22 พ.ย. 2564 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด-19 วัคซีน วัคซีนเชื้อเป็นแบบพ่นจมูก บทเรียนจากไข้หวัดใหญ่

ในการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ประเทศไทยก็เตรียมพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อเป็น เชื้อจะไวต่ออุณหภูมิที่สูง เมื่อพ่นเข้าจมูก จะติดเชื้ออยู่ในโพรงจมูกเท่านั้นไม่สามารถลงไปในปอดได้ เพราะจะทนอุณหภูมิของร่างกายที่ 37 องศาในร่างกายไม่ได้ เชื้อจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานต่อไข้หวัดใหญ่ ได้เป็นอย่างดี เหมือนกับติดเชื้อในธรรมชาติ

ในปีนั้น ประเทศไทย รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศรัสเซีย และพยายามจะนำมาพัฒนา ไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อเป็น สายพันธุ์เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ยังจำได้ดี และก็ไม่ไปถึงไหน เพราะถึงทำขึ้นมา ก็ไม่ตอบสนองวัตถุประสงค์ในการป้องกันการป่วยตาย องค์การเภสัชกรรมเปลี่ยนมาเป็นเชื้อตายทีหลัง และที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในไทยก็เป็นเชื้อตายทั้งสิ้น

ในขณะเดียวกัน ก็มีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ที่ใช้พ่นจมูก ในอเมริกา และทางตะวันตก มีชื่อว่า FluMist ของบริษัท MedImmune เป็นเชื้อเป็น ใช้สเปรย์ใส่จมูก ไวรัสนี้จะไม่ทนความร้อน ไม่สามารถลงปอดได้

เนื่องจากเป็นเชื้อเป็น จึงไม่สามารถให้ในผู้มีภูมิต้านทานอ่อนแอ เช่นเด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี ผู้ที่กินยากดภูมิต้านทาน ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง คนท้อง ผู้ที่กินยาอักเสบ aspirin เพราะว่าจะเกิด Reye syndrome โดยสรุปก็คือกลุ่มเสี่ยงที่เป็นไข้หวัดใหญ่ แล้วจะได้รับอันตรายเป็นปอดบวมถึงชีวิต ไม่สามารถให้ได้ ให้ได้เฉพาะคนแข็งแรง ที่เป็นโรคแล้วไม่รุนแรง ในทางปฏิบัติจริง การใช้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เราจะเน้นป้องกันกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ที่เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วจะเกิดอันตรายถึงชีวิต ถ้าวัคซีนใช้ได้เฉพาะคนที่แข็งแรงโดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่น จึงสวนทางกับความเป็นจริง ในจุดมุ่งหมายการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ที่ต้องการลดการป่วยตาย

ทำนองเดียวกันการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ถ้าไวรัสยังมีชีวิตอยู่ ข้อบ่งชี้ต่างๆ ก็คงจะต้องคล้ายกัน โดยเฉพาะในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เพราะกลัวว่าไวรัสนี้จะแพร่กระจาย ทำให้เป็นข้อห้าม ในผู้มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เด็กเล็ก ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคโควิด วัคซีนพ่นจมูกใช้ได้เฉพาะบุคคลที่แข็งแรง เหมือนวัคซีนพ่นจมูกไข้หวัดใหญ่ จะไม่เกิดประโยชน์เลย เพราะบุคคลดังกล่าวเหล่านั้น ติดเชื้อเป็น covid-19 ก็ไม่รุนแรง โอกาสนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตน้อยมาก

จุดอ่อนของวัคซีนพ่นจมูกของไข้หวัดใหญ่ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงไม่มีการนำมาใช้ในประเทศไทย ทั้งที่การใช้สะดวกมาก.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/30211/

 

รัฐบาลฝรั่งเศสเปิดเผยว่า คลื่นการระบาดของโควิด-19 ลูกที่ 5 ของประเทศกำลังทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าตกใจ โดยยอดเฉลี่ยผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งเกินวันละ 17,000 รายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

