ภาวะ "Long COVID" งานวิจัยพบอาการตึงเครียด งุนงง มีความผิดปกติทางอารมณ์
 

ภาวะ "Long COVID"หมอธีระเปิดผลวิจัยพบอาการใหม่เกิดภาวะตึงเครียด งุนงง เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ กระทบการใช้ชีวิต ต้องจ่ายค่ารักษาอาการข้างเคียงสูง

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด19 รวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลภาวะคงค้าง ของผู้ติดเชื้อโควิด หรือ "Long COVID" โดยระบุว่า 
13 มกราคม 2565
ทะลุ 317 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,925,509 คน ตายเพิ่ม 7,337 คน รวมแล้วติดไปรวม 317,026,990 คน เสียชีวิตรวม 5,529,026 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย อิตาลี และสเปน
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.08 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 90.28
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 43.69 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 49.61 
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

...อัพเดต Omicron
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนการติดเชื้อใหม่ของทั่วโลกสูงขึ้นมาก
อัตราการติดเชื้อใหม่เฉลี่ยของทั่วโลกเพิ่มขึ้นราว 50% นั้น ทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และแอฟริกา มีอัตราการเพิ่มต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในขณะที่ทวีปเอเชีย อเมริกาใต้ และโอเชียเนียนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึง 3 เท่า
มองดูในเอเชีย จำนวนติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ของไทยเราสูงเป็นอันดับ 6 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2.35 เท่า โดยติดไป 49,033 คน 

...อัพเดตการวิจัย "Long COVID"
Carter SJ และคณะจากมหาวิทยาลัยอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วยที่เป็น Long COVID ใน medRxiv เมื่อวานนี้ 12 มกราคม 2565
พบว่าหากเปรียบเทียบกันกับคนปกติ

ผู้ป่วย Long COVID นั้นนอกจากจะมีอาการคงค้างต่างๆ ตามที่เราเคยทราบมาก่อนแล้ว ยังพบว่าทำให้มีสมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวันแย่กว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญ การออกกำลังกายในยามว่างลดลง มีภาวะตึงเครียด งุนงง และความผิดปกติทางอารมณ์

หากมองเชิงระบบ ไม่ว่าจะระบบสังคม หรือระบบการทำงานในระดับหน่วยงานรัฐและเอกชน การติดเชื้อจำนวนมาก ย่อมทำให้มีโอกาสที่จะมีคนที่เป็น Long COVID มาก ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ผลิตภาพจะลดลง รวมถึงส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนอื่น ไม่ว่าจะในครอบครัว และในที่ทำงาน

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหา Long COVID และภาระต่อระบบสุขภาพระยะยาวย่อมมีสูงเป็นเงาตามตัว

...สำหรับพวกเราทุกคน 
ควรป้องกันตัวและครอบครัวอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั่นนอกเป็นหน้ากากผ้า 
อยู่ห่างคนอื่นเกินหนึ่งเมตร
เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
หากไม่สบายคล้ายหวัด ให้คิดถึงโควิดไว้ด้วยเสมอ หาทางตรวจรักษา


อ้างอิง
Carter SJ et al. Functional status, mood state, and physical activity among women with post-acute COVID-19 syndrome. medRxiv. 12 January 2022.

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/500939?adz=

 

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ เปิดงานวิจัยความรุนแรงของโอมิครอน ตายใกล้ศูนย์ ต่างจากเดลต้าถึง 9 เท่า ย้ำวางแผนจัดการสุขภาพตนเองให้ดี อย่าลืมใส่ใจโรคอื่นๆ ที่มีอันตราการตายสูงกว่า

ข่าววันนี้  13 มกราคม 2565 นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ drsant.com โดยระบุถึง “หลักฐานวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกเรื่องความรุนแรงของโอไมครอนในสหรัฐอเมริกา” มีเนื้อหาดังนี้

 หมอสันต์  เผยข้อมูลความรุนแรงที่แท้จริง โอมิครอน

 

 

 หมอสันต์  เผยข้อมูลความรุนแรงที่แท้จริง โอมิครอน

งานวิจัยนี้ทำกับผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนที่ยืนยืนการตรวจด้วยเทคนิค SGTF (S gene target failure) ทำเฉพาะกับผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลจำนวนรวม 52,297 คน พบผลดังนี้

ผู้ป่วยทั้งหมด รวม 52,297 คน หากนับเฉพาะคนที่ติดตามได้อย่างน้อย 5.5 วัน รวมทั้งหมด 288,534 คนวัน พบว่า

ผู้ป่วยถูกรับไว้ในโรงพยาบาล 88 คน (0.48%)

ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 0 คน (0%)

ท้ายที่สุดแล้วมีตาย 1 คน (0.09%)

โดยที่การติดเชื้อและระดับความรุนแรงมีการกระจายตัวเท่าๆกันทุกกลุ่มอายุ ไม่เป็นความจริงที่ว่าเด็กป่วยมากกว่าและจะตายมากกว่า

ขณะเดียวกันงานวิจัยนี้ยังได้เปรียบเทียบกับการติดเชื้อเดลต้าซึ่งมาที่กลุ่มโรงพยาบาลเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 16,982 คน พบว่า

ผู้ป่วยทั้งหมด รวม 16,982 คน

ถูกแอดมิทเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 222 คน (1.3%)

ใส่เครื่องช่วยหายใจ 11 คน (0.06%)

ท้ายที่สุดแล้วตาย 14 คน (0.8%)

โปรดสังเกตว่าอัตราตายของโอไมครอนคือ 0.09% นั้นต่ำกว่าอัตราตายของเดลต้าซึ่งตาย 0.8% ต่างกันถึง 9 เท่า

ผมเล่าเรื่องงานวิจัยนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนจัดการโรคของทุกท่านที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแฟนบล็อกทุกคนที่มีหน้าที่ต้องจัดการสุขภาพของตนเองด้วย เพื่อที่เราจะได้ไม่ทำอะไรที่มากเกินไป หรือที่เสี่ยงเกินไป หรือที่แพงเกินไป เพื่อปกป้องตัวเราให้จากพ้นโรคที่มีอัตราตายต่ำกว่า 0.1% หรือพูดง่ายๆว่าใกล้ศูนย์ โดยยอมทิ้งความใส่ใจในโรคเจ้าประจำอื่นๆที่มีอัตราตายสูงกว่า เช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีอัตราตาย 30% โรคไข้หวัดใหญ่มีอัตราตาย 0.13-0.17% เป็นต้น”

ข้อมูลจาก https://www.thainewsonline.co/news/828578

 
สธ.เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" สูตรไทย สูตรไหนป้องกันป่วย-ตายมากสุด
 
 

สธ.เปิดผลทดสอบประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" ฉีดสูตรไหนเอาอยู่ และสูตรไหนป้องกันการติดเชื้อ-ป่วยหนัก-เสียชีวิตได้มากสุด สรุปมาให้แล้ว

นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์  อธิบดีกรมควบคุมโรค กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างการแถลง สถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ว่า สำหรับสถานการณ์การฉีด "วัคซีนโควิด" ให้แก่ประชาชนขณะนี้ สธ.ดำเนินการไปแล้วกว่า 108.59 ล้านโดส ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนเข็ม 1-4  และในเดือนมกราคมนี้ มีการตั้งเป้าการฉีดไว้ที่ 9 ล้านโดส ซึ่งสามารถดำเนินการได้มากกว่าครึ่งแล้ว อย่างไรก็ตามภายหลังจากการฉีดวัคซีน กรมควบคุมโรคได้มีการเก็บข้อมูล ทดสอบภูมิกัน เพื่อพิจารณาประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละชนิด แต่ละสูตรที่ได้ดำเนินการฉีดให้ประชาชน โดยเป็นการเก็บข้อมูลในพื้นที่จริงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ในแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งสามารถสรุปประสิทธิภาพ โดยได้มีการแบ่งช่วงเวลา พื้นที่การระบาดของโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์ ได้ดังนี้ 

ประสิทธิภาพของวัคซีน ซิโนแวค 2 เข็ม 

  • ศึกษาในพื้นที่ จ.ภูเก็ต  ในเดือน สิงหาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 27% ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 90% 
  • ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 66 %  
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 28 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 97 % 
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 % 
 

ประสิทธิภาพของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม

  • ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 75%  
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 93%  ป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ 97%
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 % 

ประสิทธิภาพของวัคซีน ไฟเซอร์ 2 เข็ม
 

  •  ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 92%  ป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ 97%
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 % 

ประสิทธิภาพวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม 

  • ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 75% ลดการป่วยหลักและเสียชีวิตได้  93%   
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 93%  ป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ 97%
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 % 

สธ.เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" สูตรไทย สูตรไหนป้องกันป่วย-ตายมากสุด

ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการฉีด "วัคซีนโควิด" เข็ม 3 หรือเข็มกระตุ้นตามสูตรต่าง ๆ แล้ว ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อ ป่วยหนัก และเสียชีวิตสูงมากยิ่งขึ้น โดยได้ประสิทธิภาพ ดังนี้ 

ประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม กระตุ้นด้วย แอสตร้าเซนเนก้า 

  • ศึกษาในพื้นที่ จ.ภูเก็ต  ในเดือน สิงหาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 94.2 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 100 % 
  • ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 86 % 
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 96 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 99 % 
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 89 % 

ประสิทธิภาพวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม กระตุ้นด้วย ไฟเซอร์ 

  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 98 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 99 % 
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 79 % 
  • ประสิทธิภาพวัคซีนซิโนฟาร์ม 2 เข็ม กระตุ้นด้วย ไฟเซอร์ 
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 98 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 99 % 

สำหรับแนวทางการฉีดวัคซีนเข็ม 3 หรือเข็มกระตุ้นประชาชนที่เข้ารับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว สามารถรับวัคซีนเข็มที่ 3 ต่อ โดยทิ้งระยะ ห่างดังนี้ 

  • ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564  เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนธันวาคม 2564
  • ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนกันยายน -ตุลาคม 2564 เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนมกราคม 2565 
  • ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564 เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนกุมภาพันธุ์ 2565
  • ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนพฤศจิกายน -ธันวาคม 2564 เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนมีนาคม 2565

สธ.เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" สูตรไทย สูตรไหนป้องกันป่วย-ตายมากสุด

วัคซีนเข็มกระตุ้นของกระทรวงสาธารณสุข เดือนมกราคม 2565

ผ่านมติที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วันที่ 15 ธันวาคม 2564

1. ผู้ที่ถึงกำหนดรับวัคซีนเข็มกระตุ้น
- ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac-AstraZeneca ครบ ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้น ด้วยวัคซีน AstraZeneca เป็นหลัก
- ผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็ม ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้น ด้วยวัคชีน Pfizer
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้น ด้วยวัคซีน AstraZeneca เป็นหลัก

2. การให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ
- ให้ฉีดวัคซีน AstraZeneca กระตุ้น ในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไม่ครบเกณฑ์ หรือ ครบตามเกณฑ์ น้อยกว่า 2 สัปดาห์ก่อนการติดเชื้อ
ทั้งนี้สามารถใช้สูตรอื่นที่ผ่านการรับรองทางวิชาการได้ ภายใต้จำนวนวัคซีนที่มีในพื้นที่ 

นพ.โอภาส  กล่าวเพิ่มเติม สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละชนิดนั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างในกับระยะห่างในการฉีดวัคซีน โดยจะเห็นได้ว่าช่วง 1-2 สัปดาห์แรกที่ได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูงมาก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปภูมิคุ้มกันจะลดลงตามลำดับ ดังนั้นหากประชาชนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วให้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามระยะเวลาที่สธ.แนะนำได้เลย ทั้งนี้ ยืนยันว่า มีวัคซีนเพียงพอรองรับ โดยในปี 2565 รัฐบาลได้อนุมัติจัดซื้อแล้ว 90 ล้านโดส แบ่งเป็นไฟเซอร์ 30 ล้านโดส จึงขอให้ประชาชนฉีดตามสูตรที่กระทรวง สธ.กำหนด

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/501130

14 ม.ค.65- นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) ประธานคณะกรรมการ MIU กระทรวงสาธารณสุข รานงานข้อมูลประเมินสถานการณ์ด้านระบาดวิทยา อาการและอาการแสดง ประเทศไทย จากการระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน ในประเทศไทย ณ วันที่ 13 มกราคม 2564 ว่า
1) พบผู้เสียชีวิต ~ 1 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน
2) พบผู้ป่วยอาการหนักต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ~ 2-3 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน
3) พบผู้ป่วยมีอาการปอดบวม/จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ~ 10-15 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน
4) ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ และมีอาการเล็กน้อยคล้ายไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่
5) วัคซีนโควิด 19 และการป้องกันตนเอง (UP) มีส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรคโควิด 19
6) การแพร่เชื้อโควิด 19 (โอมิครอน) สูงมาก พบว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโอมิครอน (ที่ป้องกันตนเองไม่ดี) 10 คน จะติดเชื้อ ~ 9-10 คน

ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมสำคัญในการลดการแพร่เชื้อ ควบคุมการระบาด และทำให้ประเทศไทยอยู่ร่วมอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยจากโควิด 19 ด้วยการป้องกันตนเองสูงสุด ปฏิบัติตามมาตรการ และเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ครับ

