1.ในโอกาสที่ กำลังจะมี mRNA vaccine เข้ามาให้ใช้ ขอแจ้งว่า approved age ของ Pfizer ใช้ได้ตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไปแล้วนะคะ ส่วนของ moderna กำลังขอ EUA สำหรับช่วงอายุเดียวกันอยู่ คาดว่าผ่านแน่นอน ในเร็วๆนี้
.
2. ผลข้างเคียงที่เป็นข่าวกันในช่วงหลังและเป็นที่กังวลกันคือ peri/myocarditis หลังฉีดวัคซีน
ส่วนอื่นๆ เรื่อง minor ADR, anaphalaxis คิดว่าไม่น่าเป็นกังวล เพราะแก้ไข้ได้ไม่ยากหากมีการเตรียมพร้อม
.
3. Nothing is 100% in medicine ใช้ได้เสมอ ยาทุกอย่างก็มีภาวะแทรกซ้อนได้ แค่มากน้อยต่างกัน ปกติความถี่ของผลข้างเคียง ถ้า < 1:100,000 จึงจะเรียกว่า very rare ดังนั้นใน phase 3 ของการทดลองจึงไม่แปลกที่จะไม่สามารถจับ signal ของผลข้างเคียงที่พบในระดับ rare to very rare ไม่ได้
.
4. รายงานกลุ่มแรกของ peri/myocarditis signal มาจากที่อิสราเอล ข้อมูลครึ่งปี เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2020 เจอ myocarditis ไป 148 รายในช่วงใกล้เคียงกับที่ได้วัคซีน อายุ 16-30 ปี (ส่วนใหญ่ 16-19 ปี) เกิดหลังได้เข็มสอง (27 เคสหลังเข็มแรก 5.4ล้านเข็ม, 121 เข็มหลังเข็มสอง 5ล้านเข็ม) และ 95% เป็นแค่ mild เคสที่ต้องนอน รพ. ก็นานเฉลี่ยแค่ 4 วัน แม้จะน่าตกใจที่จับ signal ของภาวะแทรกซ้อนใหม่ได้ แต่อิสราเอลพิจารณาแล้วก็ยังให้ฉีดต่อไป เพราะ risk of COVID-19 complications มันเหนือกว่าความเสี่ยงอันตรายจาก myocarditis ที่เขาจับสัญญาณนี้ได้มากนัก
.
5. และก็มีอีกรายงาน 4 รายในเมกา 4 รายในอิตาลี, 7 ใน 8 เป็นหลังเข็มสอง ทุกคนได้กลับบ้านไปแบบ EF ดี
.
6. ทีนี้มาดูข้อมูลฝั่งเมกา ที่เขาเก็บข้อมูลผ่านระบบรายงานผลข้างเคียง VAERS ตั้งแต่เริ่ม vaccine roll out จนถึง 11 มิย. ฉีดไป 300 ล้านเข็มของ mRNA vaccine พบรวมทั้งหมด 1226 ราย
.
7. เอาเฉพาะอันที่รู้ว่าเกิดหลังเข็มไหนมาพิจารณา ก็จะพบว่า median age อยู่ที่ 30 ปี (12-34) หลังเข็ม 1 และ 24 ปี (12-87) หลังเข็มสอง และ median time to symptoms onset อยู่ที่ 4 (0-61) และ 3 (0-98) วันตามลำดับ โดยสัดส่วน ผช. มากกว่า ผญ. ประมาณ 2-3 เท่า
.
8. แต่ไอ้ที่ว่ามาทั้งบนข้างหมดคือ จากในระบบของ VAERS ซึ่งที่จริงมันก็มีคนที่เป็น coincidental finding ของ peri/myocarditis จากสาเหตุอื่นนอกเหนือวัคซีนมาด้วย
.
9. มาดู character ของ myocarditis ในเมกา ที่มีมาก่อนหน้านี้ (background rate) เจอในเด็กประมาณ 0.8:1แสนคนต่อปี โดย 2 ใน 3 เป็นเพศชาย และอุบัติการณ์ลดลงเรื่อยๆตามอายุที่มากขึ้น
.
10. การรักษา: supportive care เป็นหลักเลย และให้ exercise restriction ช่วงที่หัวใจยังทำงานไม่เป็นปกติ, ส่วนยา anti-inflam พิจารณาเป็นรายๆไป รายที่หนักมากจริงๆอาจต้อง Heart Tx
.
11. Criteria ของเขาที่จะสงสัยว่าเกิดจากวัคซีนคือ ต้องหา traditional factor อื่นๆไม่เจอ