รายงานเอเอฟพีอ้างข้อมูลของหน่วยงานด้านสาธารณสุขของฝรั่งเศสเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ว่าจำนวนเฉลี่ยการติดเชื้อรายใหม่ในรอบ 7 วันของฝรั่งเศส อยู่ที่ 17,153 คนเมื่อวันเสาร์ เพิ่มขึ้นจากยอดเฉลี่ยวันละ 9,458 คนเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ หรือเพิ่มขึ้นถึง 81%

กาเบรียล อัตตาล โฆษกรัฐบาลฝรั่งเศส กล่าวว่า คลื่นลูกที่ 5 เริ่มต้นด้วยความเร็วปานสายฟ้า

จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในช่วง 7 วันล่าสุด มากกว่าอัตราเฉลี่ยของ 3 สัปดาห์ก่อนหน้านั้นถึง 3 เท่า บ่งชี้ว่าการติดเชื้อเพิ่มเร็วขึ้นเป็นทวีคูณ แต่ถึงขณะนี้การติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นยังไม่ก่อภาวะที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นขนานใหญ่ โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่า น่าจะเป็นปัจจัยจากอัตราการฉีดวัคซีนของประเทศอยู่ในระดับสูง ที่ป้องกันโควิดในรูปแบบอันตรายที่สุดได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก

เมื่อวันเสาร์ โรงพยาบาลรายงานว่า มีผู้ป่วยโควิดรักษาอยู่ 7,974 ราย ในจำนวนนี้ 1,333 รายอยู่ในแผนกผู้ป่วยหนัก เพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับของ 1 เดือนก่อนหน้านั้น ที่มีผู้ป่วย 6,500 ราย และป่วยหนัก 1,000 ราย

ทางการฝรั่งเศสเริ่มใช้บัตรผ่านสุขภาพก่อนประเทศอื่นๆ ตั้งแต่ฤดูร้อนที่ผ่านมา สำหรับการใช้บริการภัตตาคาร ร้านกาแฟ และสถานที่ด้านวัฒนธรรมหลายแห่ง ซึ่งโฆษกรัฐบาลกล่าวว่าช่วยในการควบคุมไวรัสได้

บัตรผ่านนี้ออกให้กับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว, ผู้ที่เพิ่งหายจากโควิด หรือผู้ที่ผลตรวจไวรัสเป็นลบ อัตตาลกล่าวด้วยว่า รัฐบาลฝรั่งเศสยังคงยืนหยัดทางเลือกนี้ เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนต้องแบกรับข้อจำกัดเหล่านี้ แทนที่จะเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว

ถึงขณะนี้ ฝรั่งเศสมีผู้ติดเชื้อโควิดสะสมมากกว่า 7.3 ล้านคน เสียชีวิตเกิน 118,000 คน.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/abroad-news/30085/

 

21 พ.ย.2564-ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง ”Golden Window Period” ระบุว่า ช่วงเวลานี้ที่เรามีวัคซีนมากพอ การระบาดพอคุมได้ จึงเป็นหน้าต่างทองของช่วงเวลาที่สำคัญในการที่จะเร่งระดมฉีดวัคซีน ทั้งที่เป็นเข็มที่สามในคนที่ได้วัคซีนมาครบและถึงเวลาที่ควรมีการกระตุ้น และเป็นเข็มที่หนึ่งและสองในคนที่ยังไม่เคยได้เลย!!!  ทั้งสองกลุ่มมีความสำคัญพอๆกัน ที่ผู้เกี่ยวข้องวางแผนควรเห็นความจำเป็นและให้ความสำคัญที่เท่าๆกัน และที่สำคัญคือควรให้ความสำคัญในกลุ่มเด็กอายุน้อยๆ ทุกช่วงอายุด้วย……(อย่าทำให้เด็กๆและพ่อแม่เด็กๆต้องเครียดไปกว่านี้ เด็กไม่ได้ไปโรงเรียนกันเป็นปีแล้ว)

