใหญ่มีอาการน้อย ถ้าร่างกายแข็งแรงดี หรือมีอายุน้อย นอกจากเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับยืนยันอย่างรวดเร็ว และเข้ารับการรักษา สภาพอย่างในปัจจุบันนี้ คงเป็นไปไม่ได้ ที่ทุกคนเมื่อตรวจพบเชื้อแล้ว จะต้องอยู่โรงพยาบาล" หมอยง ทิ้งท้าย

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/505997?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