9 ม.ค.64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan โดยมีรายละเอียดดังนี้

วัคซีน covid 19 อาการข้างเคียงของวัคซีนผมในฐานะที่เคยทำวิจัยเกี่ยวกับวัคซีน ในอดีตมาร่วม 40 ปี

วัคซีนใหม่ ที่อยู่ระหว่างการวิจัย จะต้องถูกบันทึก อาการที่ไม่พึงประสงค์ ที่เกิดขึ้น หลังการให้วัคซีนทั้งหมด จะต้องถูกบันทึก และแบ่งเป็นความรุนแรงน้อย ปานกลาง และมาก

อาการเฉพาะที่ เช่นบริเวณที่ฉีด หรืออาการทั้งระบบ เช่น ไข้ ปวดศีรษะ เมื่อยล้า

ความรุนแรงมาก ถึงกับต้องนอนโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต

จะต้องประเมินตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีน มากน้อยแค่ไหน หรือ ไม่เกี่ยวข้อง มากน้อยแค่ไหน

ผมเคยฉีดวัคซีนให้คนไข้ในงานวิจัย แล้วได้รับแจ้งว่าคนไข้เสียชีวิต แต่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก็ถือว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง ต้องรายงานทันทีและสอบสวน อย่างรวดเร็วว่าเกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ที่ฉีด อาจจะทำให้ง่วง หาวนอน แล้วเกิดอุบัติเหตุก็ได้ 

หรือ เมื่อฉีดวัคซีนแล้วเดินออกนอกโรงพยาบาล ตกท่อ ก็ถือว่าเป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ ต้องตรวจสอบ เพราะวัคซีนอาจจะทำให้ตามัว เวียนศีรษะ แล้วเดินตกท่อก็ได้

ดังนั้นในวัคซีนใหม่เกือบทุกชนิดจึงต้องมีการศึกษาในรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน และมีผู้มีความรอบรู้ เป็นกลาง มาประเมินรวมด้วย 

ถึงแม้จะได้เริ่มนำมาใช้แล้วในช่วง 2 ปีแรก ก็ยังต้องมีการติดตามอาการข้างเคียง และ อาการไม่พึงประสงค์ต่อไป เพื่อหาอุบัติการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ 

วัคซีนใช้ป้องกันโรคกับคนปกติ จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมาก่อน ข้อมูลการศึกษาที่ต้องการ จึงเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ ในเรื่องของความปลอดภัย.

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/89265

 

 

 
 
 

นพ.ยงชี้ โควิด-19 กำลังเข้าสู่สถานะคล้าย ไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. จะเป็นช่วงขาลง พีกอีกที่ ธ.ค.- มี.ค. แนะควรฉีดวัคซีนก่อนฤดูฝน หรือ ก่อนการระบาดใหญ่

วันที่ 4 กันยายน 2565 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กล่าวถึง การระบาดของโรคโควิด 19 กำลังเข้าสู่แบบเดียวกับโรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล ประจำปี เช่น ไข้หวัดใหญ่

โดยระบุว่า โรคจะระบาดมากตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน ในฤดูฝน และนักเรียนเปิดเทอม และจะเริ่มลดลง ในปลายเดือนกันยายน ขณะที่นักเรียนสอบและปิดเทอม การระบาดจะน้อยลงจนถึงกลางเดือนธันวาคม

และจะมีการระบาดขึ้นอีก พีคหนึ่ง ในฤดูหนาว ตั้งแต่ช่วงปลายธันวาคมจนถึงต้นเดือนมีนาคม แต่การระบาดในช่วงนี้จะไม่รุนแรง และจะเข้าวงจรใหม่ ในเดือนมิถุนายนปีหน้า เช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่และโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ที่มีวงจรเป็นแบบนี้

 

ดังนั้นโรค covid-19 ของเราอยู่ในขาลง และจะลดลงตั้งแต่ปลายเดือนนี้เป็นต้นไป อย่างเห็นได้ชัด

โรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะระบาดในฤดูหนาว ของประเทศที่มีฤดูหนาว เช่น ประเทศซีกโลกเหนือ เช่น ยุโรปและอเมริกา การระบาดจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนธันวาคมจนถึงมีนาคม

ประเทศซีกโลกใต้ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ การระบาดของไข้หวัดใหญ่ โรคทางเดินหายใจก็จะเกิดขึ้นในฤดูหนาวของซีกโลกใต้ ตั้งแต่เดือน มิถุนายนถึงเดือนกันยายน

