ประชากรไทยมี     66 ล้านคน

อายุขัยเฉลี่ย            75 ปี 1 เดือน

ประชากรญี่ปุ่นอายุขัยเฉลี่ย   83.8 ปี

ประชากรในประเทศออสเตรเลียอายุขัยเฉลี่ย       82.4 ปี

ประชากรในประเทศไต้หวันอายุขัยเฉลี่ย             79.7 ปี

ประชากรในประเทศสิงคโปร์อายุขัยเฉลี่ย           82.7 ปี

อาเจกมาขอเตือนเรื่อง COVID นะครับ อาเจกยังเห็น ผปค หลายท่านออกไปเที่ยวกันอยู่ ที่บ้านพ่ออาเจกติดกันหมดแล้ว ชอบออกไปเที่ยวข้างนอก อยู่บ้านกันไม่เป็น เวลาไปเที่ยว มันต้องเข้าห้องน้ำ กินข้าวก็ต้องเปิดจมูกออก อาเจกเตือนก็แล้ว นี่ต้องว่ากันหมด สรุปติดกันหมด พ่อ แม่ พี่ พี่สะใภ้ หลาน คนใช้ที่บ้านติดกันหมด ทุกคนมีอาการปวดตัว ไข้ขึ้น อาเจียน มีนหัว หมดแรง กินข้าวไม่ลง พ่ออายุมากแล้ว มันลงปอดเร็วมาก เดินๆ อยู่ ล้มเลย ไปตรวจศิริราช เขาบอกว่าพ่ออาการหนักสุดเลย โรคประจำตัวก็เยอะอยู่แล้ว ทุก case เขาไม่รับ admit ที่ศิริราช เตียงเต็มหมดแล้ว อาเจกเลยขอให้ศิริราชหา รพ เอกชนให้ สรุปมันเต็มไปหมดแล้ว หายากมาก สุดท้ายไปได้ MED PARK แพงมาก เขาขอเก็บก่อนเลย 6 แสน เก็บก่อนด้วย พ่ออาเจกถึงได้ย้ายไปได้ วันนี้แม่อาเจกจะย้ายไปอีก ส่วนพี่ๆ คนอืีนๆ ต้องกระจายไปตาม รพ สนาม อาการยังไม่หนักมาก เวลามันติด มันไม่ไ่ด้ติดคนเดียว มันติดคนอื่นๆ ด้วย พ่อ แม่ ลูกของเรา คนในครอบครัว ไปกันหมดเลย อาเจกเตือนแล้วนะครับ อยู่บ้านเถอะครับ ผู้ใหญ่อย่างเรา เหลือกันไม่กี่ปีก็ตายกันแล้ว แต่อนาคตเด็กๆ ยังอีกไกลครับ อาเจกฝากไว้นะครับ
FB: Kanomkeng Kingngern

อิตาลีวิจัยพบ ยาขับปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อไวรัส มีแนวโน้มพัฒนาช่วยรักษาโรคโควิด-19

 

นักวิจัยอิตาลี พบ ยาขับปัสสาวะ สามารถยับยั้งเชื้อไวรัส มีแนวโน้มพัฒนาช่วยรักษาโรคโควิด-19

 

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบารีของอิตาลี เปิดเผยผลการศึกษที่ค้นพบว่า ส่วนประกอบของ ยาขับปัสสาวะ ซึ่งถูกใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มช่วยรักษาอาการของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ได้

การศึกษาดังกล่าวซึ่งเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการเอ็มดีพีไอ (Multidisciplinary Digital Publishing Institute) เมื่อสัปดาห์ก่อน ระบุว่า กรดเอธาครีนิก ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของยาขับปัสสาวะบางตัว สามารถใช้เป็นตัวยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ

วารสารทางวิชาการเอ็มดีพีไอ ระบุว่า แม้เป็นการศึกษาขั้นต้น แต่ข้อมูลนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนากลยุทธ์การรักษาโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ

อนึ่ง ยาขับปัสสาวะมักใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยการลดปริมาณโซเดียมในกระแสเลือดของผู้ป่วย

เมื่อวันพุธที่ 20 มกราคม 2564 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบารี เผยว่า ประสิทธิภาพของ ยาขับปัสสาวะ ถูกค้นพบระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ยาที่มีอยู่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า “นำยาเก่ามาใช้ประโยชน์ในทางใหม่” (drug repurposing)

ทั้งนี้ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ระบุว่า ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กำลังถูกพัฒนาอยู่ 237 ตัวทั่วโลก โดยวัคซีน 64 ตัว อยู่ในขั้นตอนการทดลองทางคลินิกในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงเยอรมนี จีน รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ

ทว่าเหล่าผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุข ระบุว่า ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ยาชนิดอื่นๆ รักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ก่อนที่จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันอย่างเต็มรูปแบบ

ยาขับปัสสาวะ, โควิด-19, ข่าว, ข่าววันนี้, คมชัดลึก

 

(แฟ้มภาพซินหัว : เจ้าหน้าทีทางการแพทย์เตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่โรงพยาบาลซาน ฟิลิปฏป เนรี ในกรุงโรม เมืองหลวงของอิตาลี วันที่ 28 ธ.ค. 2020)

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/foreign/455935?adz=

 

อินเดียมีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับ 2 ของโลกและคาดว่าจะทะลุ 4 ล้านคนในวันสองวันนี้

ตอนนี้คนอินเดียเริ่มอพยพและกำลังหนีตายจากโควิดข้ามชายแดนมายังบังกลาเทศ คนอินเดีย คนบังกลาเทศ ก็เดินเท้าต่อเข้ามาพม่า

และจากประเทศพม่าก็เดินเท้าต่อข้ามชายแดนเพื่อหนีตายเข้ามาในประเทศไทยให้ได้

ตอนนี้ยากมากกับการจะปกป้องชายแดนที่มีพื้นที่รอยต่อทางธรรมชาติมากมายมหาศาล

ดังนั้นหากมีหลุดเข้ามาคงยากที่จะไปโทษทหารตามชายแดน


.
มีการคาดการณ์กันว่าการเดินเท้าจากประเทศอินเดียมาประเทศไทยใช้เวลาประมาณ 30 - 45 วัน

เดินเท้าจากประเทศบังกลาเทศ ใช้เวลาประมาณ 15 - 20 วัน และจากประเทศพม่ามายังชายแดนของประเทศไทย ใช้เวลาประมาณ 7 - 15 วัน
.
ดังนั้นในช่วง 7 วันจากนี้ เรากำลังจะได้เห็นผู้อพยพจำนวนมากเคลื่อนตัวมายังชายแดน

เราอาจจะได้เห็นสงครามตรงตะเข็บชายแดน ดังนั้นการปกป้องประเทศเราก็เลยมีการยกระดับถึงขั้นสูงสุด

คนในประเทศเพื่อนบ้านของเรา เขาอยู่ในประเทศที่ระบบสาธารณสุขไม่ดี เขาก็เลยจำเป็นต้องหนีตาย

หนีทั้งโรคโควิดและหนีความอดตายเพื่อจะเข้ามาอาศัยในประเทศเรา

แน่นอนคนในประเทศเราส่วนใหญ่คงไม่เห็นด้วยกับการเปิดรับเข้ามาอย่างแน่นอน


.
ความย้อนแย้งระหว่างคุณธรรม มนุษยธรรม และการเอาตัวรอดเกิดขึ้นแล้วบนโลกใบนี้
.
ทัพแขก ทัพบัง ทัพพม่า จะตีแตกแหกด่านเข้ามาได้ในวันไหนไม่มีใครรู้ ไม่มีใครทราบ แต่ที่แน่ ๆ คือเราต้องปกป้อง

