Super Bug : Super E.coli

 

                เป็นที่รู้กันดีว่า E.coli เป็นจุลินทรีย์ ที่ไม่มีพิษภัย อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด แต่เมื่อประมาณ 50-60 ปี ที่แล้วมา นักวิทยาศาสตร์ พบว่ามี E.coli บางสายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากสามารถสร้างสารพิษที่เรียกว่า Shiga toxin ซึ่งรายงานพบเป็นครั้งแรกโดยนักจุลชีววิทยาชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ Kiyoshi Shiga นักวิทยาศาสตร์แยกสายพันธุ์ของ E.coli โดยอาศัยความแตกต่างของโปรตีนที่อยู่บนผิวเซลล์ ต่อมาจึงมีการพบว่า E.coli 0157:H7 เป็นสายพันธุ์ที่สร้าง  Shiga toxin ซึ่งเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ติดเชื้อ เข้าไปสู่อวัยวะต่างๆ ทำให้เลือดแข็งตัว (blood clots) และไตล้มเหลว (kidney failure) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยบางราย

 

                การระบาดของ E.coli สายพันธุ์ 0157:H7 เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว อาทิเช่น เมื่อปี 2525 มีการระบาดที่รัฐ Oregon และรัฐ Michigan ในประเทศสหรัฐอเมริกา จากการตรวจสอบพบว่าการติดเชื้อเกิดจากการกิน แฮมเบอร์เกอร์ที่ไม่สุก ต่อมาในปี 2536  มีการระบาดที่รัฐ Washington มีผู้ติดเชื้อกว่า 700 คน เสียชีวิต 4 คน และในปี 2549 มีการระบาดอีกครั้ง มีผู้ติดเชื้อประมาณ 200 คน และมีผู้มีอาการไตล้มเหลวจำนวนหนึ่ง ผลจากการสอบสวนพบว่า การติดเชื้อจากผักสลัด จำพวก ผักโขม ผักกาด และถั่วงอก จากการศึกษาโดยละเอียด พบว่า ผู้ติดเชื้อ E.coli  0157:H7 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง มีเพียง 1-2% ที่มีอาการรุนแรง  ซึ่งเป็นผลจากฤทธิ์ของ  Shiga toxin   นักวิทยาศาสตร์พบว่า E.coli  0157:H7 ปกติอาศัยอยู่ในลำไส้ของโค แพะ แกะและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ คนติดเชื้อจากการกินเนื้อไม่สุก และจาการที่มูลของสัตว์เลี้ยงถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เข้าไปปนเปื้อนกับพืชผักต่างๆ เมื่อ E.coli  0157:H7 เข้าสู่คนจึงก่อให้เกิดอาการของโรคที่รุนแรงขึ้น

 

                ปี 2554 มีการระบาดของ E.coli  สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงอีกครั้ง ในทวีปยุโรป มีผู้ติดเชื้อกว่า 3,000 คน เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 30 ราย จากการศึกษาพบว่าเป็น E.coli  สายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างจาก E.coli  0157:H7 ชัดเจน ซึ่งต่อมามีรายงานว่าเป็นสายพันธุ์ 0104:H4 และที่สำคัญคือ E.coli  0104:H4 มียีนที่ดื้อต่อยาปฎิชีวนะ ทำให้การรักษาทำได้ยากขึ้น สาเหตุการระบาดของ  E.coli  0104:H4 ในยุโรป ยังไม่เป็นที่แน่ชัด เบื้องต้นคาดว่ามาจากผักสลัดและแตง จากประเทศสเปน แต่ยังไม่มีการยืนยัน ล่าสุดคาดว่าน่าจะมาจากถั่วงอก จากออร์แกนิคฟาร์มแห่งหนึ่งในประเทศ เยอร์มันนี แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนเช่นกัน ปัจจุบันยังคงไม่มีรายงาน พบ E.coli 0104:H4 ในประเทศไทย และยังไม่มีวิธีตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ E.coli  0104:H4 ที่เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการ ดังนั้นการวินิจฉัยจึงต้องอาศัยการตรวจหา  Shiga toxin เป็นหลัก การวิวัฒนาการของ E.coli  0104:H4 คงไม่ใช่เป็นการเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย แต่จะต้องมีการเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน รวมทั้งในจุลินทรีย์ชนิดๆอื่นๆด้วย