 “ที่ต้องรีบฉีดช่วงเวลานี้เพราะประเทศอื่นๆทั่วโลก ได้มีการระบาดเวฟที่สี่ และเริ่มเวฟที่ห้า กันอย่างรุนแรง ไม่มีเหตุผลที่ประเทศเราจะรอดไปได้ แต่…. อาจทำให้เบาลงได้ ด้วยการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง ทั้งในคนที่ไม่เคยได้รับเลย ในคนที่ถึงเวลาควรได้รับการกระตุ้น และในทุกช่วงอายุครับ วัคซีนมีพอแล้วรีบกระจายให้ดี   ในต่างจังหวัดยังได้กันอยู่น้อย อย่าช้า อย่านอนใจ และอย่าประมาท และอย่าลืมเด็กๆ ครับ”

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/30028/

 
วิธีลงทะเบียนครบจบ "สินเชื่ออิ่มใจ" ออมสิน กู้ได้ 1 แสนไม่ต้องมีหลักประกัน
 
เงื่อนไข ขั้นตอนลงทะเบียน "สินเชื่ออิ่มใจ" ธนาคารออมสิน ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กู้ได้สูงสุดรายละ 1 แสนบาท ไม่ต้องมีหลักประกัน

เช็คเงื่อนไข ขั้นตอนลงทะเบียน "สินเชื่ออิ่มใจ" ธนาคารออมสิน ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กู้ได้สูงสุดรายละ 1 แสนบาท สามารถลงทะเบียนทาง เว็บไซต์ ธนาคารออมสิน (คลิกที่นี่) ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2564 หรือจนกว่าจะครบจำนวนวงเงินโครงการ

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/972989

 

หมอยงโพสต์ถึงความจำเป็นของ การฉีด "วัคซีนเข็ม 3" หลังจากหลายประเทศมีการกลับมาระบาดของโควิด-19 อีกครั้ง ย้ำกระตุ้นเข็ม 3 กระตุ้นภูมิอยู่นานตามหลักของวัคซีน

นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว Yong Pooworawan ถึงความจำเป็นในการฉีดวัคซีนโควิด-19 กระตุ้นเข็ม 3 ว่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกดังแสดงในรูป จะเห็นว่าการระบาดของโรคcovid-19 ในขณะนี้มีการระบาดอย่างมากในทวีปยุโรป และรองลงมาคืออเมริกา ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ได้รับวัคซีนในอัตราที่ค่อนข้างสูง และวัคซีนที่ใช้จะอยู่ในกลุ่ม mRNA และ virus vector

 

หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน

หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน
ในทวีปยุโรปจำนวนผู้ป่วย  ขณะนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่รายงานทั้งโลก แสดงให้เห็นว่าหลังฉีดวัคซีนมายาวนานถึง 6 เดือนหรือกว่านั้น ก็ยังมีการระบาดของโรคเป็นจำนวนมาก 

หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน

หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน

จากข้อมูลดังกล่าวทำให้หลายประเทศได้ตระหนักถึง การลดลงของภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนที่ผ่านมา และความจำเป็นของการกระตุ้นเข็มที่ 3 มีหลายประเทศเริ่มมีการให้เข็มที่ 3 กันมากขึ้นเพื่อลดการระบาดของโรคลง

สำหรับประเทศไทย ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในสิ้นเดือนนี้การฉีดวัคซีนทั้งประเทศ น่าจะได้ครบหรือใกล้เคียง 100  ล้านโดส และภายในสิ้นปีนี้ประชากรไทยได้ครบ 2 เข็ม อย่างน้อยไม่น้อยกว่า 70% และถ้าได้มากกว่า 80% ก็ยิ่งดี  สิ่งที่จะต้องคำนึงต่อไปคือการให้เข็มที่ 3  เพื่อกระตุ้นให้ภูมิต้านทานขึ้นสูงและอยู่นาน ตามหลักการของการให้วัคซีน เช่นการให้วัคซีนในเด็กจำเป็นจะต้องมีเข็มกระตุ้นเสมอ เพื่อจะได้ให้ภูมิขึ้นสูงและคงอยู่นาน 
หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน

หมอยง ย้ำ "วัคซีนเข็ม3" จำเป็น กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่นานตามหลักวัคซีน

และต้องตระหนักว่าถึงฉีดวัคซีนครบ 2 หรือ 3 เข็มก็ตาม วัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ลดการเกิดโรค ความรุนแรงของโรคได้ ลดการเสียชีวิต เราคงยังต้องปฏิบัติตัวในวิถีชีวิตใหม่ต่อไป

