อาทิตย์, 31 กรกฎาคม 2565
'หมอธีระวัฒน์' ติดโควิดพันธุ์ใหม่! สรุปบทเรียน 7 ข้อ เตือนคนไทย
11 กรกฎาคม 2565 เวลา 8:31 น.

11 ก.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประสบการณ์หมอเองติดโอมิครอน BA4/5

หมอเองติดไปแล้วตั้งแต่ 10 มิถุนายน และเช่นเดียวกับอีกหลายคน ตั้งแต่ค้นเดือนมิถุนายน แม้ว่าหลายคนจะฉีดเข็มที่สี่หรือห้า หรือหก ไปแล้ว พิสูจน์ว่า วัคซีนกัน “การติด” โอมิครอนไม่ดี โดยเฉพาะสายย่อยนี้

แต่อานิสงส์ของการฉีดวัคซีน

”สามเข็มโดยเข็มสุดท้ายเป็น mRNA” จะลดความเสี่ยงอาการหนักได้ แต่ถ้าอาการมากขึ้นอย่านิ่งนอนใจ

ถ้าฉีดเชื้อตายให้เริ่มนับใหม่ ถ้าฉีด AZ ต้องตามด้วย mRNA

และถ้าจะให้หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของวัคซีนให้ได้มากที่สุดควรต้องฉีด”ชั้นผิวหนัง”

สรุปบทเรียนจากเดือน มิ.ย. นี้จากตัวเอง และรอบข้างที่ติด

1.*อย่าเชื่อ ATK ถ้ายังขีดเดียวและมีอาการไม่สบายให้รีบแยกตัว

เริ่มฟ้าทะลายโจร อย่ากินตามฉลาก ให้เทียบว่ายี่ห้อนั้นมี แอนโดรกราโฟไลท์ เท่าไหร่ ให้ทาน = 60 มก. เช้า กลางวัน เย็น 5วัน ในเด็กทาน 10 มก. เช้า กลางวันเย็น 5 วัน เช่นกัน

สังเกตตนเอง ถ้าเริ่มแย่ลง เอาไม่อยู่ให้เรียกเพื่อน ส่ง รพ. (ตลอดเดือน ก.ค. ถึง วันที่ 10 ก.ค. นี้ รพ. มักเต็ม รอคิวเพียบ!!)

2.ฟาวิพิราเวียอาจได้ผลไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้ อย่าชะล่าใจ ตามที่คณะของเราได้เคยรายงานไปแล้วว่าเริ่มดื้อมานานพอควรแล้ว

ทั้งนี้ แม้ว่ารักษาทันที ตั้งแต่วันแรก ใช้ยาถูกขนาด แต่รหัสพันธุกรรมตั้งแต่สมัยอัลฟา และ เดลตา ผันแปรไปจากเดิมเยอะมากและเมื่อรักษาไปครบห้าวันกลับไม่ได้ผล

อาการปอดบวมมากขึ้น โดยมีรหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปอีกมากและต้องทำการเปลี่ยนยาใช้ ยาฉีด remdesivir

3.ห้ามชะล่าใจเด็ดขาด เมื่อไม่สบาย และคิดว่าอาการไม่หนัก ทั้งนี้คงจำกันได้ โควิดทำให้ออกซิเจนต่ำโดยไม่รู้ตัว (happy hypoxemia)

หมอเอง ต้องเดิน 6 นาทีความอิ่มตัวของออกซิเจนเริ่ม <96% และเหนื่อยล้ามาก จนต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษา ด้วยยาฉีด

เพราะชะล่าใจว่าไม่น่าติด และทำงานได้มีแต่ fatique บ้าง จนอาการยกระดับขึ้นมากมาย

4.ติดสายย่อยทันสมัยนี้ไปแล้ว

***อย่าทะนงตัวว่า มีภูมิคุ้มกันทั้งสองแบบ คือจากวัคซีนที่เคยฉีดแล้วมีติดเชื้อตามธรรมชาติ

เพราะโอมิครอนสายย่อยนี้ วัคซีนที่เคยฉีด รวมทั้งที่เคยติดโควิดมาก่อน เมื่อเจอกับโอไมครอนสายทันสมัยนี้ ภูมิคุ้มกันจะไปต่อสู้กับสายเดิมตั้งแต่อู่ฮั่น อังกฤษ เดลตา ภูมิต่อโอมิครอน ขึ้นน้อยมาก จนถูกขนานนามว่า สามารถ ทำให้เกิด hybrid immune damp คือ “ภูมิเดี้ยงไปเลย”

5.“อาจ” สบายใจได้ประมาณ 2-3เดือน (ถ้าโชคดี) และเตรียมตัวติดใหม่ได้

คนที่ติด โอไมครอน BA 1/2 ไปหยกๆ อาจติด 4/5 ได้เลย ไม่ต้องรอ 2-3 เดือน

6.รายงานจากต่างประเทศจะว่าลองโควิดจากโอมิครอนน่าจะน้อยกว่าโควิดก่อนหน้า แต่ทั้งนี้ เป็นโอไมครอนสมัยแรก และสายย่อยใหม่นี้ ถ้าติดซ้ำซ้อนหลายครั้งจะเกิดอะไรขึ้น กับลองโควิด

