ไขข้อสงสัย "แพ้วัคซีนโควิด-19" ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 ได้รับเยียวยาหรือไม่
 
สปสช.แจ้งประชาชนฉีด "วัคซีนโควิด-19" ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์ ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 สปสช.ช่วยเหลือเบื้องต้นเฉพาะผู้มี "สิทธิบัตรทอง" ขณะที่ประชาชนที่มีสิทธิอื่น ให้ยื่นหน่วยงานดูแลสิทธิการรักษา

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะโฆษก สปสช. กล่าวว่า ตามที่ สปสช.ได้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับวัคซีนที่ประชาชนได้รับการฉีดฟรีทุกสิทธิการรักษา ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดย สปสช.ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 และมีผลย้อนหลังถึงวันที่ 5 เมษายน 2564 นั้น   

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ลดความรุนแรงลง และเตรียมเข้าสู่โรคประจำถิ่น ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ได้ปรับหลักเกณฑ์ แนวทางการจ่ายชดเชยบริการโควิด-19 ตามแผนปรับโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น พร้อมกำหนดให้บริการกรณีโควิด-19 ซึ่งรวมถึง “กรณีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19” ให้เบิกจ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในหมวดรายการที่เกี่ยวข้อง จากเดิม

เป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ร.ก.กู้เงินฯ และจำกัดการดูแลเฉพาะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง จากเดิมที่เป็นการดูแลครอบคลุมประชาชนทุกสิทธิการรักษา

“ผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ในกรณีที่แพ้วัคซีน สปสช.จะดูแลเฉพาะผู้ใช้สิทธิบัตรทองเท่านั้น สำหรับผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่เป็นสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ให้ยื่นเรื่องกับหน่วยงานตามสิทธิรักษาพยาบาลของตนเอง เช่น กรณีผู้ประกันตน ให้ยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคม ฯลฯ ซึ่งจะได้รับการดูแลช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์สิทธินั้นๆ”  

ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ในกรณีที่มีผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งฉีดวัคซีนโควิดตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นมา และได้ยื่นคำร้องมายัง สปสช. ก่อนหน้านี้แล้ว ทาง สปสช.จะรวมรวมคำร้องทั้งหมดนี้ และส่งต่อให้กับหน่วยงานที่ดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลของท่าน อย่างไรก็ตามขอย้ำว่า การดำเนินการนี้ สปสช. ได้เปลี่ยนแปลงการดำเนินการที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ในการปรับเป็นโรคประจำถิ่น 

ไขข้อสงสัย "แพ้วัคซีนโควิด-19" ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 ได้รับเยียวยาหรือไม่

ทั้งนี้ จากข้อมูลถึงปัจจุบัน (9 ก.ย. 65) มีประชาชนยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือฯ ทั่วประเทศจำนวน 21,139 ราย

  • เป็นผู้มีสิทธิบัตรทองมากที่สุด 12,065 ราย
  • รองลงมาสิทธิประกันสังคม 4,691 ราย
  • สิทธิสวัสดิการข้าราชการ 3,910 ราย
  • สิทธิข้าราชการท้องถิ่น 330 ราย
  • ยังมีคำร้องที่เป็นสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ทั้งนี้มีจำนวนผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์รับการช่วยเหลือฯ 17,559 ราย
  • อยู่ระหว่างรอการพิจารณา 406 ราย

ในจำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือฯ แยกเป็น

  • กรณีเสียชีวิตทุพพลภาพ 4,441 ราย
  • พิการหรือสูญเสียอวัยวะ 505 ราย
  • บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง 11,331 ราย
  • รวมเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 2,083,680,900 บาท 

“ในช่วง 17 เดือนที่ผ่านมา ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชน โดยข้อมูลล่าสุด (8 ก.ย. 65) ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิดแล้วจำนวน 142.93 ล้านโดส ให้กับประชาชนจำนวน 31.9 ล้านคน ในจำนวนนี้ผู้มีแพ้วัคซีนโควิดและได้รับการช่วยเหลือจำนวน 17,559 คน คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน” โฆษก สปสช. กล่าว 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือ คลิก และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1026015?anf=

 

 
ไขข้อสงสัย "แพ้วัคซีนโควิด-19" ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 ได้รับเยียวยาหรือไม่
 
