ส่องความคืบหน้า 'วัคซีนโควิด-19' ชาติมหาอำนาจ

ส่องประเทศมหาอำนาจ กับการมุ่งหน้าพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งรัสเซีย จีน สหรัฐ และอังกฤษ ที่ต่างเดินหน้าพัฒนาจนเข้าสู่ขั้นตอนของการทดสอบหรือทดลองแล้ว และอีกไม่นานโลกก็จะมีวัคซีนที่ถือเป็นความหวังในการรอดพ้นจากวิกฤติร้ายครั้งนี้

ประเทศมหาอำนาจโลกต่างขับเคี่ยว เพื่อแข่งขันค้นคว้าและพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ท่ามกลางความหวังของทุกประเทศที่ต้องการทั้งยารักษาและวัคซีนต้านไวรัส ที่ขณะนี้คร่าชีวิตคนทั่วโลกแล้วกว่า 22 ล้านราย

  • รัสเซีย

กระทรวงสาธารณสุขรัสเซียเดินหน้าการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชุดแรกหลังจากที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ประกาศข่าวดีว่า รัสเซียเป็นผู้สร้างวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นประเทศแรกของโลก มีชื่อว่า “สปุตนิก 5”  ผลงานของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านระบาดวิทยาและจุลชีววิทยากามาเลยา เป็นสถาบันทางการแพทย์ใกล้กรุงมอสโก

มิคาอิล มูราชโก รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัคซีนตัวนี้ปลอดภัย ถึงแม้ว่าการทดลองทางคลินิกยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และการทดสอบระยะสุดท้ายที่ต้องทดลองกับคนมากกว่า 2,000 คน

ขณะนี้เริ่มทดลองแล้วเมื่อ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา และต้องรอผลการทดลองอีก 6 เดือนข้างหน้า ท่ามกลางข้อกังขาจากองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) และนักวิทยาศาสตร์จากโลกตะวันตกบางรายเตือนว่า รัสเซียเดินหน้าใช้วัคซีนเร็วเกินไปอาจเป็นอันตรายได้

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีกว่า 20 ประเทศแสดงความสนใจที่จะใช้วัคซีนโรคโควิด-19 ของรัสเซีย โดยรัสเซียพร้อมทำงานใกล้ชิดกับดับเบิลยูเอชโอ ในการพัฒนาและใช้งานวัคซีนในอนาคต ผ่านโครงการส่งเสริมการเข้าถึงการต่อสู้กับโรคโควิด เพื่อเร่งพัฒนา ผลิต และเข้าถึงอย่างเป็นธรรมในด้านการตรวจรักษา และรับวัคซีนโควิด-19

  
  • จีน

จีนจดสิทธิบัตรวัคซีนโควิด-19 ฉบับแรกให้กับบริษัทแคนชิโน ไบโอโลจิคส์ อิงค์ ร่วมกับสถาบันวิทยาการทหาร พัฒนาวัคซีนที่มีชื่อว่า Ad5-nCOV เป็นการพัฒนาวัคซีนโควิดจากการตัดต่อสารพันธุกรรม หรือไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector vaccine) เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน นับเป็นก้าวสำคัญที่จีนเข้าสู่ทดลองทางคลินิก ซึ่งจะเตรียมนำไปทดลองในซาอุดีอาระเบีย อีกทั้งแคนชิโนกำลังเจรจากับรัสเซีย บราซิล และชิลี เพื่อทำการทดลองในประเทศเหล่านี้

ขณะที่สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพอู่ฮั่น ภายใต้บริษัทกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติจีนในเครือซิโนฟาร์ม เผยแพร่รายงานผลทดลองวัคซีนโควิดทางคลินิกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ชนิดเชื้อตาย หรือเป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคทั้งตัว (whole-virus vaccines) ทดลองกับอาสาสมัครแบ่งเป็น 96 คน เข้าร่วมการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และ 224 คน เข้าร่วมการทดลองระยะที่ 2 พบว่า วัคซีนกระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ในบรรดาอาสาสมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงให้เห็นถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

