นายกฯ ปรับแผนเปิดประเทศ 1 พ.ย. เพิ่มจำนวนประเทศความเสี่ยงต่ำ 46 ชาติเข้าไทยไม่ต้องกักตัว สั่ง สธ.เร่งเครื่องฉีดวัคซีน ยอมรับมีความเสี่ยง แต่ต้องเรียนรู้อยู่กับโควิดให้ได้

2021-10-26_09-24-25.jpg

21 ต.ค.2564 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โพสต์เฟซบุ๊ก "ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut-chan-o-cha" ระบุว่า "พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน หลังจากที่ผมได้ประกาศแผน ยกเลิกการกักตัว สำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทย โดยจะต้องเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว เดินทางเข้าประเทศโดยทางอากาศ และเดินทางมาจากประเทศที่เราจัดว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ เราจะเห็นได้ว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเราประกาศออกไป ประเทศอื่นๆ เช่น อเมริกา และประเทศในภูมิภาคของเรา ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย (บาหลี) ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และมาเลเซีย ต่างก็กำลังทำเช่นเดียวกัน รวมทั้งมีการผ่อนคลายมาตรการข้อบังคับต่างๆ และนอกจากนั้น หลายๆ ประเทศที่เป็นนักท่องเที่ยวของประเทศไทย ก็เพิ่งประกาศผ่อนคลายให้ประชาชนของประเทศเค้าเดินทางออกนอกประเทศได้ง่ายขึ้น

เมื่อเราเห็นว่าสถานการณ์เปลี่ยนเป็นแบบนี้แล้ว จากที่ในเบื้องต้น ผมตัดสินใจว่า เราจะพิจารณาประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อจะให้เดินทางเข้าไทยได้ โดยไม่ต้องกักตัว อยู่ที่ประมาณ 10 ประเทศ แล้วจึงจะค่อยๆ เพิ่มจำนวนประเทศให้มากขึ้น ตอนนี้ ผมคิดว่า ในสถานการณ์ใหม่ ถ้าเราต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยให้มากเพื่อกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวและภาคธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่เดือดร้อนกันอย่างมากมานาน เราจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าเร็วกว่านั้น และทำตั้งแต่ตอนนี้ เพราะการที่จะรอให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบก่อนนั้น จะทำให้เราช้าเกินไป อีกทั้งนักท่องเที่ยวอาจจะตัดสินใจเลือกเดินทางไปประเทศอื่นไปก่อน

ดังนั้นหลังจากได้ปรึกษาหารือกับหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผมดีใจที่วันนี้ จะแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า เราจะเพิ่มจำนวนรายชื่อประเทศความเสี่ยงต่ำกลุ่มแรก ที่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ โดยไม่ต้องกักตัว เป็น 46 ประเทศ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว เดินทางเข้าประเทศไทยโดยทางอากาศ และมีหลักฐานปลอดเชื้อโควิด โดยมีการตรวจก่อนออกเดินทาง และตรวจเมื่อมาถึงประเทศไทย ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้ทุกประเทศดังกล่าวคงต้องพิจารณาความเสี่ยงของประเทศไทยด้วยเช่นกัน ก่อนที่จะอนุญาตให้คนของประเทศเขาเดินทางมาประเทศไทยได้ ผมขอขอบคุณกระทรวง และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันทำภารกิจที่เต็มไปด้วยความกดดันนี้ พยายามแก้ไขและจัดการ กฏระเบียบ ขั้นตอน และกระบวนการต่างๆ มากมายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งผมรู้ว่า ทุกคนทุกฝ่ายพยายามกันอย่างเต็มที่เพื่อช่วยให้พี่น้องประชาชนสามารถกลับมาทำมาหากินกันได้อีกครั้ง โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เราต้องเร่งเครื่องเตรียมความพร้อม และผมได้ขอให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งเครื่องเรื่องการฉีดวัคซีนให้เร็วมากยิ่งขึ้นไปอีก แม้ว่าเราจะติดอันดับอยู่ในกลุ่มประเทศที่ฉีดวัคซีนได้เร็วที่สุดในโลกอยู่แล้วก็ตาม

เรารู้ดีว่า การเร่งเดินหน้าอย่างรวดเร็วนี้ ย่อมมีความเสี่ยงที่จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็เป็นความเสี่ยงที่เราต้องยอมรับ ผมคิดว่าตอนนี้ ประเทศไทยเอง รวมถึงประเทศอื่นๆ ในโลก ต่างก็มีความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงของโควิด-19 ได้ดีขึ้น และเราก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด-19 ให้ได้

เราทุกคนมีบทบาทสำคัญในการช่วยกันลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาด ด้วยการ การ์ดไม่ตก ผมขอให้ทุกคนยังคงรักษามาตรการทางสาธารณสุข มีวินัยในการสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลอยู่เสมอ เพื่อที่เราจะได้เก็บเกี่ยวเรื่องดีๆ เล็กๆ น้อยๆ จากช่วงเทศกาลวันหยุดสิ้นปีนี้กันได้บ้าง

