อว. เผย ไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว 60,228,105 โดส และทั่วโลกแล้ว 6,505 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 422.08 ล้านโดส

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 6,505 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 25.5 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 402 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 187 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 422.08 ล้านโดส โดยกัมพูชาฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (78.2% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 157.92 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 60,228,105 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 60.66%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 6,505 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2564
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 60,228,105 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
- เข็มแรก 35,093,892 โดส (53% ของประชากร)
- เข็มสอง 23,400,992 โดส (35.4% ของประชากร)
- เข็มสาม 1,733,221 โดส (2.6% ของประชากร)

2. อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 11 ต.ต. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 60,228,105 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 688,481 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 725,377 โดส/วัน

3. อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 17,536,135 โดส
- เข็มที่ 2 3,514,098 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 10,461,224 โดส
- เข็มที่ 2 15,472,772 โดส
- เข็มที่ 3 1,241,610 โดส

วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 5,958,845 โดส
- เข็มที่ 2 3,877,124 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 1,137,688 โดส
- เข็มที่ 2 536,998 โดส
- เข็มที่ 3 491,611 โดส

4. การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่ 1 123.4% เข็มที่ 2 119.3% เข็มที่ 3 90.9%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่ 1 62.6% เข็มที่ 2 55.3% เข็มที่ 3 8.6%
- อสม เข็มที่ 1 73% เข็มที่ 2 63.7% เข็มที่ 3 7.4%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่ 1 62.7% เข็มที่ 2 43.6% เข็มที่ 3 1.6%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่ 1 46.1% เข็มที่ 2 28.6% เข็มที่ 3 1.5%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่ 1 60% เข็มที่ 2 44.3% เข็มที่ 3 0.3%
- หญิงตั้งครรภ์ เข็มที่ 1 14.2% เข็มที่ 2 9.5% เข็มที่ 3 0.1%
- นักเรียน/นักศึกษา เข็มที่ 1 9.3% เข็มที่ 2 0.1% เข็มที่ 3 0%
รวม เข็มที่ 1 48.7% เข็มที่ 2 32.5% เข็มที่ 3 2.4%

5. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 422,086,943 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 157,929,575 โดส (36.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. ไทย จำนวน 60,228,105 โดส (53%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
3. เวียดนาม จำนวน 53,231,969 โดส (39.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
4. ฟิลิปปินส์ จำนวน 49,673,491 โดส (23.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca
 
5. มาเลเซีย จำนวน 45,650,714 (74.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
6. กัมพูชา จำนวน 25,914,182 โดส (79.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
7. พม่า จำนวน 14,013,530 โดส (18.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
8. สิงคโปร์ จำนวน 9,613,475 โดส (78.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9. ลาว จำนวน 5.289,883 โดส (41.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 542,019 โดส (74.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

6. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 68.84%
2. ยุโรป 11.02%
3. อเมริกาเหนือ 9.60%
4. ละตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.17%
5. แอฟริกา 2.79%
6. โอเชียเนีย 0.58%

7. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 2,220.13 ล้านโดส (79.3% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. อินเดีย จำนวน 951.90 ล้านโดส (34.8%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 401.82 ล้านโดส (62.7%)
4. บราซิล จำนวน 249.02 ล้านโดส (60.3%)
5. ญี่ปุ่น จำนวน 172.13 ล้านโดส (68.2%)

8. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (100%) (ฉีดวัคซีนของ Moderna, Pfizer/BioNTech, AstraZeneca/Oxford และ J&J)
2. มัลดีฟส์ (99.1% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
3. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (95.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
4. อุรุกวัย (90.9%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
5. บาห์เรน (89.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
6. ชิลี (87.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac
7. อิสราเอล (86.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
8. กาตาร์ (85.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
9. จีน (79.3%) (ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sinovac และ CanSino)
10. สิงคโปร์ (78.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุขประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
 
 
 

 
 
 
 
