24 มิ.ย.64 - นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน แถลงถึงกรณีการติดตามเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคโควิด-19ของประชาชนในขณะนี้ ว่า ภาพรวมของการฉีดวัคซีน โควิด-19 มีการสรุปข้อมูลวันที่ 21 มิ.ย. เวลา 16.30 น. จำนวนผู้ฉีดวัคซีนทั้งหมด 7,906,696 โดส มีการเก็บข้อมูลทั้งหมดว่าอะไรเป็นเหตุร่วม โดยที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน ซึ่งในภาพรวมการฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดและสองเข็ม พบว่าผู้ป่วยที่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เข้าเกณฑ์ต้องสอบสวนโรคคือ ต้องเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล อย่างน้อย 3 วัน มีทั้งหมด 1,945 คน คิดเป็นประมาณ 24 คนต่อการฉีด 100,000 โดส

ส่วนการเจ็บป่วยร้ายแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น มีอาการแพ้อย่างรุนแรงหรือเสียชีวิต คิดเป็น 1.30 รายต่อการฉีด 100,000 โดส แยกเป็น ซิโนแวค มีผู้ฉีดเข็มที่หนึ่งแล้ว 3,370,000 กว่าโดส ส่วนเข็มที่สอง 2,176,933 โดส ส่วนการเสียชีวิตถ้าดูผลสรุปสุดท้ายเป็นเหตุที่ไม่ได้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน โควิด-19 แต่เมื่อมีรายงานก็ต้องเก็บรวบรวมมาทั้งหมดเพื่อแยกแยะหาสาเหตุให้ชัดเจน พบว่าการเสียชีวิต 44 ราย หลังการฉีดเข็มที่หนึ่งคิดเป็น 1.3 ต่อแสน ส่วนหลังการฉีดเข็มที่สองมี 7 ราย หรือ 0.3 ต่อแสน ถือเป็นค่าที่ต่ำกว่าเหตุการณ์ปกติก่อนที่จะมีวัคซีน ส่วน แอสตราเซเนกามีการฉีดเข็มที่หนึ่งไปแล้ว 2,300,000 กว่าโดส เข็มที่สอง 50,000 โดส ส่วนการเสียชีวิตหลังเข็มที่หนึ่ง 49 ราย หรือ 2 ต่อแสน เข็มที่สอง 1 ราย คิดเป็น 1.96 ต่อแสน

 นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า การได้รับวัคซีนสะสมมีการรายงานอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนที่เข้าเกณฑ์ร้ายแรงสะสมจำนวน 945 ราย พิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญเสร็จแล้วจำนวน 327 ราย และอยู่ระหว่างการติดตามข้อมูล 618 ราย โดยมีอาการไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวกับวัคซีนอยู่ และเป็นส่วนที่แพทย์สามารถดูแลแก้ไขได้เป็นอย่างดี แต่ไม่เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต แต่จะเป็นเหตุการณ์ร่วมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน

นอกจากนั้นจะเป็นปฏิกิริยาจากการแพ้ หลังการฉีดวัคซีนอาจจะมีอาการผื่นภูมิแพ้ คล้ายลมพิษเกิดขึ้นได้ ซึ่งเกิดขึ้นในผู้ฉีดซิโนแวค 21 ราย ส่วนแอสตราเซเนกาไม่มีรายงาน นอกจากนั้นจะมีอาการ ที่พบมากในการฉีดซิโนแวค คือเวียนศรีษะ และคลื่นไส้ ส่วนที่พบมากในแอสตร้าเซเนกา คืออาการไข้และปวดศรีษะ อย่างไรก็ตาม อาการทั้งหมดที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับที่มีความปลอดภัย ไม่ได้เป็นเหตุที่อันตราย นอกจากนี้ จะมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน คือทำให้คนเกิดอาการวิตกกังวล โดยที่ไม่รู้ตัวแต่อาจจะทำให้เกิดอาการทางร่างกาย

นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า จากการตรวจสอบของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบผู้เสียชีวิตพบว่าไม่มีผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องจากวัคซีน โดยผู้เสียชีวิต 17 ราย หลังฉีดซิโนแวค พบว่าที่สามารถสรุปสาเหตุได้ชัดเจนและไม่ต้องขอข้อมูลอื่นได้เพิ่ม ส่วนหลังฉีดแอสตราเซเนกา 3 ราย มีอีกส่วนหนึ่งที่ยังต้องหาหลักฐานเอกสารโดยการส่งตรวจเพิ่มเติม 4 รายจากหลังฉีดแอสตราเซเนกา ซึ่งรายละเอียดการพิจารณากรณีเสียชีวิต 103 ราย พิจารณาแล้ว 42 ราย ไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน แต่เป็นอาการเกิดร่วมโดยบังเอิญ เช่น โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เลือดออกในสมอง ลิ่มเลือดอุดตันในปอด เลือดออกในช่องท้อง ความผิดปกติของเกร็ดเลือด ถือเป็นเหตุการณ์ร่วมที่ทำให้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตโดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน

อย่างไรก็ตาม สำหรับส่วนที่คณะผู้เชี่ยวชาญมีการขอข้อมูลเพิ่ม 18 ราย และรอผลการผ่าชันสูตรพลิกศพ 61 ราย ขอย้ำว่าคณะผู้เชี่ยวชาญที่ติดตามข้อมูลได้ใช้ข้อมูลทุกส่วนอย่างเต็มที่และยืนยันว่าวัคซีนยังมีความปลอดภัยและขอเชิญชวนประชาชนที่อาจจะยังมีความกังวลใจโดยจะเห็นว่าสถานการณ์โรคในขณะนี้มีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น หากใครยังไม่ตัดสินใจขอเชิญให้มาลงทะเบียนรับการฉีดวัคซีน 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/107514

ไทยติดเชื้อในระบบ 2 พันราย ตาย 25 ราย เป็นกลุ่ม 608 ทั้งหมด เผยประสิทธิผลวัคซีน พบสี่เข็มป้องกันป่วยหนัก-เสียชีวิต 100%

01 ก.ย.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ในฐานะผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,004 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 1,996 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,996 ราย มาจากเรือนจำ 7 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 1 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น 1,743 ราย อยู่ระหว่างรักษา 15,990 ราย อาการหนัก 736 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 355 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 25 ราย เป็นชาย 13 ราย หญิง 12 ราย เป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 24 ราย มีโรคเรื้อรัง 1 ราย มียอดผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,652,923 ราย มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,604,605 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 32,328 ราย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทั่วโลกยังมีแนวโน้มติดเชื้อเพิ่มขึ้นระลอกเล็กๆ ส่วนตัวเลขเสียชีวิตยังทรงตัว เช่นเดียวกับสถานการณ์ในประเทศไทยที่ยังพบผู้ติดเชื้อเป็นระลอกเล็กๆ ทั่วประเทศ แต่ป่วยหนักและเสียชีวิตลดลงต่อเนื่อง ทำให้อัตราครองเตียงและปริมาณการใช้ยาต่อวันลดลง

พญ.สุมนี กล่าวว่า สำหรับการให้บริการฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายหลัก ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ฉีดเข็มสามแล้ว 6,437,305 โดส คิดเป็น 50.7% ส่วนเด็กที่มีอายุ 5-11 ปี ฉีดเข็มสองแล้ว 2,425,430 โดส คิดเป็น 47.1% ทั้งนี้ สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยข้อมูลประสิทธิผลของวัคซีนจากการใช้จริงระหว่างเดือน พ.ค.2565-ก.ค.2565 ซึ่งเป็นช่วงการระบาดของสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 BA.5 พบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนสองเข็มป้องกันปอดอักเสบที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจได้ 60% และป้องกันเสียชีวิตได้ 72% ผู้ที่ฉีดสามเข็ม ป้องกันปอดอักเสบที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจได้ 83% และป้องกันเสียชีวิตได้ 93% และผู้ที่มีฉีดสี่เข็ม ป้องกันปอดอักเสบที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเสียชีวิตได้ 100% ขอยืนยันว่าการฉีดวัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ แต่การฉีดวัคซีนวัคซีนสามเข็มขึ้นไปหวังผลให้ช่วยป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตได้อย่างน้อย 6 เดือน อย่างไรก็ตาม สำหรับวัคซีนในเด็กเล็กอายุ 6 เดือน และก่อน 5 ปี ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ฝาแดง คาดว่าจะเข้ามาในช่วงไตรมาสที่สี่ของปีนี้