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/news-update/9036/

ไฟเซอร์-ไบออนเทคเผยผลการทดลองระยะที่ 3 ของการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 โดสบูสเตอร์ของไฟเซอร์ ว่าให้ประสิทธิภาพสูงถึง 95.6% ในการป้องกันการติดเชื้อที่แสดงอาการ รวมถึงสายพันธุ์เดลตา ด้านเอฟดีเออนุมัติใช้โมเดอร์นาและเจแอนด์เจเป็นบูสเตอร์ และสามารถฉีดวัคซีนไขว้ได้ด้วย
 

2021-10-26_09-22-36.jpg 

แถลงการณ์ของบริษัท ไฟเซอร์ จากสหรัฐ และบริษัท ไบออนเทค จากเยอรมนี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 กล่าวว่า การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 กับผู้เข้าร่วม 10,000 ราย ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป แสดงให้เห็นว่า การฉีดไฟเซอร์เป็นโดสกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ประสิทธิภาพ 95.6% ในการต้านการติดเชื้อโควิด-19 ที่แสดงอาการ การทดลองนี้กระทำในช่วงเวลาที่ไวรัสสายพันธุ์เดลตาเป็นสายพันธุ์ที่แพร่หลาย

รายงานรอยเตอร์อ้างคำแถลงของไฟเซอร์ว่า ประสิทธิภาพของวัคซีน 2 โดสนั้นลดลงตามกาลเวลา โดยผลการศึกษาเผยให้เห็นว่า ประสิทธิภาพหลังฉีดโดสที่ 2 ผ่านไป 4 เดือน ลดเหลือ 84% จาก 96%

การศึกษาเว้นช่วงระหว่างโดสที่ 2 กับโดสกระตุ้นหรือโดสหลอก ประมาณ 11 เดือน โดยพบผู้ป่วยโควิด-19 เพียง 5 รายในกลุ่มที่ได้รับโดสกระตุ้น ขณะที่กลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอกนั้น พบผู้ป่วย 109 ราย กลุ่มที่ศึกษามีอายุเฉลี่ย 53 ปี โดย 55.5% เป็นกลุ่มที่อายุระหว่าง 16-55 ปี และ 23.3% อายุ 65 ปีขึ้นไป

ไฟเซอร์-ไบออนเทคบอกว่า พวกเขาจะส่งผลลัพธ์ของการทดลองอย่างละเอียดเพื่อตีพิมพ์สำหรับการตรวจทานโดยผู้รู้เสมอกัน รวมถึงส่งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (เอฟดีเอ), องค์การยาแห่งยุโรป และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ โดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐและสหภาพยุโรปได้อนุมัติการใช้วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นาเป็นโดสกระตุ้นภูมิแล้วก่อนหน้านี้ สำหรับผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

เมื่อวันพุธ เอฟดีเอเพิ่งประกาศอนุมัติการใช้วัคซีนสูตรไขว้สำหรับโดสบูสเตอร์สำหรับกลุ่มคนที่จำเป็นต้องกระตุ้นภูมิ ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนชนิดใดใน 3 ชนิดที่ผ่านการอนุมัติในสหรัฐ ซึ่งได้แก่ ไฟเซอร์-ไบออนเทค, โมเดอร์นา และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

เอเอฟพีรายงานว่า ผลการตัดสินใจของเอฟดีเอล่าสุด จะทำให้ผู้ที่ได้ฉีดโมเดอร์นา 2 โดสแรก และเป็นผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป, ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อโควิด หรือผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปที่ทำงานเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สามารถฉีดบูสเตอร์ได้

ส่วนผู้ใหญ่ทุกคนที่ฉีดวัคซีนเจแอนด์เจ ซึ่งฉีดเพียง 1 เข็ม ก็มีสิทธิฉีดบูสเตอร์หลังจากนั้นอย่างน้อย 2 เดือน

ก่อนหน้านี้ ทางการสหรัฐอนุญาตให้ฉีดไฟเซอร์โดสกระตุ้นกับผู้ที่อยู่ในภูมิคุ้มกันอ่อนแอ, ผู้สูงอายุหรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น

คำแถลงกล่าวด้วยว่า ข้อมูลที่มีเผยว่าผู้ที่ฉีดเจแอนด์เจเข็มแรกมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันดีขึ้นเมื่อฉีดไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา และการฉีดบูสเตอร์สูตรไขว้มีความปลอดภัยกับผู้ใหญ่ แต่เจ้าหน้าที่เอฟดีเอย้ำว่า ข้อมูลที่มียังไม่มีความชัดเจนว่าการผสมสูตรใดให้ผลที่ดีกว่า.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/news-update/abroad-news/9046/

 

โคเปนเฮเกน (ซินหัว) – แถลงการณ์จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Rigshospitalet) หนึ่งในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุดของเดนมาร์ก เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 เผยว่าการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) แบบสูดดมรูปแบบใหม่ ได้รับการอนุมัติให้ทดลองทางคลินิกในมนุษย์แล้ว

 

การรักษาดังกล่าวพัฒนาโดยคณะนักวิจัยชาวเดนมาร์ก มีพื้นฐานมาจากแนวคิดของโธมัส บยานชอลต์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิกของโรงพยาบาลฯ

บยานชอลต์แถลงข่าวว่าการรักษาข้างต้นคือ “การสูดดมสารละลายกรดอ่อนที่เข้าไปช่วยระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อในทางเดินหายใจอันมีต้นตอจากแบคทีเรียหรือไวรัส” โดยในขั้นต้นจะมุ่งรักษากลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และหวังว่าจะสามารถ “พลิกโฉมการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจประเภทอื่นด้วย”

