พบแล้ว! 'ต้นตอ' โควิด-19 ในตลาดเนื้อปักกิ่ง

กรุงปักกิ่งของจีนสั่งล็อคดาวน์หลายพื้นที่ หลังพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศ 6 ราย หวั่นติดเชื้อในชุมชนอีกรอบ พร้อมเผย "ต้นตอ" โควิดระบาดระลอกล่าสุดในตลาดเนื้อย่านชุมชน

ทางการกรุงปักกิ่งแถลงวันเสาร์ (13 มิ.ย.) ว่า ห้ามประชาชน 11 ชุมชนในเขตเฟิ่งไถออกจากเคหะสถาน เนื่องจากพบผู้ติดเชื้อในประเทศอีก 6 ราย ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ "ตลาดเนื้อซินฟาตี้" ที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 คนเป็นคนงานในตลาด 1 คนมาซื้อของ และอีก 2 คนเป็นพนักงานศูนย์วิจัยเนื้อจีนที่อยู่ห่างออกไป 7 กิโลเมตร โดยพนักงานคนหนึ่งเคยไปตลาดเมื่อสัปดาห์ก่อน

ทางการสั่งปิดตลาดซินฟาตี้และตลาดซีฟู้ดจิ่งเซิงในเขตเดียวกัน ที่ผู้ป่วยรายหนึ่งเคยไป เพื่อฆ่าเชื้อและเก็บตัวอย่างไปตรวจเมื่อวันศุกร์ (12 มิ.ย.)

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ตำรวจหลายร้อยนายและสารวัตรทหารอีกหลายสิบนาย ระดมกำลังกันเข้าไปทั้งสองตลาด ที่ตลาดซีฟู้ดจิ่งเซิงคนงานวุ่นอยู่กับการขนย้ายลังสินค้า

เจ้าหน้าที่เขตเผยว่า เขตเฟิ่งไถประกาศเข้าสู่ "สถานการณ์ฉุกเฉินยามสงคราม" และตั้งศูนย์บัญชาการภาคสนามเพื่อรับมือกับการติดเชื้อระลอกใหม่ โรงเรียนและโรงเรียนอนุบาล 9 แห่งบริเวณใกล้เคียงถูกสั่งปิด เมื่อวันศุกร์ทางการปักกิ่งเลื่อนการเปิดโรงเรียนประถมทั่วเมืองออกไปก่อน ระงับการแข่งขันกีฬาทุกชนิดและห้ามการรับประทานอาหารเป็นกลุ่ม วานนี้ห้ามกรุ๊ปทัวร์ท่องเที่ยวข้ามมณฑล

 

ทั้งนี้ เมื่อวันพฤหัสบดี (11 มิ.ย.) กรุงปักกิ่งพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายแรกในรอบ 2 เดือนเคยไปตลาดเนื้อซินฟาตี้เมื่อสัปดาห์ก่อน และเมื่อเร็วๆ นี้ไม่เคยไปต่างประเทศเลย

 

ประธานตลาดค้าส่งซินฟาตี้เผยกับสำนักข่าวปักกิ่งนิวส์ของทางการว่า ตรวจพบไวรัสต้นตอโรคโควิด-19 บน "เขียงหั่นปลาแซลมอนนำเข้า" ก่อให้เกิดความกังวลเรื่องความสะอาดของอาหารในกรุงปักกิ่ง

เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลตลาดจึงสั่งตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารทั่วเมือง เน้นที่เนื้อสดและเนื้อแช่แข็ง สัตว์ปีก และปลาในซูเปอร์มาร์เก็ต โกดัง และบริการจัดเลี้ยง

หนังสือพิมพ์ปักกิ่งเดลีรายงานวานนี้ว่า เครือซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่อย่างวูมาร์ทและคาร์ฟูร์ กำจัดแซลมอนค้างคืนที่เหลือในปักกิ่งไปหมดแล้ว แต่บอกว่าสินค้าชนิดอื่นไม่ได้รับผลกระทบ ร้านอาหารในกรุงปักกิ่งบางร้านไม่เสิร์ฟแซลมอนเลย

