"โอไมครอน" ใกล้ไข้หวัด แต่เจออาการแบบนี้แม้ผลเป็นลบใน 48 ชม.หาหมอทันที 

กรมการแพทย์ แนะ โควิด "โอไมครอน" ใกล้เคียงไข้หวัด แต่หากเจออาการแบบนี้ แม้ตรวจ ATK ผลเป็นลบ ต้องหาหมอทันที อาจเจอโรคอื่น

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการของผู้ป่วยโควิดในปัจจุบันที่เป็นสายพันธุ์ "โอมิครอน" หรือ "โอไมครอน" ขณะนี้ส่วนใหญ่ 50% ไม่มีอาการ ส่วนผู้ที่มีอาการ แบ่งเป็น

  • ไอ และเจ็บคอ 50%
  • อ่อนเพลีย เป็นไข้ 30-40%
  • ถ่ายเหลว 10% 

"โอไมครอน" ใกล้ไข้หวัด แต่เจออาการแบบนี้แม้ผลเป็นลบใน 48 ชม.หาหมอทันที

ทั้งนี้ อาการโควิดใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดแล้ว แต่ช่วงนี้ที่ต้องระวังเพิ่มขึ้น อาจจะเจอ "โรคไข้เลือดออก" ได้ ซึ่งจะมีอาการไข้ และอ่อนเพลียเหมือนกัน หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการคล้ายไข้หวัด หรือแม้แต่ถ่ายเหลว เบื้องต้นให้ตรวจ ATK ได้ทันที หากเป็นผลลบ ก็ให้สังเกตอาการตัวเองใน 48 ชั่วโมง ถ้ายังไม่ดีขึ้น 
ให้ไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการโรคอื่น ๆ เช่น ไข้เลือดออก

"โอไมครอน" ใกล้ไข้หวัด แต่เจออาการแบบนี้แม้ผลเป็นลบใน 48 ชม.หาหมอทันที

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการป้องกันติดเชื้อสูงสุด ติดเชื้อแล้วก็ต้องกักตัวเอง เพราะแม้จะไม่มีอาการรุนแรง แต่หากไปพบคนอื่นที่ภูมิต้านทานน้อย มีโรคร่วมก็จะมีความเสี่ยง

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการดูแลผู้ติดโควิดแบบผู้ป่วยนอก (OPD) พื้นที่ กทม. โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ใน กทม. เช่น โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลเลิดสิน, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี รองรับผู้ติดเชื้อได้วันละ 1,000 ราย ทั้งจาก

  1. คลินิกโรคไข้หวัด (ARI Clinic) ซึ่งผู้ติดเชื้อ 70% เลือกรักษาแบบ OPD และอีก 20-30% เลือกรักษาแบบ HI 
  2. การออก QR Code เพื่อให้ผู้ป่วยเก่าส่งต่อให้ผู้อื่นเพื่อเข้าระบบบริการ สัดส่วนเลือกรักษาแบบ OPD 60% และรักษา HI อีก 30-40% อย่างไรก็ตาม เรากำลังทำ QR Code ส่วนกลางขึ้นมาแบ่งเบาภาระสายด่วน 1330 ให้ได้วันละ 1-2 พันราย

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/508141?adz=

covid

ศูนย์ข้อมูล COVID-19

มติ คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ ปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น เริ่ม 1 ก.ค. นี้ แบ่งระยะของโควิดเป็นโรคประจำถิ่น 4 ระยะ

- ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้น เม.ย.) เรียกว่า Combatting ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง

- ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ

- ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.) เรียกว่า Declining การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000-2,000 คน

- และอีกบวก 1 หรือระยะ 4 ตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น

ที่มา ไทยคู่ฟ้า

 

เจนีวา 10 มี.ค. – ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ระบุว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงห่างไกลจากจุดสิ้นสุด หลังครบรอบ 2 ปีที่เขาได้ประกาศให้โรคโควิดเป็นโรคระบาดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563