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/493439?adz=

 

 

การระบาดของโควิด-19 เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ไม่เพียงส่งผลกระทบในด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ยังสร้างความเสียหายให้กับสังคมและเศรษฐกิจด้วย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อเข้าสู่กระบวนการควบคุมการแพร่ระบาด หลายมาตรการกระทบต่อการจ้างงาน รายได้ ความมั่นคงทางอาหาร กลไกการรับมือ การศึกษา ไปจนถึงสุขภาพ

ทั้งนี้ ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้ร่วมกับ UNICEF Thailand และ Gallup Poll ทำการสำรวจครัวเรือนและความยากจนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

โดยเป็นการสำรวจทางโทรศัพท์อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.-15 มิ.ย.2564 จากประชาชนที่มีอายุเกิน 18 ปี จำนวน 2,000 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 50% ได้รับผลกระทบด้านการงาน บางคนต้องออกจากงาน หยุดงานชั่วคราว ถูกลดชั่วโมงทำงาน หรือได้รับค่าตอบแทนที่น้อยลง และครัวเรือนที่ให้สัมภาษณ์กว่า 70% มีรายได้ลดลงตั้งแต่เดือน มี.ค.2563 ขณะเดียวกันการทำเกษตรกรรมและประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่เกษตรกรรมได้รับผลกระทบอย่างมากจากรายได้ที่ลดลง ประมาณ 50% มีรายได้ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง

ส่วนประเด็นด้านการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจประมาณ 57% บ่งชี้ว่าเด็กในครัวเรือนประสบปัญหาด้านการเรียน เด็กในพื้นที่ชนบทและครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ มีแนวโน้มว่าจะมีอุปสรรคด้านการเข้าถึงอุปกรณ์ในการเรียนสูงกว่า ขณะที่ด้านสุขภาพ พบอีกว่า ครัวเรือนประมาณ 1 ใน 3 ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ไม่สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ เนื่องจากกังวลเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 และ ณ เวลาที่ได้ทำการสำรวจนี้ ระบุว่า ความกังวลเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ประชาชนลังเลไม่กล้าฉีดวัคซีน โดยกลุ่มที่มีการศึกษาไม่สูง มีรายได้ต่ำ และกลุ่มเยาวชนกว่า 36% ไม่มีแผนจะเข้ารับการฉีดวัคซีน

ส่วนในด้านความคุ้มครองทางสังคมนั้น พบว่า ครัวเรือนกว่า 80% ได้รับประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือในสภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลที่เริ่มในปี 2563 โดยคิดเป็นสัดส่วนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ และผู้ที่มีรายได้ปรับลดลงอย่างรุนแรงประมาณ 90% ขณะที่สัดส่วนผู้ขอรับประโยชน์จากสวัสดิการสังคมในปี 2563 เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปี 2562

โดยพบว่า การดำเนินมาตรการภาครัฐที่ผ่านมาช่วยลดผลกระทบได้มาก เพราะสามารถครอบคลุมและเข้าถึงกลุ่มเปราะบางได้ถึง 80% ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของคนยากจนเพิ่มขึ้นในระดับต่ำ จาก 6.2% ในปี 2562 เป็น 6.4% ในปีที่ผ่านมา แต่!! หากไม่มีการดำเนินมาตรการภาครัฐก็มีโอกาสที่คนยากจนในประเทศไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 7.4%

ขณะที่ กระทรวงการคลังระบุว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้งบประมาณในการเยียวยาประชาชนจากผลกระทบของโควิด-19 ไปเกือบ 1 ล้านล้านบาทแล้ว โดยมีประชาชนที่อยู่ในระบบสวัสดิการราว 44 ล้านคน ส่วนทิศทางการดำเนินการในระยะต่อไปจะมีการจัดสวัสดิการให้กลุ่มคนเปราะบาง การนำ Big Data มาใช้ในการออกแบบนโยบายให้เหมาะสมกับกลุ่มคนและพื้นที่ การเชื่อมข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ การลดบทบาทการเยียวยา แต่เพิ่มบทบาทการฟื้นฟูและกระตุ้นการบริโภค ภายใต้การดำเนินการตามกรอบวินัยทางการคลัง