 
ไทยโดนด้วย! 'ไข้เลือดออก' ซ้ำโควิดระบาดหนัก 'อาเซียน'
 

ในช่วงที่ระบบสาธารณสุขกำลังแออัดเพราะรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ก็ต้องเจอกับไข้เลือดออกระบาด

เหลียง โฮ นัม แพทย์ด้านโรคติดเชื้อโรงพยาบาลเมาท์เอลิซาเบธ โนเวนา ในสิงคโปร์ เผยกับซีเอ็นบีซีว่า จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พุ่งขึ้นมาก

สัปดาห์ก่อน สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสิงคโปร์ (เอ็นอีเอ) กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจ่อทุบสถิติ 22,170 คน ที่เคยทำไว้ในปี 2556 ข้อมูลถึงวันที่ 6 ก.ค. จำนวนผู้ป่วยเกินกว่า 15,500 คนแล้ว

“ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปีนี้จะเป็นที่สถานการณ์ย่ำแย่” เหลียงให้ความเห็นถึงสถานการณ์ในสิงคโปร์ตั้งแต่ก่อนเอ็นอีเอแถลงข้อมูลเสียอีก

ส่วนประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดือนก่อนปลัดกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียเตือนว่า จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกพุ่งสูงทั่วประเทศ

ในอินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน่วยงานสาธารณสุขรายงานว่า ปลายเดือน มิ.ย. จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศอยู่ที่ 68,000 คน

 

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (ซีดีซี) จัดความเสี่ยงไข้เลือดออกในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ยกเว้นสิงคโปร์ว่า “เกิดบ่อย/ต่อเนื่อง”

 

ไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากในช่วงที่โลกกำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจโลกเสียหายหนัก ประชาชนหลายล้านคนออกไปไหนไม่ได้ต้องอยู่แต่ในบ้าน ผลจากมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมเพื่อควบคุมโรค

“โชคไม่ดีเลยที่ไข้เลือดออกพบเนื้อคู่เหมาะสมนั่นคือการล็อคดาวน์ เมื่อคนเราต้องอยู่กับบ้านหนีโควิด ก็ยิ่งเสี่ยงเจอยุงพาหะไข้เลือดออกที่เพาะพันธุ์อยู่ในละแวกบ้านมากขึ้น ยิ่งมีผู้ติดเชื้อมากก็ยิ่งเป็นไปได้มากที่ยุงไม่ติดเชื้อมากัดคนที่ติดเชื้อเป็นเหตุให้ไข้เลือดออกขยายวงมากขึ้น” เหลียงขยายความ

ด้าน ดูแอน กูเบลอร์ ผู้อำนวยการก่อตั้งโครงการวิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ มหาวิทยาลัยแพทย์ดยุค-เอ็นยูเอสในสิงคโปร์ เห็นพ้องกับเหลียง

“ผู้คนติดอยู่กับบ้านตลอดเวลาจึงมีโอกาสโดนยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัดมากขึ้น ดังนั้นต้องมีมาตรการให้มากยิ่งขึ้นมาควบคุมลูกน้ำยุงลาย” กูเบลอร์กล่าวพร้อมเตือนถึงอันตรายของพื้นที่ก่อสร้าง ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงขนานใหญ่ อันเป็นผลจากการล็อคดาวน์ป้องกันโควิด-19

“การระบาดของโควิดอาจมีอิทธิพลต่อการแพร่กระจายไข้เลือดออกได้เป็นอย่างมาก” นักวิชาการให้ความเห็น

ในบรรดาประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะนี้อินโดนีเซียมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด 70,736 คน ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ รองลงมาคือฟิลิปปินส์ 51,754 คน และสิงคโปร์ 45,423 คน

เหลียงกล่าวว่า ประเทศที่เคยควบคุมการระบาดของไข้เลือดออกได้ดีในอดีต ตอนนี้เสียหายมากกว่าเดิม