ดร. ทีโดรส กล่าวเมื่อวันพุธตามเวลาในสวิตเซอร์แลนด์ว่า ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดกว่า 6 ล้านคน และมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสะสมเกือบ 444 ล้านคน นับตั้งแต่ที่เขาประกาศให้โรคโควิดเป็นโรคระบาดเมื่อสองปีก่อน แม้ในขณะนี้ทั่วโลกจะมียอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตลดลง และหลายประเทศก็ได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคแล้ว แต่การระบาดของโรคโควิดยังคงห่างไกลจากจุดสิ้นสุด ไม่มีประเทศใดจะผ่านพ้นการระบาดในครั้งนี้ไปได้จนกว่าทุกประเทศจะร่วมมือทำให้การระบาดจบสิ้นในทุกที่

ดร. ทีโดรส ยังระบุว่า เชื้อโควิดยังคงมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับอุปสรรคสำคัญในด้านการแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโรคโควิด การตรวจหาเชื้อโควิด และการรักษาโรค ทั้งยังแสดงความวิตกกังวลจากกรณีที่หลายประเทศเริ่มลดการตรวจหาเชื้อโควิดในประชาชนลงอย่างมาก แนวทางดังกล่าวจะทำให้ไม่ทราบว่าเชื้อโควิดแพร่กระจายอยู่ที่ไหน แพร่ระบาดอย่างไร และจะมีวิวัฒนาการต่อไปอย่างไรในอนาคต.-สำนักข่าวไทย

ข้อมูลจาก https://tna.mcot.net/world-899247

"จามแบบไหนเป็นโควิด" แบบไหนไม่เสี่ยง เพราะอาการ Omicron ใกล้ไข้หวัด เช็คเลย
 

เช็คลักษณะ "จามแบบไหนเป็นโควิด" จามแบบไหนไม่ใช่ ตรวจสอบตัวเองก่อนติดเชื้อ เพราะอาการโอไมครอนคล้ายคลึงอาการไข้หวัดมาก

อัปเดตสถานการณ์การติดเชื้อ "โควิด19" ที่ขณะนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงมากขึ้น ประกอบกับการระบาดของสายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว อาการน้อยลักษณะคล้ายไข้หวัด อาจจะทำให้ไม่สามารถระบุอาการที่ชัดเจนได้ ดังนั้น วิธีการสังเหตุตัวเองได้แบบง่าย ๆ  เพื่อเช็คก่อนว่าเรามีความเสี่ยงที่จะติดโควิดหรือไม่ สามารถตรวจสอบ และสังเกตุได้จากการจาม ว่า "จามแบบไหนเป็นโควิด" หรือจามแบบไหนเป็นหวัด หรือ ภูมิแพ้ทั่วไป เพราะ  จาม ถือเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในระบบทางเดินหายใจ โดยร่างกายจะขจัดหรือขับสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองออกทางจมูกและปากอย่างแรงและเร็ว

  • การจามที่บ่งบอกว่าเป็นโรคภูมิแพ้ 

อาการจามที่บอกถึงโรคภูมิแพ้ จะมีอาการร่วมด้วย คือ คัดจมูกน้ำมูกไหล มีอาการคันตามผิวหนัง คอ จมูก เพดานปาก ผู้ที่มีอาการต้องสังเกตุตัวเองว่าแพ้อะไร และต้องสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งอาการภูมิแพ้สามารถแพ้ได้หลายอย่าง เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายไวต่อสารก่อภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเรา โดยปกติแล้วสารเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายกับคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้จะไวต่อสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอากาศได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น เชื้อรา ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ อาหาร ฯลฯ  
 

  • การจามที่บ่งบอกว่าเป็นไข้หวัด

อาการจามที่มีไข้ เจ็บคอร่วมด้วย เบื้องต้นจะสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากไข้หวัด  โดยอาการทั่วไปที่สามารถสังเกตุได้ คือมักจะมี หรือไม่มี  ไข้ต่ำ ๆ   ร่วมกับอาการทางจมูกและทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ส่วนใหญ่น้ำมูกจะใส มีการจาม เจ็บคอ คอแดง ทอนซิลอาจบวมแดงแต่ไม่พบจุดหนอง และไอ อาจมีปวดหัวบ้าง แต่โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรง สามารถดื่มน้ำเยอะ ๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็จะช่วยให้อาการทุเลาลง 