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/64372/

"วัคซีนไฟเซอร์" ฉีดเด็ก 5 ปีขึ้นไป ดีเดย์ ก.พ. ส่วนเชื้อตาย รอ อย.อีกรอบ 

ศบค.ยัน "วัคซีนไฟเซอร์" ฉีดเด็ก 5 ปีขึ้นไป จะเข้าไทยไม่เกินเดือนกพ.นี้ ด้านวัคซีนเชื้อตาย กำลังอยู่ระหว่างรออนุจากอย. คาดจะสามารถเลือกวัคซีนให้บุตรหลานได้ตามความสมัครใจ เร็วๆนี้

 

"วัคซีนไฟเซอร์" ฉีดเด็ก 5 ปีขึ้นไป ดีเดย์ ก.พ. ส่วนเชื้อตาย รอ อย.อีกรอบ

สำหรับ "วัคซีนในเด็ก" ฝาสีส้มตอนนี้ได้มีการสั่งซื้อเข้ามาในประเทศไทยแล้ว โดยจะทยอยเข้ามาในช่วงปลายเดือนนี้หรือไม่เกิน ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งถือว่าเร็วมากเพราะขนาดนี้วัคซีนในโดสของเด็กกำลังเป็นที่ต้องการ ของทั่วโลกและในประเทศเรา การฉีด "วัคซีนในเด็ก" ก็ถือว่าเป็นประเทศอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย ที่ได้วัคซีนในเด็ก และได้มีการจัดเตรียมแผนการฉีด "วัคซีนในเด็ก" 5-11 ปี โดยใช้การฉีดแบบ School base ไล่จากเด็ก 11 ปีลงไป 9ปี ขณะนี้มีการเตรียมการเรียบร้อยแล้ว

สำหรับวัคซีนเชื้อตายทั้ง Sinovac และ Sinopham ขณะนี้ อย.กำลังเร่งขึ้นทะเบียนวัคซีนเชื้อตายอยู่ และต้องรอผ่านมติคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วย ซึ่งขณะนี้ก็มีการทำคู่ขนานกันไป ซึ่งหลังจากผ่านแล้วผู้ปกครองก็จะสามารถเลือกสูตรวัคซีนที่จะฉีดให้กับบุตรหลาน ของท่านได้ด้วยความสมัครใจ

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/500850?adz=

 

เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - การวิจัยชิ้นใหม่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสัปดาห์นี้ โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตท เปิดเผยว่า ส่วนประกอบในกัญชา 2 ตัวสามารถป้องกันไม่ให้ร่างกายติดไวรัสโควิด-19 ได้ และยังทำให้การติดเชื้อสั้นลง

ฟ็อร์บส์ สื่อธุรกิจรายงานเมื่อวานนี้ (11 ม.ค.) ว่า การศึกษาชิ้นใหม่จากทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตท (Oregon State University) ภายใต้ชื่อ “Cannabinoids Block Cellular Entry of SARS-CoV-2 and the Emerging Variants” ถูกตีพิมพ์ทางออนไลน์ในวันจันทร์ (10) ลงในวารสารวิชาการชื่อดัง "วารสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ" (Journal of Natural Products)

ทีมนักวิจัยค้นพบว่า มีกรดแคนนาบินอยด์ (cannabinoid acid) 2 ตัวที่มักพบในหลายตระกูลของเฮมพ์ (Hemp) หรือ “กัญชง” ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับพืชกัญชา (cannabis) ซึ่งกรดแคนนาบิเจอโรลิก (cannabigerolic acid : CBGA) และกรดแคนนาบิดิโอลิก (cannabidiolic acid : CBDA) ที่สามารถพันรอบโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคโควิด-19

และจากการที่สามารถห่อ spike protein ไว้ทำให้ส่วนประกอบทางเคมีของกัญชาสามารถป้องกันไว้รัสจากการเข้าสู่เซลล์ร่างกาย และทำให้เกิดการติดเชื้อและทำให้เป็นการค้นพบวิธีใหม่ในการป้องกันและการรักษาโรคโควิด-19 ได้

“ชีวปริมาณออกฤทธิ์ที่เข้าสู่ทางปากและประวัติอย่างยาวนานในความปลอดภัยสำหรับใช้ในมนุษย์ทำให้กลุ่มกรดแคนนาบินอยด์เหล่านี้ที่เป็นลักษณะแบบเดี่ยว หรืออยู่แบบอยู่ในสารเฮมพ์สกัดมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีมากเท่ากับการรักษาการติดเชื้อจากไวรัส SARS-CoV-2” จากบทคัดย่อของผลงานวิจัยที่ทีมนักวิจัยได้ระบุไว้

 
 