ขณะที่ ภาคเอกชนอย่างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มองว่า ระบบสวัสดิการไม่ใช่เรื่องการสงเคราะห์ แต่เป็นระบบที่จะช่วยการพัฒนาประเทศโดยใช้คนเป็นศูนย์กลาง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนการใช้งบประมาณให้เหมาะสมกับภารกิจ โดยลดการใช้จ่ายด้านเศรษฐกิจ แล้วเพิ่มด้านสังคม นำไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ใช่นำไปลงทุนผลิตสินค้าเพื่อแข่งขันกับภาคเอกชน

ต้องยอมรับว่า “สถานการณ์การระบาดของโควิด-19” ส่งผลกระทบกับรายได้ของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยที่ผ่านมาเวิลด์แบงก์ได้เคยทำการประเมินว่า นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้ในปี 2563 คนไทยยากจนเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 ล้านคน ขณะที่ปีนี้คาดว่าจะมีคนไทยที่มีความยากจนเพิ่มขึ้นอีก 1.7 แสนคน การเร่งแก้ปัญหาในทุกมิติจากทุกภาคส่วนจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะด้านสวัสดิการทางสังคมอย่างเพียงพอกับความต้องการ ตรงจุด ตรงเป้าหมาย รวมถึงการเร่งเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการศึกษา ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มช่องทางในการมีงานทำ การเข้าถึงสินเชื่อในระบบและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ นอกจากจะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่อยู่คู่ประเทศไทยมาอย่างยาวนานแล้ว ยังอาจจะเป็นการช่วยพัฒนาประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย.

ครองขวัญ รอดหมวน

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/columnist-people/25319/

 

 
"จีน" เปิดตัววัคซีนโควิด-19 แบบ "สูดเข้าปอด" ครั้งแรกของโลก
 
จีนเปิดตัววัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดสูดเข้าปอดครั้งแรกของโลกในงานเอ็กซ์โปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านสุขภาพที่มณฑลเหอหนานเมื่อวันศุกร์ (12 พ.ย.) โดยวัคซีนแบบสูดเข้าปอดใช้ปริมาณวัคซีนเพียง 1 ใน 5 ของวัคซีนแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดสูดเข้าปอดตัวแรกของโลกถูกจัดแสดงในงานแสดงสินค้า ไห่หนาน อินเตอร์แนชนัล เฮลพ์ อินดัสทรี เอ็กซ์โป ครั้งที่ 5 ในเมืองไหโข่วเมื่อวันที่ 12 พ.ย. โดยวัคซีนตัวนี้ได้รับการพัฒนาโดยทีมของเฉิน เว่ย ผู้เชี่ยวชาญโรคติดต่อของกองทัพ กับ บริษัทแคนซิโน ไบโอโลจิกส์ และเป็นวัคซีนแบบสูดเข้าปอดผ่านทางปาก

จากการวิจัยพบว่า วัคซีนแบบสูดเข้าปอดที่ใช้ปริมาณวัคซีนเพียง 1 ใน 5 ของวัคซีนแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันแบบเซลล์เหมือนกับชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และเนื่องจากวัคซีนเข้าสู่ปากไปยังระบบบทางเดินหายใจและปอดทำให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันในเยื่อบุทางเดินหายใจแบบที่วัคซีนแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อไม่สามารถสร้างขึ้นได้

นอกจากนี้ เมื่อใช้วัคซีนแบบสูดเข้าปอดเป็นวัคซีนกระตุ้นหลังการฉีดวัคซีนแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันแบบลบล้างฤทธิ์ของเชื้อโรค
คณะนักวิจัยจากสถาบันเวชภัณฑ์ทหาร และโรงพยาบาลจงหนานแห่ง

มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ร่วมกันทดสอบทางคลินิคของวัคซีนต้านโควิด-19 ชนิดสูดเข้าปอดมาตั้งแต่เดือนก.ย. 2563 ขณะนี้การทดสอบทางคลินิคในขั้นที่ 2 ได้ผลลัพธ์เบื้องต้นแล้ว และบริษัทแคนซิโนได้ยื่นคำร้องขอการอนุมัติเพื่อใช้วัคซีนเป็นกรณีฉุกเฉิน