“มันน่าจะสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อประเภทอื่นได้ด้วย เช่น ปอดบวม ไข้หวัดใหญ่ และวัณโรค ซึ่งทั้งสามล้วนเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้คนนับล้านทั่วโลกทุกปี” บยานชอลต์กล่าว

สิทธิบัตรเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษานี้ถือครองโดยซอฟต์อ็อกซ์ โซลูชันส์ (SoftOx Solutions) บริษัทนอร์เวย์ ซึ่งร่วมมือในการวิจัยดังกล่าวหลังจากเคยรับหน้าที่เป็นผู้จัดสรรสารละลายทนต่อกรดสำหรับรักษาบาดแผลในการศึกษาก่อนหน้า

บยานชอลต์ระบุว่า “แนวคิดการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 แบบสูดดมนี้มาจากการวิจัยความสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อในบาดแผลของสารละลายกรดก่อนหน้านี้ของเรา มันคือแนวคิดเดียวกันที่ผ่านการขัดเกลาและปรับเปลี่ยนเป็นการรักษาด้วยวิธีสูดดมสำหรับต่อสู้กับการติดเชื้อในทางเดินหายใจ”

ทั้งนี้ สถาบันเซรุ่มแห่งเดนมาร์ก (SSI) รายงานการตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพิ่ม 564 ราย และผู้ป่วยเสียชีวิต 3 ราย ในช่วง 24 ชั่วโมง ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 364,464 ราย และผู้ป่วยเสียชีวิต 2,671 ราย โดยปัจจุบันเดนมาร์กมีประชากรได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 หนึ่งโดส จำนวน 4,462,629 คน หรือร้อยละ 76.1 และสัดส่วนผู้รับวัคซีนครบโดสอยู่ที่ร้อยละ 74.8

ที่มา: สำนักข่าวซินหัว

ข้อมูลจาก https://www.thereporters.co/covid-19/121020212238/

 

 
อว. เผย ไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว 60,228,105 โดส และทั่วโลกแล้ว 6,505 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 422.08 ล้านโดส

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 6,505 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 25.5 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 402 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 187 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 422.08 ล้านโดส โดยกัมพูชาฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (78.2% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 157.92 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 60,228,105 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 60.66%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 6,505 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2564
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 60,228,105 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
- เข็มแรก 35,093,892 โดส (53% ของประชากร)
- เข็มสอง 23,400,992 โดส (35.4% ของประชากร)
- เข็มสาม 1,733,221 โดส (2.6% ของประชากร)

2. อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 11 ต.ต. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 60,228,105 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 688,481 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 725,377 โดส/วัน

3. อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 17,536,135 โดส
- เข็มที่ 2 3,514,098 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 10,461,224 โดส
- เข็มที่ 2 15,472,772 โดส
- เข็มที่ 3 1,241,610 โดส

วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 5,958,845 โดส
- เข็มที่ 2 3,877,124 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 1,137,688 โดส
- เข็มที่ 2 536,998 โดส
- เข็มที่ 3 491,611 โดส

4. การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่ 1 123.4% เข็มที่ 2 119.3% เข็มที่ 3 90.9%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่ 1 62.6% เข็มที่ 2 55.3% เข็มที่ 3 8.6%
- อสม เข็มที่ 1 73% เข็มที่ 2 63.7% เข็มที่ 3 7.4%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่ 1 62.7% เข็มที่ 2 43.6% เข็มที่ 3 1.6%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่ 1 46.1% เข็มที่ 2 28.6% เข็มที่ 3 1.5%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่ 1 60% เข็มที่ 2 44.3% เข็มที่ 3 0.3%
- หญิงตั้งครรภ์ เข็มที่ 1 14.2% เข็มที่ 2 9.5% เข็มที่ 3 0.1%
- นักเรียน/นักศึกษา เข็มที่ 1 9.3% เข็มที่ 2 0.1% เข็มที่ 3 0%
รวม เข็มที่ 1 48.7% เข็มที่ 2 32.5% เข็มที่ 3 2.4%

5. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 422,086,943 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 157,929,575 โดส (36.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. ไทย จำนวน 60,228,105 โดส (53%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
3. เวียดนาม จำนวน 53,231,969 โดส (39.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
4. ฟิลิปปินส์ จำนวน 49,673,491 โดส (23.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca
 
5. มาเลเซีย จำนวน 45,650,714 (74.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
6. กัมพูชา จำนวน 25,914,182 โดส (79.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
7. พม่า จำนวน 14,013,530 โดส (18.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
8. สิงคโปร์ จำนวน 9,613,475 โดส (78.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9. ลาว จำนวน 5.289,883 โดส (41.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 542,019 โดส (74.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

6. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 68.84%
2. ยุโรป 11.02%
3. อเมริกาเหนือ 9.60%
4. ละตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.17%
5. แอฟริกา 2.79%
6. โอเชียเนีย 0.58%

7. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 2,220.13 ล้านโดส (79.3% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. อินเดีย จำนวน 951.90 ล้านโดส (34.8%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 401.82 ล้านโดส (62.7%)
4. บราซิล จำนวน 249.02 ล้านโดส (60.3%)
5. ญี่ปุ่น จำนวน 172.13 ล้านโดส (68.2%)

8. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (100%) (ฉีดวัคซีนของ Moderna, Pfizer/BioNTech, AstraZeneca/Oxford และ J&J)
2. มัลดีฟส์ (99.1% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
3. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (95.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
4. อุรุกวัย (90.9%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
5. บาห์เรน (89.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
6. ชิลี (87.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac
7. อิสราเอล (86.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
8. กาตาร์ (85.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
9. จีน (79.3%) (ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sinovac และ CanSino)
10. สิงคโปร์ (78.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุขประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
 
 
 

 
 
 
 
หมอ ชี้ \"โมลนูพิราเวียร์\" ไม่ใช่ยาทดแทน \"วัคซีนโควิด-19\"

 

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ย้ำ ยา "โมลนูพิราเวียร์" ไม่ใช่ยาทดแทน "วัคซีนโควิด-19" เผย เตรียมใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโควิด

11 ต.ค.64 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประกาศว่า จากข่าว แผนการนำเข้ายาต้านโควิด-19 ตัวใหม่ที่จะนำมาใช้แทนยา "ฟาราพิราเวียร์" และได้ประสิทธิภาพดีกว่านั้น ก็คือ ยา "โมลนูพิราเวียร์" ตามที่ได้นำเสนอข่าวแล้วนั้น

ประชาชนต่างให้ความสนใจถึงยาตัวนี้เป็นอย่างมาก โดยหวังว่าจะเป็นความหวังที่จะขจัด โควิด-19 ให้หมดไป สำหรับยา "โมลนูพิราเวียร์" มีฤทธิ์ยับยั้งการจำลองตัวเองของเชื้อโควิด-19 ได้ดี
ล่าสุด มีความเข้าใจผิด ๆ เกิดขึ้นในประชาชน กรมการแพทย์ โดยกระทรวงสาธารณสุขเลยต้องออกมาตอบให้ประชาชนทุกคนรับทราบ  ย้ำ! ยา "โมลนูพิราเวียร์" ไม่ใช่ยาทดแทน "วัคซีนโควิด-19" เตรียมใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา โดยวัคซีนยังมีความจำเป็นที่จะต้องรับการฉีดอยู่ 

ส่วนไทม์ไลน์สำหรับการนำเข้าโมลนูพิราเวียร์ในไทย ได้หารือรายละเอียดกับทางเมิร์คประเทศไทย ตั้งแต่เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โดยวานนี้ (5 ต.ค.) ได้จัดทำร่างหนังสือสัญญาซื้อขายจำนวน 40 หน้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงให้เมิร์คผ่านการขึ้นทะเบียนกับ FDA อเมริกาในราวเดือน ต.ค.-พ.ย.

ก่อนที่จะมาขึ้นทะเบียนในไทยผ่านได้ราวช่วง พ.ย.-ธ.ค. ซึ่งคาดว่าในไทยจะได้รับยาโมลนูพิราเวียร์มาใช้ต้านไวรัสได้เร็วสุด ธ.ค. ปีนี้ หรือช้าสุดช่วง ม.ค. ปี 65

ที่มา กรมการแพทย์

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/487783?adz=

 

 

คณะที่ปรึกษายุทธศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิคุ้มกันขององค์การอนามัยโลก (SAGE) มีคำแนะนำเมื่อวันจันทร์ว่า ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออ่อนแอ ควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 กระตุ้นภูมิ ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนชนิดใดมาก็ตาม ส่วนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ฉีดวัคซีนของซิโนแวคหรือซิโนฟาร์มก็ควรได้ฉีดโดสที่ 3 ด้วย

    เอเอฟพีรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 ว่า คณะที่ปรึกษาด้านวัคซีนขององค์การอนามัยโลก (WHO) คณะนี้ประชุมกันนาน 4 วันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อทบทวนข้อมูลและข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 และโรคอื่นๆ โดยในวันจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญคณะนี้ออกคำแนะนำว่า ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออ่อนแอในระดับปานกลางและรุนแรง ควรได้รับการเสนอให้ฉีดวัคซีนเพิ่มเติมด้วยวัคซีนทุกชนิดที่ผ่านการอนุมัติการใช้งานแบบฉุกเฉินของ WHO แล้ว

 

    "บุคคลเหล่านี้มีโอกาสน้อยที่จะตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนอย่างเพียงพอ ภายหลังการฉีดวัคซีนชุดแรกตามมาตรฐาน และมีความเสี่ยงสูงต่อโรคโควิด-19 ขั้นรุนแรง" คำแถลงกล่าว

    วัคซีนที่ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นวัคซีนสำหรับการใช้งานฉุกเฉิน (EUL) แล้ว ได้แก่ วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทค, แจนเซน, โมเดอร์นา, ซิโนฟาร์ม, ซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า

    นอกจากนี้ SAGE ยังแนะนำว่า ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ฉีดวัคซีนของซิโนแวคและซิโนฟาร์มจากจีนครบโดสแล้ว ก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนโดสที่ 3 เพิ่มเติมด้วย ทั้งจากวัคซีนชนิดเดิม หรืออาจพิจารณาใช้วัคซีนต่างชนิดโดยขึ้นอยู่กับการจัดหาและการเข้าถึงวัคซีน.