สปสช.แจ้งประชาชนฉีด "วัคซีนโควิด-19" ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์ ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 สปสช.ช่วยเหลือเบื้องต้นเฉพาะผู้มี "สิทธิบัตรทอง" ขณะที่ประชาชนที่มีสิทธิอื่น ให้ยื่นหน่วยงานดูแลสิทธิการรักษา

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะโฆษก สปสช. กล่าวว่า ตามที่ สปสช.ได้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับวัคซีนที่ประชาชนได้รับการฉีดฟรีทุกสิทธิการรักษา ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดย สปสช.ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 และมีผลย้อนหลังถึงวันที่ 5 เมษายน 2564 นั้น   

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ลดความรุนแรงลง และเตรียมเข้าสู่โรคประจำถิ่น ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ได้ปรับหลักเกณฑ์ แนวทางการจ่ายชดเชยบริการโควิด-19 ตามแผนปรับโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น พร้อมกำหนดให้บริการกรณีโควิด-19 ซึ่งรวมถึง “กรณีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19” ให้เบิกจ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในหมวดรายการที่เกี่ยวข้อง จากเดิม

เป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ร.ก.กู้เงินฯ และจำกัดการดูแลเฉพาะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง จากเดิมที่เป็นการดูแลครอบคลุมประชาชนทุกสิทธิการรักษา

“ผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ในกรณีที่แพ้วัคซีน สปสช.จะดูแลเฉพาะผู้ใช้สิทธิบัตรทองเท่านั้น สำหรับผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่เป็นสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ให้ยื่นเรื่องกับหน่วยงานตามสิทธิรักษาพยาบาลของตนเอง เช่น กรณีผู้ประกันตน ให้ยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคม ฯลฯ ซึ่งจะได้รับการดูแลช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์สิทธินั้นๆ”  

ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ในกรณีที่มีผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งฉีดวัคซีนโควิดตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นมา และได้ยื่นคำร้องมายัง สปสช. ก่อนหน้านี้แล้ว ทาง สปสช.จะรวมรวมคำร้องทั้งหมดนี้ และส่งต่อให้กับหน่วยงานที่ดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลของท่าน อย่างไรก็ตามขอย้ำว่า การดำเนินการนี้ สปสช. ได้เปลี่ยนแปลงการดำเนินการที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ในการปรับเป็นโรคประจำถิ่น 

ไขข้อสงสัย "แพ้วัคซีนโควิด-19" ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 ได้รับเยียวยาหรือไม่

ทั้งนี้ จากข้อมูลถึงปัจจุบัน (9 ก.ย. 65) มีประชาชนยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือฯ ทั่วประเทศจำนวน 21,139 ราย

  • เป็นผู้มีสิทธิบัตรทองมากที่สุด 12,065 ราย
  • รองลงมาสิทธิประกันสังคม 4,691 ราย
  • สิทธิสวัสดิการข้าราชการ 3,910 ราย
  • สิทธิข้าราชการท้องถิ่น 330 ราย
  • ยังมีคำร้องที่เป็นสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ทั้งนี้มีจำนวนผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์รับการช่วยเหลือฯ 17,559 ราย
  • อยู่ระหว่างรอการพิจารณา 406 ราย

ในจำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือฯ แยกเป็น

  • กรณีเสียชีวิตทุพพลภาพ 4,441 ราย
  • พิการหรือสูญเสียอวัยวะ 505 ราย
  • บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง 11,331 ราย
  • รวมเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 2,083,680,900 บาท 

“ในช่วง 17 เดือนที่ผ่านมา ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชน โดยข้อมูลล่าสุด (8 ก.ย. 65) ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิดแล้วจำนวน 142.93 ล้านโดส ให้กับประชาชนจำนวน 31.9 ล้านคน ในจำนวนนี้ผู้มีแพ้วัคซีนโควิดและได้รับการช่วยเหลือจำนวน 17,559 คน คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน” โฆษก สปสช. กล่าว 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือ คลิก และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/1026015

 

ไขข้อสงสัย! รวบรวมทุกเรื่องที่ 'หญิงตั้งครรภ์'ควรรู้ เมื่อติดโควิด-19

 