นอกจากนี้ทางการกรุงปักกิ่งยังประกาศมาตรการตรวจหาเชื้อโควิด-19 กับคนที่สัมผัสตลาดซินฟาตี้อย่างใกล้ชิดตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค. หลังจากเก็บตัวอย่างสภาพแวดล้อมในตลาดเกษตรและซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ทั่วเมืองเมื่อวันศุกร์มาตรวจสอบกว่า 5,000 ตัวอย่าง ได้ผลเป็นบวก 40 ตัวอย่าง ทั้งหมดมาจากตลาดซินฟาตี้ 

ในวันเดียวกัน ทางการยังตรวจคนงานจากตลาดค้าส่งในกรุงปักกิ่งอีกเกือบ 2,000 คนด้วย ใช้วิธีกวาดเนื้อเยื่อในลำคอได้ผลเป็นบวก 46 คน แต่ขณะนี้ยังไม่แสดงอาการ ทั้งหมดถูกกักตัวเพื่อสังเกตอาการอย่างเข้มงวด

 

ในจำนวนนี้เกือบทั้งหมดทำงานในตลาดซินฟาตี้ ยกเว้นคนเดียวที่ทำงานในตลาดเกษตรเขตไห่เตี้ยน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง และติดต่อใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อรายหนึ่งจากตลาดซินฟาตี้

ก่อนหน้านี้ จีนควบคุมการระบาดในประเทศได้แล้วโดยใช้มาตรการล็อคดาวน์อย่างเข้มงวดเป็นวงกว้าง ตั้งแต่พบการติดเชื้อครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่นทางภาคกลางของประเทศ มาตรการเหล่านี้ส่วนใหญ่ยกเลิกไปแล้วเมื่ออัตราการติดเชื้อลดลง และผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ช่วงไม่กี่เดือนหลังเป็นคนจีนที่ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศแล้วเดินทางกลับบ้านในช่วงระบาดใหญ่ ซึ่งเมื่อมาถึงจีนต้องตรวจหาเชื้อ

การที่กรุงปักกิ่งต้องสั่งล็อคดาวน์บางส่วน ถือเป็นความท้าทายสำหรับอีกหลายพื้นที่ที่ควบคุมการระบาดได้แล้ว ตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลก ณ วันที่ 13 มิ.ย. อยู่ที่กว่า 7.6 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 425,000 คน เศรษฐกิจเสียหายมหาศาล

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/884971

พันธุ์นี้ดุสุด ดร.อนันต์ เผย "วัคซีนเข็ม 3" ยังไร้ผล เมื่อเจอ "โอไมครอน"

ตัวไหนก็เอาไม่อยู่ ดร.อนันต์ อัปเดต ผลวิจัยล่าสุด "วัคซีนเข็ม 3" ถูกลดทอนประสิทธิภาพ เมื่อเจอ โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน"

ตัวไหนก็เอาไม่อยู่ ดร.อนันต์ เผยผลวิจัยสุดช็อค "วัคซีนเข็ม 3" ถูกลดทอนประสิทธิภาพ เมื่อเจอ โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน"

วันนี้ 8 ธ.ค.64 เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana หรือ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์ระบุข้อความว่า

ทีมวิจัยที่เมือง Cape town ของแอฟริกาใต้แสดงข้อมูลของผู้ป่วยชาวเยอรมัน 7 คน (ชาย 2 หญิง 5) อายุเฉลี่ย 27.7 ปี (25-39 ปี) ที่ติดไวรัสโอมิครอน (ยืนยันด้วย sequencingแล้ว) ในขณะพำนักอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ โดยผู้ป่วยทั้ง 7 คน ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม โดย 5 คนได้ PZ 3 เข็มแล้ว โดยเข็มที่ 3 ได้ประมาณช่วง ตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ส่วนอีก 1 คนได้เข็ม PZx2 และ เข็มสามเป็น MDN เต็มโดสตั้งแต่ 3 ตุลาคม และ อีก 1 คนได้เข็มไขว้ AZ-PZ และ ได้เข็มสามเป็น PZ วันที่ 26 ตุลาคม

