เช็คเลย 3 จุดเสี่ยงบนใบหน้า รับเชื้อ "โควิด" Omicron เต็ม ๆ รู้แล้วควรเลี่ยง 

เปิด 3 จุดเสี่ยงบนใบหน้า รับเชื้อ "โควิด" Omicron เต็ม ๆ เช็คด่วน รู้แล้วควรเลี่ยง พร้อมแนะแนวทางรักษา หากเจอติด

อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ "โควิด" โดยเฉพาะสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายคนเกิดความกังวล ในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย ที่สำคัญ เชื้อไวรัสจะเข้าสู่คนผ่านทางการไอ จาม การสัมผัสโดยตรง กับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีคำแนะนำสำหรับ 3 จุดเสี่ยงบนใบหน้า ที่ควรเลี่ยงการใช้มือจับ เพราะเสี่ยงต่อการรับเชื้อโดยตรง ดังนี้

  1. ดวงตา ไม่ขยี้ตา เพราะเชื้อโรคผ่านเข้าไปในช่องท่อระบายน้ำตาได้
  2. จมูก ไม่แคะจมูก เพราะเชื้อโรคเข้าทางโพรงจมูกสู่ทางเดินหายใจได้
  3. ปาก ไม่จับปาก เพราะเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจจากทางนี้ได้
 

กรณีสงสัยว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงติด "โควิด" แนะนำให้เร่งตรวจ ATK เพื่อยืนยัน หากตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 ดำเนินการ ดังนี้

สีเขียว รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ แก้เจ็บคอ หรือไปรับยาที่สถานพยาบาลตามสิทธิ-สถานพยาบาลรัฐใกล้บ้าน (เจอ แจก จบ) + กักตัวอยู่ที่บ้าน 10 วัน 

การใช้สิทธิรักษา 

สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.) 
   

  • นอกจากไปที่สถานพยาบาลประจำที่ท่านลงทะเบียนไว้ ยังไปที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ (ไม่ใช้ใบส่งตัว) หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลประจำอำเภอ-จังหวัด, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น 
  • โรงพยาบาลเอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. 

สิทธิประกันสังคม ไปโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ รวมถึงสถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมทุกแห่ง และสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง (สายด่วน 1506) สิทธิข้าราชการ ไปสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง และ โรงพยาบาลเอกชน ที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. (สายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400 วัน-เวลาราชการ)

กลุ่มสีเหลือง-สีแดง (ทุกสิทธิการรักษา) ใช้สิทธิ UCEP Plus (เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่) สถานพยาบาลรัฐ-เอกชน ที่อยู่ใกล้ได้ กลุ่ม 608, หญิงตั้งครรภ์, เด็กอายุ 0-5 ปี, คนพิการ, ผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิ สปสช.) และสิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โทร. 1330 ประเมินอาการเข้าระบบรักษาที่บ้าน 

  • เจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร. 1669 
  • ประกันสังคม โทร. 1506
  • บัตรทอง-อปท. โทร. 1330
  • ข้าราชการ โทร. 02-2706400
  • สอบถามสิทธิ UCEP Plus 028721669 (ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต)

ดูรายละเอียดเพิ่มที่ https://www.nhso.go.th/

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/509401?adz=

เช็คให้ชัวร์วิธี 'ป้องกันโควิด-19' อย่าเชื่อ 6 เรื่องเข้าใจผิด!

 

คนไทยต้องรู้เท่าทันข่าวปลอม ที่เผยแพร่เกี่ยวกับวิธี "ป้องกันโควิด-19" มีอะไรบ้าง? และหาคำตอบว่าความจริงเป็นอย่างไร?

