หมอธีระวัฒน์ เปิด 2 ข้อ สันนิษฐาน คนไทยมีของดี - รักษาวินัยการ์ดไม่ตก โควิด-19 ไม่ขยับ

 

หมอธีระวัฒน์ เปิด 2 ข้อ สันนิษฐาน ไทยไม่ตามรอยยุโรป - สหรัฐฯ แพร่เชื้อ โควิด-19 เป็นลูกโซ่ ป่วยหนัก - เสียชีวิต เพราะคนไทยมีของดี - รักษาวินัยการ์ดไม่ตก ไวรัสเลยขยับไม่ได้

หมอธีระวัฒน์ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha หวัง 2 ข้อ คนไทยมีของดี - ไวรัสถูกแรงกดดัน ทำให้ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ไม่แพร่เป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ เหมือนอย่างที่พบในยุโรปและในสหรัฐอเมริกาที่ยังมีผู้ป่วยอาการหนัก และเสียชีวิตล้มตายเป็นไปไม้ร่วง ย้ำ คนไทยจำเป็นต้องรักษาวินัยอย่างเคร่งครัดต่อไปอีก อฐิษฐานขอให้ทุกคนปลอดภัย

หมอธีระวัฒน์ กล่าวว่า ถ้าเราสังเกตดีๆ จะพบว่าในประเทศไทย ทั้งๆ ที่มีคนติดเชื้อ โควิด-19 ในประเทศอยู่แล้ว และแพร่เชื้อได้ ดังที่มีการสำรวจในพื้นที่ในหมู่บ้านที่มีการติดเป็นลูกโซ่ และแม้แต่รายงานคนที่ไปจากประเทศไทย แต่ผู้ที่ติดเชื้อจะพบว่าไม่มีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีอาการน้อยมาก เรากำลังหวังว่า

1. คนไทยมีของดี คือ มีกระบวนการต้านทานมาแต่เก่าก่อนจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าที่ไม่ใช่ โควิด-19 รวมทั้งผู้ที่ติดเชื้อ โควิด-19 ไปแล้วที่มีอาการน้อยตั้งแต่เริ่มต้นเป็นจำนวนมาก ที่ไม่ได้ตรวจ ยังคงมีหมวดความจำทางด้านระบบการต้านทานเชื้อ ในระบบเซลล์ แม้การตรวจเลือดภูมิคุ้มกันในเลือด หรือ แอนติบอดี จะหายไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อเจอเชื้ออีกครั้งก็เฉยๆ เพราะหมวดความจำถูกปลุกขึ้นมาต่อสู้ได้ทันทีทันใด

  

หมอธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า 2. ไวรัส ถูกแรงกดดัน เป็นผลจากที่มีกระบวนการในการป้องกันการแพร่เชื้อทั้งในระดับบุคคล คือ การมีวินัยรักษาระยะห่าง ใส่หน้ากาก ทำให้คนที่ติดเชื้อแพร่เชื้อไม่ออก และคนรอบข้างมีหน้ากาก ล้างมือ เลยไม่ยอมรับเชื้อไป เรียกว่า internal measure ซึ่งรวมถึงการที่คนติดเชื้อได้รับการรักษาตั้งแต่ต้น ไม่ปล่อยให้ลุกลามและมีอาการไปมากมาย จนไวรัสขยับไม่ได้

นอกจากนั้น ประกอบกับกระบวนการภายนอก extrrnal measure มีการระมัดระวังทำความสะอาดพื้นผิวสาธารณะจากการที่เชื้อไม่ถูกปลดปล่อยออกไปภายนอกมากมาย

 

ข้อสองนี้เป็นข้อสันนิษฐานจากประเทศจีนตั้งแต่ต้นที่มีการเข้มงวดตรวจหาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ตั้งแต่ต้น รักษาตั้งแต่ต้น กักตั้งแต่ต้น และใส่หน้ากาก รักษาระยะห่างตั้งแต่ต้น ร่วมกับ deep cleaning ในแหล่งระบาด