“หญิงตั้งครรภ์” เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดโควิด-19 จำนวนมาก ล่าสุดข้อมูลตั้งแต่ระหว่าง 1 เม.ย.- 18 ส.ค.2564 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด 2,327ราย เสียชีวิต 53 ราย ทารกติดเชื้อ 119 ราย เสียชีวิต 23 ราย

วานนี้ (19 ส.ค.2564) นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ และโฆษกกรมอนามัย แถลงสถานการณ์โรคโควิด-19 และการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ ว่าการติดเชื้อหญิงตั้งครรภ์ เฉลี่ยวันละ 2-3 ราย และไม่ได้เสียชีวิตเฉพาะหญิงตั้งครรภ์แต่ทารกในครรภ์ก็เสียชีวิตร่วมด้วย โดยขณะนี้มีหญิงตั้งครรภ์ ได้ฉีดวัคซีนประมาณ 20,000 กว่าคน แต่ในจำนวนดังกล่าวก็ได้ไม่ถึง 10%

  • เช็คปัจจัยเสี่ยง 'หญิงตั้งครรภ์' ติดเชื้อโควิด-19

สถานการณ์โควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด 6 สัปดาห์และทารกแรกเกิดระหว่าง 1 เม.ย.-18 ส.ค.2564 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 2,327 ราย แบ่งเป็นคนไทย 1,590ราย คนต่างด้าว 737 ราย เคยรับวัคซีน 22 ราย ซึ่งในจำนวนหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ เสียชีวิต 53 ราย แบ่งเป็นคนไทย 40 ราย ต่างด้าว 10 ราย ไม่ระบุ 3 ราย ขณะที่ทารกติดเชื้อ 119 ราย เสียชีวิต 23 ราย

162938894366

ใน 10 จังหวัดที่มีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ กทม. 462 ราย สมุทรสาคร 356 ราย ปทุมธานี 97 ราย ยะลา 82 ราย สงขลา 80 ราย พระนครศรีอยุธยา 76 ราย นราธิวาส 75 ราย สมุทรปราการ 74 ราย ขอนแก่น 56 ราย และสุรินทร์ 50 ราย

นพ.เอกชัย กล่าวต่อว่าเมื่อวิเคราะห์จากการตายของมารดาที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 53 ราย พบว่า ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อ้วน 8 ราย อายุ 32 ปีขึ้นไป 13 ราย เบาหวาน 3 ราย ความดันโลหิตสูง 3 ราย ใช้สารเสพติด 1 ราย โรคธาลัสซีเมีย 3 ราย

ส่วนแหล่งสัมผัสเชื้อ ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากบุคคลในครอบครัว 12 ราย สถานที่ทำงาน 7 ราย ตลาด 3 ราย งานเลี้ยง 1 ราย ไม่มีข้อมูล 30 ราย

  • 'หญิงตั้งครรภ์' เสี่ยงติดเชื้อโควิดมากกว่าคนทั่วไป 3 เท่า 

ขณะนี้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับ สตรีตั้งครรภ์ ติดเชื้อมากมาย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รวบรวมคำถามและไขข้อข้องใจดังนี้ สตรีตั้งครรภ์ ถ้าติดโควิด-19 มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า โดยมีโอกาสเข้าห้องไอซียูสูงกว่า 2-3 เท่า ใช้เครื่องช่วยหายใจสูงกว่า 2.6-2.9 เท่า เสียชีวิต 1.5-8 คน ใน 1,000 คน

ขณะเดียวกันถ้า หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ จะมีผลต่อลูกในหลายอย่าง อาทิ คลอดลูกก่อนกำหนด 1.5 เท่า เด็กตายคลอด 2.8 เท่า ลูกต้องเข้าไอซียู 4.9 เท่า ลูกติดเชื้อได้ 3-5% แต่ส่วนใหญ่ของเด็กที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ

สตรีตั้งครรภ์ควรจะไปตรวจหาเชื้อโควิด หากมีคนในครอบครัวติดเชื้อ และหากมีอาการ เช่น ไข้ ไอ หายใจติดขัด เจ็บคอ มีน้ำมูก และเบื้องต้นขอให้ตรวจ ATK แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ไปสถานพยาบาลใกล้บ้าน