ทั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบการติดเชื้อ ผู้เชี่ยวชาญใช้มาตรวัดที่เรียกว่า “อัตราการติดเชื้อไข้เลือดออกที่อายุ 9 ขวบ”

สิงคโปร์มีเด็กอายุ 9 ขวบเป็นไข้เลือดออกไม่ถึง 9% ส่วนตัวเลขในประเทศเพื่อนบ้านสูงกว่า มาเลเซียอยู่ที่ 30-40% ไทยและอินโดนีเซีย 50-60% และฟิลิปปินส์ 90%

เหลียงยกตัวอย่างฟิลิปปินส์ที่เขามองว่า “ไม่มีอะไรจะเสีย” ในทางกลับกันประเทศอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียต่างหากที่ยัง “เสียหายได้อีกมาก” เขาเตือนด้วยว่า ระดับภูมิคุ้มกันหมู่ที่ลดลงในกลุ่มประชากรทั่วไป ทำให้ยุงหาตัวคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันได้ง่ายขึ้น การติดเชื้อกระจายง่ายขึ้น

เมื่อมองไปข้างหน้า กูเบลอร์ กล่าวว่า ประเทศในภูมิภาคที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญคือฤดูฝน ปกติอยู่ระหว่างเดือน ก.ค.-พ.ย. ที่การติดเชื้อไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น เขาเกรงว่าในช่วงโควิด-19 ระบาด ประเทศทั้งหลายอาจไม่มีสถานพยาบาลรับมือกับโรคอื่นโดยเฉพาะไข้เลือดออก

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/888839?anf=

 


แคนาดา และออสเตรเลีย ระบุวัคซีนโควิด-19 ของ “แอสตร้าเซนเนก้า” มีความปลอดภัย และจะเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีนต่อไป แม้เดนมาร์กและนอร์เวย์ระงับใช้วัคซีนของบริษัทแห่งนี้ชั่วคราว ท่ามกลางรายงานข่าวที่ระบุพบก่อการตัวของลิ่มเลือดในประชาชนบางรายที่ได้รับวัคซีนดังกล่าว

กระทรวงสาธารณสุขแคนาดาระบุในถ้อยแถลงว่า “สาธารณสุขแคนาดาทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์อาการไม่พึงประสงค์ในยุโรป หลังฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว และอยากรับประกันกับชาวแคนาดาทุกคนว่าประโยชน์ของวัคซีนจะยังคงมีน้ำหนักเหนือกว่าความเสี่ยงทั้งหลายจากวัคซีน”

“ในเวลานี้ยังไม่พบสิ่งบ่งชี้ว่าวัคซีนเป็นสาเหตุของอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้” ถ้อยแถลงของกระทรวงสาธารณสุขแคนาดาระบุ

แคนาดาได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตโดยสถาบันเซรัมแห่งอินเดีย จำนวน 500,000 โดสเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และคาดหมายว่าจะไดรับวัคซีนเพิ่มเติมอีก 1.5 ล้านโดสในช่วงเดือนพฤษภาคม

“จนถึงตอนนี้กระทรวงสาธารณสุขแคนาดาหรือสำนักงานสาธารณสุขแห่งแคนาดา ยังไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์อาการไม่พึงประสงค์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ในแคนาดาเลย” ถ้อยแถลงกล่าว

รัฐบาลกลางแคนาดาสั่งซื้อวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าทั้งหมด 20 ล้านโดส และมีกำหนดรับมอบผ่านโครงการโคแว็กซ์ 1.9 ล้านโดส

แม้แคนาดาสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ในจำนวนโดสต่อประชากร มากกว่าประเทศไหนๆ ในโลก แต่เบื้องต้นการแจกจ่ายเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนหนึ่งสืบเนื่องจากปัญหาความวุ่นวายในการส่งมอบที่เกิดขึ้นกับวัคซีนของไฟเซอร์ อิงก์ และโมเดอร์นา อิงกื