 

"เหล่านี้จัดเป็นอิทธิพลกดดันไวรัสให้ถดถอยความรุนแรง และกระทบการปรับรหัสพันธุกรรมร่วมกระทั่งถึงกลไกเหนือพันธุกรรม epigenetics ของไวรัส ให้เข้าทางให้คนไทยปลอดภัย ด้วยข้อสันนิษฐานดังกล่าวถ้าเป็นจริง หรือไม่จริงก็แล้วแต่ จะเป็นเครื่องตอกย้ำว่าคนไทยจำเป็นต้องรักษาวินัยอย่างเคร่งครัดไปอีก อาศัยของดีในตัวที่หลายๆ คนในประเทศไทยน่าจะมีอยู่แล้ว และมีวินัยกันไม่ให้เชื้อแพร่เป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ เหมือนอย่างที่พบในยุโรปและในสหรัฐอเมริกาที่ยังมีผู้มีอาการหนักและเสียชีวิตล้มตายเป็นไปไม้ร่วง อฐิษฐาน ขอให้คนไทยทุกคนปลอดภัยครับ" หมอธีระวัฒน์ ทิ้งท้าย

 

10 พ.ค. 2565 – นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก ชอบกินเนื้อ..ถึงกับเสี่ยงตาย?

เป็นที่ทราบกันมานานพอสมควรแล้วว่าการกินเนื้อแดงอันประกอบไปด้วยเนื้อวัว หมู เนื้อแกะ เป็นต้น จะมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคนานาชนิด ที่เป็นโรคเรื้อรังและอันตราย รวมทั้งการเกิดมะเร็งและการเกิดเป็นเบาหวาน

 

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่จับตามองมากที่สุดจะเป็นเรื่องของความเสี่ยงของการเสียชีวิตโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคของเส้นเลือดไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง รวมทั้งเส้นเลือดทั่วร่างกาย (Cerebrovascular Diseases หรือ CVD) โดยรวมความผิดปกติของหัวใจ ทั้งหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติ และโรคของเส้นเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) และโรคเส้นเลือดสมอง (Stroke)

มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันในบางประเด็นในเวลาที่ผ่านมา ก็คือความเสี่ยงจะเกิดขึ้นมากเฉพาะกับการกินเนื้อแดงที่ผ่านการปรุงแต่ง (Processed meat) โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตต่างๆ เช่น การรมควัน การหมัก การใช้เกลือและวิธีอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสชาติและยืดอายุของอาหาร ที่รู้จักกันดีคือ ฮอตด็อก ไส้กรอก เบคอน แฮม เนื้อบรรจุกระป๋องและเนื้อตากแห้ง ในขณะที่เนื้อแดงที่ไม่ปรุงแต่ง ไม่เป็นไร
นอกจากนั้นความเสี่ยงยังอาจเกิดขึ้นร่วมกับการใช้ชีวิตและพฤติกรรม เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การออกกำลัง และการกินพืชผักผลไม้กากใยมากหรือน้อยด้วยหรือไม่

และยังจะเกี่ยวข้องกับยีนที่กำหนดพันธุกรรม ที่ทำให้ตัวการที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่เรียกว่า TMAO มีความรุนแรงขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ TMAO เป็นผลจากการที่จุลินทรีย์ในลำไส้ทำการเปลี่ยนเนื้อแดงให้กลายเป็นสารอักเสบ และในปัจจุบันมีการพบว่ารหัสพันธุกรรมที่ผันแปร (SNP-Single Nucleotide Polymorphisms) และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ TMAO มี 10 ตำแหน่งด้วยกัน จากการศึกษา Genome-Wide Association Study (GWAS) เป็น Genetic risk score ของ TMAO