บริษัท ไชน่า เนชันเเนลไบโอเทคกรุ๊ป เผยเมื่อต้นเดือน ส.ค.ว่า โรงปฏิบัติการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด ชนิดเชื้อตายในกรุงปักกิ่งได้รับการยืนยันว่า ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ และยังมีโรงปฏิบัติการอีกหนึ่งแห่งที่เมืองอู่ฮั่น ทั้ง 2 แห่งสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตายได้มากถึง 220 ล้านโดสต่อปี

 

  • สหรัฐ

นายฟรานซิส คอลลินส์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ เปิดเผยว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ “วัคซีน ปฏิบัติการวาร์ป สปีด” กำลังอยู่ในขั้นทดลองเฟส 3 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย กับอาสาสมัครกว่า 30,000 คน เพื่อยืนยันประสิทธิภาพวัคซีน อาจทำให้สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ (เอดีเอ) ไม่สามารถอนุมัติก่อนเดือนพ.ย.

 

การพัฒนาวัคซีนของสหรัฐ มีควบคู่กับการเจรจาสั่งซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 จากบริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่ของโลกหลายแห่งที่กำลังพัฒนาวัคซีน รวมกว่า 500 ล้านชุด คิดเป็นมูลค่าเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์ โดยหวังให้ทดลองเสร็จสิ้นและส่งมอบภายใน ธ.ค.นี้

บริษัทผู้ผลิตยา ไฟเซอร์ อิงค์ และไบโอเอ็นเทค ได้ทำข้อตกลงกับกระทรวงและกระทรวงกลาโหม ร่วมกันพัฒนาวัคซีน หากประสบความสำเร็จ มีเป้าหมายผลิตเพื่อส่งมอบวัคซีนโควิด 300 ล้านโดส ภายในเดือน ม.ค. ปีหน้า ส่วนบริษัทซาโนฟีของฝรั่งเศส และแกล็กโซสมิธไคลน์ พีแอลซีของอังกฤษ ได้บรรลุข้อตกลงกับสหรัฐ ในการจัดซื้อวัคซีน 100 ล้านโดส

นอกจากนี้ยังบรรลุข้อตกลงกับแจนส์เซน ฟาร์มาซูติคอล บริษัทในเครือของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กำลังทดลองวัคซีนทดลองต้านไวรัสที่ชื่อ Ad26.COV2.S ถ้าสำเร็จจะผลิต100 ล้านโดส ส่งมอบให้กับสหรัฐทันที หลังจากที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ภายใต้อำนาจตามมาตรการฉุกเฉินจากเอฟดีเอ

 

  • อังกฤษ 

มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ภายใต้โครงการ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า เปิดเผยผลการทดลองในเฟส 1 และ 2 ประสบผลสำเร็จ ที่ชื่อว่า "ChAdOx1 nCoV-19" ได้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 1,077 ราย พบว่า อาสาสมัครสามารถสร้างแอนติบอดี และเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สามารถต่อสู้กับโควิด เกิดผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อยซึ่งสามารถลดลงได้โดยการใช้ยาพาราเซตามอล และไม่มีอาการร้ายแรงจากการทดลอง

ดับเบิลยูเอชโอ ระบุว่า ตอนนี้มีการผลิตวัคซีนป้องกันโควิดทั่วโลกประมาณ 160 ตัวอย่าง แต่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า ถือเป็นกลุ่มแนวหน้าที่จะผลิตวัคซีนสำเร็จเป็นอันดับต้นๆ  และเร็วที่สุดช่วงต้นเดือน ก.ย.

 

159781446155

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894202?anf=

 
ส่องคืบหน้าการพัฒนา 'ยา-วัคซีน' ต้านโควิด
 

ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ไม่รู้จะจบลงเมื่อใด สหรัฐและจีนต่างแข่งกันพัฒนายาและวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ล่าสุดผลการทดลองวัคซีนโควิด-19 ของจีน ตัวแรกที่ผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 ปลอดภัยและสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต้านเชื้อได้

เมื่อวันศุกร์ (22 พ.ค.) วารสารการแพทย์แลนเซต เปิดเผยว่า การทดลองวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ของจีน ซึ่งเป็นวัคซีนโรคโควิด-19 ตัวแรกที่ผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 ปรากฏผลว่าปลอดภัย ทนทาน และสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต้านเชื้อไวรัสฯ (SARS-COV-2) ในมนุษย์ได้