อีกด้านหนึ่ง ออสเตรเลียเปิดเผยในวันศุกร์ (12 มี.ค.) ว่าจะยังคงเดินหน้าฉีดวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ด้วยไม่พบหลักฐานที่เชื่อมโยงกับภาวะลิ่มเลือด แม้ชาติในยุโรปบางประเทศตัดสินใจระงับใช้เป็นการชั่วคราว

เดนมาร์ก นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ เมื่อวันพฤหัสบดี (11 มี.ค.) ระงับใช้วัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หลังมีรายงานพบการก่อตัวของลิ่มเลือดในประชาชนบางรายที่ได้รับวัคซีน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลออสเตรเลียระบุว่าในขณะที่คณะผู้ควบคุมกฎระเบียบด้านยาของประเทศ จะคอยสังเกตอาการเคสต่างๆ เหล่านี้ จะไม่มีการระงับการแจกจ่ายวัคซีนแต่อย่างใด “เราจะเดินหน้าวัคซีน เราจะเดินหน้าแจกจ่ายวัคซีน” ไมเคิล แม็กคอร์มัค รองนายกรัฐมนตรีบอกกับพวกผู้สื่อข่าวในเมลเบิร์น

พอล เคลลีย์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ของออสเตรเลีย ระบุไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าวัคซีนก่อให้เกิดลิ่มเลือด “เราจริงจังกับมันและทำการสืบสวน” เคลลีในระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ผ่านอีเมล อ้างถึงรายงานเกี่ยวกับการก่อตัวของลิ่มเลือด

ออสเตรเลียจัดซื้อวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 54 ล้านโดส ซึ่งทาง เบรนแดน เมอร์ฟี รัฐมนตรีสาธารณสุขให้คำจำกัดความเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ว่า เป็นวัคซีนขุมกำลังเพื่อออสเตรเลีย เนื่องจากในนั้น 50 ล้านโดสจะเป็นการผลิตในประเทศโครงการแจกจ่ายของวัคซีนเพิ่งเริ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้รัฐบาลอนุรักษนิยมตกอยู่ภายใต้แรงกดดันเกี่ยวกับความล่าช้าของโครงการฉีดวัคซีน

นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ของออสเตรเลียเปิดเผยว่า เชื่อว่าโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ภายในเดือนตุลาคมนี้ แม้ว่าออสเตรเลียกำลังประสบปัญหาล่าช้าในขั้นต้นของการฉีดวัคซีนก็ตาม

จนถึงตอนนี้มีประชาชนแค่ราวๆ 150,000 คนที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังพอควบคุมได้อยู่ โดยออสเตรเลียไม่ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันเหมือนประเทศอื่นๆ ไม่พบผู้ติดเชื้อในชุมชนมานานเกือบ 2 สัปดาห์แล้ว

นับตั้งแต่โรคระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น ยอดติดเชื้อสะสมของออสเตรเลียเวลานี้อยู่ที่ราวๆ 29,000 คน ในนั้นเสียชีวิต 909 ราย น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วชาติอื่นๆ ค่อนข้างมาก ผลจากมาตรการปิดชายแดนระหว่างประเทศ ล็อกดาวน์ และกำหนดมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเข้มข้น

(ที่มา : รอยเตอร์)
 

ไม่ซื้อ และ รับทาน ผัก ผลไม้ทุกชนิด จาก USA 

 

ประเทศ Singapore ห้ามประชาชนแล้ว เหตุผล คือ USA ใช้รถบรรทุก เหล่านี้ บรรทุกศพผู้ตาย Covid. มาใช้

บรรทุกอาหาร เขื้อจะเข้าไปปนกับ อาหารเหล่านี้

Cherry จากอเมริกา Central รีบขาย ลดราคา คงต้องงดซื้อน่ะ
น่ากลัวจัง

สารจากเพื่อนอดีตอาจารย์ AIMST (สถาบันการแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเชีย) ที่ขึ้นเครื่องคณะจิตอาสาจะไปช่วยอินเดีย แต่เครื่องต้องวกลงปีนัง เพราะน่านฟ้าอินเดียปิดสนิทจากวิกฤตภาคพื้นดิน