    ผู้เชี่ยวชาญคณะนี้ย้ำว่า พวกเขาไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนโดสกระตุ้นภูมิคุ้มกันแก่ประชากรโดยทั่วไป และตามคำแนะนำนี้ ประเทศทั้งหลายควรตั้งเป้าหมายเริ่มแรกที่การฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด 2 โดสแก่ประชากรก่อน แล้วจึงค่อยฉีดโดสที่ 3 โดยเริ่มที่กลุ่มประชากรที่อายุมากที่สุด.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/pdetail/119470

 
 
เอเจนซีส์ - รัฐบาลไทยซุ่มเงียบใช้ยาฟ้าทะลายโจรที่ปลูกเองได้ในประเทศเป็นยารักษาโควิด-19 สำหรับนักโทษในเรือนจำแบบ พบ 99% ของผู้ป่วยที่ใช้สามารถหายดีในเคสที่ไม่แสดงอาการ หรือเป็นการป่วยระยะเริ่มแรก แต่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนยังกังขาต้องการผลวิจัยเพิ่มเติมพิสูจน์ประสิทธิภาพการรักษาที่แท้จริง รวมองค์การอนามัยโลกยังไม่รับรองให้ฟ้าทะลายโจรเป็นยาแนะนำให้สำหรับการรักษาโควิด-19

สกายนิวส์ สื่ออังกฤษ รายงานวันนี้ (11 ต.ค.) ว่า ยาฟ้าทะลายโจรซึ่งมีชื่อในภาษาวิทยาศาสตร์คือ Andrographis paniculate นั้นถือเป็นยาแผนโบราณของไทยที่แต่เดิมใช้เพื่อรักษาอาการป่วยโรคหวัด และในเวลานี้ "ยาฟ้าทะลายโจร" ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการใช้เพื่อรักษาโรคโควิด-19 ผู้ป่วยอาการเบื้องต้นในเรือนจำโดยรัฐบาลไทยได้ให้ไฟเขียวในเรื่องนี้

หนึ่งในนักโทษชายวัย 31 ปีความผิดด้านยาเสพติดได้รับคำสั่งให้ดูแลพื้นที่การปลูกทะลายโจรสำหรับเรือนจำแสดงความเห็นกับสกายนิวส์ว่า

“ประสิทธิภาพของมันคือการช่วยลดไข้และบรรเทาอาการไอ” และเขากล่าวต่อว่า “ผมรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยดูแลสมุนไพรไทยเหล่านี้ที่ถูกใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยคนอื่นๆ ในเรือนจำสำหรับโรคโควิด-19”

สื่ออังกฤษชี้ว่า มาจนถึงเวลานี้ทางการไทยใช้ฟ้าทะลายโจรรักษานักโทษในเรือนจำไปแล้วไม่ต่ำกว่า 69,000 ราย

เดอะสกายนิวส์ได้ตามไปตั้งแต่แหล่งปลูกไปจนถึงกรรมวิธีการผลิตจนเป็นยาแคปซูลที่สามารถถูกส่งไปตามเรือนจำต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง

คณะ ครม.ของนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อนุมติในเดือนกรกฎาคมให้ยาฟ้าทะลายโจรสามารถใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในไทยที่ป่วยแต่ยังไม่แสดงอาการหรือเป็นการป่วยเบื้องต้น หลังจากผลการทดลองในการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ป่วยในเรือนจำประสบความสำเร็จด้วยดี

รัฐบาลไทยอ้างว่า จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 11,800 คนที่ใช้ยาฟ้าทะลายโจร มีจำนวน 99.02% หายป่วย

ซึ่งไม่กี่ไมล์ห่างจากถนนที่พื้นที่แหล่งปลูกฟ้าทะลายโจร เรือนจำจังหวัดชัยนาทเป็นอีกหนึ่งเรือนจำที่ใช้ยาฟ้าทะลายโจรรักษาคนไข้ในเรือนจำของตัวเอง โดยเจ้าหน้าที่เรือนจำให้ข้อมูลกับสกายนิวส์ว่า

ระหว่างการระบาดเมื่อสิงหาคม มีนักโทษไม่ต่ำกว่า 700 คนใช้ฟ้าทะลายโจร 15 แคปซูล/วัน เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน เจ้าหน้าที่กล่าวว่า นักโทษทั้งหมดล้วนหายป่วยจากโรคโควิด-19

ซึ่งเจ้าหน้าที่แพทย์ประจำเรือนจำ Chitsanuphong Saublaongiw เชื่อว่ายาฟ้าทะลายโจรนั้นมีประสิทธิภาพในการบรรเทาสำหรับการป่วยโควิด-19 เบื้องต้น

“จากการวิจัยยาฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) มีประสิทธิภาพในการจำกัดการแพร่ของไวรัส”

และชี้ว่า “หลังจากได้รับยาฟ้าทะลายโจรไปแล้ว พบว่าผู้ต้องขังมีผลการเอกซเรย์ปอดดีขึ้นและมีอาการป่วยลดลง โรคมีความร้ายแรงลดลง และพวกเขาฟื้นตัวเร็วขึ้น”