ฟ็อร์บส์รายงานว่า ผู้นำทีมการศึกษาคือ ริชาร์ด แวน บรีแมน (Richard van Breemen) นักวิจัยประจำศูนย์นวัตกรรมเฮมพ์ระหว่างประเทศ (Global Hemp Innovation Center) ของคณะเภสัชศาสตร์และสถาบันลินัส พอลลิง (Linus Pauling Institute) ในมหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตท ในความร่วมมือกับทีมนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุขภาพและวิทยาศาสตร์โอเรกอน (Oregon Health & Science University) โดย แวน บรีแมน กล่าวว่า การศึกษากรดแคนนาบินอยด์นั้นถือเป็นเรื่องปกติและสามารถหาได้ทั่วไป

และได้ชี้ต่อว่า “กรดแคนนาบินอยด์นั้นมีมากในเฮมพ์และในสารสกัดจากเฮมพ์เป็นจำนวนมาก” และกล่าวอีกว่า “กรดเหล่านี้ไม่ถูกควบคุมโดยสสารเป็นต้นว่า THC ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางจิตประสาทในกัญชาและมีประวัติการใช้ที่ปลอดภัยในมนุษย์”หัวหน้าทีมวิจัยการศึกษาระบุต่อว่า CBDA และ CBGA สามารถปิดกั้นการทำงานของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เกิดใหม่ได้ “การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าส่วนประกอบของเฮมพ์มีประสิทธิภาพเท่าเทียมในการต่อต้านไวรัสกลายพันธุ์โควิด-19 ที่รวมไปถึงสายพันธุ์อัลฟา (B.1.1.7) ที่ถูกพบเป็นครั้งแรกในอังกฤษและสายพันธุ์เบตา (B.1.351) ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้"

แวน บรีแมน กล่าวว่า การเข้าสู่เซลล์เป็นต้นว่ามาจากกรดจากเฮมพ์สามารถใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และยังมีผลเลิศที่ช่วยทำให้การติดเชื้อนั้นสั้นลงอีกด้วยการป้องกันอนุภาคไวรัสจากการทำให้เซลล์ร่างกายติดเชื้อ

ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้จำเป็นยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อในอนาคต แต่หัวหน้าทีมนักวิจัยกล่าวว่า งานวิจัยของเขาชี้ได้ว่าสามารถผลิตกรดแคนนาบินอยด์เพื่ออเป็นยาเพื่อป้องกัน หรือรักษาโควิด-19 ได้ และอีกทั้งในงานวิจัยยังค้นพบว่าเป็นครั้งแรกที่ส่วนประกอบจากกัญชาที่เรียกว่ากรดแคนนาบินอยด์มีฤทธิ์ยับยั้งต่อไวรัสกลายพันธุ์ 2 สายพันธุ์ ได้แก่สายพันธุ์อัลฟาและสายพันธุ์เบตา และเขายังตั้งความหวังต่อว่า การศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตจะสามารถขยายไปสู่การศึกษาครอบคลุมสายพันธุ์อื่นๆ ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต

แวน บรีแมน แสดงความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่ไวรัสดื้อยาจะเกิดขึ้นท่ามกลางการใช้กลุ่มแคนนาบินอยด์อย่างแพร่หลาย แต่ทว่าหากว่ามีการใช้แคนนาบินอยด์ร่วมกับวัคซีนโควิด-19 และการรักษาด้วยการใช้ CBDA/CBGA เข้าร่วมนั้นเชื่อว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้การกำจัดโรคโควิด-19 หมดไปจากโลกได้โดยไว
 

องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าประชากรเกินครึ่งหนึ่งของยุโรปจะติดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนภายในเดือนมีนาคมนี้ ขณะธนาคารโลกเตือนว่าภาวะโรคระบาดจะถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเหลือโตแค่ 4.1% ในปีนี้

ผู้คนเดินพลุกพล่านบนถนนสายหนึ่งในกรุงลอนดอนของอังกฤษ เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2565 สัปดาห์เดียวกันนี้อังกฤษมีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินวันละ 200,000 คน (Photo by Rasid Necati Aslim/Anadolu Agency via Getty Images)

 

รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพุธที่ 12 มกราคม 2565 กล่าวว่า คำเตือนจากองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) และธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) มีออกมาในวันอังคาร ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 2 ปีที่ทางการจีนยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตเพราะไวรัสโคโรนารายแรกของโลก เป็นผู้ป่วยชายอายุ 61 ปีชาวเมืองอู่ฮั่นที่โควิด-19 เริ่มระบาดเป็นแห่งแรก และถึงปัจจุบันไวรัสนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกแล้วมากกว่า 5.5 ล้านคน จากผู้ติดเชื้อเกิน 313 ล้านคน

 

ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังต้องดิ้นรนควบคุมการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ที่แพร่เชื้อได้ง่ายขึ้น รัฐบาลต่างๆ ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดอีกครั้ง รวมถึงการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ แต่ในคำแถลงของคณะที่ปรึกษาด้านวัคซีนของดับเบิลยูเอชโอเมื่อวันอังคารแนะนำว่า การฉีดวัคซีนโดสกระตุ้นภูมิด้วยวัคซีนโควิดแบบเดิมไม่ใช่กลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลหรือยั่งยืนกับสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ควรพัฒนาวัคซีนใหม่ที่ป้องกันการแพร่เชื้อได้ดีขึ้น

ภูมิภาคยุโรปกำลังเป็นศูนย์กลางการระบาดรอบใหม่ที่น่าวิตก โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลกขณะนี้ ข้อมูลที่รวบรวมโดยเอเอฟพีเผยว่า ช่วง 7 วันที่ผ่านมา ยุโรปมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกือบ 8 ล้านคน และในวันอังคาร ฮานส์ คลูก ผู้อำนวยการดับเบิลยูเอชโอประจำภูมิภาคยุโรป กล่าวว่า คลื่นจากตะวันตกสู่ตะวันออกลูกใหม่กำลังแผ่ทั่วภูมิภาคนี้

"สถาบันชี้วัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (ไอเอชเอ็มอี) ทำนายว่า มากกว่า 50% ของประชากรในภูมิภาคนี้จะติดเชื้อโอมิครอนภายใน 6-8 สัปดาห์ข้างหน้า" เขากล่าว

ภูมิภาคยุโรปของดับเบิลยูเอชโอครอบคลุม 53 ประเทศและดินแดน ซึ่งรวมถึงหลายประเทศในเอเชียกลางด้วย ซึ่งคลูกกล่าวว่า มี 50 ประเทศตรวจพบโอมิครอนแล้ว กระนั้นเขาย้ำว่า วัคซีนที่ผ่านการอนุมัติยังให้การป้องกันการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้ รวมถึงจากโอมิครอน

ด้านองค์การยายุโรป (อีเอ็มเอ) กล่าวว่า การแพร่กระจายของโอมิครอนกำลังผลักดันให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่มนุษยชาติสามารถอยู่ร่วมได้ แม้ว่าตอนนี้โควิดยังคงเป็นโรคระบาดทั่วอยู่ก็ตาม

วันเดียวกัน เวิลด์แบงก์เปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุดว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะช้าลงในปี 2565 นี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่โอมิครอนจะทำให้การขาดแคลนแรงงานและปัญหาห่วงโซ่อุปทานทวีความรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4.1% หลังจากการฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว ที่ขยายตัว 5.5%

เดวิด มัลพาสส์ ประธานเวิลด์แบงก์ กล่าวว่า โรคระบาดอาจทิ้ง "แผลเป็นถาวรต่อการพัฒนา" ไว้ เนื่องจากตัวชี้วัดความยากจน, โภชนาการ และสุขภาพ กำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ผิด.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/abroad-news/63062/

 
บรรดานักวิทยาศาสตร์พบเห็นสัญญาณการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ตัวกลายพันธุ์โอมิครอนอาจถึงจุดสูงสุดแล้วในสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับสหรัฐฯ พร้อมชี้ว่าเคสผู้ติดเชื้ออาจเริ่มลดลงอย่างฉับพลันหลังจากนี้ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนถึงขั้นมองว่าบางทีโอมิครอนอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโรคระบาดใหญ่ ที่เปิดทางให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับไวรัส

เหตุผลคือ ตัวกลายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าแพร่กระจายเชื้อรวดเร็วมากๆ บางทีอาจไม่มีคนเหลือให้ติดเชื้อแล้ว ไม่ถึง 1 เดือนครึ่ง หลังจากมันถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกในแอฟริกาใต้ "มันกำลังลดลงอย่างรวดเร็วเท่ากับตอนที่มันเพิ่มขึ้น" อาลี มอคแด็ด ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันในซีแอตเทิล กล่าว

แต่ขณะเดียวกัน พวกนักวิทยาศาสตร์เตือนว่ายังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับระยะถัดไปของโรคระบาดใหญ่ เนื่องจากจุดสูงสุดและการลดลงใน 2 ประเทศ เกิดขึ้นโดยใช้เวลาต่างกันและมีอัตราความรวดเร็วต่างกัน ดังนั้น ช่วงเวลายากลำบากยังคงรออยู่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือนข้างหน้า ทั้งสำหรับคนไข้และโรงพยาบาลต่างๆ ที่อัดแน่นไปด้วยผู้ป่วย แม้นหากข้อสันนิษฐานเคสผู้ติดเชื้อลดลงเกิดขึ้นจริงก็ตาม