162938911262

สำหรับอาการที่หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด พบมีดังนี้ 50% จะมีอาการไอ 43% ปวดศีรษะ 37%ปวดกล้ามเนื้อ 32%ไข้ 28%เจ็บคอ 26% หายใจเหนื่อย 22%จมูกไม่ได้กลิ่นหรือลิ้น และ 14% อ่อนเพลีย

หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ไม่แสดงอาการหรืออาการน้อย ขอให้แยกกักตัวรักษาที่บ้าน แต่หากมีอาการมากขึ้นขอให้เข้ารับการรักษาในรพ.เพื่อแยกจากคนที่ไม่ติดเชื้อ ประเมินอาการและความรุนแรงของโรค ให้การรักษาร่วมกับทีมอายุรแพทย์

นอกจากนั้นสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ สามารถคลอดได้ปกติ ไม่ต้องผ่าท้องคลอด สามารถให้การระงับความรู้สึกด้วยการบล็อคหลังได้ และการผ่าท้องคลอดจะทำตามข้อบ่งชี้ที่แพทย์เป็นผู้พิจารณาเท่านั้น

  • ตอบทุกคำถามที่ 'หญิงตั้งครรภ์'ควรรู้

หากติดเชื้อหลังคลอด หากไม่พบเชื้อในตัวลูกมารดาสามารถกอดและอุ้มลูกได้ แต่ควรงดหอมแก้มลูก และควรสวมหน้ากากตลอดเวลา ล้างมือก่อนและหลังจับตัวลูก ที่สำคัญต้องไม่ไอหรือจามใส่ลูก เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หากพบว่าลูกติดเชื้อรุนแรงจะต้องแยกไปรักษาที่หอผู้ป่วยเด็กแรกเกิด

นพ.เอกชัย กล่าวด้วยว่าถ้าแม่ติดเชื้อสามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าได้ แต่แม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือก่อนและหลังจับตัวลูก หลีกเลี่ยงการไอ จาม เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวหรือวัตถุที่สัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือใช้วิธีปั้มนมออกมาแล้วให้ญาติหรือพี่เลี้ยงเอาไปให้ลูกกิน แต่หากแม่ที่ติดเชื้อและได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ จะต้องงดให้นมลูก

ที่สำคัญสตรีตั้งครรภ์ควรรีบฉีดวัคซีน ซึ่งสามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ โดยแนะนำให้ฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้น ซึ่งชนิดของวัคซีน ใช้ได้หลากหลาย เช่น ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า หรือแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม หรือ mRNA 2 เข้ม 

162938896417

ส่วนผลข้างเคียงของวัคซีน พบได้น้อยและไม่แตกต่างจากคนทั่วไป หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดพร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ยกเว้นจำเป็น การฉีดวัคซีนชนิดอื่นควรเลื่อนไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 

ส่วนถ้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิดไปแล้ว พบว่าตั้งครรภ์สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ เพราะปัจจุบันไม่พบว่าวัคซีนทำให้เกิดทารกพิการแต่กำเนิด แต่ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ออกไปฉีดในช่วงหลังเมื่ออายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์แล้ว

อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์ต้องปฎิบัติตามมาตรการ DMHTT ในครอบครัวที่มีความเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ประเมินไทยเซฟไทย ถ้ามีความเสี่ยงตรวจ ATK กำหนดหรือสนับสนุนมาตรการWFH ในหญิงตั้งครรภ์

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/955708?anf=

 

 

ไขข้อสงสัย “วัคซีนmRNA" ฉีดให้เด็ก อันตรายหรือไม่ ตัดสินใจอย่างไร
"วัคซีนโควิดสำหรับเด็ก"ทำไมต้องเป็นวัคซีน mRNAหรือ"วัคซีนไฟเซอร์" และควรฉีดกี่เข็ม โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัว เรื่องนี้ผู้ปกครองควรรู้อะไรบ้าง ลองอ่านคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อีกความสงสัยในเรื่องความปลอดภัยของการรับวัคซีนโควิด19 ในกลุ่มเยาวชนวัย 12 - 18 ปี ที่กำลังทยอยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA  อยู่ในขณะนี้

และเพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ปกครองและเยาวชนที่กำลังลังเลในการเข้ารับวัคซีน mRNA เราได้นำเสนอข้อมูลหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12 - 18 ปี

จากกิจกรรมเสวนาออนไลน์ “One Health in the Virtual Park” ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งประเทศไทย (THOHUN) ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อแบ่งปันข้อมูลในหัวข้อ “วัคซีน mRNA ในเด็ก ดีจริงไหม อันตรายหรือไม่ ตัดสินใจยังไงดี?”