เจ้าหน้าที่การแพทย์เรือนจำยังชี้ว่า “ในกรณีของผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการไม่มีอาการเพิ่มเติม”

 
ซึ่งภายในเรือนจำที่มักแน่นขนัดทำให้ไวรัสโควิด-19 สามารถระบาดรวดเร็วในเรือนจำ พจ (Poj) ซึ่งเป็นนามแฝงของหนึ่งในผู้ป่วยโควิด-19 ภายในเรือนจำจังหวัดชัยนาทออกความเห็นว่า “ในเรือนจำพวกเรานอนใกล้กันมาก ดังนั้น พวกเราจึงไม่สามารถใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมได้”

และเสริมต่อว่า “ผมมีไข้สูงและหลังจากได้รับยาฟ้าทะลายโจรแล้วพบว่าไข้ลดลง” โดยอธิบายว่า “อาการเจ็บคอและไข้ลดลงเมื่อผมได้รับยาฟ้าทะลายโจรมาเป็นระยะเวลา 5 วัน”

ทั้งนี้ มีเรือนจำทั่วประเทศราว 141 แห่ง มีแผนที่จะผลิตยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรให้ได้ 38 ล้านแคปซูลภายในเดือนพฤศจิกายนซึ่งจะใช้เพื่อการรักษาผู้ต้องขังโรคโควิด-19 ภายในเรือนจำต่อไป

รัฐบาลไทยทดลองใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาในหลายโรงพยาบาล และออกมาสนับสนุนให้หมู่บ้านจำนวนราว 24,000 แห่งให้ปลูกฟ้าทะลายโจรเพื่อที่จะได้มีซัปพลายออกมาอย่างต่อเนื่อง

“หากว่าเราใช้ยาสมัยใหม่ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่า 20 เท่า 30 เท่า หรือ 50 เท่าตัว...และในเรือนจำมักจะแน่นขนัดมาก” รัฐมนตรียุติธรรม สมศักดิ์ เทพสุทิน แสดงความเห็นในงานฟ้าทะลายโจรงานหนึ่งในกรุงเทพฯ

“เราต้องใช้สิ่งนี้ในการรักษาผู้คนที่หากว่ามีอาการป่วยเบื้องต้น พวกเราจะใช้ยาตัวนี้เพราะมันมีประสิทธิภาพและราคาไม่แพง”

แต่ทว่ายาฟ้าทะลายโจรยังไม่ใช่กระสุนเงินสุดวิเศษเพื่อรักษาโรคโควิด-19 เพราะเจ้าหน้าที่ไทยเปิดไฟเขียวอนุญาตให้ใช้เพื่อรักษาได้ในรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และฟ้าทะลายโจรไม่ได้ช่วยให้ผู้รับไม่ติดไวรัสและอีกทั้งยังไม่สามารถแทนที่วัคซีนโควิด-19

องค์การอนามัยได้ระบุถึงรายชื่อยาที่ใช้ในการรักษาโควิด-19 แต่ไม่ปรากฏรวมไปถึงยาสมุนไพรแผนทางเลือก ซึ่งบรรดานักวิจารณ์ในไทยต่างกล่าวว่า จำเป็นที่ต้องมีการวิจัยและทดสอบฟ้าทะลายโจรมากขึ้นเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของมัน

 

ผศ.ดร.มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Dr.Mayuree Tangkiatkumjai) แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า

“อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 ถือเป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ดังนั้น จึงยังไม่มีงานวิจัยมากพอที่จะยืนยันได้ว่ายาฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันและรักษาโควิด-19 ได้” ซึ่งในขณะที่ผศ.ดร.มยุรี สนับสนุนให้ผู้ที่ป่วยโรคหวัดสามารถใช้มันที่บ้านได้เนื่องมาจากฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ ทำให้หยุดยั้งไวรัสและการอักเสบ แต่ทว่าฟ้าทะลายโจรยังไม่สามารถแทนที่ยาต้านไวรัสโควิด-19 ในเคสป่วยหนัก

“จำนวนที่เหมาะสมในการให้สารแอนโดรกราโฟไลด์สำหรับผู้ป่วยยังอยู่ในขั้นข้อมูล และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลสัมฤทธิ์และผลข้างเคียง”

มีการวิจัยในฟ้าทะลายโจรอีก 2 ชิ้นที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการป่วยเริ่มแรกนั้นถูกศึกษาในอาสาสมัคร จำนวน 1,400 คน และคาดว่าผลการวิจัยดังกล่าวจะสามารถเปิดเผยได้ในฤดูใบไม้ผลิปีหน้า ซึ่งสกายนิวส์ชี้ว่า ไทยที่ทำการวิจัยวัคซีนโควิด-19 และยาต้านไวรัสแต่สามารถกล่าวได้ว่าในการระบาดโควิด-19 รอบนี้ “ฟ้าทะลายโจร” ถือมีบทบาทอย่างน่าจับตาในการต่อสู้วิกฤตการระบาดสมัยใหม่ทีเดียว

 
https://www.youtube.com/watch?v=PxAGp7BDf8I

 

 