  • การจามที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงเป็น โควิด-19

หากมี มีอาการไอจาม มีไข้ มีน้ำมูกและหายใจเหนื่อยหอบ อาจเข้าข่ายเฝ้าระวัง COVID19  ถึงแม้สถานการณ์โควิดในบ้านเราจะยังควบคุมได้ รวมถึงมีประวัติไปในพื้นที่เสี่ยงเช่น พื้นที่แออัด สนามบิน หรือเดินทางไปประเทศ ไปจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงมาก่อน อาจเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงซึ่งควรรีบไปพบแพทย์ และที่สำคัญอย่าปกปิดข้อมูล  ก็ไม่ควรประมาท เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกก็ยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นหาก

ที่มา: โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชันแนล  

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/507952?adz=

กิน "ฟ้าทะลายโจร" รักษาโควิด ต้องกินอย่างไรจึงจะปลอดภัย ใครบ้างไม่ควรกิน
 
 

เช็คชัด ๆ กิน "ฟ้าทะลายโจร" รักษาโควิดในผู้ป่วยอาการน้อย ต้องกินอย่างไรจึงจะปลอดภัย หากกินแล้วอาการแย่ลงควรทำอย่างไร คนกลุ่มใดบ้างที่ไม่ควรกินเด็ดขาด

สำหรับการใช้ยา "ฟ้าทะลายโจร" ดูแลผู้ติดโควิด 19 ในผู้ติดเชื้อโควิดกลุ่มสีเขียว คือ อาการน้อยหรือไม่มีอาการ ซึ่งจากการติดตามพบว่าได้ผลดี โอกาสจะเกิดภาวะปอดอักเสบน้อยมาก แต่จะต้องใช้ให้ถูกต้อง โดยฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุแนวทางการกิน "ฟ้าทะลายโจร" สำหรับรักษาโควิด ในผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อยที่ถูกวิธี และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ยา โดยมีรายละเอียดดังนี้   

"ฟ้าทะลายโจร" เป็นพืชสมุนไพรรสขมที่มีการใช้กันมานานในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งมีสรรพคุณบรรเทาอาการของโรคหวัด เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ ในปัจจุบันเมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้มีนักวิจัยสนใจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมุนไพรฟ้าทะลายโจร โดยพบว่าสารสำคัญที่ชื่อว่า "แอนโดรกราโฟไลด์" (andrographolide)  มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส จากผลการวิจัยดังกล่าวทำให้มีประชาชนจำนวนมากสนใจที่จะซื้อยาฟ้าทะลายโจร นำมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการของโควิด-19

กิน "ฟ้าทะลายโจร" รักษาโควิด ต้องกินอย่างไรจึงจะปลอดภัย ใครบ้างไม่ควรกิน

ยา "ฟ้าทะลายโจร" ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย มี 2 รูปแบบ

1. รูปแบบผงยา ซึ่งผงยาจะเตรียมจากส่วนเหนือดินของฟ้าทะลายโจร
2. รูปแบบสารสกัด
โดยทั้ง 2 รูปแบบ จะพบได้ในลักษณะของยาแคปซูลหรือยาเม็ด โดยมีสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาคือ สารสำคัญที่มีชื่อว่า "แอนโดรกราโฟไลด์" (andrographolide)  ที่จะมีระบุไว้บนฉลากยา ซึ่งในแต่ละผลิตภัณฑ์อาจมีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์  (andrographolide) แตกต่างกัน  หากผลิตภัณฑ์ใดไม่ได้ระบุไว้ แนะนำให้สอบถามจากทางผู้ผลิต

ผู้ที่รับประทานยา "ฟ้าทะลายโจร" ได้มีใครบ้าง 
1. ผู้ที่มีอาการของโรคหวัด เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปในผู้ใหญ่จะแนะนำให้รับประทานยาฟ้าทะลายโจรที่มี andrographolide 60 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง  ติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน

2. ผู้ที่ติดเชื้อโควิด19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ในผู้ใหญ่แนะนำให้รับประทานยาฟ้าทะลายโจรที่มี andrographolide 180 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง  ติดต่อกัน 5 วัน อย่างไรก็ตามผู้ป่วย โควิด19 ทุกคนควรใช้ยาฟ้าทะลายโจรภายใต้การดูแลของแพทย์