ยิ่งโรคระบาดใกล้ตัวกับเรามากเท่าไหร่ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ก็ยิ่งไหลบ่าเข้ามามากเท่านั้น และสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คงหนีไม่พ้นข่าวปลอมที่สร้างความสับสนให้แก่ประชาชน เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแบบถูกต้อง กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จึงรวบรวมข่าวปลอมหรือความเชื่อแบบผิดๆ เกี่ยวกับการ "ป้องกันโควิด-19" มาให้รู้เท่าทัน พร้อมเฉลยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นให้ได้เข้าใจอย่างถูกต้อง 

 

  • 1. ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำขิงมากๆ จะช่วยต้านโควิด-19

จากการส่งต่อข้อมูลเรื่องการรับประทานเครื่องดื่มสมุนไพร น้ำขิง และน้ำกระชายผสมน้ำผึ้งมะนาว ซึ่งระบุสรรพคุณว่า น้ำสมุนไพรของตนนั้นช่วยต้านโควิด-19 ช่วยดีท็อกซ์ลำไส้ได้

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ชี้แจ้งว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลรายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ น้ำขิง และน้ำกระชายผสมน้ำผึ้งมะนาว สามารถต้านโควิด-19 ได้ รวมถึงน้ำสมุนไพรดังกล่าวไม่สามารถดีท็อกซ์ลำไส้ได้ ดังนั้น ควรระมัดระวังการสื่อสารสู่สาธารณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ อย่างไรก็ดีสมุนไพรดังกล่าวมีประโยชน์ต่อสุขภาพที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ไอ เจ็บคอได้

  • 2. กินโซดามิ้นท์

ช่วงปี 2563 ประเด็นเรื่องโซดามิ้นท์ ถูกพูดถึงในโลกโซเชียลว่ามีสรรพคุณบรรเทา และรักษาอาการโควิดได้ ทั้งนี้ในเวลาต่อมาก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาให้ความรู้ว่า ความเชื่อนั้นเป็นเรื่องไม่จริง 

โซดามิ้นท์ (SODAMINT) คือยาลดกรดชนิดหนึ่ง ใช้บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย และ ใช้ในคนไข้โรคไต

รศ. ดร. เจษฎา อาจารย์ประจำภาควิชา ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลผ่านเพจเฟซบุ๊ค อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ระบุว่า อันนี้เป็นความเข้าใจผิดๆ ตามความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอาหารด่าง น้ำด่าง ที่ว่าถ้าร่างกายเรามีความเป็นด่าง จะสามารถสู้กับโรคไวรัสได้ ถ้าเป็นกรด ก็ติดเชื้อง่าย จึงให้ไปกินพวกยาที่ทำออกฤทธิ์เป็นด่าง

ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ได้มีประโยชน์แบบที่ว่าเลย  ค่า pH หรือกรดด่างของเลือดในร่างกายเรา มีค่าค่อนข้างคงที่ ที่เป็นด่างอ่อนๆ ซึ่งปรับสมดุลโดยอัตราการหายใจของร่างกาย ไม่ใช่จากอาหารที่กินเข้าไป ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องพยายามเอาด่างเข้าร่างกายเหมือนที่อ้างกัน

เช่นเดียวกับ รศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ที่กล่าวว่า โซดามินต์ มันไม่ใช่ยาที่ปลอดภัย 100% ควรจะให้แพทย์เป็นผู้ดูแลและเป็นผู้จ่ายยาให้เท่านั้น

 

  • 3. ยืนตากแดดสามารถฆ่าเชื้อได้ 

ประเด็นการตากแดดสามารถฆ่าโควิด-19 นั้นถูกส่งต่อกันในโซเชียลมีเดีย โดยมีรายละเอียดดังนี้ “ยืนตากแดด วันละ 20 นาทีช่วยฆ่าเชื้อ โควิด-19 ได้” 

ทั้งนี้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกมายืนยันอีกรอบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ

กรมควบคุมโรค ยืนยันว่า กรณีชวนเชื่อเคล็ดลับฆ่าเชื้อโควิด-19 โดยระบุว่าให้แสงแดดชโลมทั่วตัววันละ 20 นาทีทุกวัน (หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้) แสงแดดจะไปเสริมภูมิคุ้มกันฆ่าเชื้อโควิด-19 ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการยืนตากแดดนั้นสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ โดยเชื้อไวรัสตระกูลโควิด-19 นั้นสามารถทนทานต่อความร้อนได้ถึง 90 องศา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความร้อนจากแสงแดดนั้น มีความร้อนไม่ถึง 90 องศาแน่นอน