พญ.สุมนี กล่าวว่า ในช่วง 2-3 เดือน ที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อมากขึ้น เนื่องจากสายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่เชื้อได้ง่าย ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงได้รักษาฟรีตามสิทธิที่ตัวเองมี ทั้งบัตรทอง ประกันสังคม ในรูปแบบเจอ แจก จบ กรณีมีอาการหนักวิกฤติยังใช้สิทธิยูเซปที่ใดก็ได้เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่โรคประจำถิ่นหากตรวจเอทีเคเป็นผลบวกให้โทรศัพท์ไปที่เบอร์ 1330 กลุ่มประชาชนทั่วไปให้กด 14 กลุ่ม 608 กด 18 แต่ถ้าอาการหนักให้โทรศัพท์ไปที่เบอร์ 1669 กด 2 ซึ่งเป็นศูนย์เอราวัณจะรับผิดชอบนำส่งทุกที่

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/212367/

ศูนย์จีโนม รพ.รามาฯ เปิดข้อมูลใหม่เกี่ยวกับ โอไมครอน (Omicron) แพร่เร็วกว่า "เดลตา" แต่อาจจาก "วายร้าย" อาจพลิกกลับมาเป็น "พระเอก"?

 

วันนี้( 4 ธ.ค.64) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ชนิด B.1.1.529 หรือ "โอไมครอน"

โดยระบุข้อความว่า "ข่าวดีจากโควิด-19 “โอไมครอน” ที่อาจเกิดขึ้นในอีก 2 อาทิตย์ข้างหน้า จาก "วายร้าย" อาจพลิกกลับมาเป็น "พระเอก" เราได้รับข่าวสารอันเป็นการคาดการณ์สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด (Worst case scenario) ของ "โอไมครอน" กันมามากพอสมควร ดังนั้น post นี้ขอนำเสนอ การคาดการณ์สถานการณ์ที่ดีที่สุด โชคดีที่สุดที่ควรเป็นไปได้ (Best case scenario) ของ “โอไมครอน” บ้าง

Dr. John L. Campbell เป็นผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดียของอังกฤษได้รับความสนใจในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 สำหรับวิดีโออธิบายและข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับไวรัส ดร. แคมเบล สรุปประเด็นของโรคโควิด-19 ได้ดีมาก โดยมีผู้ติดตามถึง 1.6 ล้านคนผ่านช่องทาง “Youtube” เนื่องจากการบรรยายของท่านจะอ้างอิงจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เชื่อถือได้เป็นหลัก

โดยท่านได้สรุปประเด็นของ “โอไมครอน” ไว้อย่างน่าสนใจซึ่งตรงกันหลายประเด็นที่ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้คือ

วัคซีนเชื้อตายอาจช่วยปกป้องการติดเชื้อ "โอไมครอน" ได้ดีหรือไม่?

 

เพราะวัคซีนเชื้อตายเป็นการใช้เชื้อไวรัสทั้งตัวเข้ากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งแม้จะกระตุ้นภูมิได้ไม่สูงเมื่อเทียบกับวัคซีนประเภทอื่น แต่จะกระตุ้นให้เกิด "แอนติบอดี" มากมายกว่า 20 ชนิด ต่างจากการใช้วัคซีนที่มีไวรัสเป็นพาหะ หรือวัคซีน mRNA ซึ่งภูมิจะขึ้นสูงกว่าแต่จะจำเพาะเจาะจงเฉพาะส่วน "หนาม" เพราะใช้เพียงส่วนหนามเข้ากระตุ้นภูมิเท่านั้น ดังนั้นหากติดเชื้อ "โอไมครอน" ที่ส่วนหนามเปลี่ยนไป อาจทำให้แอนติบอดีในร่างกายเราที่สร้างจากการกระตุ้นเพียงส่วนหนาม (จากวัคซีนไวรัสพาหะ และวัคซีน mRNA) ลดประสิทธิภาพในการป้องกัน "โอไมครอน" ลงได้