ผู้ที่รับประทานยา "ฟ้าทะลายโจร" ไม่ได้มีใครบ้าง  
1. ผู้ที่มีอาการแพ้ฟ้าทะลายโจร เช่น มีผื่นลมพิษ ปากบวม หน้าบวม หายใจไม่ออก
2. หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
3. ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี และต้องการรับประทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยาฟ้าทะลายโจรไม่มีฤทธิ์ที่จะยับยั้งไวรัสเข้าเซลล์ จึงไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้


 

วิธีเลือกยา "ฟ้าทะลายโจร" ที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย  ควรพิจารณาข้อมูลที่สำคัญบนฉลากยา ดังนี้

1. เลขทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ ที่ขึ้นต้นด้วยอักษรตัว G ทั้งนี้สามารถนำเลขทะเบียนดังกล่าวไปตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้
2. ปริมาณสาร andrographolide และขนาดบรรจุ
3. ข้อมูลของผู้ผลิต
4. วันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ


การเลือกซื้อยา "ฟ้าทะลายโจร" ควรเลือกซื้อกับผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตขายยาแผนโบราณที่ถูกต้องตามกฏหมาย

ข้อควรระวังในการรับประทานยา "ฟ้าทะลายโจร"
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไต หากจำเป็นต้องใช้ยาฟ้าทะลายโจร ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- ผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิต*
- ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด* เช่น ยาวอร์ฟาริน (warfarin) 
- ผู้ที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด* เช่น ยาแอสไพริน (aspirin)

*เนื่องจากการใช้ยาดังกล่าวร่วมกับยาฟ้าทะลายโจร อาจเสริมฤทธิ์กันได้ หากจำเป็นต้องใช้ ยาฟ้าทะลายโจร ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

         
 

ข้อควรระวัง 
การรับประทานยาฟ้าทะลายโจรติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง หากท่านรับประทานยาฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรืออาการรุนแรงขึ้น แนะนำให้หยุดใช้ และรีบปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานยาฟ้าทะลายโจรอาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ ใจสั่น ซึ่งอาการเหล่านี้เมื่อหยุดรับประทานยาฟ้าทะลายโจร อาการจะค่อย ๆ หายเป็นปกติได้ หากสงสัยว่าจะแพ้ยาฟ้าทะลายโจร เช่น มีผื่นลมพิษ หน้าบวม ปากบวม หายใจไม่ออก ให้หยุดรับประทานทันที แล้วรีบพบแพทย์

ที่มา:  โรงพยาบาลศิริราช  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/507967?adz=

5 มี.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กดังนี้

โควิด 19 วัคซีน ความไม่เท่าเทียมการบริการให้วัคซีน

 

ทั่วโลกได้รับวัคซีนไปแล้วประมาณเกือบ 1,1000 ล้านโดส ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศทางตะวันตกประเทศผู้ผลิตวัคซีน ในทางตรงกันข้าม ประเทศในแอฟริกาได้รับวัคซีนไปเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ในขณะที่อเมริกาและยุโรป มีวัคซีนที่เก็บไว้และจะต้องถูกทำลายเพราะหมดอายุเป็นจำนวนมาก วัคซีนที่ใช้ฉีดขวดหนึ่งมีหลายโดส และในการฉีดขณะนี้ การบริหารวัคซีน ต้องทิ้งเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถเก็บไว้ได้

ทำนองเดียวกันกับประเทศไทย การบริหารวัคซีนต่อไปนี้ เมื่อมีผู้ฉีดต่อวันน้อยลง การสั่งวัคซีนเข้ามาเก็บเป็นจำนวนมาก ก็จะมีโอกาสที่จะต้องหมดอายุ โดยเฉพาะวัคซีน ที่มีอายุสั้น การเก็บรักษายาก และขวด 1 ต้องฉีด 10 คนหรือ 15 คน จะทำให้การบริหารวัคซีนยากมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม mRNA วัคซีนที่มีอายุสั้น หลังละลายแล้ว อยู่ได้เพียง 1 เดือน จะเก็บแช่แข็งตลอดไปก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก

ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ไม่มีวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ออกมาแน่นอน

การมีวัคซีน หรือเก็บไว้จำนวนมาก ก็เสี่ยงต่อการหมดอายุ เราลงทุนกับวัคซีนไปแล้วหลายหมื่นล้านบาท

ความเสมอภาคหรือเท่าเทียมระหว่างประเทศ ที่ร่ำรวย กับยากจน มีความแตกต่างกันมาก เป็นเหตุให้อัตราการได้รับวัคซีนในแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/97970/