การทดลองแบบเปิดในผู้ใหญ่สุขภาพดี 108 คน พบผลลัพธ์เชิงบวกหลังเวลาผ่านไป 28 วัน โดยจะมีการประเมินผลลัพธ์สุดท้ายภายใน 6 เดือน ขณะเดียวกันจำเป็นต้องมีการทดลองเพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ว่าการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

“ผลลัพธ์เหล่านี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญ การทดลองพบว่าวัคซีนโรคโควิด-19 ชนิดใช้อะดิโนไวรัส ไทป์ 5 เป็นตัวนำพา (Ad5-nCoV) ผลิตแอนตี้บอดี้และเซลล์ที (T cell) แบบจำเพาะไวรัสภายใน 14 วัน จึงกลายเป็นวัคซีนที่มีศักยภาพต่อการตรวจสอบเพิ่มเติม” ศาสตราจารย์เฉิน  เว่ย สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพปักกิ่ง ซึ่งรับผิดชอบการศึกษาครั้งนี้ กล่าว

แต่ศาสตราจารย์เฉิน เว่ย ก็บอกว่า ควรตีความผลลัพธ์เหล่านี้อย่างรอบคอบ เพราะความท้าทายของการพัฒนาวัคซีนโรคโควิด-19 เป็นเรื่องที่ไม่มีใครรู้มาก่อน การที่วัคซีนกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไม่ได้บ่งชี้ว่าจะปกป้องมนุษย์จากโรคโควิด-19 เสมอไป ผลลัพธ์ที่ได้สะท้อนสัญญาณดีของการพัฒนาวัคซีนโรคโควิด-19 แต่ยังอีกนานกว่าจะได้วัคซีนที่พร้อมใช้กับทุกคน

ด้านสหรัฐ ประกาศวานนี้ (23 พ.ค.) ว่า วางแผนทดสอบวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ครั้งใหญ่กับอาสาสมัครมากกว่า 100,000 คน โดยจะทดสอบวัคซีนของบริษัทอย่างน้อย 6 แห่ง เพื่อให้ได้วัคซีนที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุดภายในสิ้นปี 2563

 

คณะนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวเปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า โครงการทดลองวัคซีนครั้งใหญ่นี้เป็นการย่นระยะเวลาในการพัฒนาและทดสอบวัคซีนจากปกติที่ใช้เวลานับ 10 ปี ลงเหลือเพียงไม่กี่เดือน ซึ่งบ่งชี้ถึงความเร่งด่วนที่จะยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกกว่า 5 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตกว่า 3.35 แสนรายแล้ว รวมทั้งยังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจโลกด้วย

คณะนักวิทยาศาสตร์ เปิดเผยว่า ผู้ผลิตวัคซีนชั้นนำตกลงที่จะแบ่งปันข้อมูล และให้ยืมใช้เครือข่ายการทดลองทางคลินิกกับบรรดาคู่แข่ง หากวัคซีนของตนประสบความล้มเหลวในการทดลอง ส่วนวัคซีนที่แสดงว่ามีความปลอดภัยในการทดลองขนาดเล็กในขั้นต้นนั้น จะได้รับการทดสอบขั้นต่อไปในการทดลองขนาดใหญ่กับอาสาสมัครจำนวน 2-3 หมื่นรายสำหรับแต่ละวัคซีน ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือน ก.ค.นี้

ที่ผ่านมา บริษัทโมเดิร์นนา ของสหรัฐ ทดลองวัคซีนต้านโควิด-19 ได้ผลดีน่าพอใจ ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะผลิตวัคซีนได้พันล้านโดสในปี 2564 โดยโมเดิร์นนา ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐระบุว่า การทดลองทางคลินิกขั้นต้นในการฉีดวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ให้กับผู้เข้าร่วมทดลองทั้งหมด 45 คน ให้ผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ

วัคซีนดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดการสร้างแอนติบอดีในผู้เข้าร่วมทดลองทั้ง 45 ราย ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่มีสุขภาพแข็งแรงซึ่งมีอายุระหว่าง 18-55 ปี