.
12. พอเขาเอามากรองและรีวิวแล้ว ก็พบว่า (จนถึงวันที่ 11 มิย. นี้) มีเคสที่พบในคนอายุ </= 29 ปี 484 ราย ในนี้มี 323 รายที่ fit criteria ของ peri/myocarditis ตามที่เขากำหนดไว้
-ใน 323 รายนี้มี 309 รายที่ admit (ถึงตอนที่รายงาน ยังอยู่ใน รพ. 9 ราย โดยมี 2 รายอยู่ ICU, 5 รายไม่ทราบ outcome data)
- เขาทำตารางเทียบ incidence ในแต่ละช่วงอายุ และเพศ​ (ดูตารางใน comment) เทียบกับ background rate แยกเป็นสองช่วงคือหลังเข็ม 1 และหลังเข็ม 2 ก็พบว่า กลุ่มที่อุบัติการณ์มันผิดปกติ คือ หลังเข็ม 1 เพศชายช่วงอายุ 12-24 ปี และ หลังเข็มสอง เป็นกลุ่มเพศชายช่วงอายุ 12-49 ปี และเพศหญิงช่วงอายุ 12-29 ปี
- แยกเป็นช่วงอายุ 12-39 ปีซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่พบ chart confirmed peri/myocarditis ในช่วง 21 วันหลังฉีดวัคซีนให้เรียบร้อย จะได้ rate per million doses ที่หลังเข็มแรกที่ 4.4 และหลังเข็มสองที่ 12.6 โดยถ้าดูแยกรายละเอียดยี่ห้อวัคซีนจะพบว่าของ moderna มากกว่าประมาณ 2-3 เท่า
- ในข้อ 10. ถ้าเอามาแยกตามเพศอีก จะกลายเป็นว่า เพศหญิง หลังเข็ม 1 ล้านละ 1.9 หลังเข็มสอง ล้านละ 4.7 แต่ในเพศชาย หลังเข็ม 1 ล้านละ 4.7 หลังเข็ม 2 32
.
12. ที่จริงในประชุมเขาจะมีตารางมากมายแยก subgroup นู่นนี่ ดูแล้วจะงงมาก แล้วเขายังแยกเป็นข้อมูลจาก VAERS และ VSD system ของเขาอีก เหมือน VAERS คือ pick up cluster event อะไรที่แปลกๆมาก่อนแล้วเอามาวิเคราะห์ละเอียดใน VSD อีกที
.
13. สั้นๆ คือ peri/myocarditis จากวัคซีน mRNA
1* very rare
2* ส่วนใหญ่อายุ </= 39 ปี, ชาย >หญิง
เจอหลังเข็มสองมากกว่าหลังเข็มแรก (12.6 เคสต่อ 1ล้านโดสหลังฉีดเข็มสองไม่เกิน 21 วัน)
3* มักมีอาการภายในไม่กี่วันหลังฉีด (0-5 วัน)
4* early data ค่อนข้างดีคือ เกือบทั้งหมดไม่รุนแรง หายดีในไม่กี่วันมีส่วนน้อยที่ต้องอยู่นานหรือเข้า ICU แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีเคสเสียชีวิตจาก complications นี้ของ mRNA vaccin
5* แต่ก็ยังไม่มี long-term data ในตอนนี้ว่า แม้ช่วง acute phase จะหายแล้ว แต่จะมี scar หรืออะไรที่มีผลต่อไประยะยาวในอนาคตหรือไม่
.
14. เอามาคำนวณ benefit : harm เทียบว่ามันคุ้มมั้ยที่จะใช้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้สูง คือ อายุ 12-29 ปี ก็พบว่า เออ คุ้ม ถ้าฉีด 1 ล้านโดสวัคซีนเข็มที่สอง (ซึ่งพบอัตราเกิด peri/myocarditis สูงสุด) พบว่า
= ญ. 12-17 ปี โอกาสเป็น myocarditis 8-10 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 8500 ราย, ลดการนอน รพ. 183 ราย, ลด ICU admission 38 ราย, ลดตาย 1 ราย
ช. 12-17 ปี โอกาสเป็น myocarditis 56-69 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 5700 ราย, ลดการนอน รพ. 215 ราย, ลด ICU admission 71 ราย, ลดตาย 2 ราย