อยู่กับโควิด-19 อย่างไร เมื่อยอดผู้ติดเชื้อแบบ “รวม ATK” ทะลุครึ่งแสน
วันที่สถานการณ์โควิด-19 ล่าสุดในประเทศไทย เมื่อรวม ATK กลับมาพุ่งสูง การอยู่ร่วมกับโควิดอย่างไรหลังจากนี้จึงกลับมาเป็นคำถามสำคัญอีกครั้ง

สถานการณ์โควิด-19 ล่าสุดในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข รายงานยอดผู้ติดเชื้อประจำวันที่ 4 มี.ค. 2556 มีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 23,688 ราย และเมื่อบวก ATK อีก 31,571 ราย ทำให้มีตัวเลขรวม 55,259 ราย

 

เมื่อตัวเลขการติดเชื้อยังคงเป็นขาขึ้น บวกกับการเข้าถึงการตรวจที่ง่ายกว่าเก่า เมื่อประชาชนสามารถตรวจเชื้อได้ด้วยตัวเองโดยชุดตรวจ ATK ขณะที่ความรุนแรงของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะจากสายพันธุ์โอมิครอน ไม่หนักเท่าสายพันธุ์ก่อนหน้า เห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยหนักที่ไม่ได้มากอย่างแต่ก่อน

ภาครัฐจึงปรับแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด โดยมุ่งรักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนัก และสนับสนุนให้ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย หรือ ไม่มีอาการ กักตัว รักษาตัวที่บ้าน หากมีอาการเพิ่มมากขึ้นจึงค่อยมานอนโรงพยาบาล เพื่อสำรองเตียงให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นมากกว่า

อยู่กับโควิด-19 อย่างไร เมื่อยอดผู้ติดเชื้อแบบ “รวม ATK” ทะลุครึ่งแสน

  • อัพเดทมาตรการรัฐ เตรียมเปลี่ยนผ่านจากโรคระบาด สู่ โรคประจำถิ่น 

สำหรับผู้ที่ตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก ติดเชื้อโควิด-19 นั้น มาตรการล่าสุดที่รัฐบาล และ กระทรวงสาธารณสุข กำหนดไว้ คือ จะเน้นให้ ผู้ป่วยสีเขียว ที่ไม่มีอาการ หรือ อาการน้อย ให้รักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือหากไม่สะดวกอยู่บ้าน ก็จะให้เข้า Community Isolation / Hospitel Isolation โดยจะสำรองเตียงสำหรับผู้ป่วยสีเหลือง และ สีแดง 

ล่าสุด วันที่ 1 มี.ค.65 ยังได้เริ่มประกาศใช้มาตรการ “เจอ แจก จบ” โดยสนับสนุนให้ดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย แบบ "ผู้ป่วยนอก" คือรับยาแล้วกลับบ้านได้ เพื่อเตรียมเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 จาก โรคระบาดใหญ่ สู่ “โรคประจำถิ่น” 

นอกจากแนวทาง “เจอ แจก จบ” แล้ว ในอนาคต กระทรวงสาธารณสุข ยังเตรียมยกเลิกข้อกำหนดเกณฑ์รักษาผู้ป่วยโควิด-19 หรือ UCEP ซึ่งปัจจุบันยึดตามประกาศที่ว่า ผู้ป่วยโควิด คือ ผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินที่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ โดยคาดว่าจะนำข้อเสนอเข้าที่ประชุม ครม. อีกครั้ง ในวันที่ 8 มี.ค.65 หลังจากถูกที่ประชุม ครม.ตีกลับมาให้นำไปศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากยอดผู้ป่วยยังมากอยู่

หากยกเลิกประกาศดังกล่าว ผู้ป่วยก็จะต้อง รักษาตามสิทธิที่มี เช่น บัตรทอง, ประกันสังคม หรือจ่ายเงินเองโดยสมัครใจ เป็นต้น

  • แนวทางล่าสุด ตรวจ ATK พบติดโควิด ทำอย่างไรต่อ

1. ติดต่อเพื่อขอทำ Home Isolation

  • สายด่วน โทร. 1330 (สปสช.) กด 14
  • สายด่วนโควิด กทม. 50 เขต
  • ลงทะเบียน http://crmsup.nhso.go.th
  • เพิ่มเพื่อน Line : @bkkcovid19connect

