3 ม.ค. 64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "โควิด 19  สายพันธุ์อังกฤษกลายพันธุ์  พบในประเทศไทยแล้ว

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ได้ถอดรหัสสายพันธุ์ พบเป็นสายพันธุ์อังกฤษ หรือที่เรียกว่า สายพันธุ์อังกฤษที่กลายพันธุ์ B.1.1.7 ได้ในประเทศไทย

 

เป็นครอบครัวชาวอังกฤษ 4 คน พ่อ แม่ ลูก 2 คน ติดเชื้อทั้ง 4 คน โดยที่แม่และลูก เป็นก่อน พ่อเป็นทีหลัง มาจากเมือง Kent  ประเทศอังกฤษ และอยู่ใน ASQ โรงพยาบาลเอกชน และเราควบคุมอย่างดี ไม่ให้แพร่กระจายออกไป

การถอดรหัสพันธุกรรมทำให้ทราบว่า สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ของอังกฤษ ที่กลายพันธุ์ ที่ทั่วโลกเฝ้าระวังกันมาก และมีการระงับเที่ยวบินจากอังกฤษ 

ได้ทำการถอดรหัสพันธุกรรม 2 ราย มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งเกาะจับตัวรับของเซลล์มนุษย์ (N501Y)  การกลายพันธุ์ที่จุดตัดของสไปรท์โปรตีน (P681H) ตำแหน่งอื่นๆ ที่ขาดหายไป (spike 69-70 deletion) และตำแหน่งอื่นๆ อีก ดังในรูป 

สายพันธุ์นี้ทำให้การแพร่ระบาดได้ง่าย และกระจายอย่างรวดเร็ว ในครอบครัวนี้ ก็ติดหมดทั้ง 4 คน 

อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทย สายพันธุ์นี้ไม่ได้ทำให้โรครุนแรงขึ้นและไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของวัคซีน  ขอให้สบายใจได้ ผู้ป่วยทั้ง 4 รายนี้ อยู่ในความควบคุมและระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้เชื้อหลุดรอดออกมาได้ ผู้ป่วยยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล ในห้องความดันลบ และต้องมั่นใจว่าไม่มีเชื้อแล้ว จึงจะออกมา ดังนั้นโอกาสที่จะแพร่ขยายในประเทศไทยจึงไม่มี

ผู้ที่มาจากประเทศอังกฤษ มาประเทศไทย จะต้องเฝ้าระวัง ในรายที่มาจากต่างประเทศ การถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อเป็นฐานข้อมูล จะเป็นประโยชน์ในการเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย หาแหล่งที่มาของโรค.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/88642#

 

  

 

27 เม.ย. 63 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา

คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก

ในหัวข้อ "โควิด 19 ยารักษาไวรัสโรคโควิด-19" ว่า "โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ ไวรัสนี้จึงยังไม่มียารักษาจำเพาะ

ยาที่ใช้รักษา จึงยืมยาจากโรคอื่นมาใช้ เช่น chloroquine/hydroxychloroquine หวังไปทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง

ป้องกันการถอดร่างไวรัสในเซลล์ ผลการรักษายังไม่เป็นที่แน่ชัด หรือยืนยันว่าได้ผล จากการศึกษาที่ชัดเจน

 

ยาต้าน HIV สูตรผสมโลพินาเวียร์และริโทรนาเวียร์ ถูกนำมาใช้รักษาโรค โควิด-19 เพราะลักษณะเอนไซ protease

ของไวรัสโควิด-19 กับ HIV มีส่วนคล้ายกัน จึงมีการนำมาใช้ การศึกษาเปรียบเทียบให้กับไม่ให้ ในรายโควิดที่รุนแรง

ผลไม่แตกต่างกัน หรือ กล่าวว่า โควิด-19 เป็นรุนแรงแล้ว ยา 2 ตัวนี้ไม่ช่วย แต่ในรายที่ไม่รุนแรง คงต้องรอผลการศึกษา

ยานี้มีอาการข้างเคียงค่อนข้างมาก

 

flavipiravir ในบ้านเราได้นำเข้ามา ยานี้ ญี่ปุ่น คิดขึ้นมาเพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่ และต่อมาพบว่ามีฤทธิ์กว้าง ขัดขวางการสร้าง RNA ไวรัสชนิดอื่น ๆ ด้วย เคยมีการนำมาใช้ใน Ebola แต่ผลก็ไม่ได้เป็นดังเป้าหมาย และขณะนี้ก็ได้นำมานี้มาใช้ในการรักษา โควิด-19 กันมาก และรอผลการศึกษาที่เป็นเชิงวิทยาศาสตร์ ถึงประสิทธิผล ในการศึกษาวิจัยที่จะมีการเผยแพร่ ประเทศไทย ได้มีการนำมาใช้ในรายที่มีอาการรุนแรง ที่มีปอดบวม