= ญ. 18-24 ปี โอกาสเป็น myocarditis 4-5 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 14K ราย, ลดการนอน รพ. 1,127 ราย, ลด ICU admission 93 ราย, ลดตาย 13 ราย
ช. 18-24 ปี โอกาสเป็น myocarditis 45-56 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 12K ราย, ลดการนอน รพ. 530 ราย, ลด ICU admission 127 ราย, ลดตาย 3 ราย
= ญ. 24-29 ปี โอกาสเป็น myocarditis 2 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 15K ราย, ลดการนอน รพ. 87 ราย, ลด ICU admission 87 ราย, ลดตาย 4 ราย
ช. 24-29 ปี โอกาสเป็น myocarditis 15-18 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 15K ราย, ลดการนอน รพ. 936 ราย, ลด ICU admission 215 ราย, ลดตาย 13 ราย
.
15. จะเห็นว่ากลุ่มที่ดูจะคิดหนักหน่อยคือ ช. 12-17 ปี ที่ risk/benefit ดูด้อยกว่า subgroup อื่น แต่สุดท้ายเขาก็พิจารณาให้ผ่าน ให้ใช้ต่อ เพราะการป้องกันการเป็นโควิด ลดการเกิด MIS-C ที่มี consequence รุนแรงได้, ลด prolonged symptoms (คนที่ฉีดวัคซีนแล้วถ้ามีอาการก็มักเป็นไม่รุนแรงและระยะสั้นกว่า) ในแง่ระบาดจึงลดการเกิด variants ได้ด้วย นอกจากนี้ก็ยังไม่มี alternative vaccine อื่นสำหรับ age group นี้ในตอนนี้ (เขาไม่ได้ใช้ inactivated virus vaccine เหมือนบ้านเรานะ คาดว่าเพราะคงยังไม่มี data ในกลุ่มนี้ให้พิจารณาชัดเจน) และภาพรวมก็ช่วยลด transmission ใน community มีผลต่อ herd immunity ด้วย ทำให้ชุมชนกลับสู่วิถีปกติได้เร็วขึ้น
.
16. ส่วนที่ยังไม่ final คือ คำแนะนำหากเคยมีประวัติ pericarditis / myocarditis มาก่อนและระหว่าง dosing regimen จะทำอย่างไร ภาพที่แคปมาคือ wording ที่ยังไม่ final นะคะ เขา discuss กันในวิดีโอนี่แหละ ตอนนี้คร่าวๆคือ
- ถ้ามีประวัติ pericarditis หรือ myocarditis ในอดีตมาก่อนที่ไม่ได้เกี่ยวกับวัคซีน และ recovered แล้ว ให้ฉีด mRNA vaccine ได้
- ถ้ามี pericarditis หลังฉีด mRNA vaccine เข็มแรกและอาการหายแล้ว ให้ discuss risk ก่อน ให้ฉีดเข็มสองได้
- ถ้ามี myocarditis หลังฉีด mRNA vaccine เข็มแรก แนะนำให้ defer เข็มสองไปก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลมากขึ้น หรือ หาก recovered ดีเลย จะฉีดต่อก็ได้แต่ต้องคุย risk ดีๆ
.
17. สรุป: อายุยิ่งมากยิ่งไม่ต้องกังวล อัตราการเกิดสูงสุดในคนอายุน้อย (12-29 ปี) เริ่มมีอาการในช่วงไม่กี่วันหลังฉีด พบหลังเข็มสองมากกว่าเข็มแรก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง supportive Rx ก็ดีขึ้นค่ะ
#resource จาก 2 วิดีโอนี้ของ CDC เป็นประชุมเมื่อ 23 มิ.ย. 2021 ค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=iEcbVsIo1Jk
https://www.youtube.com/watch?v=BeJcYG0dUOw&t=2851s