วัคซีนเด็ก ทำไมต้องวัคซีนไฟเซอร์

ทำไมเยาวชนวัย 12 - 18 ปี จึงต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ชนิด mRNA ของไฟเซอร์ แทนที่จะเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated vaccine) อย่างซิโนแวค หรือวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (recombinant viral vector vaccine) อย่างแอสตร้าเซนเนก้า เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้สูงอายุ

อ่านข่าว : ผบ.ทร. จัดกำลังพล "บิ๊กคลีนนิ่ง" โรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบรับเปิดเทอม

 

ไขข้อสงสัย “วัคซีนmRNA" ฉีดให้เด็ก อันตรายหรือไม่ ตัดสินใจอย่างไร

(นักวิชาการยืนยัน มีข้อมูลที่ทำให้ใช้วัคซีน mRNA ในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ส่วนการฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ ในเด็ก ยังต้องรอ)

ศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ กุมารแพทย์จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “วัคซีน mRNA ได้มีการใช้ฉีดให้กลุ่มเด็กวัยรุ่นในทุกทวีปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในอเมริกา ละตินอเมริกา ยุโรป หรือในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์แล้ว

ดังนั้นเราจะพบว่ามีข้อมูลมากเพียงพอต่อการตัดสินใจให้ใช้วัคซีน mRNA ในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ส่วนการฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ ในเด็ก ยังต้องรอต้องมีผลวิจัยและมีข้อมูลที่ชัดเจนมารองรับเสียก่อน”

โดยขณะนี้ ในประเทศไทยมีเพียงวัคซีนชนิด mRNA เท่านั้น ที่ได้รับอนุมัติจาก อย. ให้สามารถใช้ในเด็กอายุ 12-17 ปีได้ และสาเหตุที่ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด 19 ชนิดอื่น ๆ  นอกจากวัคซีนชนิด mRNA ให้ใช้กับเด็กอายุระหว่าง 12 - 17 ปี เป็นเพราะว่ายังไม่มีผลการวิจัย และหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนมากเพียงพอ

นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์ในกลุ่มเด็กวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กที่ต้องเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการของโรคโควิด 19 รุนแรง ล้วนเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน

ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าการรับวัคซีน mRNA ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19 และการเกิดอาการป่วยรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาลได้ด้วย

วัคซีน mRNA กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ

แม้จะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่าง ๆ ออกมายืนยันว่าวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้มากกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ

แต่ก็มีข้อมูลหลายกระแสเกี่ยวกับอาการข้างเคียงรุนแรงของผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดนี้ โดยมีบางรายที่พบว่าเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กและผู้ปกครองจำนวนไม่น้อย เกิดความลังเลที่จะพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีน mRNA ที่ถูกจัดสรรให้

ไขข้อสงสัย “วัคซีนmRNA" ฉีดให้เด็ก อันตรายหรือไม่ ตัดสินใจอย่างไร

ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เองก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบได้

โดยมีอัตราการเกิดอยู่ที่ 450 ใน 1,000,000 ราย ซึ่งนับเป็นอัตราที่มากกว่าการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่สูงกว่า ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน mRNA ถึง 9 เท่า

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดจากวัคซีน mRNA สามารถสังเกตได้ โดยมักจะเกิดหลังจากที่รับวัคซีนโดสที่สองไปแล้ว 3 - 7 วัน และมักมีอาการในเพศชายมากกว่า

แม้จะมีโอกาสเกิดภาวะดังกล่าวขึ้นจริง แต่ อ.นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์และที่ปรึกษาด้านโรคหัวใจ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกว่า "ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่หลังจากการรับวัคซีน mRNA นี้มีความรุนแรงน้อยกว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อโควิด 19

และมีอาการที่แตกต่างจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันในกลุ่มผู้ใหญ่ โดยจะมีอาการเจ็บหน้าอกและคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ และ 95 % ของผู้ป่วยจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ มีอาการแล้วไม่รุนแรง หรือสามารถหายได้เอง”