 
ข้อมูลจาก https://mgronline.com/around/detail/9640000100777
 
\"พระสมเด็จจิตรลดา\" พระเครื่องของพ่อ จากฝีพระหัตถ์ เปี่ยมล้นด้วยพระบารมี
 
"พระสมเด็จจิตรลดา" พระเครื่องฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชทานแก่ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และเหล่าข้าราชบริพาร เปี่ยมล้นด้วยความงาม และคุณค่าทางจิตใจ ด้วยพระบารมีของเอกอัครศิลปิน
 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช "อัครศิลปิน" ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปกรรม ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม หัตถกรรม ภาพถ่าย และการดนตรี ในด้านประติมากรรม ผลงานฝีพระหัตถ์ของพระองค์ท่านที่สำคัญคือ ประติมากรรมลอยตัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครึ่งพระองค์ สูง 12 นิ้ว และประติมากรรมหญิงเปลือยนั่งคุกเข่าสูง 9 นิ้ว ที่ทรงปั้นด้วยดินน้ำมัน แล้วยังทรงทรงแกะแบบแม่พิมพ์ พระพิมพ์ที่เรียกกันว่า "พระสมเด็จจิตรลดา"


ที่มา : วิกิพีเดีย

ที่มา : วิกิพีเดีย
"พระสมเด็จจิตรลดา" พระปางสมาธิ ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ พระพักตร์ทรงผลมะตูม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว ประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง 9 กลีบ บัว กลีบ ล่าง 4กลีบ และเกสรดอกบัว 9 จุดอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร และองค์เล็กขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร สูง 1.9 เซนติเมตรมีหลายสี ตามมวลสารที่ใช้ผลิตในแต่ละครั้งแตกต่างกัน ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาล-อมเหลือง สีน้ำตาล-อมแดงคล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือ สีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน

พระสมเด็จจิตรลดา มีลักษณะละม้ายคล้ายกับพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานประจำทุกจังหวัดและหน่วยทหาร แต่ต่างกันที่ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระปางมารวิชัย 

"พระสมเด็จจิตรลดา" พระเครื่องของพ่อ จากฝีพระหัตถ์ เปี่ยมล้นด้วยพระบารมี

"พระสมเด็จจิตรลดา" พระเครื่องของพ่อ จากฝีพระหัตถ์ เปี่ยมล้นด้วยพระบารมี

 

นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร  ให้ข้อมูลว่า พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์  ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และภาพพระสมเด็จจิตรลดา โดยมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมา แล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ"

"พระสมเด็จจิตรลดา" พระเครื่องของพ่อ จากฝีพระหัตถ์ เปี่ยมล้นด้วยพระบารมี

"พระสมเด็จจิตรลดา" พระเครื่องของพ่อ จากฝีพระหัตถ์ เปี่ยมล้นด้วยพระบารมี

โดยมีศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย การแกะพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน เป็นพุทธศิลป์แบบแม่พิมพ์ลึก แล้วใช้ดินน้ำมันกดลงบนแม่พิมพ์ลึกเพื่อถอดแบบองค์พระสมเด็จจิตรลดา จากนั้นก็ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทอดพระเนตร และทรงวินิจฉัยแบบพิมพ์ พระองค์ท่านมีพระราชกระแสรับสั่งให้แก้ไข ตกแต่ง แบบพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดาหลายครั้ง จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย เมื่อได้แม่พิมพ์ที่สมบูรณ์ด้วยพุทธศิลป์ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน 

ที่มา: วิกิพีเดีย

ที่มา: วิกิพีเดีย

โดยพระองค์ท่านทรงใช้วัสดุเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีคุณภาพดี จนได้ตามจำนวนพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงนำต้นแบบพระสมเด็จจิตรลดาจำนวนหนึ่ง เรียงบนภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อทำการหล่อแม่พิมพ์อีกครั้ง โดยทรงหล่อเป็นแม่พิมพ์ยาง นับเป็นพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์หนึ่งเดียวที่รวมไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

 

ทั้งนี้มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วยเรซิน และผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์  โดยมวลสารจะมีความแตกต่างจากพระเครื่องอื่น เป็นดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล เส้นพระเจ้า ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล  สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ชันและสีน้ำมัน ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด เรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่งใช้แข่งขันกีฬาแหลมทอง 1967



และ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัดดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาจากพระอารามหลวงที่สำคัญ ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกาซึ่งสมณทูตได้ถวายเก็บไว้ในเจดีย์ที่วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น จากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และน้ำอภิเษก


ด้านดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร หนึ่งในผู้ที่ได้รับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา จากพระหัตถ์ ของในหลวงรัชกาลที่9 เปิดเผยว่า ตนเองมีโอกาสได้รับพระราชทานเมื่อตอนอายุ 2 ขวบ โดยได้รับจากพระหัตถ์พระองค์ท่าน และได้ใส่ติดตัวมาตลอด แต่ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัย นับเป็นสมบัติล้ำค่าทางจิตใจ รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีท่านผู้หญิงพึงจิตต์ ศุภมิตร คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย โดยพระองค์จะทรงแกะพิมพ์ด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ที่ได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ มาจะไม่มีกล่องกำมะหยี่ และการสร้างในแต่ละครั้งมีจำนวนน้อยมาก โดยผู้ที่ได้รับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา บุคคลสุดท้ายคือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