Cr.Benjawan Skulsujirapa

PM 2.5 = Particle materials ขนาด 2.5 ไมครอน (1 มิลลิเมตร = 1000 ไมครอน) ประกอบด้วยสารพิษหลักคือ PAH (Polycyclic aromatic hydrocarbon) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่นจากน้ำมันเชื้อเพลิง การปิ้งย่างอาหาร การเผาไหม้ต่างๆ เช่นพืชจากการเกษตร รวมทั้งฝุ่นจากอุตสาหกรรม และการก่อสร้าง

        trimethylamine n-oxide เป็นผลพลอยได้โดยจุลินทรีย์ในลำไส้ มีข้อมูลจากการวิจัยพบว่า ปริมาณ TMAO ที่เพิ่มขึ้นในเลือดเชื่อมโยงกับการเกิดแผ่นที่เกาะบนผนังของหลอดเลือดแดง (arterial plaque) และเมื่อมีการสะสมมากขึ้น ทำให้เส้นเลือดแดงอุดตันและนำไปสู่โรคหัวใจ

          ผลการวิจัยในอาสาสมัคร 3 กลุ่มที่ให้กินอาหารจำพวกเนื้อแดง เนื้อขาว(สัตว์ปีก) และธัญพืช พบว่ากลุ่มอาสาสมัคที่กินเนื้อแดงมีสาร TMAO สูงกว่ากลุ่ม อาสาสมัครที่กินเนื้อขาวและธัญพืช ทั้งในเลือดและปัสสาวะถึงกว่า 10 เท่า นอกจากนั้นยังพบว่าหลังจากอาสาสมัครกลุ่มที่กินเนื้อแดงหยุดกินเนื้อแดงนาน 30 วัน ปริมาณของ TMAO ทั้งในเลือดและในปัสสาวะจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

          ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า

1.การกินจุลินทรีย์ probiotics เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจอาจไม่ได้ผลดีอย่างที่เคยคิดไว้ เนื่องจากปริมาณจุลินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นในลำไส้จะส่งผลให้มีการสร้าง TMAO เพิ่มขึ้นด้วย

2.การกินอาหารที่เป็นเนื้อแดงเป็นครั้งคราวอาจมีมีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจแต่อย่างใดเนื่องจากเมื่อหยุดกินเนื้อแดงการสร้าง TMAO ก็จะลดลงด้วย

 

 

WHO คาดจะมีผู้เสียชีวิตฝีดาษลิง เพิ่มขึ้น
 
องค์การอนามัยโลก เผย มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากฝีดาษลิงเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ หลังมีรายงานผู้เสียชีวิตนอกภูมิภาคแอฟริกา ขณะที่ WHO ย้ำยังไม่พบโรคแทรกซ้อนรุนแรงที่พบบ่อย

แคเทอรีน สมอลวูด (Catherine Smallwood) ผู้จัดการด้านโรคฝีดาษลิงขององค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรป (WHO) กล่าวว่า การแพร่ระบาดฝีดาษลิงในยุโรปยังคงต่อเนื่อง และคาดว่าจะเห็นผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 

นางสมอลวูด ระบุว่า จำเป็นต้องสกัดการระบาดไวรัสชนิดนี้ และหยุดการแผ่เชื้อฝีดาษลิงในยุโรป 

ผู้จัดการด้านโรคฝีดาษลิงขององค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรป กล่าวย้ำว่า ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคนี้จะหายเองโดยไม่ต้องรักษา และยังไม่พบโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงและพบเห็นบ่อยขึ้น

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของ WHO มีการตรวจพบผู้ป่วยมากกว่า 18,000 รายทั่วโลกนอกแอฟริกาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/world/1018225?anf=

 

องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าประชากรเกินครึ่งหนึ่งของยุโรปจะติดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนภายในเดือนมีนาคมนี้ ขณะธนาคารโลกเตือนว่าภาวะโรคระบาดจะถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเหลือโตแค่ 4.1% ในปีนี้