2. สำหรับ ผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม สามารถ โทร. 1506 กด 6 ตั้งแต่ 08.00 - 18.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ

3. สำหรับประชาชนในพื้นที่กทม. ที่ยังติดต่อ 1330 ไม่ได้ หรือ รอคอยนาน สธ.ได้สั่งการให้รพ. ใน 14 จังหวัดรอบ กทม. เพิ่มศักยภาพให้การดูแล แบบผู้ป่วยนอก "เจอ แจก จบ" ตั้งแต่ 4 มี.ค. เป็นต้นไป รองรับได้ราว 18,650 ราย/วัน

  • ตรวจ ATK ขึ้นสองขีด จะไป “เจอ แจก จบ” ต้องทำอย่างไร

สำหรับผู้ที่มีผลตรวจ ATK เป็นบวก ที่จะไปรับบริการ เจอ แจก จบที่โรงพยาบาล ขอให้สวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น และปฏิบัติตนตามมาตราการป้องกันโรค รวมถึงหากเป็นไปได้ให้เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว

เมื่อไปถึงคลินิกโรคทางเดินหายใจ (ARI Clinic) ของโรงพยาบาล จะได้พบแพทย์เพื่อประเมินอาการและความเสี่ยง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มสีเขียว คือ ไม่มีอาการหรืออาการน้อยมาก แพทย์จะพิจารณาจ่ายยา ซึ่งอาจเป็นฟ้าทะลายโจร ยาฟาวิพิราเวียร์ หรือยารักษาตามอาการ พร้อมทั้งให้ความรู้ในการดูแลแยกกักตัวเอง และแจกเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อกลับกรณีมีอาการมากขึ้นหรือมีข้อสงสัย 

ถือว่าได้เข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ เรียบร้อย โดยจะได้รับการดูแลติดตามประเมินอาการภายใน 48 ชั่วโมง

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/991680?anf=

ทางเลือกใหม่รักษาโควิด19 ไม่ต้องรอสายด่วน-ไม่ต้องลงทะเบียน ฟรี

ทางเลือกใหม่รักษาโควิด 19  ไม่มีอาการ-ไม่เสี่ยงรักษาฟรี ไม่ต้องรอสายด่วน เดินทางไปรับบริการผู้ป่วยนอกได้ตามสิทธิทุกสิทธิรักษา

เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ขณะนี้ปริมาณสายที่โทร.เข้ามาที่สายด่วน สปสช. 1330 ยังมีปริมาณมาก ทั้งในระบบสายด่วน และระบบ Non Voice คือ ไลน์และเฟสบุ๊ก สปสช.ยังคงอยู่ที่ระดับ 60,000-70,000 สายและมีการขยายจนเต็มศักยภาพ แต่ประชาชนที่ติดเชื้อโทรมาจำนวนมากจึงยังเจอกับสายไม่ว่าง 

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ 1 มี.ค.2565 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ได้เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ที่มีผลตรวจATK เป็นบวก ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการและไม่มีภาวะเสี่ยง สามารถรับบริการแบบ "ผู้ป่วยนอก" หรือ เจอ แจก จบ ได้  โดยไม่ต้องลงทะเบียน หรือรอสายโทรศัพท์จากการโทรสายด่วน  โดยสามารถติดต่อเข้ารับบริการตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ฟรีใน รพ.ตามสิทธิรักษาของแต่ละคน ซึ่งค่าใช้จ่ายรัฐบาลยังเป็นผู้รับผิดชอบ ผู้ติดเชื้อไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 

“เมื่อตรวจพบว่าตัวเองติดโควิด19 ไม่ต้องตกใจ ขอให้ตั้งสติ และตรวจสอบว่าตัวเองฉีดวัคซีนครบแล้วหรือไม่ มีอาการอะไรหรือไม่ และมีภาวะเสี่ยงอะไรหรือไม่ หากไม่มีอาการ ไม่มีภาวะเสี่ยงสามารถเข้ารับบริการแบบผู้ป่วยนอกได้ที่รพ.ตามสิทธิการรักษาของตัวเองได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย  รวมถึง ในรพ.สังกัดสธ. 14 จังหวัดด้วย ไม่ต้องลงทะเบียน ไม่ต้องโทรเบอร์สายด่วนจะได้ไม่ต้องรอการรับสาย