เจ้าหน้าที่บริษัทโมเดิร์นนา เปิดเผยว่า ผู้เข้าร่วมทดลองวัคซีนดังกล่าวได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มได้รับวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 กลุ่มละ 25, 100 และ 250 ไมโครกรัม ซึ่งผลการทดลองบ่งชี้ว่า ระดับของแอนติบอดีในผู้เข้าร่วมการทดลองมีความคล้ายคลึง หรือมากกว่าระดับของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งหายจากโรคดังกล่าวแล้ว

บริษัทจะดำเนินการทดลองเฟส 2 ต่อไป ซึ่งจะเป็นการทดลองวัคซีนกับอาสาสมัคร 600 คน หลังได้รับการอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (เอฟดีเอ) ในเดือนที่ผ่านมา และคาดว่าจะเริ่มการทดลองเฟส 3 ในเดือน ก.ค. หากการทดลองเฟส 2 ได้ผลดี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/881983

 

ส่องมาตรการ 'จ้างงานเด็กจบใหม่' ตำแหน่งงานว่าง 9.7 หมื่นอัตรา

ส่องมาตรการ "จ้างงานเด็กจบใหม่" เหลือตำแหน่งงานว่าง 9.7 หมื่นอัตรา พร้อมเปิดเงื่อนไขสำคัญ และคุณสมบัติเด็กจบใหม่ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ
 

มาตรการ "จ้างงานเด็กจบใหม่" หรือโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน โดยมีเป้าหมายให้ผู้ที่จบการศึกษาใหม่มีงานทำ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดปัญหาการว่างงาน และนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ สามารถดำเนินการประกอบธุรกิจต่อไปได้ ทำให้มีรายได้และจ่ายกลับไปเป็นภาษีให้กับรัฐ รวมทั้งเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวม

 
ธุรกิจโฆษณา
 

ทั้งนี้จากข้อมูลเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 มีผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 6,104 ราย แยกเป็น ผู้ประกอบการในภาคกลาง 4,048 ราย รองลงมา คือ ภาคเหนือ 740 ราย ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 704 ราย ภาคใต้ 612 ราย 

ซึ่งมีอัตราตำแหน่งงานทั้งหมด 97,780 ราย เป็นอัตราตำแหน่งงานว่าง 91,528 อัตรา และเป็นการจัดทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 6,252 อัตรา 

หากแยกตามวุฒิการศึกษา พบว่าเป็นอัตราตำแหน่งงานที่เปิดรับ 97,780 อัตรา ส่วนใหญ่เป็นวุฒิปริญญาตรี 49,223 อัตรา รองลงมาเป็นวุฒิ ม.6 ทั้งหมด 25,502 อัตรา ตามด้วย ปวส. 12,522 อัตรา และ ปวช. 10,533 อัตรา 

160647833152 

 

ทั้งนี้เงื่อนไขโครงการ "จ้างงานเด็กจบใหม่" เป็นการดำเนินโครงการในโมเดล "รัฐช่วยจ่าย เอกชนช่วยจ่าย" จ่ายคนละครึ่ง ภายใต้โมเดล "รัฐช่วยจ่าย เอกชนช่วยจ่าย" โดยรัฐจะจ่ายโดยตรงเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยของเด็บจบใหม่ที่ได้งานทำในโครงการนี้ ตามที่มีการระบุไว้ในการลงทะเบียน ซึ่งมีการจำหนดระยะเวลาโครงการไว้ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้

- วุฒิ ม.6 ฐานเงินเดือน 8,690 บาท รัฐจ่าย 4,335 บาท เอกชนจ่าย 4,335 บาท

- วุฒิ ปวช. ฐานเงินเดือน 9,400 บาท รัฐจ่าย 4,700 บาท เอกชนจ่าย 4,700 บาท

- วุฒิ ปวส. ฐานเงินเดือน 11,500 บาท รัฐจ่าย 5,750 บาท เอกชนจ่าย 5,750 บาท

- วุฒิปริญญาตรี ฐานเงินเดือน 15,000 บาท รัฐจ่าย 7,500 บาท เอกชนจ่าย 7,500 บาท

160647876251

โดยมีการกำหนดคุณสมบัติ "ผู้จบการศึกษาใหม่" ที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ ไว้ดังนี้