แพทย์ทั้งสองเห็นสอดคล้องกันว่า ประโยชน์ของการรับวัคซีน mRNA ในกลุ่มเด็กอายุ 12 - 18 ปี ในเชิงการป้องกันการติดเชื้อ ลดอาการรุนแรงของโรค

และลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 นั้นถือว่ามีมากกว่าอัตราการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครอง และเด็กที่กำลังจะเข้ารับวัคซีนควรพิจารณาให้รอบคอบ

วัคซีนในเด็กกับความปลอดภัย

สำหรับเยาวชนอายุ 12 - 18 ปีที่จะตัดสินใจรับวัคซีน mRNA ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยมีคำแนะนำว่า เด็กชายและหญิงอายุ 16 - 18 ปี ทุกราย รวมถึงเด็กชายและเด็กหญิงอายุ 12-16 ปี ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคโควิด 19 รุนแรงอาจถึงเสียชีวิต ควรได้รับวัคซีนทั้ง 2 เข็ม

สำหรับเด็กหญิงอายุ 12 - 16 ปี ควรได้รับวัคซีนทั้ง 2 เข็ม ส่วนเด็กชายอายุ 12 - 16 ปีให้ฉีดเพียงเข็มเดียวก่อน แล้วให้พิจารณาตามอาการว่าจะฉีดเข็มที่ 2 หรือไม่ เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่พบความเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ/เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมากที่สุด

ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค และผู้เชี่ยวชาญในคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เด็กชายอายุ 12 - 16 ปี สามารถฉีดวัคซีน mRNA ทั้ง 2 เข็มได้

ศ.พญ.ธันยวีร์ กล่าวถึงแนวทางการดำเนินการฉีดวัคซีน mRNA ในเด็กไว้ว่า “ในประเทศไทย เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เพราะจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อได้สูงกว่า

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ป่วยหรือมีโรคประจำตัว ควรรับวัคซีน 2 เข็ม เนื่องจากหากเด็กกลุ่มนี้ หากติดเชื้อโควิด 19 จะมีโอกาสเข้าโรงพยาบาลและมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กปกติทั่วไป เราจึงแนะนำให้เด็กกลุ่มนี้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2”

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/969119?anf=

ทางด้านรายการเจาะใจที่มีคุณดู๋ สัญญา คุณากร เป็นพิธีกร ช่วงรายการคือช่วงเกี่ยวกับสุขภาพ ได้เชิญทางด้าน นายแพทย์ธนศักดิ์ ยิ้มเกิด เป็นอายุรแพทย์ รพ.ปิยะเวท ผู้คนจะรู้จักหมอในนาม หมอป็อป จากเพจ DietDoctor Thailand เป็นเพจที่เกี่ยวกับสุขภาพ สามารถเข้าไปสอบถามได้และคุณหมอจะพยายามตอบให้ครบทุกคน

ไขข้อสงสัย ทำไมคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ถึงมีโอกาสหายได้

วันนี้คุณหมออยากจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ

หมอป็อป : วันนี้ที่มาอยากจะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับเบาหวานชนิด 2

ชนิดที่ 1 กับ 2 มันต่างกันยังไง

หมอป็อป : จริงๆเบาหวานเนี่ยจะแสดงอาการทั้ง 1 และ 2 โดยน้ำตาลในเลือดจะสูง แต่จริงไแล้วในร่างกายของเราจะมีฮอร์โมนตัวนึงที่ใช้ในการควบคุมน้ำตาลในเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรียกว่า อินซูลิน ซึ่งเบาหวานชนิดที่  1 เกิดจากการที่ตัวตับอ่อนเสียสภาพไม่สามารถสร้างอินซูลินได้น้ำตาลก็เลยไม่สามารถถูกลดระดับลงได้ ส่วนภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 เนี่ยเราเรียกว่าเกิดภาวะการดื้ออินซูลินไม่สามารถเอาน้ำตาลเข้าเซลล์ได้

ทำไมตับอ่อนถึงทำงานแย่ลง

หมอป็อป : ส่วนมากชนิดที่ 1 จะเกิดจากการที่มีบางอย่างไปทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ในปัจจุบันเนี่ยเราเชื่อว่าเกิดจากการที่มีภูมิต้านทานผิดปกติบางอย่างที่มันไปทำลายตับอ่อน