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ถึงแม้ว่าทางภูมิศาสตร์จะอยู่ซีกโลกเหนือ หรือเหนือเส้นศูนย์สูตร แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่มีฤดูหนาว มีแต่ร้อนมาก ร้อนน้อย การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคทางเดินหายใจ จึงพบได้เกือบตลอดทั้งปี

แต่จะมี การพบสูงสุดในฤดูฝน ซึ่งเป็นเดือนเดียวกับประเทศในซีกโลกใต้

จึงเป็นเหตุผลในการวางมาตรการการป้องกันโรคทางเดินหายใจ ด้วยวัคซีน โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ ถ้าจะมีการฉีด ก็ควรฉีดก่อนที่จะมีการระบาด หรือก่อนฤดูฝน

 

ในทำนองเดียวกันในอนาคตโรคโควิด 19 ถ้าจำเป็นต้องมีการให้วัคซีนประจำปี ฤดูกาลการให้วัคซีน covid-19 ก็คงจะเป็นเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ คือการให้ก่อนฤดูฝนของทุกปี

ข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/breaking-news/news-1037539

 

หมอยง ชี้วัคซีนโควิดที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม พร้อมเผยข้อดี-ข้อเสีย

 

"หมอยง" เผย วัคซีนโควิด-19 มีหลายชนิด แต่ที่อนุญาตให้ใช้ในมนุษย์ภาวะปกติและฉุกเฉิน ที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม พร้อมอธิบายข้อดีและข้อเสีย

 

วันนี้ 6 ม.ค. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุ ความรู้เรื่องวัคซีนโควิด-19

 

วัคซีนมีหลายชนิด ขณะนี้ที่อนุญาตให้ใช้ในมนุษย์ในภาวะปกติ และฉุกเฉิน ที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม


 

1. mRNA วัคซีน เช่น วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ moderna

 

วัคซีนชนิดนี้จะเป็น mRNA ที่ถูกห่อหุ้มด้วย lipid nanoparticle เมื่อฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อ particle จะเข้าสู่ เซลล์กล้ามเนื้อ mRNA จะถูกถอดออกใน cytoplasm หรือของเหลวในเซลล์ แล้ว mRNA จะเข้าสู่ ribosome ทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนด messenger RNA

ดังนั้น RNA ที่ใส่เข้าไปจะต้องมี Cap, 5’ UTR, spike RNA, 3’UTR และ poly A tail อยากให้พวกเราสนใจวิทยาศาสตร์ จะเข้าใจง่ายขึ้น ในรูปแบบที่กล่าวถึงโรงงาน ribosome จะสร้างโปรตีนตามกำหนด และส่งผ่านออกทาง golgi ออกสู่นอกเซลล์

 

โปรตีนที่สร้างออกมาจะเป็นแอนติเจนไปกระตุ้นร่างกายสร้างแอนติบอดี ที่เป็นภูมิต้านทานต่อโรคโควิด-19

 

ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ คือ ทำได้ง่าย และเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เพราะทำในโรงงาน กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูง  

 

ข้อเสียอยู่ที่ว่า RNA สลายตัวได้ง่าย เก็บที่อุณหภูมิต่ำมากๆ และวัคซีนชนิดนี้เป็นชนิดแรกที่ใช้ในมนุษย์ อาการข้างเคียงหลังฉีดพบได้บ่อยกว่าวัคซีนที่ทำโดยชนิดเก่า เช่น มีไข้ ปวดเมื่อย และผลระยะยาวคงต้องรอการศึกษาต่อไป เช่น ติดตามเป็นปี หรือหลายปี

2. ไวรัส vector (ของอังกฤษ, AstraZineca และรัสเซีย Spuknic V)
 

วัคซีนนี้จะใช้วิธีการเอาสารพันธุกรรมของไวรัสใส่เข้าไปในไวรัสที่จะเป็นเวกเตอร์ หรือตัวฝากนั่นเอง ที่ใช้อยู่เป็น adenovirus, vesicula stomatitis virus ไม่ก่อโรคในคน

 

การใส่เข้าไปเข้าใจว่าเป็น cDNA ของโควิด-19 เพื่อให้ไวรัส vector ส่งสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไปในเซลล์มนุษย์ เมื่อเข้าไปแล้วไวรัสจะถอดรูปพันธุกรรมที่ส่งเข้าไป จะต้องเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ เพื่อลอกแบบ และเปลี่ยนให้เป็น mRNA ออกมาในไซโตพลาสซึม แล้วส่วนของ mRNA จะไปที่ ไรโบโซม เพื่อทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ คือ spike โปรตีน ส่งผ่านออกมาทาง golgi ออกนอกเซลล์เช่นเดียวกับ mRNA