ผู้คนเดินพลุกพล่านบนถนนสายหนึ่งในกรุงลอนดอนของอังกฤษ เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2565 สัปดาห์เดียวกันนี้อังกฤษมีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินวันละ 200,000 คน (Photo by Rasid Necati Aslim/Anadolu Agency via Getty Images)

 

รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพุธที่ 12 มกราคม 2565 กล่าวว่า คำเตือนจากองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) และธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) มีออกมาในวันอังคาร ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 2 ปีที่ทางการจีนยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตเพราะไวรัสโคโรนารายแรกของโลก เป็นผู้ป่วยชายอายุ 61 ปีชาวเมืองอู่ฮั่นที่โควิด-19 เริ่มระบาดเป็นแห่งแรก และถึงปัจจุบันไวรัสนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกแล้วมากกว่า 5.5 ล้านคน จากผู้ติดเชื้อเกิน 313 ล้านคน

 

ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังต้องดิ้นรนควบคุมการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ที่แพร่เชื้อได้ง่ายขึ้น รัฐบาลต่างๆ ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดอีกครั้ง รวมถึงการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ แต่ในคำแถลงของคณะที่ปรึกษาด้านวัคซีนของดับเบิลยูเอชโอเมื่อวันอังคารแนะนำว่า การฉีดวัคซีนโดสกระตุ้นภูมิด้วยวัคซีนโควิดแบบเดิมไม่ใช่กลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลหรือยั่งยืนกับสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ควรพัฒนาวัคซีนใหม่ที่ป้องกันการแพร่เชื้อได้ดีขึ้น

ภูมิภาคยุโรปกำลังเป็นศูนย์กลางการระบาดรอบใหม่ที่น่าวิตก โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลกขณะนี้ ข้อมูลที่รวบรวมโดยเอเอฟพีเผยว่า ช่วง 7 วันที่ผ่านมา ยุโรปมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกือบ 8 ล้านคน และในวันอังคาร ฮานส์ คลูก ผู้อำนวยการดับเบิลยูเอชโอประจำภูมิภาคยุโรป กล่าวว่า คลื่นจากตะวันตกสู่ตะวันออกลูกใหม่กำลังแผ่ทั่วภูมิภาคนี้

"สถาบันชี้วัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (ไอเอชเอ็มอี) ทำนายว่า มากกว่า 50% ของประชากรในภูมิภาคนี้จะติดเชื้อโอมิครอนภายใน 6-8 สัปดาห์ข้างหน้า" เขากล่าว

ภูมิภาคยุโรปของดับเบิลยูเอชโอครอบคลุม 53 ประเทศและดินแดน ซึ่งรวมถึงหลายประเทศในเอเชียกลางด้วย ซึ่งคลูกกล่าวว่า มี 50 ประเทศตรวจพบโอมิครอนแล้ว กระนั้นเขาย้ำว่า วัคซีนที่ผ่านการอนุมัติยังให้การป้องกันการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้ รวมถึงจากโอมิครอน

ด้านองค์การยายุโรป (อีเอ็มเอ) กล่าวว่า การแพร่กระจายของโอมิครอนกำลังผลักดันให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่มนุษยชาติสามารถอยู่ร่วมได้ แม้ว่าตอนนี้โควิดยังคงเป็นโรคระบาดทั่วอยู่ก็ตาม

วันเดียวกัน เวิลด์แบงก์เปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุดว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะช้าลงในปี 2565 นี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่โอมิครอนจะทำให้การขาดแคลนแรงงานและปัญหาห่วงโซ่อุปทานทวีความรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4.1% หลังจากการฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว ที่ขยายตัว 5.5%

เดวิด มัลพาสส์ ประธานเวิลด์แบงก์ กล่าวว่า โรคระบาดอาจทิ้ง "แผลเป็นถาวรต่อการพัฒนา" ไว้ เนื่องจากตัวชี้วัดความยากจน, โภชนาการ และสุขภาพ กำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ผิด.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/abroad-news/63062/

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