ผลของการศึกษาที่มาจากการติดตามประชากรขนาดใหญ่ และเป็นเวลานาน จากคณะผู้วิจัยทั้งจากสหรัฐฯและจีน รายงานในวารสารทางด้านโภชนา การของยุโรป (European Journal of Nutrition) ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2022 พบว่า การกินเนื้อแดงที่ไม่ได้ผ่านการปรุงแต่งใดๆ มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นของการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคของเส้นเลือดทั้งหมด และโรคเส้นเลือดสมอง และความเสี่ยงดังกล่าวไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้ลดลงได้จากการปรับพฤติกรรมและไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ในขณะเดียวกัน การหันมากินเนื้อไก่ สัตว์ปีก อาหารธัญพืช กลับช่วยให้ลดความเสี่ยงการตายอย่างมากมาย

การศึกษานี้ควบรวมประชากร 180,642 คน ในระหว่างปี 2006 ถึง 2010 ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัวเกี่ยวข้องกับเส้นเลือดหรือมะเร็ง และทำการติดตามไปจนกระทั่งถึงปี 2018 โดยมีระยะเวลาโครงการติดตามเฉลี่ยอยู่ที่ 8.6 ปี

ผลของการศึกษา มีการเสียชีวิต 3,596 รายด้วยกัน โดย 655 ราย ตายจากโรคเส้นเลือดและหัวใจทั้งหมด 285 รายจากโรคเฉพาะของเส้นเลือดหัวใจ และ 149 รายจากโรคเส้นเลือดสมอง

เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่กินเนื้อแดงน้อยที่สุดคือ น้อยกว่า 1.5 ครั้งต่ออาทิตย์ กับกลุ่มที่กินเนื้อแดงมากที่สุดคือ มากกว่าสามครั้งต่ออาทิตย์ จะพบว่ากลุ่มที่กินเนื้อแดงมากนั้น มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการตายด้วยโรคเส้นเลือดทั้งหมด 20% และด้วยโรคเฉพาะของเส้นเลือดหัวใจ 53% และโรคที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดสมอง 101% (P for trend =0.04, 0.007, 0.02 ตามลำดับ)

และเมื่อทำการวิเคราะห์โดย ถ้ามีการลดการกินเนื้อแดงเปลี่ยนเป็นไก่หรือสัตว์ปีก หรือธัญพืชจะมีความเสี่ยงต่อการตายของเส้นเลือด 9 ถึง 16% การศึกษานี้ยังเน้นย้ำถึงการกินเนื้อแดงที่แม้ไม่ได้มีการปรับหรือปรุงแต่งใดๆ ก็เสี่ยงตายอยู่ดี และแม้จะพยายามออกกำลัง ไม่สูบบุหรี่ก็ไม่ได้ช่วยให้ความเสี่ยงลดลง

ข้อจำกัดของการศึกษาอยู่ที่ไม่สามารถประเมินว่าถ้ากินอาหารพืชผักผลไม้ร่วมไปด้วยจะลดความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด
ผลของการศึกษานี้สอดคล้องกับความรู้ที่เราได้รับทราบมาเนิ่นนาน และพิสูจน์ซ้ำในการศึกษาขนาดใหญ่ที่ควบรวมประชากรทุกทวีป ที่มีเศรษฐานะและเชื้อชาติแตกต่างกันมากกว่า 100,000 คนในปี 2017 แต่เราทำไม่ได้หรือไม่ได้ตั้งใจที่จะทำ ว่าการกินอาหารหลักเป็นพืชผักผลไม้กากใย โดยอัตราส่วนของผักผลไม้อยู่ที่สองต่อหนึ่ง และโปรตีนส่วนใหญ่นั้นมาจากพืช เช่น ถั่ว และสัตว์น้ำ เช่น ปลา โดยลดหรืองดเนื้อทั้งหมด

รวมกระทั่งถึงการลดคาร์โบไฮเดรตก็คือ แป้ง ทั้งข้าว ข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง มันเทศ มันสำปะหลัง

ถึงท้ายสุดนี้คงคล้ายกับที่ได้เคยพูดมาก่อนหน้าและพูดในหมู่เพื่อนฝูงและรุ่นน้องมีหลายคนประสานเสียงกันว่า ร้องเพลง My Way กันดีกว่า นั่นก็คือ “กูจะกิน ก็เรื่องของกู”

ข้อมูลจาก .https://www.thaipost.net/human-life-news/138569/

ภาวนาให้เป็นตามคาดการณ์! หมอประสิทธิ์ เผย เดือนกันยานี้ คาดผู้ติดเชื้อลดลง อาจคลายล็อกประเทศได้เเล้ว ถือเป็นสัญญาณดี!