และกรณีไวรัสกลายพันธุ์จนสามารถแพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็ว (high transmissibility) ก็มักจะทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยที่ไม่รุนแรง (mild symptom) โดยไวรัสเองจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีน (immune escape) ได้ลดลงเช่นกัน เหตุการลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นมาแล้วกับสายพันธุ์ “บีตา” ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนา 2019 ที่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี (immune escape) แต่แพร่ติดต่อได้ไม่ดี จนถูก สายพันธุ์“เดลตา” ซึ่งแพร่ติดต่อได้รวดเร็วกว่า (more transmissibility) เข้ามาแทนที่ โดย “เดลตา” เองแม้จะแพร่ติดต่อได้ดีแต่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีนัก

หากคาดการณ์สถานการณ์ที่เป็นไปอย่างดีที่สุด โชคดีที่สุดที่ควรเป็นไปได้ (Best case scenario) “โอไมครอน” ซึ่งมีการกลายพันธุ์ไปมากและจากข้อมูลล่าสุดพบว่า สามารถแพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คนได้รวดเร็วกว่า “เดลตา” จะมีความเป็นไปได้สูงที่จะเข้ามาแทนที่เดลตาในที่สุด โดยผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการรุนแรง (mild symptom) ทำให้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดภูมิคุ้มกันโดยไม่ล้มเจ็บต้องเข้า รพ. หรือเสียชีวิต

“โอไมครอน” หากเข้ามาแทน"เดลตา" ได้สำเร็จ อาจช่วยลดระดับความรุนแรงของการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) กลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ที่มีอาการลดลงในที่สุด

เสมือนกับการให้วัคซีนชนิดเชื้อเป็น แต่อ่อนฤทธิ์ (live-attenuated vaccine) แก่คนทั่วโลก (โดยธรรมชาติ) ซึ่งเราน่าจะได้คำตอบภายใน 2-3 อาทิตย์ว่าบทสรุปแนวทางนี้ถูกต้องหรือไม่ ติดตามการบรรยายเต็มประมาณ 19 นาทีได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=Ls7zy6_0Z2s"

 ข้อมูลจาก https://www.tnnthailand.com/news/covid19/98388/

 

 

 

 

 

ภาพจาก AFP

 
 

ศบค.พบคลัสเตอร์ Health Care Worker 3 โรงพยาบาลใหญ่ติดโควิด ทั้ง “ศิริราช กรุงเทพศริสเตียน พระราม 9” สธ.จับตาตัวเลขผู้ป่วยหนัก-เสียชีวิตพุ่ง  ระบุผู้เสียชีวิต 82 รายวันนี้ มี 6 รายได้รับวัคซีนเข็ม 3 แล้ว เหตุมีโรคประจำตัว ขณะที่ยอดฉีดเข็ม 3 ยังต่ำแค่ 32.6% ห่วง “สงขลา” อัตราครองเตียงพุ่งเกิน 58%

วันที่ 24 มีนาคม 2565 แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาล (ศบค.) แถลงสถานการณ์ประจำวันว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก ข้อมูล ณ วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2565 เวลา 10.00 น. มียอดผู้ติดเชื้อรวม 476,481,934 ราย อาการรุนแรง 60,711 ราย รักษาหายแล้ว 411,479,971 ราย เสียชีวิต 6,128,270 ราย

สำหรับอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุด (รวมย้อนหลัง 7 วัน) อันดับ 1.ยังเป็นเกาหลีใต้ จำนวน 2,797,983 ราย 2.เยอรมนี จำนวน 1,592,582 ราย 3.เวียดนาม จำนวน 1,075,132 ราย 4.ฝรั่งเศส จำนวน 729,229 ราย 5.สหราชอาณาจักร จำนวน 549,708 ราย โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 14 ของโลก จำนวน 173,314 ราย