1.สัญชาติไทย 

2.ไม่เคยอยู่ในระบบประกันสังคม ยกเว้นผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่อยู่ในระบบประกันสังคม เนื่องจากทำงานนอกเวลาเรียน (Part time) ในระหว่างที่กำลังศึกษา

3.สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) 

4.อายุไม่เกิน 25 ปี หรืออายุมากกว่า 25 ปี ซึ่งจบการศึกษาประจำปีการศึกษา พ.ศ.2562 หรือจบในปี 2563

160647858152

ซึ่งขั้นตอนหลักๆ ของผู้จบการศึกษาใหม่ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ต้องเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ www.จ้างงานเด็กจบใหม่.com เพื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.ต้องกรอกข้อมูลรายละเอียด ระบุตำแหน่งงาน อัตราเงินเดือน และสถานที่ที่ต้องการทำงาน 

2.รอผู้ประกอบการติดต่อกลับเพื่อตกลงรายละเอียด

3.ตอบรับการจ้างงาน ผู้ประกอบการตอบรับการจ้างงาน 

4.รอผู้ประกอบการจัดทำบันทึกข้อตกลงเข้าร่วมโครงการฯ 

5.ลงนามข้อตกลงเข้าร่วมโครงการ

6.ผู้ประกอบการและผู้จบการศึกษาใหม่ตกลงร่วมงงานกัน

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910034?anf=

 

 
องค์การอนามัยโลกเมื่อวันพุธ (12 พ.ค.) ระบุตัวกลายพันธุ์โควิด-19 ที่อยู่เบื้องหลังการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในอินเดีย ถูกพบแล้วในหลายสิบประเทศทั่วโลก หนึ่งวันหลังจากขึ้นบัญชีมันในฐานะตัวกลายพันธุ์ที่น่ากังวล

หน่วยงานสาธารณสุขของสหประชาชาติแห่งนี้ระบุว่า ตัวกลายพันธุ์ B.1.617 ซึ่งพบครั้งแรกในอินเดียเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ถูกตรวจพบในมากกว่า 4,500 ตัวอย่างที่อัปโหลดสู่ระบบฐานข้อมูลแบบเปิด GISAID “จาก 44 ประเทศ ในทั้ง 6 ภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก”

“และทางองค์การอนามัยโลกได้รับรายงานการตรวจพบเพิ่มเติมอีก 5 ประเทศ” องค์การอนามัยโลกระบุในการอัปเดตข้อมูลด้านโรคระบาดวิทยารายสัปดาห์ เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคระบาดใหญ่โควิด-19

รองจากอินเดียแล้ว องค์การอนามัยโลกระบุว่าสหราชอาณาจักรรายงานพบเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากที่สุดที่มีต้นจากตัวกลายพันธุ์ดังกล่าว

เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ องค์การอนามัยโลกเพิ่งประกาศให้ตัวกลายพันธุ์ B.1.617 ซึ่งมีสายพันธุ์ย่อยหลายสายพันธุ์ มีการกลายพันธุ์และลักษณะจำเพาะต่างกันเล็กน้อย เป็นตัวกลายพันธุ์ที่น่ากังวล

เวลานี้ B.1.617 ถูกเพิ่มเติมเข้าไปในบัญชีตัวกลายพันธุ์ที่น่ากังวลร่วมกับตัวกลายพันธุ์โควิด-19 อื่นๆ อีก 3 ตัว ประกอบด้วยตัวที่พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร บราซิลและแอฟริกาใต้

ตัวกลายพันธุ์เหล่านี้ถูกมองว่ามีความอันตรายมากกว่าไวรัสตัวดั้งเดิม เพราะพวกมันทั้งแพร่กระจายเชื้อง่ายกว่า มีความรุนแรงกว่าและสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีน

หน่วยงานสาธารณสุขของสหประชาชาติแห่งนี้ ระบุว่า ตัวกลายพันธุ์ B.1.617 ที่พบครั้งแรกในอินเดียเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ดูเหมือนจะแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าตัวดั้งเดิม “ข้อมูลที่มีมาบางส่วนบ่งชี้ว่ามีการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นของ B.1.617” มาเรีย ฟาน เคิร์กโฮฟ นักระบาดวิทยาด้านโรคติดต่อ และผู้นำฝ่ายเทคนิคของโครงการฉุกเฉินด้านสาธารณสุขขององค์การอนามัยโลกบอกกับผู้สื่อข่าว

“ด้วยเหตุนี้ เราจึงจัดให้มันอยู่ในฐานะตัวกลายพันธุ์ที่น่ากังวลของโลก” เธอกล่าว

เธอยังชี้ถึงผลการศึกษาต่างๆ นานาในเบื้องต้น “ที่บ่งชี้ว่ามันลดแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์บางส่วน” นั่นหมายความว่า ดูเหมือนแอนติบอดีจะส่งผลน้อยลงกับตัวกลายพันธุ์ ในผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กในห้องปฏิบัติการวิจัย

อย่างไรก็ตาม ทางองค์การอนามัยโลกยืนยันว่า มันยังเร็วเกินไปที่จะตีความผลการศึกษาดังกล่าวว่าตัวกลายพันธุ์อาจต้านทานการป้องกันจากวัคซีนได้มากกว่า “บนพื้นฐานข้อมูลปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการล้มป่วยและเสียชีวิตในคนที่ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์นี้” ถ้อยแถลงระบุ
 

เสียงเน้นย้ำดังกล่าวขององค์การอนามัยโลกมีขึ้นแม้ว่าผลการศึกษาในโลกจริง บ่งชี้ว่าประสิทธิภาพของวัคซีนอาจมีอย่างจำกัดกับตัวกลายพันธุ์

องค์การอนามัยโลกระบุว่าการแพร่ระบาดของ B.1.617 เช่นเดียวกับตัวกลายพันธุ์อื่นๆที่แพร่เชื้อได้ง่ายกว่า ดูหมือนเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่โหมกระพือจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตพิ่มขึ้นอย่างน่าตกตะลึงในอินเดีย

อินเดีย ชาติที่มีประชากร 1,300 ล้านคน กลายเป็นชาติที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ เกือบ 23 ล้านราย โดยปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ที่ระดับมากกว่า 300,000 คนและเสียชีวิตเกือบ 4,000 รายต่อวัน

ระลอกของการแพร่ระบาดกำลังเล่นงานเมืองหลักต่างๆ ในนั้นรวมถึงกรุงนิวเดลีและมุมไบ เมืองหลวงทางการเงิน ผลักสถานพยาบาลทั้งหลายกำลังเข้าสู่ภาวะแตกหัก ก่อปัญหาขาดแคลนถังออกซิเจนและเตียงคนไข้อย่างรุนแรง

(ที่มา : เอเอฟพี)
 

 
องค์การอนามัยโลกเมื่อวันพุธ (12 พ.ค.) ระบุตัวกลายพันธุ์โควิด-19 ที่อยู่เบื้องหลังการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในอินเดีย ถูกพบแล้วในหลายสิบประเทศทั่วโลก หนึ่งวันหลังจากขึ้นบัญชีมันในฐานะตัวกลายพันธุ์ที่น่ากังวล

หน่วยงานสาธารณสุขของสหประชาชาติแห่งนี้ระบุว่า ตัวกลายพันธุ์ B.1.617 ซึ่งพบครั้งแรกในอินเดียเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ถูกตรวจพบในมากกว่า 4,500 ตัวอย่างที่อัปโหลดสู่ระบบฐานข้อมูลแบบเปิด GISAID “จาก 44 ประเทศ ในทั้ง 6 ภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก”

“และทางองค์การอนามัยโลกได้รับรายงานการตรวจพบเพิ่มเติมอีก 5 ประเทศ” องค์การอนามัยโลกระบุในการอัปเดตข้อมูลด้านโรคระบาดวิทยารายสัปดาห์ เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคระบาดใหญ่โควิด-19

รองจากอินเดียแล้ว องค์การอนามัยโลกระบุว่าสหราชอาณาจักรรายงานพบเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากที่สุดที่มีต้นจากตัวกลายพันธุ์ดังกล่าว

เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ องค์การอนามัยโลกเพิ่งประกาศให้ตัวกลายพันธุ์ B.1.617 ซึ่งมีสายพันธุ์ย่อยหลายสายพันธุ์ มีการกลายพันธุ์และลักษณะจำเพาะต่างกันเล็กน้อย เป็นตัวกลายพันธุ์ที่น่ากังวล

เวลานี้ B.1.617 ถูกเพิ่มเติมเข้าไปในบัญชีตัวกลายพันธุ์ที่น่ากังวลร่วมกับตัวกลายพันธุ์โควิด-19 อื่นๆ อีก 3 ตัว ประกอบด้วยตัวที่พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร บราซิลและแอฟริกาใต้

ตัวกลายพันธุ์เหล่านี้ถูกมองว่ามีความอันตรายมากกว่าไวรัสตัวดั้งเดิม เพราะพวกมันทั้งแพร่กระจายเชื้อง่ายกว่า มีความรุนแรงกว่าและสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีน

หน่วยงานสาธารณสุขของสหประชาชาติแห่งนี้ ระบุว่า ตัวกลายพันธุ์ B.1.617 ที่พบครั้งแรกในอินเดียเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ดูเหมือนจะแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าตัวดั้งเดิม “ข้อมูลที่มีมาบางส่วนบ่งชี้ว่ามีการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นของ B.1.617” มาเรีย ฟาน เคิร์กโฮฟ นักระบาดวิทยาด้านโรคติดต่อ และผู้นำฝ่ายเทคนิคของโครงการฉุกเฉินด้านสาธารณสุขขององค์การอนามัยโลกบอกกับผู้สื่อข่าว

“ด้วยเหตุนี้ เราจึงจัดให้มันอยู่ในฐานะตัวกลายพันธุ์ที่น่ากังวลของโลก” เธอกล่าว

เธอยังชี้ถึงผลการศึกษาต่างๆ นานาในเบื้องต้น “ที่บ่งชี้ว่ามันลดแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์บางส่วน” นั่นหมายความว่า ดูเหมือนแอนติบอดีจะส่งผลน้อยลงกับตัวกลายพันธุ์ ในผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กในห้องปฏิบัติการวิจัย

อย่างไรก็ตาม ทางองค์การอนามัยโลกยืนยันว่า มันยังเร็วเกินไปที่จะตีความผลการศึกษาดังกล่าวว่าตัวกลายพันธุ์อาจต้านทานการป้องกันจากวัคซีนได้มากกว่า “บนพื้นฐานข้อมูลปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการล้มป่วยและเสียชีวิตในคนที่ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์นี้” ถ้อยแถลงระบุ
 
เสียงเน้นย้ำดังกล่าวขององค์การอนามัยโลกมีขึ้นแม้ว่าผลการศึกษาในโลกจริง บ่งชี้ว่าประสิทธิภาพของวัคซีนอาจมีอย่างจำกัดกับตัวกลายพันธุ์

องค์การอนามัยโลกระบุว่าการแพร่ระบาดของ B.1.617 เช่นเดียวกับตัวกลายพันธุ์อื่นๆที่แพร่เชื้อได้ง่ายกว่า ดูหมือนเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่โหมกระพือจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตพิ่มขึ้นอย่างน่าตกตะลึงในอินเดีย

อินเดีย ชาติที่มีประชากร 1,300 ล้านคน กลายเป็นชาติที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ เกือบ 23 ล้านราย โดยปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ที่ระดับมากกว่า 300,000 คนและเสียชีวิตเกือบ 4,000 รายต่อวัน

ระลอกของการแพร่ระบาดกำลังเล่นงานเมืองหลักต่างๆ ในนั้นรวมถึงกรุงนิวเดลีและมุมไบ เมืองหลวงทางการเงิน ผลักสถานพยาบาลทั้งหลายกำลังเข้าสู่ภาวะแตกหัก ก่อปัญหาขาดแคลนถังออกซิเจนและเตียงคนไข้อย่างรุนแรง

(ที่มา : เอเอฟพี)
 
 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