มีพฤติกรรมอะไรที่ทำให้มันเป็นแบบนั้นมั้ย

หมอป็อป : จริงๆก็อาจจะมีที่คล้ายๆกันอย่างเช่น ใครบางคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เยอะและทำให้ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจนกระทั่งไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ แต่โดยทั่วไปสาเหตุเนี่ยเราไม่สามารถสาเหตุที่ชัดเจนเบาหวานชนิดที่ 1 มักจะเกิดขึ้นในคนอายุน้อยคือในเด็กๆวัยรุ่น

แล้วคนไทยเป็น 1 กับ 2 อันไหนเยอะกว่ากัน

หมอป็อป : ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเนี่ยน่าจะชนิดที่ 2 เยอะกว่าประมาณ 80 กว่าเปอร์เซ็นได้เพราะชนิดที่ 2 เกิดจากพฤติกรรมการกิน

พฤติกรรมแบบไหนครับ

หมอป็อป : ในแปัจจุบันเกิดมีอุบัติการณ์สูงขึ้นพร้อมๆกับโรคอ้วนประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา ในการเกิดโรคนี้ทางมุมมองหมอเกิดจากการที่เราปฏิบัติตามข้อแนะนำการทานอาหารทางด้านสุขภาพ

ทำไมมันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร

หมอป็อป : ข้อแนะนำทางสุขภาพเมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่านมามีข้อแนะนำนึง ผมว่าหลายคนก็คงเคยได้ยินก็คือ กลัวไขมัน และเราก็ถูกแนะนำให้รับประทานคาร์โบไฮเดตเป็นอาหารหลัก เราถูกแนะนำว่าอย่าปล่อยให้ท้องว่าง ข้อแนะนนำนี้มีมาประมาณ 40 ปีหลักการที่เรากลัวการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจในสมัยที่อเมริกามีโรคหลอดเลือดและหัวใจสูงขึ้นเนี่ยเราพบสารที่เป็นคอเรต เตอรอลไปเกาะที่หลอดเลือด มีนักวิทยาในช่วงนั้นตั้งสมมุติฐาน ตั้งทฤษฏีไว้ว่าไขมันที่เรารับประทานจากอาหารทำให้คอเรต เตอรอลสูงขึ้น และก็ไปทำให้ฝังตัวในหลอดเลือดและทำให้หลายคนอาจจะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ดังนั้นเมื่อปี 1977 เนี่ยรัฐบาลทางด้านอเมริกาได้ออกข้อแนะนำทางอาหารขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจโดยการให้ลดพลังงานจากไขมันทานให้น้อยลงต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็น และก็ให้เพิ่มพลังงานจากคาโบไฮเดตขึ้นเป็น 55 - 60 เปอร์เซ็น หลังจากนั้นในปี 1980 โรคอ้วนกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของอเมริกาสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวและถ้าเราดูตามข้อเท็จจริงว่าอัตตราทางโรคหัวใจก็ไม่ได้ลดลงเลย

ไขข้อสงสัย ทำไมคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ถึงมีโอกาสหายได้

หมอป็อป : จริงๆร่างกายเราเนี่ยใช้พลังงาน 3 อย่างก็คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดตและก็ไขมัน ปกติร่างกายเราจะไม่ใช้พลังงานจากโปรตีนเป็นพลังงานหลัก มันจำเป็นจะต้องเอาโปรตีนไปซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอของร่างกายดังนั้นเราจึงเรียกโปรตีนนั้นเป็นสารอาหาร ดังนั้นร่างกายเราจะใช้พลังงานอยู่เพียง 2 อย่างคือคาร์โบไฮเดตและไขมัน แต่คุณสมบัติของคาร์โบไฮเดตและไขมันเนี่ยมีคุณสมบัติที่ต่างกันแครอลลี่จากคาร์โบไฮเดตและไขมันส่งผลต่อร่างกายเราต่างกัน เพราะโครงสร้างคาร์โบไฮเดตและไขมันเป็นโครงสร้างที่ต่างกันเหมือนน้ำมันดีเซลกับเบนซิน และร่างกายเราถูกออกแบบคล้ายๆกับรถยนต์ที่ไม่สามารถกินได้ตลอดเวลา ดังนั้นการที่เราทานอาหารร่างกายจะเอาพลังงานอาหารจากที่เราทานไปเก็บไว้ในร่างกายก่อน ร่างกายเราจะมีถังเก็บพลังงาน เช่นร่างกายจะเก็บไขมันไว้ในเซลล์ไขมันได้ผิวเรา ร่างกายจะเก็บน้ำตาลไว้ในถังเก็บน้ำตาล ร่างกายมักจะเลือกเผาคาร์โบไฮเดตก่อนเพราะว่าถังเก็บเล็กไม่มีที่เก็บ พอข้อแนะนำ 40 ปีที่ผ่านมาเราโดนแนะนำให้ทานคาร์โบไฮเดตมากขึ้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นของพลังงานของอาหารต่อมื้อต่อวัน  เพราะการที่เราจะใช้คาร์โบไฮเดตในกล้ามเนื้อเราได้เราต้องออกกำลังกาย