โดยสรุปคือ ทุกคนได้เข็มกระตุ้นมาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการระบาดของ "โอไมครอน" ในเมืองนี้ของแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นสภาวะที่ภูมิหลังเข็มสามยัง active เต็มที่ แต่ก็ยังติดเชื้อสายพันธุ์นี้

ทั้ง 7 คน มีอาการป่วยเล็กน้อยถึงปานกลาง ไม่จำเป็นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล อาการที่เห็นชัดในผู้ป่วยคือ ไอแห้ง เจ็บคอ เยื่อบุจมูกอักเสบ หายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย เมื่อตรวจปริมาณไวรัสในตัวอย่างของผู้ป่วยแต่ละคน พบว่า ไวรัสในตัวอย่างมีปริมาณค่อนข้างสูง 1.41 x 10e4 ถึง 1.65 x 10e8 (เฉลี่ย 4.16 x 10e7 copies/ml)

ซึ่งพบว่าจุดสูงสุดของไวรัสคือ วันที่ 4 หลังแสดงอาการ ถ้าเทียบดูปริมาณไวรัสโดยเฉลี่ยของโควิดโดยทั่วไปคือ 6.76 x 10e5 copies/ml ที่ 5 วันหลังมีอาการ ทำให้อาจเป็นไปได้ที่ โอมิครอนจะสามารถเพิ่มจำนวนได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ข้อมูลยังน้อยเกินไปที่จะสรุปในตอนนี้

ที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยที่ 6 ใน 7 คน มีค่าแอนติบอดีในเลือดที่วัดในหน่วย AU/ml สูงเกินหมึ่นทุกคน ผู้ป่วยรายที่ 2 ที่มีปริมาณไวรัสสูงสุดเป็นผู้ที่มีแอนติบอดีสูงถึงมากกว่า 40000 AU/ml ซึ่งชัดว่าปริมาณแอนติบอดีสูงๆด้วยการวัดวิธีนี้ไม่สามารถอนุมานต่อได้ว่าจะป้องกันการติดเชื้อ "โอไมครอน" ได้

ข้อมูลชุดนี้บอกว่า ภูมิจากเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนในปัจจุบันคงจะไม่เพียงพอต่อการป้องกัน "การติดเชื้อ" เข้าสู่ร่างกายของไวรัส "โอไมครอน" แต่ที่ชัดเจนคือ "อาการหลังติดเชื้อไม่หนัก" และ สามารถรักษาตัวเองให้หายได้ในเวลาไม่นาน ปริมาณไวรัสที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วยเหล่านั้นไม่น้อยและแพร่กระจายได้ การรับมือกับโอมิครอนคงจะพึ่งวัคซีนอย่างเดียวไม่ได้ครับ เครื่องมืออื่นๆคงต้องพร้อม

ที่มา

พันธุ์นี้ดุสุด ดร.อนันต์ เผย "วัคซีนเข็ม 3" ยังไร้ผล เมื่อเจอ "โอไมครอน"

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/496333

 

ภัยร้าย RSV มาแรงแซงโค้ง COVID

ไวรัส RSV เป็นสาเหตุให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ และที่สำคัญคือยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับ COVID-19 ที่กำลังระบาดขณะนี้ !

นอกเหนือจากกระแสการระบาดของ COVID-19 ระลอก 2 ที่กำลังเกิดขึ้นทั้งสหรัฐฯ และหลายประเทศในทวีปยุโรป เช่น ฝรั่งเศส สเปน และอังกฤษ ที่ผู้ป่วยรายใหญ่เพิ่มขึ้นรวมกันกว่า 2 แสนคนต่อวันหรือเกือบครึ่งหนึ่งจากทั่วโลก ทำให้ทุกประเทศรวมถึงไทยยังคงรณรงค์ให้ป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่างทางสังคม การใส่หน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือด้วยสบู่ และการทำความสะอาดสิ่งของที่ใช้เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดี ช่วงปลายฝนต้นหนาวของประเทศไทยนั้นยังมีโรคที่น่ากังวลอย่าง RSV ซึ่งสามารถทำอันตรายถึงชีวิตได้โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 5 ปี