ระวัง:โควิด19
เชื้อกลายพันธุ์ใหม่จะแสดงผลเท็จเป็นลบเมื่อแยงจมูกตรวจ รุ่นนี้ไวรัสจะตรงเข้าปอด ไม่แสดงอาการไข้ขึ้นหรือไอ แค่ปวดเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
คนไข้จากอาการไม่น่าวิตกจะทรุดลงสุดถึงเป็นตายเท่ากันใน 8 – 10 ชั่วโมง
คนไข้ที่เพิ่งหายจากโควิด19 ราวปีที่แล้วยิ่งเสี่ยงนัก เพราะระบบทางเดินหายใจยังฟื้นไม่สนิท เมื่อเจอเชื้อกลายพันธุ์ใหม่เข้า อัตราเสียชีวิตจะยิ่งสูง
ข้อมูลที่ได้จากทั่วประเทศอินเดีย ไม่ใช่แค่ขั้นน่าวิตก มันคือกาฬวิบัติแห่งประวัติศาสตร์
เราประหวั่นว่าปากีสถาน อัฟกานิสถาน และบังคลาเทศ กำลังได้รับเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ใหม่และเผชิญวิบากกรรมเช่นที่อินเดีย
เพื่อนเราตามเมืองเล็ก ๆ ทั่วอินเดีย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า มันคือสงครามที่เราแพ้ราบคาบแล้ว เหลือแค่คุมที่ทรงให้รอดและรักษาชีวิตให้มากเท่าที่จะทำได้เท่านั้น
เราได้เห็นเด็กกว่า 400 คนบ้านเราที่ถูกคร่าชีวิตในชั่ว 10 -12 ชั่วโมง ระยะแรกๆ ไม่มีใครแสดงอาการ แต่ชั่วโมงเศษๆ ระดับออกซิเยนลดฮวบฮาบ แล้วก็สิ้นลม
เราได้ดูแลคนไข้หลายคนจากต่างประเทศที่มามุมไบ ฉีดวัคซีนก็แล้ว ผลปรากฏ 17 ใน 28 คนไม่รอด
บริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนล่ม เศรษฐี คนชั้นกลางและคนจนต่างรับผลเท่าถ้วนเสมอหน้ากัน และมันแพร่ระบาดปานไฟลามทุ่ง เร็วมาก
ถ้าขืนมีการกลายพันธุ์หรือแปรรูปไปอีก ก็น่าจะถึงการณ์สิ้นโลก
นี้จึงเป็นการเตือนภัยขั้นวิกฤต มายังทุกคนในบ้านท่าน
ไม่ว่าเด็กเล็ก ผู้สูงวัย ในอินเดีย เชื้อไวรัสนี้คุมไม่อยู่ ภาครัฐและระบบต่าง ๆ ล่มสลาย เกินกว่าที่ใครจะคาดได้
สำหรับบรรดาประเทศพัฒนาอื่นๆ แต่ระบบสาธารณสุขอ่อนเปลี้ย พึงสังสรณ์ว่าเราช่วยอะไรคุณไม่ได้
เพียงขอให้เราช่วยกันหยุดการแพร่ระบาด แม้จะต้องใช้มาตรการกฎเหล็กปิดพื้นที่ หาไม่ก็จะเหลือแต่สถิติยอดศพที่จะกลบไข้หวัดใหญ่สเปนจากปูมไปเลย
สารจาก Dr Pradeep Senha
Sassoon General Hospital, Maharashtra
โรงพยาบาลขนาด 1,296 เตียงในเมืองปูเณ รัฐมหาราษฎระ ทางตะวันตกของประเทศอินเดีย
(ดนัย ฮันตระกูล แปล 29 เมษ 2564)

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