"ยังคงมีคนอีกมากมายที่จะติดเชื้อ ตอนที่เราไต่ลงเนินเขาทางด้านหลัง" คำกล่าวของ ลอเรน อันเซล เมเยอร์ส ผู้อำนวยการสถาบันโมเดลโควิด-19 แห่งมหาวิทยาลัยเทกซัส ซึ่งคาดหมายว่าเคสผู้ติดเชื้อจะถึงจุดพีกสุดภายในสัปดาห์นี้

ในส่วนของโมเดลที่ได้รับความเชื่อถืออย่างมากของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ระบุว่า จำนวนเคสผู้ติดเชื้อรายวันในสหรัฐฯ จะแตะระดับสูงสุด 1.2 ล้านคนในวันที่ 19 มกราคม และจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว "ง่ายๆ เลยคือทุกคนที่สามารถติดเชื้อจะติดเชื้อหมดแล้ว" มอคแด็ด ระบุ

เขากล่าวว่า ในข้อเท็จจริงที่ผ่านการคำนวณอันซับซ้อนของทางมหาวิทยาลัย ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่แท้จริงของสหรัฐฯ การประมาณการซึ่้งนับรวมคนที่ไม่เคยตรวจเชื้อด้วย ได้ผ่านจุดพีกมาแล้ว โดยแตะระดับ 6 ล้านคนเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน ในสหราชอาณาจักร เคสผู้ติดเชื้อใหม่โควิด-19 ลดลงเหลือราวๆ 140,000 คนต่อวันในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากเคยพุ่งขึ้นมากกว่า 200,000 คนต่อวันในช่วงต้นเดือน

เควิค แม็คคอนเวย์ ศาสตราจารย์เกษียณอายุ ด้านสถิติประยุกต์ แห่งมหาวิทยาลัยโอเพ่นของสหราชอาณาจักร ระบุว่า ในขณะที่เคสผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ อย่างเช่นทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ และทางตะวันตกของแถบมิดแลนด์ แต่การแพร่ระบาดอาจเลยจุดพีกแล้วในลอนดอน

ข้อมูลเหล่านี้เพิ่มความหวังแก่ 2 ประเทศ ว่าอาจกำลังได้เห็นสิ่งเดียวกับที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้ ซึ่งเคสผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างรวดเร็ว แต่จากนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อก็ลดลงอย่างมากในอีก 1 เดือนต่อมา

 
"เรากำลังพบเห็นเคสผู้ติดเชื้อที่กำลังลดลงอย่างชัดเจนในสหราชอาณาจักร แต่ผมอยากเห็นเคสผู้ติดเชื้อลดลงมากกว่านี้ ก่อนที่เราจะสรุปได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้ จะเกิดขึ้นที่นี่ด้วย" นายแพทย์พอล ฮันเตอร์ ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย แห่งสหราชอาณาจักรกล่าว

มีความแตกต่างหลายอย่างระหว่างสหราชอาณาจักรกับแอฟริกาใต้ เช่น การมีประชากรสูงวัยกว่าของสหราชอาณาจักรและแนวโน้มที่ประชาชนของสหราอาณาจักรใช้เวลาอยู่ในร่มมากกว่าในช่วงฤดูหนาว นั่นหมายความว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของแต่ละประเทศจะมีความไม่แน่นอนแตกต่างกันออกไป

ในอีกด้านหนึ่ง เจ้าหน้าที่สหราชอาณาจักรตัดสินใจบังคับใช้ข้อจำกัดต่างๆ น้อยที่สุดในการรับมือกับโอมิครอน ดังนั้น จึงอาจทำให้ตัวกลายพันธุ์นี้แพร่ระบาดในหมู่พลเมืองของสหราชอาณาจักรเร็วกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศยุโรปตะวันตกอื่นๆ อย่างเช่น ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี ที่กำหนดมาตรการเข้มงวดควบคุมโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ชาบีร์ มาห์ดี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิยาลัยวิตวอเตอร์สแรนด์ของแอฟริกาใต้ ระบุว่าประเทศยุโรปทั้งหลายที่กำหนดล็อกดาวน์เข้มข้น ไม่จำเป็นต้องก้าวผ่านระลอกการแพร่ระบาดของโอมิครอนด้วยจำนวนเคสผู้ติดเชื้อที่น้อยกว่าแต่อย่างใด และบางทีมันอาจใช้เวลาการแพร่ระบาดเป็นเวลานานกว่าด้วยซ้ำเมื่อวันอังคาร (11 ม.ค.) องค์การอนามัยโลกระบุว่า พบเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ทั่วยุโรป 7 ล้านคนในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังอ้างโมเดลของศาสตราจารย์มอคแด็ด ประมาณการว่าประชากรครึ่งหนึ่งของยุโรปจะติดเชื้อโอมิครอนภายในช่วงเวลาราวๆ 8 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม ฮันเตอร์และผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ คาดหมายว่าโลกจะผ่านพ้นระลอกการแพร่ระบาดของโอมิครอนไปได้ "บางทีอาจจะขึ้นๆ ลงๆ ไปตลอดทาง แต่ผมหวังว่าในช่วงอีสเตอร์ เราจะหลุดพ้นจากสิ่งนี้"