 

โปรตีนที่ส่งออกมาจะทำหน้าที่เป็นแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19

 

ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ คือ ผลิตได้จำนวนมากได้ง่าย เพราะทำจากโรงงาน เป็น DNA จะมีความคงทนกว่า จึงสามารถเก็บได้ในอุณหภูมิ 2-8 องศาฯ ราคาจะถูก เพราะทำได้จำนวนมาก

 

วัคซีนนี้เป็นชนิดใหม่เช่นเดียวกัน ผลระยะยาวจึงยังไม่ทราบ และจะต้องคำนึงอีกประการหนึ่งคือขั้นตอนที่ผ่านนิวเคลียสของเซลล์ เราไม่ทราบว่าจะมีการรวมตัว integrate กับ DNA ของมนุษย์หรือไม่ หวังว่าคงไม่ ผลระยะยาวก็คงต้องติดตามต่อไป

 

3. วัคซีนเชื้อตาย (ของจีน Sinovac, Sinopharm)

 

วิธีการผลิตจะใช้หลักการกับวัคซีนที่ทำมาแต่ในอดีต เช่น วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนโปลิโอ พิษสุนัขบ้า และอื่นๆอีกหลายชนิด

 

นักวิทยาศาสตร์จะใช้เชื้อโควิด-19 เพาะเลี้ยงบน Vero cell เซลล์ชนิดนี้ใช้ทำวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และใช้กันมานานมาก อย่างที่เราฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

 

เมื่อเพาะได้จำนวนไวรัสจำนวนมาก ก็จะเอามาทำลายฤทธิ์หรือฆ่าเชื้อให้ตายแล้วนำมา formulation ใส่สารกระตุ้นภูมิต้านทาน

 

ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ คือ วิธีการทำเป็นวิธีที่เรารู้กันมาแต่โบราณ ในเรื่องความปลอดภัย เป็นเชื้อตายสามารถให้ในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อไม่ไปเพิ่มจำนวน

 

การกระตุ้นภูมิต้านทานจะได้ระดับต่ำกว่าวัคซีนที่กล่าวมาจากข้างต้น

 

ข้อเสียของวัคซีนชนิดนี้ คือ การผลิตจำนวนมากจะทำได้ยาก เพราะไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสก่อโรค จะต้องเพาะเลี้ยง ในห้องชีวนิรภัยระดับสูง ต้นทุนในการผลิตจะมีต้นทุนสูง

 

เราจะเห็นว่าวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอไม่สามารถลดราคาลงให้ถูกลงได้ ในทำนองเดียวกันการผลิตจำนวนมากของวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตายก็จะมีขีดจำกัด

 

การตอบแบบสอบถามวันนี้จะดูข้อสรุป เข้าใจว่าจะมีคนตอบมาประมาณ 40,000 คน สิ่งที่ต้องการวันนี้อยากให้เด็กรุ่นใหม่สนใจงานวิทยาศาสตร์ เรามาช่วยกันส่งเสริม และหลังจากนี้อีกสักระยะหนึ่งเมื่อทุกคนมีความรู้มากขึ้น จะตั้งแบบสอบถามขึ้นอีก ดูการเปลี่ยนแปลงและความต้องการ เพราะมีการพูดกันว่ากลัววัคซีนจะเหลือ

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/454227?adz=

 

19 พ.ค.2564 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19  วัคซีน ผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด 19  จำเป็นที่จะต้องให้วัคซีนหรือไม่” มีเนื้อหาว่า ในปัจจุบันทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรคโควิด 19  เมื่อหายแล้วสามารถเป็นกลับซ้ำได้อีก ส่วนใหญ่จะเป็นหลัง 3 เดือนไปแล้ว ผู้ที่เป็น covid19 แล้วจึงมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีน หลัง 3 เดือนไปแล้ว

จากการศึกษาเบื้องต้นที่ลงพิมพ์ในวารสาร Nature Medicine พบว่าการให้วัคซีนในผู้ที่หายป่วยจาก covid-19 แล้ว การให้เพียงครั้งเดียวจะมีระดับภูมิต้านทานกระตุ้นได้สูงเท่ากับคนธรรมดาที่ไม่เคยป่วยและให้วัคซีนครบ 2 ครั้ง

  

ผู้ที่หายป่วย ควรได้รับวัคซีนหลังจาก 3 เดือนนับจากการติดเชื้อ ส่วนจะให้ 1 ครั้งหรือ 2 ครั้ง ยังไม่ได้สรุปออกมาชัดเจน