Respiratory Syncytial Virus หรือไวรัส RSV เป็นสาเหตุให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งไวรัสชนิดนี้จะกระจายอยู่ทั่วไป แต่เมื่อเข้าสู่การเปลี่ยนฤดูกาลหรือปลายฝนต้นหนาวที่อากาศชื้นมากขึ้น ไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดี และหากภูมิต้านทานต่ำลงก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อไวรัสนี้ได้ง่ายขึ้น โดยกรมควบคุมโรคให้ข้อมูลไว้เมื่อปี 2562 ว่าองค์การอนามัยโลกประมาณการจำนวนผู้ป่วยโลกจากเชื้อ RSV ถึง 33.8 ล้านคน และถึงแก่ชีวิตกว่า 160,000 ราย และที่สำคัญคือยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับ COVID-19 ที่กำลังระบาดขณะนี้ สำหรับสถิติในประเทศไทยที่รายงานโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าอุบัติการณ์ของโรค RSV ในเด็กของปี 2563 มีอัตราป่วยเท่ากับปี 2562 ในเดือนเดียวกัน คือมากกว่า 30% ที่ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจและพบเชื้อ RSV โดยเฉพาะในเด็กเล็กแรกเกิด-5 ปี

โรค RSV ทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบ โดยอาจมีเสมหะออกมาในปริมาณมาก อาการคล้ายไข้หวัดปกติ เช่น มีไข้ ไอเจ็บคอ และมีน้ำมูกหรือเสมหะ แต่ในเด็กเล็กที่ภูมิคุ้มกันต่ำหรือคลอดก่อนกำหนด อาจมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจหน้าอกยุบ หรือปากซีดเขียว หรืออาจทรุดลงถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลว และมีโอกาสถึงขั้นเสียชีวิตอย่างรวดเร็วหากมีอาการแทรกซ้อนของปอดหรือหัวใจ อย่างไรก็ดี โรค RSV เป็นกลุ่มโรค Influenza หรือไข้หวัดเช่นเดียวกับ COVID-19 ดังนั้น วิธีการป้องกันการติดต่อ RSV คือ หมั่นล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และไม่ไปอยู่ในสถานที่ที่แออัด หากมีอาการควรเก็บตัวอยู่บ้านและใส่หน้ากากอนามัยเพื่อลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ทั้งนี้ สังคมวัยเด็กย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะสัมผัสใกล้ชิดกับเพื่อนฝูงในช่วงเปิดภาคเรียน ดังนั้น นอกเหนือจากการปิดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ควรวางแผนการปิดความเสี่ยงด้วยการทำประกันสุขภาพด้วย เพราะค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาโรค RSV ก็สูงไม่น้อย

สำหรับการเลือกประกันเพื่อคุ้มครองบุตรหลานจากค่าใช้จ่ายรักษาโรค RSV จะมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ 1) ค่าห้องต่อวันของโรงพยาบาลที่คาดว่าจะใช้บริการ สำหรับค่าเฉลี่ยของโรงพยาบาลเอกชนในปี 2563 ถ้าต้องการพักห้องเดี่ยวแบบมาตรฐานประมาณ 4,000 บาทขึ้นไป ซึ่งการเลือกแบบประกันอาจเริ่มพิจารณาที่วันละ 5,000 บาทต่อวันจึงจะเหมาะสม 2) เลือกแบบประกันที่มีความคุ้มครองห้อง ICU ที่เหมาะสม เนื่องจากแบบประกันสุขภาพของบางบริษัทอาจไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายห้อง ICU ซึ่งเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญ 3)วงเงินความคุ้มครองที่ต้องการให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่กังวล