Super-malaria

            ปี 2558 มีผู้ป่วยโรคมาลาเรียทั่วโลก 212 ล้านคน การระบาดส่วนใหญ่พบในทวีป แอฟริกา ซึ่งมีผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่กว่า 90%

เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา สำหรับในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการพบผู้ป่วยโรค มาลาเรีย อยู่เกือบทุกประเทศ ยาที่ได้ผลดีในการรักษาโรคมาลาเรีย

คือ อาร์ทิมิสินิน (artemisinin) ปัจจุบันมีรายงานพบว่า เชื้อมาลาเรีย ที่ต้านยา อาร์ทิมิสินิน ซึ่งให้ชื่อว่า ซุปเปอร์มาลาเรีย ได้มีการแพร่กระจายมากขึ้น

โดย เริ่มจากมีการพบในประเทศกัมพูชา ต่อมามีการแพร่กระจายเข้าไปใน สปป.ลาว เวียดนาม รวมทั้งประเทศไทย เนื่องจากเชื้อซุปเปอร์มาลาเรียต้านยาทุกชนิด

ที่ใช้ในการรักษา องค์การอนามัยโลก กำลังวิตกว่าถ้าเชื้อนี้ระบาดเข้าไปในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นแหล่งระบาดใหญ่ที่สุดของโรคมาลาเรีย จะทำให้ไม่สามารถควบคุมโรค

ได้ในอนาคต ถ้าไม่มีการค้นพบยาใหม่เกิดขึ้น

 COVID-19

 

            กรุงเทพ พยาธิ-แลป (BPL) เป็นศูนย์บริการการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ  (ISO 15189, ISO 15190, ISO 27001)  ก่อตั้งมานานกว่า 40 ปี ตระหนักว่าโรคจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 จะคงอยู่กับเราอีกนานหลายปี แม้ว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้แล้ว

 

 

 

 

            ข้อมูลปัจจุบันพบว่าอัตราผู้ติดเชื้อ COVID-19 โดยไม่มีอาการของโรค (asymptomatic) เฉลี่ยประมาณ 20-40% แต่ในหลายกรณี เช่นเรือ Diamon Princess ที่ญี่ปุ่น, ประเทศอิตาลี ประเทศไอซ์แลนด์ รวมทั้งการระบาดในเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส มีอัตราผู้ไม่มีอาการของโรคสูงถึง 40-50% เนื่องจากผู้ติดเชื้อเหล่านี้ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมากำจัดไวรัสออกไปได้ โดยที่ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นมานี้จะคงอยู่ และป้องกันการติดเชื้อได้อีกเป็นระยะเวลานาน หรืออาจจะตลอดไป ยกเว้นกรณีไวรัสมีการกลายพันธุ์ และยังมีข้อมูลว่าผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการของโรคเหล่านี้ยังสามารถเป็นพาหะแพร่กระจายไวรัสไปสู่ผู้อื่นได้  ถ้าโรคยังไม่หายขาด (B.S. Kamps and C.Hoffmann ; COVID Reference 2020.1)

 

            การตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันในเลือด  จึงเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ต้องการดูแลสุขภาพของตนเอง และป้องกันการแพร่กระจายไวรัสไปสู่ผู้ใกล้ชิด กรุงเทพ พยาธิ-แลป จึงได้นำชุดทดสอบ เพื่อการวิเคราะห์ภูมิคุ้มกันต่อไวรัส COVID-19  ที่ผ่านการรับรองคุณภาพทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มาให้บริการแก่บุคคลทั่วไป ชุดทดสอบนี้สามารถทำการทดสอบได้สะดวก รวดเร็ว มีความแม่นยำสูง และราคาประหยัดกว่าวิธีตรวจหาเชื้อไวรัส ด้วยวิธี  RT-PCR  ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมาก โดยจะเริ่มให้บริการตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม  2563   เป็นต้นไป

 

ท่านที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์

0 2619 2909 ต่อ 2012 - 2015 

หรือ  095 497 1724

E-Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

                                            

 

 

 

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