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/971754?anf=

เปิดประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง "วัคซีน Johnson & Johnson" ที่ไทยไม่มี แต่ได้ฉีด
 

กรณีพบผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์ข้อความลงในสื่อโซเชียลมีเดีย ระบุว่า ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19  "Johnson & Johnson" จากคลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในพื้นที่ จ.สระแก้ว โดยพบว่า มีการนำมาจากกัมพูชา ประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีการใช้วัคซีน "Johnson & Johnson" ถึงแม้ว่าเป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รายที่ 3 ของประเทศไทยแล้วก็ตาม "คมชัดลึกออนไลน์" จะพาไปทำความรู้จักกับวัคซีน "Johnson & Johnson" เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอนาคต

วัคซีน "Johnson & Johnson" เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine) โดยนักวิจัยจะตัดต่อสารพันธุกรรมบางส่วนของเชื้อโควิด-19 มาใส่ในไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธ์ุ 26 (Human adenovirus type 26) ซึ่งเป็นไวรัสพาหะที่ถูกดัดแปลงให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ หรืออ่อนกำลังลงจนไม่ทำให้เกิดโรค แล้วนำมาฉีด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา

 

นอกจากวัคซีน "Johnson & Johnson" แล้ว ยังมีวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีเดียวกันอีก แต่ใช้สายพันธ์ุไวรัสอะดีโนของมนุษย์ที่ต่างกัน ได้แก่ วัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ของประเทศอังกฤษ และวัคซีนสปุตนิก วี (Sputnik V) ของประเทศรัสเซีย

คุณสมบัติวัคซีน Johnson & Johnson 

  • วัคซีน Johnson & Johnson เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียว ที่ฉีดเพียง 1 เข็ม โดยฉีดบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน
  • สาเหตุที่ฉีดเพียงเข็มเดียว เพราะจากการทดลองในระยะที่ 1 และ 2 พบว่า การฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีแล้ว ในขณะที่การฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ไม่ได้เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันมากนัก ซึ่งการฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียว ช่วยเพิ่มความสะดวกในการให้วัคซีน และลดต้นทุนในการขนส่งและฉีดวัคซีนได้มาก

ประสิทธิภาพวัคซีน Johnson & Johnson

  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 66.3% หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน 14 วัน
  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 65.5% หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน 28 วัน
     

วัคซีน Johnson & Johnson ไม่เหมาะกับใคร

  • ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่กำลังให้นมบุตรเนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) 
  • ผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน
  • ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งก่อน ๆ
  • ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เนื่องจากเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ซึ่งอาจก่อโรคในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงได้มาก
     

ผลข้างเคียงที่พบทั่วไป 

  • ปวด บวม และมีรอยแดง บริเวณที่ฉีด
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
  • มีไข้ และอาการหนาวสั่น
  • คลื่นไส้

ผลข้างเคียงเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วัน หลังได้รับการฉีดวัคซีน และควรหายภายในระยะเวลาไม่กี่วัน

ผลข้างเคียงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) อาจเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์หลังฉีดวีคซีน 

  • ปวดศีรษะรุนแรง หรือปวดอย่างต่อเนื่อง
  • ตาพร่ามัว
  • หายใจถี่
  • เจ็บหน้าอก
  • ขาบวม
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • มีรอยช้ำ หรือจ้ำเลือด นอกเหนือจากบริเวณที่ฉีด

หากมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 1 อาการ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

เปิดประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง "วัคซีน Johnson & Johnson" ที่ไทยไม่มี แต่ได้ฉีด

 

เปิดประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง "วัคซีน Johnson & Johnson" ที่ไทยไม่มี แต่ได้ฉีด

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/491845?adz=

 
รู้ไหม? โควิด-19 ในหมา-แมว  ไม่ติดต่อกลับสู่คน
 

ฮือฮา! งานวิจัยไทย พบหมา- แมว ติดเชื้อโควิด-19 ขณะ กรมปศุสัตว์ วอนผู้เลี้ยงอย่าตระหนก ยันไม่พบหลักฐาน การแพร่เชื้อจากสัตว์เลี้ยงกลับสู่คน พร้อมแนะแนวทางการดูแลสัตว์เลี้ยงยุคโควิด เจ้าของติดเชื้อ ต้องกักตัว - แยกสัตว์เลี้ยงทันที