ในกรณีของโรค RSV หากสมมติให้ใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลราว 4-7 วันในโรงพยาบาลเอกชนอาจมีค่าใช้จ่ายราว 100,000–200,000 บาท หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับสถานพยาบาล และระยะเวลาการรักษา ซึ่งผู้ปกครองสามารถพิจารณาเลือกวงเงินความคุ้มครองแบบต่อครั้งต่อโรค หรือ วงเงินเหมาจ่ายต่อปีก็ได้ เพียงแต่ให้วงเงินที่คุ้มครองเกิน 200,000 บาท เพื่อสำรองความคุ้มครองเพิ่มเติมกรณีเกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างการรักษา และเพื่อไม่ให้ซื้อประกันที่เกินความคุ้มครองที่ต้องการ (Overinsure) หากมีงบประมาณการชำระเบี้ยที่จำกัด และที่สำคัญควรตัดสินใจทำประกันสุขภาพในขณะที่บุตรหลานยังไม่ป่วยถึงขั้นเข้าโรงพยาบาล เพราะเมื่อป่วยจาก RSV แล้วค่อยคิดทำประกันสุขภาพ บริษัทประกันอาจไม่รับประกันหรือกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน ซึ่งจะเสียโอกาสในการปิดความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายอย่างน่าเสียดาย

สำหรับโรค RSV นั้นอัตราการป่วยถือว่าน่ากังวลมากกว่าไวรัส COVID-19 ด้วยซ้ำ เพราะถึงแม้ RSV จะระบาดตามฤดูกาลเท่านั้น แต่จะเห็นว่าจำนวนกว่า 33.8 ล้านคนเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงอัตราป่วย COVID-19 ในปัจจุบัน ประกอบกับเชื้อไวรัส RSV ก็ยังไม่มีวัคซีน และมีโอกาสป่วยได้ง่ายในช่วงนี้ โดยมีค่าใช้จ่ายการรักษาไม่น้อย ดังนั้นนอกจากป้องกันบุตรหลานของทุกท่านจากโรค RSV นอกเหนือจากหมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะบุตรหลานให้ดี ควรพิจารณาเลือกประกันสุขภาพให้พวกเขา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเมื่อบุตรหลานเจ็บป่วยอย่างไม่คาดคิด จะสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็วและกลับมาแข็งแรงและใช้ชีวิตวัยเด็กอย่างมีความสุขได้ในเร็ววัน

บทความจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/906556?anf=

https://youtu.be/tUE5EBPt-lU
พี่น้องที่คิดจะฉีดวัคซีน mRNAโปรดฟังคลิปนี้ค่ะ หมอคนนี้รักษาคนไข้ในอเมริกา บอกว่าเริ่มพบคนไข้มีปัญหาโรคภูมิแพ้ตนเอง (Auto-immune Disease), มะเร็งผิวหนัง(Melanoma)เพิ่มขึ้น20เท่าเมื่อเทียบกับก่อนการฉีดวัคซีน และยังกล่าวอีกว่า โรคโควิด19 สามารถรักษาให้หายได้หากคนไข้ได้รับยาIvermectin ในระยะเริ่มต้น นั่นหมายถึงไม่ปล่อยให้ โรคล่วงเลยไปสู่เฟสที่2คือการลงไปทำลายปอด ซึ่งการอักเสบที่ปอดนี้เองเป็นสาเหตุให้เนื้อปอดที่สามารถแลกเปลี่ยนอ๊อกซิเจนให้เม็ดเลือดลดลง ทำให้อวัยวะเริ่มล้มเหลวเริ่มจากไตวาย และตามด้วยตับวาย คนไข้จึงมีอัตราการเสียชีวิตได้รวดเร็ว อันเนื่องมาจากการอักเสบและการเกิดลิ่มเลือดที่ปอด คนไข้ในเฟสที่2นี้จะไม่พบการแบ่งตัวของไวรัสแล้ว แต่สามารถพบเศษทรากไวรัสและเศษหนามไวรัส(Spike Proteins) ได้เป็นจำนวนมาก จากการศึกษาทาง Microbiology พบว่าแค่เพียงหนามไวรัส หรือ Spike Protein ก็ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อและทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในเสันเลือดได้ดังนั้น Spike Protein จึงเป็นอาวุธสำคัญของโคโรนาไวรัสนี้ แต่เขากลับนำอาวุธของSARs CoV2มาทำวัคซีน นั่นเท่ากับฉีดอาวุธของไวรัสให้คนโดยตรง
หากท่านจะไม่เชื่อ ย่อมเป็นสิทธิ์ ที่จะไม่เชื่อ แต่อย่าบอกว่า เราไม่เตือนท่าน หากท่านจำเป็นต้องฉีดวัคซีน ขอให้เป็นวัคซีนเชื้อตายปลอดภัยที่สุด รองลงไปคือ ไวรัสเวคเตอร์และที่อันตรายที่สุด คือ mRNA.
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ทพญ.อุบลรัตน์ วรรณวิสูตร DDS, MPH, MS, Diplomate American Board of Periodontology