โดยระบุเพิ่มเติมว่ามีข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า พบว่าไวรัสชนิดนี้จะตายเมื่อโดนความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานต่อเนื่อง 30 นาที ซึ่งแสงแดดไม่สามารถทำให้เกิดความร้อนในระดับนี้ได้

อีกทั้งผิวหนังของมนุษย์ก็ไม่สามารถทนทานต่อความร้อนและแสงแดดได้นานเช่นกัน ดังนั้น การตากแดดหรืออาบแดดจึงไม่สามารถรักษาและฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ โดยความร้อนจากแสงแดดนั้น มีไม่ถึง 90 องศาแน่นอน

 

  • 4. ยาจีนเหลียนฮัวชิงเหวินแคปซูลรักษาโควิด-19

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ชี้แจ้งว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถรักษาโควิด-19 ได้ โดยผลิตภัณฑ์นี้ได้รับอนุมัติทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร จาก อย. ว่ามีสรรพคุณ “ช่วยขจัดพิษ ลดไข้ บรรเทาอาการหวัด ได้แก่ ไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย คัดจมูก ไอ น้ำมูก เจ็บคอ” เท่านั้น

 

  • 5. เชื้อแพร่กระจายผ่านอากาศได้ (airborne)

กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา จะแพร่ผ่านละอองเสมหะ (droplets) ไม่ใช่การแพร่กระจายทางอากาศ (airborne) ซึ่งผู้รับเชื้อต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ไอ จาม ในระยะน้อยกว่า 90 ซม. และต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ เข้าทางเยื่อปาก จมูก ตา 

 

  •  6. กลั้นหายใจตรวจการติดเชื้อที่ปอดด้วยตัวเอง  

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เปิดเผยว่า ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ว่าสามารถใช้วิธีดังกล่าวเพื่อตรวจสอบการติดเชื้อที่ปอดด้วยตนเองได้ ซึ่งปกติแล้วการตรวจปอดมีการอักเสบจากการติดเชื้อหรือไม่นั้น จะต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยโรคด้วยการฟังเสียงปอด ร่วมกับการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูว่ามีฝ้าขาวผิดปกติไหม 

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/937134?anf=

เช็คให้ชัวร์วิธี 'ป้องกันโควิด-19' อย่าเชื่อ 6 เรื่องเข้าใจผิด!

คนไทยต้องรู้เท่าทันข่าวปลอม ที่เผยแพร่เกี่ยวกับวิธี "ป้องกันโควิด-19" มีอะไรบ้าง? และหาคำตอบว่าความจริงเป็นอย่างไร?

ยิ่งโรคระบาดใกล้ตัวกับเรามากเท่าไหร่ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ก็ยิ่งไหลบ่าเข้ามามากเท่านั้น และสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คงหนีไม่พ้นข่าวปลอมที่สร้างความสับสนให้แก่ประชาชน เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแบบถูกต้อง กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จึงรวบรวมข่าวปลอมหรือความเชื่อแบบผิดๆ เกี่ยวกับการ "ป้องกันโควิด-19" มาให้รู้เท่าทัน พร้อมเฉลยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นให้ได้เข้าใจอย่างถูกต้อง 

 

  • 1. ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำขิงมากๆ จะช่วยต้านโควิด-19

จากการส่งต่อข้อมูลเรื่องการรับประทานเครื่องดื่มสมุนไพร น้ำขิง และน้ำกระชายผสมน้ำผึ้งมะนาว ซึ่งระบุสรรพคุณว่า น้ำสมุนไพรของตนนั้นช่วยต้านโควิด-19 ช่วยดีท็อกซ์ลำไส้ได้

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ชี้แจ้งว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลรายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ น้ำขิง และน้ำกระชายผสมน้ำผึ้งมะนาว สามารถต้านโควิด-19 ได้ รวมถึงน้ำสมุนไพรดังกล่าวไม่สามารถดีท็อกซ์ลำไส้ได้ ดังนั้น ควรระมัดระวังการสื่อสารสู่สาธารณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ อย่างไรก็ดีสมุนไพรดังกล่าวมีประโยชน์ต่อสุขภาพที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ไอ เจ็บคอได้