8 พ.ย.2564 - กลายเป็นข่าวฮือฮา และเป็นที่วิตกกังวล สำหรับผู้เลี้ยงสุนัข - แมว หลังช่วงเช้าวันนี้ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึง "การติดเชื้อโควิด-19 ของสุนัขและแมวในไทย" 

โดยระบุว่า งานวิจัยเมื่อ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ของทีมคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตรวจพบสุนัข 3 ตัวจากการตรวจ 35 ตัว และแมว 1 ตัวจากการตรวจ 9 ตัว ติดเชื้อโควิด-19 โดยทั้งหมดที่ตรวจนั้นเป็นสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนที่มีเจ้าของติดเชื้อโควิด-19 โดยสุนัข 1 ตัวมีอาการเล็กน้อย ส่วนตัวอื่นๆ ที่ติดเชื้อนั้นไม่มีอาการ เป็นคำถาม ว่า การติดเชื้อ COVID-19 ของสุนัขและแมวในไทย สามารแพร่สู่คนได้หรือไม่? 

ล่าสุด นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวถึง การเผยแพร่ข่าวทางเฟซบุ๊ก กรณีพบการติดเชื้อ COVID-19 ของสุนัขและแมวในไทย  ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เกิดความกังวลและสร้างความตระหนกต่อเจ้าของสัตว์เลี้ยงในไทยอย่างมากถึง สัตว์เลี้ยงที่ติดโควิด สามารถแพร่เชื้อกลับไปยังเจ้าของสัตว์ได้หรือไม่นั้น 


ว่าปัจจุบันในขณะที่ทั่วโลกกำลังรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ก็มีรายงานการติดเชื้อในสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มมีรายงานการตรวจพบเชื้อครั้งแรกในสุนัขและแมวในฮ่องกงในปี 2563 และมีหลักฐานว่าแมวติดเชื้อในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนสามารถแพร่เชื้อไปยังแมวตัวอื่นได้ 

รู้ไหม? โควิด-19 ในหมา-แมว  ไม่ติดต่อกลับสู่คน

รู้ไหม? โควิด-19 ในหมา-แมว ไม่ติดต่อกลับสู่คน

 

ต่อมาพบการติดเชื้อในตัวมิงค์ที่ประเทศเดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์ และพบเชื้อในแมวที่มีอาการทางระบบหายใจและทางเดินอาหารในประเทศเบลเยียม ซึ่งเป็นสุนัขและแมวที่ใกล้ชิดกับเจ้าของที่ติดเชื้อ COVID-19 มีรายงานการพบเชื้อในเสือโคร่ง แสดงอาการทางระบบหายใจ ในสวนสัตว์ที่สหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าติดเชื้อมาจากพนักงานดูแลสัตว์ที่ติดเชื้อ และยังมีรายงานว่าสามารถแพร่สู่สัตว์อื่นๆ ได้ เช่น กวาง พังพอน เสือ สิงโต หรือแม้แต่สัตว์ตระกูลลิงกอริลลา 

กรมปศุสัตว์ยัน "สัตว์ติดเชื้อโควิด" ไม่แพร่กลับสู่คน

สำหรับประเทศไทยพบมีรายงานครั้งแรกในเดือนเมษายน 2564 จากสุนัขที่นำมาผ่าตัดขาเนื่องจากเป็นมะเร็งที่โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยหลังผ่าตัดเพื่อนบ้านเจ้าของสุนัขได้แจ้งให้แพทย์ทราบว่าเจ้าของสุนัขติดเชื้อโควิด-19 จึงได้มีการเก็บตัวอย่างจากสุนัขและตรวจพบเชื้อดังกล่าว 