ส่วนสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ผู้ป่วยรายใหม่ 27,024 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,227,545 ราย หายป่วยแล้ว 1,017,558 ราย เสียชีวิตสะสม 2,881 ราย โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 82 ราย

ขณะที่ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,450,980 ราย หายป่วยแล้ว 3,186,052 ราย เสียชีวิตสะสม 24,579 ราย

สธ.จับตาตัวเลขผู้ป่วยหนัก-เสียชีวิต

“จะเห็นชัดเจนว่า การนับจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันมีเส้นกราฟที่ลากเป็นเส้นตรงยาว ถือว่ากราฟยังทรง ๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก แต่สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดจะเป็นตัวเลขของผู้ที่มีอาการหนักและเสียชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องเทียบเคียงกับระบบสาธารณสุขที่จะต้องรองรับด้วย” แพทย์หญิงอภิสมัยกล่าว

สำหรับตัวเลขผู้ป่วยปอดอักเสบ 1,553 ราย จากกราฟยังมีทิศทางเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผู้ที่ใส่ท่อช่วยหายใจจำนวน 583 รายก็ยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ยังยืนอยู่ในระดับเกิน 80 รายมาหลายวันแล้ว โดยทำตัวเลขสูงสุดที่ 88 ราย/วัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา

พบคลัสเตอร์ Health Care Worker 3 รพ.ใหญ่ติดโควิด

สำหรับ 10 จังหวัดที่ยังมีผู้ติดเชื้อสูงสุดยังคงเป็นกรุงเทพมหานคร จำนวน 3,722 ราย รองลงมาเป็นนครศรีธรรมราช 1,746 ราย ชลบุรี 1,341 ราย ซึ่งตัวเลขลดลงแล้ว สมุทรปราการ 920 ราย สงขลา 861 ราย สมุทรสาคร 849 ราย ร้อยเอ็ด 730 ราย ระยอง 593 ราย ราชบุรี 592 ราย และฉะเชิงเทรา 574 ราย

แพทย์หญิงอภิสมัยกล่าวต่อว่า สำหรับคลัสเตอร์ที่ ศบค.ชุดเล็กหารือกันและมีความเป็นกังวลคือคลัสเตอร์กลุ่ม Health Care Worker หรือกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์หรือสาธารณสุข ซึ่งมีรายงานใน กทม. ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน และโรงพยาบาลพระราม 9

“ส่วนโรงเรียน สถานศึกษา โรงงาน สถานประกอบการ ระยะหลังจะเห็นคลัสเตอร์ในกลุ่มนี้น้อยลงอย่างชัดเจน ถือได้ว่าผู้ประกอบการ หรือผู้จัดการโรงเรียน หรือรวมไปถึงประชาชน ผู้ปกครอง มีความเข้าใจถึงความเข้มงวดในสถานศึกษา โรงงาน สถานประกอบการ จึงทำให้เห็นคลัสเตอร์กลุ่มนี้ลดน้อยลง” แพทย์หญิงอภิสมัยกล่าว และว่า

ในส่วนที่ยังเป็นคลัสเตอร์อย่างต่อเนื่องจะเป็นกลุ่มพิธีกรรมทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นที่มหาสารคามมีรายงาน งานบวช งานบุญแจกข้าวที่กาฬสินธุ์ งานบุญเดือนสี่ งานแต่งงานที่อุดรธานี

 

“สงขลา” อัตราครองเตียงพุ่ง

แต่ที่สาธารณสุขจะสนใจเป็นพิเศษคืออัตราครองเตียง คือถ้านับจากจังหวัดที่ติดเชื้อ 1-10 เทียบกับอัตราการครองเตียงจะพบว่าทั้งประเทศอัตราการครองเตียงระดับ 2-3 ที่ต้องรองรับผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบ มีกลุ่มเสี่ยงสูงอายุ ยังอยู่ในเกณฑ์รองรับได้ โดยทั้งประเทศมีระดับครองเตียง 2-3 (เขียวอ่อน-เขียวเข้ม) อยู่ที่ 26.4% ยังสามารถรองรับผู้ป่วยระดับ 2-3 ได้อีกประมาณ70%