7.ประมาณกันว่าภายในเดือนกันยายน ตุลาคมนี้ โควิดน่าจะปรับเปลี่ยน ทั้งนี้เป็นโอมิครอนสายย่อยใหม่หรือเป็นสายใหม่ หรือ เรียกง่ายๆ แล้วกันว่า สายทันสมัยกว่า

สรุปว่า : ถ้าไม่ติดได้จะเป็นดี หรือถ้า “ซวย” ติดไปแล้ว หัวใจสำคัญ รักษาเร็วที่สุดให้หายเร็วที่สุดเพื่อกันลองโควิด

ข้อสังเกต : ยาต้านไวรัส molnupiravir ยังใช้กันได้ paxlovid ในบางราย ระวัง rebound ดูหายแลัว ไวรัสปะทุใหม่ และติดคนอื่นต่อได้

ยาต้าน ในเดือนกรกฎาคมนี้ หลายโรงพยาบาล ไม่ให้เบิก เป็นขายแล้ว molnupiravir ชุดละเป็นหมื่น

ข้อปลอบใจ : เบื่อไหม เบื่อ แต่ชีวิต ต้องอยู่ให้ได้ ประเทศ ต้องเดินหน้าต่อ มีวินัยกันต่อก็ไม่เสียหาย

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

16 พ.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ “หมอดื้อ” โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ต้องรู้จักสเตียรอยด์ให้ดี ช็อกถึงตายได้ จากยาผีบอก สมุนไพร

สเตียรอยด์เป็นฮอร์โมนธรรมชาติของมนุษย์ สั่งงานจากสมองส่วนกลางลงมายังต่อมใต้สมอง ควบคุมต่อมหมวกไตให้ผลิตในปริมาณพอเหมาะ ควบคุมความสมดุลย์ของร่างกาย เมื่อมีภาวะเครียดทางกาย ใจ ยกตัวอย่างเช่นมีมีภาวะวิกฤติฉุกเฉิน มีการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างสเตียรอยด์ในปริมาณที่สูงขึ้นหลายเท่าเพื่อพยุงชีวิต และจำกัดการอักเสบให้ไม่รุนแรงเกินไป จะคอยควบคุมให้ร่างกายทนทาน คงความดันโลหิต คุมการอักเสบอยู่จนกระทั่งมีการรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อโรค จนเมื่อกลับเข้าเป็นภาวะปกติ ฮอร์โมนสเตียรอยด์ก็จะกลับเข้าที่เดิม และยังคุมปรับความสมดุลของร่างกาย ทั้งระดับภูมิคุ้มกัน และปรับระดับเกลือแร่ร่วมกับการทำงานของไต การที่เอามาใช้กิน ฉีดเป็นยาบรรเทาอาการ ทำให้อาการปวดเจ็บที่เกิดจากการอักเสบ เช่น ปวดข้อเข่า ปวดเมื่อย หายเป็นปลิดทิ้ง

 

จากการที่สเตียรอยด์สามารถลดอาการอักเสบ ปวด ลดไข้ได้ ทำให้มีการนำมาใช้กันผิดๆ อย่างแพร่หลายเพื่อให้หายเร็วทันใจไม่ว่าปวดเข่า ปวดข้อ ปวดเมื่อย ทั้งที่ใช้เดี่ยวๆ หรือไปผสมกับยาแก้ปวดอื่นๆ เป็นยาชุด เช่น NSAID (เอนเสด ยกตัวอย่าง ยา voltaren brufen) เป็นต้น ทำให้มีผลข้างเคียงมหาศาล กระเพาะตกเลือด กระเพาะทะลุ เป็นโรคไตวาย ในทางการแพทย์ สเตียรอยด์เป็นยาช่วยชีวิต มีประโยชน์ในการรักษาควบคุมโรค การอักเสบที่เกิดจากภูมิแพ้และแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคพุ่มพวง หรือ โรค SLE ที่ระบบภูมิคุ้มกันวิปริต แทนที่จะไปสู่กับเชื้อโรคกลับทำลายร่างกายตนเอง หัวจรดเท้า ผมร่วง ผื่นขึ้น หัวใจ ปอด ตับ ไต อักเสบ ข้อบวม

และยังใช้ในอีกหลายโรคที่มีการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ อย่างโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่ทั้งนี้การใช้ต้องอยู่ในการควบคุมอย่างระมัดระวังทั้งขนาด วิธีใช้ ระยะเวลา รวมทั้งต้องทราบผลข้างเคียงแทรกซ้อน อาจระคายกระเพาะ หน้าอ้วนอูม คอเป็นหนอก สิว นอนไม่หลับ แต่ทั้งนี้ต้องชั่งประโยชน์และโทษ คือต้องมากกว่าผลข้างเคียง ซึ่งเมื่อค่อยๆ หยุดยาลงทีละน้อย ผลข้างเคียงเหล่านี้ก็จะค่อยๆ สงบลง