 

ไขข้อสงสัย ทำไมคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ถึงมีโอกาสหายได้

ไขข้อสงสัย ทำไมคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ถึงมีโอกาสหายได้

 
 

ซึ่งบางทีทั้งวันเราไม่ได้ออกกำลังกาย

หมอป็อป : ใช่ฮะ โดยทั่วไปเนี่ยร่างกายเราต้องเว้นช่วงทานอาหารมากกว่า 4 ชั่วโมงขึ้นไป ร่างกายถึงจะเริ่มสลายไกโคเจนที่ตับออกมาใช้ แต่ด้วยทฤษฏีที่บอกว่าอย่าปล่อยให้ท้องว่างทำให้โอกาสที่เราจะใช้น้ำตาลในตับแทบเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นในการที่เราทานคาร์โบไฮเดตมื้อใหม่เข้าไปมันจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และจะพยายามหาที่เก็บน้ำตาล ร่างกายอนุญาติให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดเพียง 1 ช้อนชาหรือประมาณ 16 กิโลคอลลอลี่เท่านั้น

 

งั้นเครื่องดื่มที่หวานๆทั้งหลาย

หมอป็อป : ขวดเดียวน้ำตาลก็พุ่งกระฉูด ดังนั้นร่างกายจึงต้องลดน้ำตาลในเลือดลงเพราะถ้าหากน้ำตาลในเลือดสูงเราเสียชีวิตได้ ร่างกายจะลดน้ำตาลโดยการที่เลือกใช้น้ำตาลก่อน แต่ยังไงก็ตามถ้าร่างกายเรากินเกินมา 200 แคลลอลี่เราต้องวิ่ง 2 ชั่วโมงบนสายพานน้ำตาลแคลอรี่นี้ถึงจะหมด

ร่างกายจะตรงไปตรงมาแบบนี้แหละครับ เพราะฉะนั้นเราควร 1.เว้นช่วงการรับประทานให้ห่างขึ้น เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสเอาของเก่ามาใช้ 2.ควรจะลดคาร์โบไฮเดตลงและเพิ่มไขมัน จะได้เอาไขมันออกมาใช้บ้าง เพราะอาหารไขมันที่เราทานจะลดระดับอินซูลีนลง

คุณหมอกำลังจะบอกว่ามันรักษาหายได้เลยโดยไม่ต้องกินยาตลอดชีวิต

หมอป็อป : หายได้ครับเพราะว่าคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ก็คือว่าถังเก็บพลังงานเต็มทั้งน้ำตาลและไขมันแต่ร่างกายส่วนมากจะเก็บไว้เป็นไขมัน การรักษาที่ดีที่สุดให้หาย เราต้องสวิชร่างกายมาเผาไขมันที่สะสมออกให้หมดถังเก็บจะว่าง ดังนั้นไขมันและน้ำตาลจะไม่ล้นออกมาทางกระแสเลือดเราจึงสามารถหายจากโรคนี้ได้

โอเคถ้าตรงนี้เป้นคลิปลองฟังอีกหลายๆครั้งเพื่อให้เข้าใจอย่างแท้จริง เรื่องรางกายกับถังเก็บว่ามันเป็นอย่างไร

 

ขอบคุณ : รายการเจาะใจ

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