แต่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าภูมิต้านทาน ของผู้ที่หายป่วยแล้วจะเริ่มลดลงหลัง 6 เดือนและลดลงไปเรื่อยๆ ทางศูนย์ที่ดูแลอยู่ ขณะนี้ทำการศึกษาในผู้ที่หายป่วยในช่วง 3-6 เดือนจะให้วัคซีนกระตุ้น  1 ครั้ง และผู้ที่หายป่วยเกินกว่า 6 เดือนหรือเป็นปีแล้วจะให้วัคซีนให้ครบ 2 ครั้ง และกำลังตรวจผลภูมิต้านทาน รวมทั้งระบบหน่วยความจำ ของภูมิต้านทานอย่างละเอียด เพื่อจะได้ใช้เป็นคำแนะนำ ขณะนี้โครงการได้เริ่มแล้วดำเนินไปได้ด้วยดี และอยากเชิญชวนคนที่หายป่วยในระลอกที่ 3 นี้ เข้าร่วมโครงการได้รับวัคซีนด้วย โทร 02 256 4929

ดังนั้นอยากจะสรุปว่า ผู้ที่หายป่วยแล้วควรได้รับวัคซีนป้องกัน covid อย่างน้อย 1 ครั้ง หรือขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่หายป่วยมาแล้ว ถ้าเพิ่งหายป่วยในช่วง 3-6 เดือน ควรได้รับอย่างน้อย 1 ครั้ง และผู้ที่หายมาแล้วเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ก็ควรจะได้รับวัคซีนให้ครบ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพราะประเทศของเรามีวัคซีนในปริมาณที่จำกัด และมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่มีการติดเชื้อใน รอบที่ 3 และกำลังจะหายป่วย #หมอยง 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/103385

 

หมอยงโพสต์ถึงความจำเป็นของ การฉีด "วัคซีนเข็ม 3" หลังจากหลายประเทศมีการกลับมาระบาดของโควิด-19 อีกครั้ง ย้ำกระตุ้นเข็ม 3 กระตุ้นภูมิอยู่นานตามหลักของวัคซีน

นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว Yong Pooworawan ถึงความจำเป็นในการฉีดวัคซีนโควิด-19 กระตุ้นเข็ม 3 ว่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกดังแสดงในรูป จะเห็นว่าการระบาดของโรคcovid-19 ในขณะนี้มีการระบาดอย่างมากในทวีปยุโรป และรองลงมาคืออเมริกา ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ได้รับวัคซีนในอัตราที่ค่อนข้างสูง และวัคซีนที่ใช้จะอยู่ในกลุ่ม mRNA และ virus vector

 

หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน

หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน
ในทวีปยุโรปจำนวนผู้ป่วย  ขณะนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่รายงานทั้งโลก แสดงให้เห็นว่าหลังฉีดวัคซีนมายาวนานถึง 6 เดือนหรือกว่านั้น ก็ยังมีการระบาดของโรคเป็นจำนวนมาก 

หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน

หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน

จากข้อมูลดังกล่าวทำให้หลายประเทศได้ตระหนักถึง การลดลงของภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนที่ผ่านมา และความจำเป็นของการกระตุ้นเข็มที่ 3 มีหลายประเทศเริ่มมีการให้เข็มที่ 3 กันมากขึ้นเพื่อลดการระบาดของโรคลง

สำหรับประเทศไทย ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในสิ้นเดือนนี้การฉีดวัคซีนทั้งประเทศ น่าจะได้ครบหรือใกล้เคียง 100  ล้านโดส และภายในสิ้นปีนี้ประชากรไทยได้ครบ 2 เข็ม อย่างน้อยไม่น้อยกว่า 70% และถ้าได้มากกว่า 80% ก็ยิ่งดี  สิ่งที่จะต้องคำนึงต่อไปคือการให้เข็มที่ 3  เพื่อกระตุ้นให้ภูมิต้านทานขึ้นสูงและอยู่นาน ตามหลักการของการให้วัคซีน เช่นการให้วัคซีนในเด็กจำเป็นจะต้องมีเข็มกระตุ้นเสมอ เพื่อจะได้ให้ภูมิขึ้นสูงและคงอยู่นาน 
หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน

หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน

และต้องตระหนักว่าถึงฉีดวัคซีนครบ 2 หรือ 3 เข็มก็ตาม วัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ลดการเกิดโรค ความรุนแรงของโรคได้ ลดการเสียชีวิต เราคงยังต้องปฏิบัติตัวในวิถีชีวิตใหม่ต่อไป

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/493439?adz=

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