หมอประสิทธิ์ เผย กันยานี้ คาดผู้ติดเชื้อลด อาจคลายล็อกประเทศได้เเล้ว
 
 
1 นาทีในการอ่าน

ได้ยินการคาดการณ์แบบนี้ค่อยใจชื้น

วานนี้ 22 สิงหาคม ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ถึงแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย และแนวทางผ่อนคลายมาตรการ ว่า สถานการณ์โควิด-19 ของไทย ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เห็นตัวเลขขณะนี้อาจดูเหมือนยังไม่ลดลง เพราะผู้ติดเชื้อใหม่ยังแกว่งอยูที่ 1.9-2 หมื่นรายต่อวัน แต่ที่เห็นชัด คือ อัตราการติดเชื้อลดลง ตัวเลขที่จะวิ่งขึ้นมากๆ ไม่เกิดขึ้นมาเกือบ 2 สัปดาห์แล้ว

 

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 300 รายต่อวัน เมื่อสอบถามข้อมูลก็พบว่า เป็นตัวเลขที่รายงานเข้าระบบช้า แต่ตอนนี้เข้าใจว่ามีการเคลียร์ตัวเลขแล้ว ดังนั้น ตอนนี้ผู้เสียชีวิตรายใหม่น่าจะอยู่ที่ 200 กว่าราย ทั้งนี้ ตัวเลขเหล่านี้หากดูวันต่อวัน อาจไม่ชัด ต้องดูตัวเลข 7 วัน แล้ว เฉลี่ยกัน เราจะเห็นว่า เส้นความชันเริ่มน้อยลงกว่าเดิมเยอะ ใกล้เข้าสู่ระนาบเส้นตรง และเมื่อถึงจุดหนึ่ง กราฟก็จะเริ่มกดหัวลงเป็นขาลง

พร้อมบอกว่ายังไม่อยากบอกให้เร็วว่าปลายเดือนสิงหาคมนี้ แต่เชื่อว่าภายในเดือนกันยายนนี้ จะเห็นตัวเลขการเสียชีวิตลดลงก่อน เพราะโมเมนตัมของผู้ป่วยใหม่ที่เข้ามาแล้วต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ออกซิเจนลดลง แต่คนที่ใช้อยู่ก่อน เช่น ที่ รพ.ศิริราช รักษากันเดือนกว่า ดังนั้น ตัวเลขการเสียชีวิตที่เกิดขึ้น ก็เป็นการย้อนกลับมา อาจไม่ใช่ตัวเลขที่บอกได้ทันที แต่ตัวเลขผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยใหม่ที่มีปอดอักเสบ ใช้เครื่องช่วยหายใจ จะเป็นตัวคาดการณ์ในอนาคต ถ้าตัวเลขน้อยลงเรื่อยๆ คาดการณ์ว่า อัตราสียชีวิตจะน้อยลง และตอนนี้ เราเริ่มเห็นแนวทางจากข้อมูลสะสมรายสัปดาห์ เราเริ่มเห็นขาที่นิ่ง คงที่ และน่าจะเริ่มมีตัวเลขลงแล้ว แต่อัตราการติดเชื้อใหมจะเห็นช้าไปอีก 2-3 สัปดาห์ หากไม่มีการระบาดคลัสเตอร์ใหญ่ๆ ขึ้นมา ส่วนตัวเชื่อว่าภายในกลางเดือนกันยายนนี้ เราน่าจะเห็นตัวเลขขาลง ค่อนข้างแน่ หากดูในเวิลด์โดมิเตอร์ ก็เริ่มเห็นว่าลงเล็กน้อย อีก 2-3 สัปดาห์ต่อจากนี้น่าจะเห็นชัด”