 
ภาวะ "Long COVID" งานวิจัยพบอาการตึงเครียด งุนงง มีความผิดปกติทางอารมณ์
 

ภาวะ "Long COVID"หมอธีระเปิดผลวิจัยพบอาการใหม่เกิดภาวะตึงเครียด งุนงง เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ กระทบการใช้ชีวิต ต้องจ่ายค่ารักษาอาการข้างเคียงสูง

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด19 รวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลภาวะคงค้าง ของผู้ติดเชื้อโควิด หรือ "Long COVID" โดยระบุว่า 
13 มกราคม 2565
ทะลุ 317 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,925,509 คน ตายเพิ่ม 7,337 คน รวมแล้วติดไปรวม 317,026,990 คน เสียชีวิตรวม 5,529,026 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย อิตาลี และสเปน
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.08 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 90.28
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 43.69 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 49.61 
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

...อัพเดต Omicron
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนการติดเชื้อใหม่ของทั่วโลกสูงขึ้นมาก
อัตราการติดเชื้อใหม่เฉลี่ยของทั่วโลกเพิ่มขึ้นราว 50% นั้น ทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และแอฟริกา มีอัตราการเพิ่มต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในขณะที่ทวีปเอเชีย อเมริกาใต้ และโอเชียเนียนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึง 3 เท่า
มองดูในเอเชีย จำนวนติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ของไทยเราสูงเป็นอันดับ 6 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2.35 เท่า โดยติดไป 49,033 คน 

...อัพเดตการวิจัย "Long COVID"
Carter SJ และคณะจากมหาวิทยาลัยอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วยที่เป็น Long COVID ใน medRxiv เมื่อวานนี้ 12 มกราคม 2565
พบว่าหากเปรียบเทียบกันกับคนปกติ

ผู้ป่วย Long COVID นั้นนอกจากจะมีอาการคงค้างต่างๆ ตามที่เราเคยทราบมาก่อนแล้ว ยังพบว่าทำให้มีสมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวันแย่กว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญ การออกกำลังกายในยามว่างลดลง มีภาวะตึงเครียด งุนงง และความผิดปกติทางอารมณ์

หากมองเชิงระบบ ไม่ว่าจะระบบสังคม หรือระบบการทำงานในระดับหน่วยงานรัฐและเอกชน การติดเชื้อจำนวนมาก ย่อมทำให้มีโอกาสที่จะมีคนที่เป็น Long COVID มาก ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ผลิตภาพจะลดลง รวมถึงส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนอื่น ไม่ว่าจะในครอบครัว และในที่ทำงาน

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหา Long COVID และภาระต่อระบบสุขภาพระยะยาวย่อมมีสูงเป็นเงาตามตัว

...สำหรับพวกเราทุกคน 
ควรป้องกันตัวและครอบครัวอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั่นนอกเป็นหน้ากากผ้า 
อยู่ห่างคนอื่นเกินหนึ่งเมตร
เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
หากไม่สบายคล้ายหวัด ให้คิดถึงโควิดไว้ด้วยเสมอ หาทางตรวจรักษา


อ้างอิง
Carter SJ et al. Functional status, mood state, and physical activity among women with post-acute COVID-19 syndrome. medRxiv. 12 January 2022.

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/500939?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