 

Remdesivir เป็นยาที่คิดค้นใหม่ ยังไม่ผ่านการรับรองของ อย. ในชาติใด จึงเป็นยาที่อยู่ระหว่างการวิจัยในระยะ 3 และเคยพยายามศึกษากับไวรัส MERS ยานี้ได้ถูกนำมาใช้ศึกษาในโรค โควิด-19 ในผู้ป่วยรายแรกของอเมริกา และมีการศึกษาเป็นจำนวนมาก ในขณะนี้มากกว่า 100 โครงการคงจะทราบผลเร็ว ๆ นี้ แต่มีข่าวออกมาจากอเมริกา ว่าได้ผลดี ทำให้หุ้นในอเมริกาขึ้นมาได้ และหลังจากการนั้นทางบริษัทก็ออกมาปฏิเสธว่าข่าว คงต้องรอผลสรุปอย่างเป็นทางการ ถึงผลการรักษา และรอขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาก่อน ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย

 

พลาสมาของคนที่หายป่วย ได้มีการศึกษาในจีน เกาหลี มีมากกว่า 5 รายงานการศึกษา ในคนไข้ขณะนี้ที่รายงานเกือบ 30 คน ในรายงานจะบอกได้ผลดี เชื่อว่ามีการให้มากกว่ารายงานและรายงานส่วนมาก จะรายงานโดยสรุป ขณะนี้มีการศึกษากันทั่วโลก เกือบทุกประเทศ ประเทศไทยขณะนี้ก็มีโครงการนี้อยู่ โดยขอบริจาคพลาสม่าจากผู้ที่หายป่วยแล้ว

การรักษาโรคโควิด 19 ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อสรุป และแนวทางการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่จำเพาะ และได้ผลอย่างชัดเจน".

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/64359


15 พ.ค.63-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan มีเนื้อหาดังนี้
โควิด 19 วัคซีนวัณโรค BCG เมื่อแรกเกิด ป้องกันโรคได้จริงหรือ
มีการพูดกันมากว่า คนทางแถบเอเชียได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคแรกเกิด ติดเชื้อ โควิด 19 น้อยกว่าคนทางยุโรป ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคเมื่อแรกเกิด
จึงมีข้อสมมติฐานว่า วัคซีนBCG ป้องกันวัณโรค   ช่วยป้องกันการติดเชื้อ โควิด 19
จากการศึกษาที่อิสราเอล เป็นประเทศที่ให้วัคซีน BCG ในเด็กแรกเกิด มาจนถึงปี 1982 หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการให้อีก
เมื่อเปรียบเทียบประชากรย้อนขึ้นไป 3 ปี กับประชากรลงมา 3 ปี  คือประชากรที่เกิดก่อนและหลังปี 1982 เมื่อเปรียบเทียบอายุแล้วจะอยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน
 และดูอัตราการติดเชื้อ โควิด 19 พบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีน BCG  ติดเชื้อ โควิด-19 11.7%
ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน BCG  ติดเชื้อ โควิด-19 จำนวน 10.4%
และมีความรุนแรงเสียชีวิตกลุ่มละ 1 คน
จากข้อมูลดังกล่าว ได้ลบล้างความเชื่อที่ว่า
การให้วัคซีน BCG เมื่อแรกเกิดอย่างที่ประเทศไทยที่ให้กับทารกแรกเกิด
ไม่มีผลในการป้องกัน โควิด 19

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/65973

 

18 ม.ค. 64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "วัคซีน covid 19    อาการไม่พึงประสงค์ อาการแทรกซ้อน
การตายในผู้สูงอายุ หลังให้วัคซีน ในประเทศนอร์เวย์ จำนวน 23 ราย เป็นข่าวใหญ่ ทำให้เกิดวิตกกังวล  ต่อกระบวนการให้วัคซีน อาการไม่พึงประสงค์ หลังการให้วัคซีนของไฟเซอร์ ในประเทศนอร์เวย์ ที่มีผู้สูงอายุเสียชีวิตจำนวนมาก

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการไม่พึงประสงค์ หลังให้วัคซีนไม่จำเป็นต้องเกิดจากวัคซีน หรือแพ้วัคซีน  กรรมการตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนที่ให้หรือไม่ จะตรวจสอบอย่างละเอียด

การศึกษาวัคซีนใหม่ ถึงแม้ว่าจะผ่านระยะที่ 3 แล้ว จะต้องตามอาการไม่พึงประสงค์หลังนำไปใช้ต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ปี อย่างเช่นในนอร์เวย์ 

ผมทำการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนมากว่า 30 ปี หลังฉีดวัคซีน  ผู้ที่รับวัคซีนเดินกลับบ้านไปตกท่อ จะต้องรายงานว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ และหาสาเหตุของการตกท่อ ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ ให้กรรมการกลางที่ดูแลด้านความปลอดภัยมาช่วยพิจารณาด้วย  เพราะวัคซีนที่ฉีด อาจทำให้เวียนศีรษะแล้วเดินตกท่อก็ได้

เมื่อฉีดวัคซีนแล้วมีการตาย ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก

เคยมีอาสาสมัครฉีดวัคซีนแล้วอีก 2 วันเสียชีวิต รายงานทันที ที่ได้รับทราบการเสียชีวิต ในรายนี้ถูกยิงตาย จะต้องหาสาเหตุว่าวัคซีนที่ฉีด อาจจะทำให้เกิดความก้าวร้าว ที่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการถูกยิงก็ได้ 

และเช่นเดียวกัน มีผู้ป่วยหลังฉีดวัคซีนที่ผมเคยดูแลอยู่  เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์  ก็ต้องดูในรายละเอียดเพราะวัคซีนอาจจะทำให้อาการง่วงหนาว หาวนอนแล้วเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุก็ได้

การเสียชีวิตของผู้สูงอายุในนอร์เวย์ ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (วัคซีนนี้ไม่ได้อยู่ในแผนการให้วัคซีนของประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้นี้) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่  อายุมากกว่า 80 ปี  อยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุส่วนมากจะมีโรคประจำตัว 

ในภาวะปกติในสถานดูแลผู้สูงอายุ  ก็มีการเสียชีวิตอยู่ประจำอยู่แล้ว  แน่นอนเมื่อเกิดขึ้นหลังการให้วัคซีน  ก็ต้องพิสูจน์กันว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาจากวัคซีนหรือไม่  หรือจากโรคชรา โรคประจำตัว จนกว่าจะมีการพิสูจน์การเสียชีวิตอย่างละเอียดทุกราย จึงค่อยว่ากันว่าเป็นสาเหตุจากวัคซีนหรือไม่

การเสียชีวิตดังกล่าว ก็ไม่ได้ทำให้ประเทศไหนหยุดการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 

ขณะนี้ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 40 ล้าน โดส และเป็นวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์มากที่สุด การให้วัคซีนวันละหลายล้านคนคงจะยังได้ยินข่าวแบบนี้อีกแน่นอน อาการไม่พึงประสงค์ ต้องรอสรุปจริงๆ  จะต้องรอการสอบสวนอย่างละเอียดต่อไป 
ของใหม่เมื่อนำมาใช้  ก็ต้องมีการระวังอาการข้างเคียง  อาการไม่พึงประสงค์อย่างละเอียด และรอบคอบ ดูอาการไม่พึงประสงค์อาจเกิดขึ้นได้  แม้กระทั่งโอกาสที่จะเกิดเป็นหนึ่งในล้าน".

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/90154

 

 

 12 มิ.ย.63 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan มีเนื้อหาดังนี้
โควิด -19 ควรเปิดโรงเรียน ก่อน เปิดโรงเรียนกวดวิชา
สภาพความเป็นจริง การผ่อนปรน การศึกษามีความสำคัญ
นักเรียนประถมในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในชนบท มีนักเรียนน้อยมาก
พร้อมที่จะเปิดได้ ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขคอยดูแล
โรงเรียนใหญ่ในเมือง ควรจะต้องมีมาตรการเคร่งครัด กำหนดระยะห่างของนักเรียน
หรือลดจำนวนนักเรียนลงต่อหน่วยเวลา
เด็กโต หรือหนุ่มสาว จะมีโอกาสแพร่กระจายโรคได้มากกว่า
เพราะเดินทางไปได้ไกล สัมผัสคนได้มากกว่าเด็กเล็กมาก
โรงเรียนกวดวิชา จะมีเด็กหนาแน่นมาก และสถานที่ตั้งส่วนใหญ่ จะอยู่ในที่ชุมชนหนาแน่น
เช่นในห้าง บริเวณพื้นที่รวมกันหนาแน่น ห้องเรียนก็จะมีนักเรียนจำนวนมาก
เมื่อผ่อนปรนตามความเสี่ยงแล้ว โรงเรียนกวดวิชาจะมีความเสี่ยงมากกว่าโรงเรียนธรรมดา
การกำหนดระยะห่างของโรงเรียน และดูแลสุขอนามัย มีความจำเป็นมาก
ระเบียบวินัยต้องเคร่งครัด
เด็กโตหรือหรือนักศึกษา จะต้องฝึกให้เรียนออนไลน์ได้ แล้วสลับกันไปเรียนภาคปฏิบัติ
เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน จะเหมาะสมในยุค โควิด -19

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/68462

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