ก่อนจะทิ้งท้ายว่า การผ่อนคลายมาตรการว่า ต้องดูจากข้อมูลจริง และอัตราคนที่ได้รับการฉีดวัคซีน ส่วนรูปแบบการผ่อนคลายนั้น ทุกประเทศคล้ายกันคือ ไม่ล็อกดาวน์ (Lockdown) ทั้งประเทศอีกแล้ว แต่จะล็อกตามเป้าหมาย (Target Lockdown) จังหวัดไหนทำได้ดี ก็จะผ่อนคลาย แต่มีมาตรการติดตามใกล้ชิด กิจกรรมที่สามารถควบคุมได้ สถานประกอบการ ผู้เข้าใช้บริการต่างร่วมมือ และมีการฉีดวัคซีน

จันขอให้การคาดการณ์เป็นเริ่องจริง ชีวิตเราจะได้กลับมาปกติสุขอีกครั้ง

ข้อมูลจาก https://www.ejan.co/health/covid-19/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%94-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7

 


หมอประสิทธิ์ แจงวัคซีนไขว้จำเป็นรับมือเดลต้า ชี้ทฤษฎี ‘แอสตร้า’ เข็มเดียวใช้ไม่ได้แล้ว

เมื่อวันที่ 3 กันยายน ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการกล่าวถึงสูตรการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบไขว้ชนิดวัคซีน ในประเทศไทย ว่า การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ด้วยวัคซีนซิโนแวค เป็นเข็มที่ 1 ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า เป็นเข็มที่ 2 ฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ภูมิคุ้มกันขึ้นสูงเทียบเท่ากับการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ 2 เข็มที่จะต้องฉีดห่างกัน 10-12 สัปดาห์ และต้องรอให้ภูมิคุ้มกันขึ้นในระดับที่สามารถป้องกันโรคได้อีก 2 สัปดาห์รวมเป็น 14 สัปดาห์

“ในขณะที่เราฉีดสูตรไขว้ ด้วยซิโนแวคแล้วอีก 3 สัปดาห์เราฉีดเข็มที่ 2 ด้วยแอสตร้าฯ เว้นไปอีก 2 สัปดาห์ภูมิฯ ก็ขึ้นสูงในเวลาเพียง 5 สัปดาห์ จุดต่างระหว่าง 5 กับ 14 สัปดาห์ มีความสำคัญอย่างมากในเวลาที่เราเจอกับเชื้อที่มีการแพร่กระจายเยอะและเร็ว มันแข่งกับเวลา” ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการที่บอกว่าฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เพียงเข็มแรก ก็สามารถป้องกันโรคได้ นั่นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับสายพันธุ์อัลฟ่า แต่กับเดลต้าไม่ใช่แบบนั้นแล้ว ซึ่งงานวิจัยต่างประเทศก็ออกมาพูดเรื่องนี้กันเยอะว่า เข็มเดียวไม่เพียงพอต้องฉีด 2 เข็ม ที่สำคัญคือเมื่อเวลาผ่านไปภูมิฯ ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนจะลดลง หากไม่กระตุ้นให้ทันก่อนที่จะลดต่ำมาถึงจุดที่ไม่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ก็จะเกิดอันตรายได้

 

ทั้งนี้ ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า เรามีข้อมูลผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เข็มแรก ยังไม่ได้รับเข็มที่ 2 แต่เกิดการติดเชื้อจนเสียชีวิต ดังนั้น ระบบการจัดการบริหารวัคซีนที่ดี คือ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้สูง ให้เร็ว เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะติดเชื้อเมื่อไหร่ จึงเป็นเหตุผลหลักที่เรานำสูตรไขว้มาใช้

ข้อมูลจาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2920046

 