  • 2. กินโซดามิ้นท์

ช่วงปี 2563 ประเด็นเรื่องโซดามิ้นท์ ถูกพูดถึงในโลกโซเชียลว่ามีสรรพคุณบรรเทา และรักษาอาการโควิดได้ ทั้งนี้ในเวลาต่อมาก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาให้ความรู้ว่า ความเชื่อนั้นเป็นเรื่องไม่จริง 

โซดามิ้นท์ (SODAMINT) คือยาลดกรดชนิดหนึ่ง ใช้บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย และ ใช้ในคนไข้โรคไต

รศ. ดร. เจษฎา อาจารย์ประจำภาควิชา ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลผ่านเพจเฟซบุ๊ค อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ระบุว่า อันนี้เป็นความเข้าใจผิดๆ ตามความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอาหารด่าง น้ำด่าง ที่ว่าถ้าร่างกายเรามีความเป็นด่าง จะสามารถสู้กับโรคไวรัสได้ ถ้าเป็นกรด ก็ติดเชื้อง่าย จึงให้ไปกินพวกยาที่ทำออกฤทธิ์เป็นด่าง

ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ได้มีประโยชน์แบบที่ว่าเลย  ค่า pH หรือกรดด่างของเลือดในร่างกายเรา มีค่าค่อนข้างคงที่ ที่เป็นด่างอ่อนๆ ซึ่งปรับสมดุลโดยอัตราการหายใจของร่างกาย ไม่ใช่จากอาหารที่กินเข้าไป ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องพยายามเอาด่างเข้าร่างกายเหมือนที่อ้างกัน

เช่นเดียวกับ รศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ที่กล่าวว่า โซดามินต์ มันไม่ใช่ยาที่ปลอดภัย 100% ควรจะให้แพทย์เป็นผู้ดูแลและเป็นผู้จ่ายยาให้เท่านั้น

  • 3. ยืนตากแดดสามารถฆ่าเชื้อได้ 

ประเด็นการตากแดดสามารถฆ่าโควิด-19 นั้นถูกส่งต่อกันในโซเชียลมีเดีย โดยมีรายละเอียดดังนี้ “ยืนตากแดด วันละ 20 นาทีช่วยฆ่าเชื้อ โควิด-19 ได้” 

ทั้งนี้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกมายืนยันอีกรอบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ

กรมควบคุมโรค ยืนยันว่า กรณีชวนเชื่อเคล็ดลับฆ่าเชื้อโควิด-19 โดยระบุว่าให้แสงแดดชโลมทั่วตัววันละ 20 นาทีทุกวัน (หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้) แสงแดดจะไปเสริมภูมิคุ้มกันฆ่าเชื้อโควิด-19 ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการยืนตากแดดนั้นสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ โดยเชื้อไวรัสตระกูลโควิด-19 นั้นสามารถทนทานต่อความร้อนได้ถึง 90 องศา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความร้อนจากแสงแดดนั้น มีความร้อนไม่ถึง 90 องศาแน่นอน

โดยระบุเพิ่มเติมว่ามีข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า พบว่าไวรัสชนิดนี้จะตายเมื่อโดนความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานต่อเนื่อง 30 นาที ซึ่งแสงแดดไม่สามารถทำให้เกิดความร้อนในระดับนี้ได้

อีกทั้งผิวหนังของมนุษย์ก็ไม่สามารถทนทานต่อความร้อนและแสงแดดได้นานเช่นกัน ดังนั้น การตากแดดหรืออาบแดดจึงไม่สามารถรักษาและฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ โดยความร้อนจากแสงแดดนั้น มีไม่ถึง 90 องศาแน่นอน

  • 4. ยาจีนเหลียนฮัวชิงเหวินแคปซูลรักษาโควิด-19

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ชี้แจ้งว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถรักษาโควิด-19 ได้ โดยผลิตภัณฑ์นี้ได้รับอนุมัติทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร จาก อย. ว่ามีสรรพคุณ “ช่วยขจัดพิษ ลดไข้ บรรเทาอาการหวัด ได้แก่ ไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย คัดจมูก ไอ น้ำมูก เจ็บคอ” เท่านั้น

  • 5. เชื้อแพร่กระจายผ่านอากาศได้ (airborne)

กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา จะแพร่ผ่านละอองเสมหะ (droplets) ไม่ใช่การแพร่กระจายทางอากาศ (airborne) ซึ่งผู้รับเชื้อต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ไอ จาม ในระยะน้อยกว่า 90 ซม. และต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ เข้าทางเยื่อปาก จมูก ตา 

  •  6. กลั้นหายใจตรวจการติดเชื้อที่ปอดด้วยตัวเอง  

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เปิดเผยว่า ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ว่าสามารถใช้วิธีดังกล่าวเพื่อตรวจสอบการติดเชื้อที่ปอดด้วยตนเองได้ ซึ่งปกติแล้วการตรวจปอดมีการอักเสบจากการติดเชื้อหรือไม่นั้น จะต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยโรคด้วยการฟังเสียงปอด ร่วมกับการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูว่ามีฝ้าขาวผิดปกติไหม 

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/937134?anf=

 

เชื่อว่าคงไม่เกินสิ้นเดือน ก.ย.จุดสีแดงจะเต็มประเทศเมียนมาร์แน่

ระบบสาธารณสุขของเขา รับมือไม่ไหวแล้ว มันจะลุกลามเข้าบ้านเราอย่าวหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องช่วยกันตั้งรับให้ดี

 

 

 

 

โคเปนเฮเกน (ซินหัว) – แถลงการณ์จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Rigshospitalet) หนึ่งในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุดของเดนมาร์ก เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 เผยว่าการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) แบบสูดดมรูปแบบใหม่ ได้รับการอนุมัติให้ทดลองทางคลินิกในมนุษย์แล้ว

 

การรักษาดังกล่าวพัฒนาโดยคณะนักวิจัยชาวเดนมาร์ก มีพื้นฐานมาจากแนวคิดของโธมัส บยานชอลต์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิกของโรงพยาบาลฯ

บยานชอลต์แถลงข่าวว่าการรักษาข้างต้นคือ “การสูดดมสารละลายกรดอ่อนที่เข้าไปช่วยระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อในทางเดินหายใจอันมีต้นตอจากแบคทีเรียหรือไวรัส” โดยในขั้นต้นจะมุ่งรักษากลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และหวังว่าจะสามารถ “พลิกโฉมการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจประเภทอื่นด้วย”

“มันน่าจะสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อประเภทอื่นได้ด้วย เช่น ปอดบวม ไข้หวัดใหญ่ และวัณโรค ซึ่งทั้งสามล้วนเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้คนนับล้านทั่วโลกทุกปี” บยานชอลต์กล่าว

สิทธิบัตรเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษานี้ถือครองโดยซอฟต์อ็อกซ์ โซลูชันส์ (SoftOx Solutions) บริษัทนอร์เวย์ ซึ่งร่วมมือในการวิจัยดังกล่าวหลังจากเคยรับหน้าที่เป็นผู้จัดสรรสารละลายทนต่อกรดสำหรับรักษาบาดแผลในการศึกษาก่อนหน้า

บยานชอลต์ระบุว่า “แนวคิดการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 แบบสูดดมนี้มาจากการวิจัยความสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อในบาดแผลของสารละลายกรดก่อนหน้านี้ของเรา มันคือแนวคิดเดียวกันที่ผ่านการขัดเกลาและปรับเปลี่ยนเป็นการรักษาด้วยวิธีสูดดมสำหรับต่อสู้กับการติดเชื้อในทางเดินหายใจ”

ทั้งนี้ สถาบันเซรุ่มแห่งเดนมาร์ก (SSI) รายงานการตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพิ่ม 564 ราย และผู้ป่วยเสียชีวิต 3 ราย ในช่วง 24 ชั่วโมง ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 364,464 ราย และผู้ป่วยเสียชีวิต 2,671 ราย โดยปัจจุบันเดนมาร์กมีประชากรได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 หนึ่งโดส จำนวน 4,462,629 คน หรือร้อยละ 76.1 และสัดส่วนผู้รับวัคซีนครบโดสอยู่ที่ร้อยละ 74.8

ที่มา: สำนักข่าวซินหัว

ข้อมูลจาก https://www.thereporters.co/covid-19/121020212238/

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