จากข้อมูลการตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในสัตว์กลุ่มที่ได้กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าสัตว์เหล่านี้ใกล้ชิดกับเจ้าของหรือได้รับการดูแลจากผู้ที่ติดเชื้อ เป็นการติดเชื้อจากคนสู่สัตว์ โดยปัจจุบันมีหลักฐานชัดเจนว่า มนุษย์สามารถแพร่เชื้อไปสู่สัตว์เลี้ยงได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการแพร่เชื้อกลับจากสัตว์เลี้ยงไปสู่คน 

เปิดแนวทางดูแลสัตว์เลี้ยง ในยุคโควิด 

เพื่อเป็นแนวทางดำเนินการและข้อปฏิบัติในการดูแลสัตว์เลี้ยงของผู้ติดเชื้อ กรมปศุสัตว์จึงได้แจ้งข้อพึงปฏิบัติและมาตรการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงหากตรวจพบโรคโควิด-19 ในสัตว์เลี้ยงหรือสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงติดเชื้อ สำหรับสถานพยาบาลสัตว์ที่รับฝากหรือรักษาสัตว์เลี้ยงในกรณีที่เจ้าของสัตว์ป่วยด้วยโรคโควิด-19 รวมถึงข้อควรปฏิบัติไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (คลิก)https://dcontrol.dld.go.th เมนูข่าวสารประชาสัมพันธ์ หัวข้อเตรียมความพร้อมกำหนดแนวทางการดูแลสัตว์เลี้ยงของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงได้มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยงานระหว่างประเทศ องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) อย่างต่อเนื่อง


อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มว่า ขอให้ผู้เลี้ยงสัตว์ทุกท่านอย่าตื่นตระหนกและไม่ละทิ้งสัตว์เลี้ยง ซึ่งการทิ้งสัตว์เลี้ยงเป็นการเข้าข่ายผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 โดยเน้นย้ำว่าในปัจจุบันสามารถระบุได้เพียงว่าสุนัขและแมวสามารถติดเชื้อโควิด-19 จากคนป่วยได้เท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลว่าสามารถแพร่เชื้อจากสัตว์เลี้ยงกลับสู่คนได้ ซึ่งได้มีการศึกษาร่วมกันระหว่างกรมปศุสัตว์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการเก็บตัวอย่างในสัตว์เลี้ยงที่เจ้าของนำมาเข้ารับบริการในโรงพยาบาลสัตว์จำนวน 120 ตัว ยังไม่พบการติดเชื้อซึ่งแสดงให้เห็นว่าเชื้อโควิด-19 ไม่มีการแพร่กระจายทั่วไปในสัตว์เลี้ยง 

รู้ไหม? โควิด-19 ในหมา-แมว  ไม่ติดต่อกลับสู่คน

 

รู้ไหม? โควิด-19 ในหมา-แมว ไม่ติดต่อกลับสู่คน
แนะหากเจ้าของป่วยโควิดควรกักตัว-แยกสัตว์เลี้ยง

แต่อย่างไร ก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันและลดความความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID-19) ระหว่างคนและสัตว์เลี้ยง จึงขอแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงพาสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้าน และหากท่านอยู่ในกลุ่มสงสัยว่าติดเชื้อหรือป่วยจากเชื้อ COVID-19 ควรแยกตัวออกจากผู้อื่น รวมถึงสัตว์เลี้ยงของท่าน ควรให้บุคคลอื่นที่มีสุขภาพดีเป็นผู้ดูแลสัตว์แทน หากสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงสัมผัสโรคหรือสัตว์ติดเชื้อ 

เช่น มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยและมีอาการที่เข้าข่ายของโรค ควรกักสัตว์แยกไว้ไม่เข้าไปคลุกคลีอย่างน้อย 14 วัน ในกรณีจำเป็นต้องการนำไปฝากเลี้ยงหรือทำการตรวจรักษาให้โทรศัพท์ปรึกษาสัตวแพทย์และแจ้งให้ทราบถึงประวัติเสี่ยงของท่านและสัตว์ก่อน ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงไปยังสถานพยาบาลสัตว์โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

ทั้งนี้ สามารถติดต่อปรึกษา หรือ ขอคำแนะนำเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ และ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่ง หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ โทร 063-225-6888 หรือแจ้งผ่าน Application : DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

 

ข้อมูลจาก https://www.thansettakij.com/general-news/502538