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด \"ปอดรั่ว\" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลใหม่ล่าสุด พบผู้ป่วย "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง เป็นผลมาจากเนื้อปอดถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส โควิด-19 เตือนรีบฉีดวัคซีน

วันที่ 16 กันยายน 2564 นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ หรือ "หมอมนูญ" ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุว่า มีรายงานในต่างประเทศ "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้างหลังติดเชื้อไวรัส โควิด-19 พบน้อยมาก เกิดขึ้นเองไม่เกี่ยวข้องกับการใส่เครื่องช่วยหายใจ 
 

โดย หมอมนูญ เผยว่า ล่าสุดพบคนไข้ไทย ปอดรั่วเองทั้ง 2 ข้าง เป็นผลจากการที่ เนื้อปอดถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส โควิด-19 

ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 77 ปี ไม่สูบบุหรี่ ปกติแข็งแรง ไม่มีปัญหาทางปอด ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด

วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 มีไข้ ไอ เหนื่อย ปอดอักเสบทั้ง 2 ข้างจากโรคโควิด-19 ได้รับการรักษาด้วยยาและออกซิเจน ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยหายใจ 22 วันหลังเริ่มป่วย 

วันที่ 30 กรกฎาคม เหนื่อยมากขึ้นจากปอดข้างซ้ายรั่วเอง ต้องใส่ท่อระบายลม ถอดท่อระบายลมออกวันที่ 9 สิงหาคม ปอดอีกข้างรั่วเองวันที่ 18 สิงหาคม ต้องใส่ท่อระบายลม วันที่ 23 สิงหาคมปอดข้างซ้ายรั่วอีก ต้องใส่ท่อระบายลมอีกครั้ง วันที่ 28 สิงหาคมถอดท่อระบายลมข้างซ้าย 

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้างหมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

วันที่ 31 สิงหาคมปอดข้างซ้ายรั่วอีก ต้องใส่ท่อระบายลมครั้งที่ 3 วันที่ 2 กันยายน ทำคอมพิวเตอร์สแกนปอดพบพังผืดทั่วปอดร่วมกับหลอดลมเล็ก ๆ โป่งพอง 

วันที่ 10 กันยายนได้ทำการผ่าตัดปอดข้างขวา เพราะปอดขวาไม่ขยายตัวเต็มที่ ด้วยการส่องกล้องเข้าไปในช่องทรวงอกข้างขวา พบถุงลมพองโตที่ผิวของยอดปอดข้างขวาด้านบนและด้านล่าง ต้องตัดปอดเฉพาะส่วนนั้นและเย็บปิด ตัดเยื่อหุ้มปอดด้านขวา ใส่แป้ง Talc เข้าช่องปอดขวา และผ่านท่อระบายลมข้างซ้าย เพื่อให้เยื่อหุ้มปอดข้างขวาและซ้ายติดกัน และส่งชิ้นเนื้อปอดตรวจทางพยาธิวิทยาพบ เนื้อปอดถูกทำลาย มีทั้งอักเสบและพังผืดทั่วไป มีถุงลมพองในเนื้อปอด ขณะนี้ยังต้องใส่ท่อระบายลมทั้งสองข้าง 

หมอมนูญ ระบุต่ออีกว่า คำแนะนำคนที่ยังไม่ได้ไปฉีดวัคซีน เพราะกลัวผลข้างเคียงของวัคซีน ขอให้ดูผู้ป่วยรายนี้เป็นตัวอย่างที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ปอดถูกทำลายเสียหายอย่างมาก "ปอดรั่ว 2 ข้าง" ต้องนอนในโรงพยาบาลนานกว่า 2 เดือนแล้ว 

"ขอให้ทุกคนให้รีบไป ฉีดวัคซีน หลังฉีดถึงแม้จะติดเชื้อก็จะป่วยเหมือนเป็นหวัด เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก จาม เชื้อไม่ลงปอด ไม่ป่วยหนักถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต" 

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/483981?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