ป้องกันตนเอง ครอบครัว และคนที่เรารัก การ์ดอย่าตกกันนะครับทุกท่าน สวมหน้ากากป้องกันด้วย ยิ่งในที่แออัด และมีคนไม่รู้จักจำนวนมากมหาศาล
.
เป็นกำลังใจ และขอให้ทหารกล้าที่ปกป้องชายแดนอยู่ในตอนนี้ อย่าได้หมดแรง หมดกำลังใจ ขอให้เข้มแข็งรักษา

ตึงกำลังควบคุมสถานการณ์ชายแดนให้ผ่านไปได้ด้วยดี ผมกำลังจะรวบรวมข้าวของ เครื่องใช้ที่จำเป็นจากพี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อส่งไปสมทบเร็ว ๆ นี้นะครับ

 

 

 
เจออีก "สมองเสื่อมถอย" อาการหลังติดโควิด 1-6 เดือน ความจำสั้น มึน ไม่จดจ่อ
 

เจอไม่จบ สธ. พบอาการ "สมองเสื่อมถอย" หลังติดเชื้อโควิด 1-6 เดือน ทั้งความจำสั้น ตื้อ มึนงง ไม่จดจ่อ ส่งผลเสียระยะยาว

"สมองเสื่อมถอย" เจออีกอาการใหม่หลังติดโควิด-19 โดย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยบางราย ได้รับผลกระทบหลังติดเชื้อโควิด คือ "อาการสมองเสื่อมถอย" มักพบในช่วง 1-6 เดือน หลังจากติดเชื้อโควิด ซึ่งเป็นภาวะที่สมรรถภาพการทำงานของสมองถดถอย ส่วนมากในด้านสมาธิ ทักษะในการตัดสินใจ การวางแผน และความจำระยะสั้น โดยจะมีอาการรู้สึกสมองล้า (brain fog) รู้สึกตื้อ มึน ไม่สามารถจดจ่อ
อยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ ส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน หรือการเข้าสังคม ทำให้ส่งผลเสียในระยะยาวได้

ด้าน นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากผู้ป่วยมีโรคทางระบบประสาทและสมองอยู่เดิม เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมหลายอย่าง เมื่อเกิดการติดเชื้อโควิด-19 แบบเฉียบพลันและมีอาการรุนแรง จะทำให้มีภาวะขาดออกซิเจน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวล มีอาการทางระบบประสาทและสมองเสื่อมถอย

อย่างไรก็ดี อาการสามารถดีขึ้นเองได้เมื่อเวลาผ่านไป การดูแลตนเองอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารดีและมีประโยชน์ โดยเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นสมอง ฝึกการคิดวิเคราะห์ ฝึกสมาธิ หรืองานอดิเรกที่สร้างความผ่อนคลาย จะช่วยให้สมองและระบบประสาทฟื้นตัวและกลับมาเป็นปกติได้เร็วและดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม อาการที่เกิดขึ้นเข้าข่ายภาวะ Long COVID ซึ่งเป็นภาวะ หรืออาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ไปจนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป อาการที่พบมีหลากหลายและแตกต่างกัน อาการที่พบบ่อยที่สุด มีตั้งแต่ไม่รุนแรงจนถึงทำให้ร่างกายทรุดโทรม และมีผลระยะยาวตั้งแต่หลายสัปดาห์ จนถึงหลายเดือน หลังหายจากโควิด-19 โดยอาการที่พบมากที่สุด คือ 

  • เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • สมาธิสั้น
  • ผมร่วง
  • หายใจลำบาก
  • หายใจไม่อิ่ม
  • การรับรสชาติและการรับกลิ่นเปลี่ยนไป
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจถี่
  • ปวดตามข้อ
  • ไอ
  • ท้องร่วง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีภาวะสมองล้า
  • นอนไม่หลับ
  • ความดันโลหิตสูง
  • วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง  (Post-Traumatic Stress Disorder)

ทั้งนี้ สามารถพบอาการของ Long COVID ในผู้ป่วยนอก 35 % และผู้ป่วยใน  87% โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจยาวนานถึง 3 เดือนขึ้นไป

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/503840?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