“แต่ใน 10 จังหวัดตอนนี้อัตราการครองเตียงที่น่าเป็นห่วงจะอยู่ที่จังหวัดสงขลา ตอนนี้มีอัตราการครองเตียงอยู่ที่ 58.4% ถือได้ว่าใช้ไปเกินครึ่ง ขณะที่ใน กทม.ระดับการครองเตียงยังอยู่ที่ระดับ 32.3% และในบางจังหวัดอย่างนครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ อัตราการครองเตียงยังค่อนข้างต่ำ แม้ว่าจะมีการรายงานอัตราการติดเชื้อซึ่งก็ไม่เล็ก แต่ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อแข็งแรง อายุน้อย อาการไม่รุนแรง ทำให้สามารถรักษาที่บ้าน หรือโรงพยาบาลสนาม หรือศูนย์รักษาในชุมชนได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะติดตามอย่างใกล้ชิดถึงศักยภาพการครองเตียง”

พบ 6 รายฉีดเข็ม 3 เสียชีวิต

ส่วนรายละเอียดของผู้เสียชีวิต 82 รายในวันนี้เป็นชาย 46 ราย หญิง 36 ราย เป็นคนไทย 76 ราย เมียนมา 5 ราย อังกฤษ 1 ราย แต่อย่างที่เคยบอกสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อและมีอาการรุนแรงจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปี และกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ซึ่งอีกปัจจัยหนึ่งที่เน้นย้ำทุกครั้งคือการได้รับวัคซีน

โดยในวันนี้ผู้เสียชีวิต 82 ราย มีถึง 46 รายที่ยังไม่ได้รับวัคซีนแม้แต่เข็มที่ 1 และมี 6 รายที่เพิ่งได้รับเข็ม 1 ไม่นานก็เกิดการติดเชื้อ และทำให้มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต และมี 16 รายที่ได้รับวัคซีนแล้ว 2 เข็ม แต่ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น

“มี 6 รายที่เพิ่งได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 แต่อาจจะได้รับไม่นานพอ ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะต่อสู้กับโรค ที่สำคัญในกลุ่มเสี่ยง 6 รายนี้ที่ได้รับเข็ม 3 แล้วเสียชีวิตก็เป็นกลุ่มที่มีโรคประจำตัวทุกรายด้วย” แพทย์หญิงอภิสมัยกล่าว และย้ำว่า

 

สิ่งสำคัญในช่วงนี้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว คงต้องช่วยกันรณรงค์อย่างต่อเนื่อง พาท่านเหล่านี้ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้น

ตัวเลขฉีดเข็ม 3 ยังต่ำ แค่ 32.6%

ส่วนผู้มารับวัคซีน ณ วันที่ 23 มีนาคม 2565 ณ เวลา 18.00 น. วานนี้ มีผู้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 71,997 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 19,010 รายเข็มที่ 3 จำนวน 113,164 ราย และระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 – 23 มีนาคม 2565 มีผู้รับวัคซีนสะสมทั้งหมด จำนวน 127,862,740 โดส (ตามกราฟิก)

  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 55,044,107 ราย
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 50,162,888 ราย
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 22,655,745 ราย

“กลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 ยังเป็นตัวเลขที่ไม่ได้ขยับเท่าไร ถือได้ว่ายังต่ำอยู่คือ 32.6% เช่นเดียวกับกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งหากติดเชื้อแล้วอาจมีอาการป่วยหนัก ทั้งประเทศฉีดเข็ม 2 ไปแล้ว 10 ล้านโดส คิดเป็น 79% แต่เข็ม 3 ของกลุ่มสูงอายุ 60 ปียังอยู่ที่ 33.6% ยังค่อนข้างน้อยและต้องรณรงค์กันอย่างต่อเนื่อง” แพทย์หญิงอภิสมัยกล่าว และว่า