เมเยอร์ส มหาวิทยาลัยเทกซัส ระบุว่า บางทีโอมิครอนอาจเป็นจุดเปลี่ยนของโรคระบาดใหญ่ โดยชี้ภูมิคุ้มกันผ่านการติดเชื้อ เช่นเดียวกับยาใหม่ๆ และวัคซีน อาจทำให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นอะไรบางอย่าง "ที่เราสามารถอยู่ร่วมด้วยได้ง่ายขึ้น"

"ในช่วงท้ายของระลอกการแพร่ระบาดนี้ จะมีคนติดเชื้อมากกว่าตัวกลายพันธุ์บางตัวของโควิด-19 มากมายหลายเท่า" เมเยอร์สกล่าว "ณ จุดหนึ่ง เราจะสามารถขีดเส้นและโอมิครอนอาจเป็นจุดนั้น จุดที่เราเปลี่ยนผ่านจากหายนะที่คุกคามโลก สู่บางอย่างที่อาจเป็นโรคๆ หนึ่งที่สามารถจัดการได้ง่ายกว่ามาก" เธอระบุ

กระนั้นก็ตามเธอเตือนว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ตัวกลายพันธุ์ใหม่หนึ่งๆ จะอุบัติขึ้นมา ซึ่งมันอาจเลวร้ายกว่าโอมิครอนก็เป็นได้

(ที่มา : เอพี)
 

"โอไมครอน" เตรียมหนาว หลังทาง CEO ของไฟเซอร์ ออกมาให้ข้อมูลว่า วัคซีนสูตรใหม่นี้คิดค้นขึ้นมาเพื่อไวรัสสายพันธุ์นี้โดยเฉพาะ ยืนยัน พร้อมใช้งานมีนาคมนี้

เกาะติด "โอไมครอน" หรือ โอมิครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์ใหม่ ล่าสุด เตรียมรับข่าวดี หลัง CEO ของไฟเซอร์ Albert Bourla กล่าวกับสำนักข่าวต่างประเทศว่า ตอนนี้ไฟเซอร์ดำเนินการผลิตวัคซีนสูตรใหม่แล้ว เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโอไมครอนแพร่กระจายในหลายประเทศ ซึ่งตอนนี้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ เองก็ต้องการวัคซีนสูตรนี้เป็นอย่างมาก เพื่อสกัดการแพร่ระบาดที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ประกอบกับผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วแต่ก็ยังไม่รอดจากสายพันธุ์นี้ด้วย

 

วัคซีนสูตรใหม่นี้ คาดว่าจะพร้อมใช้งานภายในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ วัคซีน 2 เข็ม และเข็ม 3 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังมีประสิทธิภาพอยู่ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการป่วยรุนแรงจากการติดเชื้อ "โอไมครอน" ได้ 

ในขณะที่วัคซีนสูตรใหม่นี้ เป็นวัคซีนที่พุ่งเป้าไปจัดการโอไมครอนโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยป้องกันเคสติดเชื้อหลังจากการฉีดวัคซีน (breakthrough infections) ที่อาจจะติดเชื้อแล้วมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการเลยได้

ในขณะที่ CEO ของโมเดอร์นา Stephane Bancel เองก็ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวต่างประเทศเมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมาว่า ทางบริษัทกำลังพัฒนาเข็มกระตุ้นที่อาจจัดการกับ "โอไมครอน"  และสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหม่อื่น ๆ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง 2022

ทั้งนี้ อิสราเอลได้ผลิตวัคซีนไฟเซอร์ โดสที่ 4 ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มบุคลากรการแพทย์ที่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 เกิน 4 เดือน และกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องแล้ว ซึ่งหลังจากการฉีดโดสที่ 4 พบว่า แอนติบอดี้เพิ่มขึ้นมากถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

ข้อมูล : CNBC

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/500687?adz=