ซึ่งจะได้รับการประเมินอาการ ความเสี่ยง และจ่ายยาตามอาการ แต่หากไม่มีอาการหรืออาการน้อย แต่มีภาวะเสี่ยงให้โทรประสานผ่านสายด่วน 1330  หรือเบอร์ 50 เขตในกทม. หรือรพ.ใกล้บ้าน เพื่อเข้ารับการดูแลที่บ้านหรือแบบ(Home Isolation:HI)” ทพ.อรรถพรกล่าว

สำหรับโรงพยาบาลในสังกัดสธ. 14 จังหวัดรอบ กทม. ที่ผู้ติดเชื้อสามารถเข้ารับการบริการแบบผู้ป่วยนอกได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  ได้แก่ นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, นครนายก, สิงห์บุรี, อ่างทอง, นครปฐม, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สุพรรณบุรี, สมุทรปราการ, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตและสังกัดกรมควบคุมโรค เพิ่มศักยภาพให้การดูแลแบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” ให้เพิ่มขึ้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป รองรับบริการได้ประมาณ 18,650 รายต่อวัน

นอกจากนี้ การรับบริการแบบผู้ป่วยนอก เจอ แจก จบ ผู้ติดเชื้อไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  โดย

 สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ไปได้ที่หน่วยปฐมภูมิได้ทุกที่ ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น

• สิทธิประกันสังคม เข้ารับบริการ รพ.ตามสิทธิที่ลงทะเบียนหรือสถานพยาบาลใกล้บ้านได้ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม., รพ.สต. ฯลฯ

• สิทธิข้าราชการ ไป รพ.หรือสถานพยาบาลภาครัฐ

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/991796?anf=

"นนท์ kids" เปิดลงทะเบียน "ฉีดวัคซีน" เด็กอายุ 6-11 ปี ทุกสัญชาติ

"นนท์ kids" เปิดลงทะเบียน "ฉีดวัคซีน" สำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี ทุกสัญชาติ เช็คเลยรายละเอียดสถานที่ฉีด - ได้รับวัคซีนสูตรไหน?

"นนท์ kids" เปิดลงทะเบียน "ฉีดวัคซีน" สำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี (ทุกสัญชาติ) โดยจะได้รับการฉีดวัคซีนสูตร ซิโนแวค (Sinovac) เข็ม 1 + ไฟเซอร์ (Pfizer) ฝาส้ม เข็ม 2

 

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี เผย "นนท์ kids" เปิดลงทะเบียน "ฉีดวัคซีน" สำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี ทุกสัญชาติ จะได้รับการฉีดวัคซีนสูตร ซิโนแวค (Sinovac) เข็ม 1 และ ไฟเซอร์ (Pfizer) ฝาส้ม เข็ม 2 จำกัดวันละ 1,000 คน เวลา 13.00-15.00 น.
 

สถานที่ฉีดวัคซีน มีดังนี้

เซ็นทรัลพลาซ่า แจ้งวัฒนะ (วันฉีดวัคซีน)

  • วันที่ 7 มีนาคม 2565
  • วันที่ 8 มีนาคม 2565
  • วันที่ 15 มีนาคม 2565
  • วันที่ 21 มีนาคม 2565
  • วันที่ 22 มีนาคม 2565

เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ (วันฉีดวัคซีน)

  • วันที่ 17 มีนาคม 2565
  • วันที่ 18 มีนาคม 2565
  • วันที่ 24 มีนาคม 2565
  • วันที่ 25 มีนาคม 2565

ลงทะเบียนผ่านทางลิงค์นี้ https://xn--o3cdavpl4ezlya.com/nont.../nontkids/check.php... ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

*สำหรับ เข็ม 2 ทุกท่านจะได้รับใบนัดหมายจากสนามฉีดในลำดับต่อไป

*การฉีดวัคซีนชนิดใด เป็นความสมัครใจของผู้ปกครองและเด็ก ไม่มีการบังคับแต่อย่างใด

"นนท์ kids" เปิดลงทะเบียน "ฉีดวัคซีน" เด็กอายุ 6-11 ปี ทุกสัญชาติ

ที่มา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/991483?anf=