สำหรับพื้นที่ที่ยังได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นค่อนข้างน้อยได้แก่เขตสุขภาพที่ 8 ได้แก่ อุดรธานี สกลนคร นครพนม เลย หนองคาย หนองบัวลำภูและบึงกาฬ และอีกเขตได้แก่เขตที่ 12 ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ส่วนเขตที่มีการฉีดค่อนข้างสูงได้แก่เขตสุขภาพที่ 13 คือ กทม. ซึ่งเป็นเขตที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่เป็นไปตามแผน (ดูตารางด้านล่าง)

แพทย์หญิงอภิสมัยยังกล่าวถึงเรื่องเทศกาลสงกรานต์ที่ ศบค.มีความเป็นห่วงว่า หลายครอบครัวมีการวางแผนพาเด็กไปท่องเที่ยว ไปพบญาติผู้ใหญ่ มีการพบปะสังสรรค์ ที่ประชุมมีการหารือหลักการอยู่ร่วมกับโควิด โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ขอความร่วมมือว่าการจัดงานสงกรานต์ได้ เดินทางข้ามพื้นที่ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ สังสรรค์ ร่วมงานประเพณีได้ แต่ต้องทำในลักษณะที่ดำรงวัฒนธรรมประเพณี อยู่ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยทางสาธารณสุข งดการสาดน้ำ ปะแป้ง ห้ามจัดปาร์ตี้โฟม รวมทั้งห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่สาธารณะ

นอกจากนี้หากมีการไปเที่ยว จองที่พักโรงแรม ขอให้ระมัดระวังผู้ที่มีประวัติเสี่ยง หรือต้องมีการตรวจ ATK รวมถึงหลีกเลี่ยงเลี่ยงการรับประทานอาหารในพื้นที่ปิดและใช้เวลาร่วมกันนานๆ

ข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/general/news-894128

คุณหมอท่านนี้เคยอยู่อเมริกา
กลับมาเมืองไทยเพราะมารับหน้าที่ผอ.รพ.กรุงเทพสมัยที่เจ้าของรพ.จะเปิดกิจการให้ go inter
ขอเกษียณอายุตัวเองมาได้ 3-4 ปีแล้ว
ตอนนี้อายุ 70 ปลายๆแล้ว แต่ยังคล่องมากๆ
เคยรับการผ่าตัดหัวใจมาแล้วด้วย
คิดว่าเป็นอีกมุมมองนึงจากหมอคนนึงก็แล้วกันนะครับ

ผมกับภริยาเพิ่งไปฉีด AstraZeneca เมื่อ 2 วันก่อนนี้เองเช่นเดียวกัน ผมแนะนำให้พวกเราไปฉีดอย่างยิ่งครับ ด้วยเหตุผลดังนี้
1. โอกาสติดโรคน้อยลง
2. เมื่อติดแล้วโอกาสตายเกือบเป็นศูนย์
3. ตัดวงจรการแพร่โรคลง ประเทศเราต้องการคนที่มีภูมิคุ้มกันประมาณ 60% (Herd Immunity)
4. พวกเราชอบเที่ยว ต้องมี Vaccine Passport จึงจะเที่ยวได้ใน New Normal ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5. โดยสรุป ความเห็นส่วนตัวของผมเราผู้สูงอายุควรฉีด AstraZeneca เพราะวิธีการผลิตและ effect ระยะยาวก็เป็นที่ทราบกันดีในวงการแพทย์ (คล้ายวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่พวกเราฉีดกันทุกปี) ส่วนตัวอื่นเช่น Pfizer & Moderna (messenger RNA) วงการแพทย์ไม่รู้ ผลข้างเคียงระยะยาวเลยเพราะเป็นวัคซีนที่ผลิตมาวิธีใหม่
6. โดยส่วนตัวผมทาน Baby Aspirin วันละ 1 เม็ดหนึ่งอาทิตย์ก่อนฉีด และ 2 อาทิตย์หลังฉีดเพื่อป้องกัน Blood clots จากการฉีดวัคซีน

เป็นความเห็นส่วนตัวครับและขอให้เพื่อนทุกท่านปลอดภัยนะครับ

นพ.ชาตรี ดวงเนตร PRC รุ่น 05

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