พระสมเด็จจิตรลดา มีการประมาณการว่ามีการจัดสร้างพิมพ์ใหญ่ราว 2,974 องค์ และพิมพ์เล็กอีกราว 40 องค์ แต่มีการคาดการณ์ว่ามีมากกว่านั้น เนื่องจาก สมเด็จจิตรลดาพิมพ์เล็ก ที่ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร รับพระราชทานมานั้น เป็นหมายเลข 59 โดยพระพิมพ์เล็ก ทรงพระราชทานแก่ลูกหลาน ของเหล่าข้าราชบริพาร และมีประดิษฐานพระพุทธนวราชบพิตร ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ให้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดประดิษฐานไว้ ณ ศาลากลางจังหวัดของทุกจังหวัด และเป็นพระพุทธรูปประจำหน่วยทหาร ประดิษฐานไว้ ณ กองบัญชาการหน่วยทหาร โดยความพิเศษของพระสมเด็จจิตรลดา ที่แตกต่างจากพระเครื่องอื่น คือไม่มีพิธีพุทธาภิเษก จากเกจิดังแต่ผ่านการอธิษฐานจิตด้วยพระองค์เอง


ที่มา : วิกิพีเดีย

ที่มา : วิกิพีเดีย

พระสมเด็จจิตรลดา พระเครื่องฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช นับเป็นพระเครื่องที่รวมไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางพุทธศิลป์ พุทธคุณ และคุณค่าทางจิตใจที่ยากจะประมาณได้

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/488023

หมอธีระวัฒน์ ยัน วัคซีนเชื้อตายปลอดภัยกับเด็กสุด ชี้ฉีด mRNA เสี่ยง

 
8 ต.ค. 2564-16:22 น.
 
 

หมอธีระวัฒน์ ยัน วัคซีนเชื้อตายปลอดภัยกับเด็กสุด ชี้ฉีด mRNA เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ระบุ ฉีด ซิโนฟาร์ม 2 เข็ม ก่อนกระตุ้นเข็ม 3 ปลอดภัยกว่า

 

8 ต.ค. 2564 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ผ่าน มติชนออนไลน์ กรณีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็ก หลังรัฐบาลไทยให้ฉีดวัคซีน mRNA ของไฟเซอร์

 

นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ความวิตกกังวลเป็นส่วนหนึ่ง เพราะทั้งวัคซีนไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อบุหัวใจอักเสบได้ ซึ่งพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง อายุตั้งแต่ 12-17 ปี และมีอาการหลังฉีดเข็มที่ 2 ค่อนข้างมาก ซึ่งในหลายๆ การศึกษาจะพบ 1 คน ต่อการฉีด 1,000 คน หรือ 1 คน ต่อการฉีด 10,000 คน ซึ่งข้อมูลดังกล่าว เป็นกระบวนการติดตามผลหลังการฉีดอย่างใกล้ชิด

 

มันเป็นความเสี่ยง แม้ว่าจะมีคนบอกว่าน้อยก็ตาม แต่มันอาจจะเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในกลุ่มผู้ปกครอง อีกประการหนึ่งคือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้น แม้จะมีรายงานว่าสามารถหายเองได้ หรือใช้เวลารักษา 7 วันก็หาย

อย่างไรก็ตาม อยากให้ดูคู่มือการวินิจฉัย หรือการรักษากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็กที่ออกมาในประเทศไทย ของสมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศไทย ซึ่งในกระบวนการขั้นตอนนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า มีความซับซ้อนอยู่ระดับหนึ่ง และอาจไปถึงกระบวนการที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการดูการอักเสบของหัวใจ และการติดตามว่าจะเกิดเยื่อพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจหรือไม่

นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแล้ว ต้องติดตามดูว่ากระบวนการอักเสบนั้น จะหายไปได้เองหรือไม่ หรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป ขณะเดียวกัน การเกิดเนื้อเยื่อพังผืดนั้น คอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถวินิจฉัยได้ ซึ่งอาจจะลุกลามต่อไปได้ในอนาคตหรือไม่ และยังไม่ทราบผลกระทบที่เกิดกับการใช้ชีวิตของเด็กมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในประเทศไทยเพิ่งเริ่มนำวัคซีนทางเลือกมาฉีดให้เด็ก และการติดตามผลจะต้องติดตามอย่างน้อยครึ่งปี

ครอบครัวของเด็กมีสิทธิที่จะแสดงความกังวลได้ ดังนั้น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จึงได้เสนอทางออก และเราก็เห็นด้วยว่าเหตุใดไม่ฉีดวัคซีนเชื้อตายในเด็กแทน เพราะวัคซีนเชื้อตายมีความปลอดภัยกว่า และหากต้องการให้มีความปลอดภัยสูงที่สุด คือ การฉีดเข้าชั้นผิวหนังตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนยี่ห้อไหนก็ตาม หากจะฉีดวัคซีนเชื้อตาย เช่น ซิโนฟาร์ม ก็อาจจะเป็นการฉีดเข้าชั้นผิวหนังตั้งแต่เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แต่วัคซีนซิโนฟาร์มนั้น ไม่เก่งที่จะครอบคลุมโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่า และเดลต้าได้ดี ดังนั้น อาจมีการกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วย วัคซีนไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา ซึ่งกระบวนการนี้เด็กจะได้รับความปลอดภัยสูงสุด

ข้อมูลจาก https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6666214