ปัญหาสำคัญอยู่ที่การใช้สเตียรอยด์ในเวลานานๆ เป็นหลายสัปดาห์ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ระบบอัตโนมัติจากสมองส่งผ่านมาต่อมหมวกปรวนแปร ต่อมหมวกไตขี้เกียจ ร่างกายจะใช้แค่สเตียรอยด์ที่ได้จากการกินจากภายนอกเท่านั้น ซึ่งเมื่อหยุดกะทันหันจะเกิดอันตราย ความดันโลหิตตกจนอาจถึงช็อก หรือเมื่อมีภาวะฉุกเฉิน เช่น ติดเชื้อ เครียดทางกาย ซึ่งขณะนี้ร่างกายต้องการระดับสเตียรอยด์สูงขึ้นอีกหลายเท่าจากปกติ เพื่อให้คงชีวิตอยู่ได้ กลับไม่เป็นดังที่ควรจะเป็น ดังนั้นคนไข้ที่ได้รับสเตียรอยด์อยู่แล้วจากแพทย์ในการรักษาโรค เมื่อเกิดเหตุวิกฤติฉุกเฉิน แพทย์จะทำการปรับระดับเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม

ที่เป็นวิกฤติระดับชาติ ภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้านเราขณะนี้ และเป็นมาเนิ่นนานหลายสิบปี จนมากขึ้นเรื่อยๆ คือ การที่เอาสเตียรอยด์จะด้วยจงใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ปนใส่ในยาชุดแก้ไข้ แก้ปวด แก้อักเสบ หรือในรูปแบบของอาหารเสริม สมุนไพร ซึ่งแท้จริงมีฤทธิ์เป็นสเตียรอยด์ ทั้งนี้จะเห็นผลมหัศจรรย์ทันที หายป่วย หายเมื่อย หายไข้ แต่ถ้าไข้นั้นเกิดจากโรคติดเชื้อ อาการจะดีขึ้นพักเดียว และเชื้อโรคจะแพร่จำนวนลุกลามเข้าอวัยวะ เข้ากระแสเลือดจนเสียชีวิตได้

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในการใช้ระยะยาวเป็นสัปดาห์หรือเดือนอย่างต่อเนื่อง จะกดการทำงานตามธรรมชาติที่ให้มีระดับสูงต่ำตามภาวะความจำเป็น เมื่อเกิดมีภาวะฉุกเฉินเช่นโรคหัวใจ โรคติดเชื้อนิดๆ หน่อยๆ ที่แม้ไม่รุนแรงนัก จะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำจนถึงช็อก (adrenal crisis)

แม้ว่าทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะมีประกาศอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าพวกหมอเราเองจะตระหนักในภาวะนี้แล้วก็ตาม แต่ในโรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงพยาบาลเดียวใน 2 ปี (2013 – 2014) มีผู้ป่วยช็อกจากสาเหตุนี้ซึ่งพิสูจน์ยืนยันแล้ว มากกว่า 80 ราย (วารสาร Tropical Doctor) และอาจจะมีจำนวนมากกว่านี้ เพราะถ้าโรคติดเชื้อมีความร้ายกาจอยู่แล้ว อาการช็อกจากภาวะสเตียรอยด์มีไม่พอ บวกกับช็อกจากติดเชื้อจะทำให้ทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก จากที่หมอคุยกับรุ่นน้องๆ ในอีกจังหวัดหนึ่งทางอีสานในเดือนกันยายนปีนี้ ก็เจอสภาพเช่นนี้เหมือนกัน

จากการสำรวจในโครงการแกนนำนักวิจัยอาชีพของเรา ซึ่งหมอดื้อเป็นหัวหน้าโครงการ ใช้ทุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พบว่าผู้ป่วยช็อกเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีหน้าบวม อ้วน น้ำตาลต่ำในเลือด เกลือแร่แปรปรวน หรือมีเม็ดเลือดขาวบางชนิด (eosinophil) ขึ้น ดังที่ปรากฏเหมือนในตำรา อาจเป็นเพราะได้สารสเตียรอยด์จำนวนพอประมาณติดต่อกันเนิ่นนาน แต่แน่นอนทำให้ต่อมหมวกไตไม่ทำงาน และไม่ยอม “ช่วยชีวิต” เราในภาวะวิกฤติ

หมอขอร้องให้พวกเราบุคลากรสาธารณสุขช่วยกันสอดส่อง และห้ามปรามการใช้ “ยาผีบอก” หรือ “สมุนไพร” ที่อาจมีสเตียรอยด์ปนเปื้อนเหล่านี้ และตระหนักว่าภาวะช็อกอาจเกิดจากการได้ยาผีบอก ยาชุด ที่กดการทำงานของต่อมหมวกไต จะได้ให้การรักษาได้ทันท่วงที

ขอร้องให้ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ ขยายผลที่ได้จากการสำรวจวิจัยเล็กๆ ของเรารวมทั้งรายงานมากมายหลายชิ้นที่ พี่ๆ น้องๆ หมอในประเทศรายงานเอาไว้ ไปร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ปลุกระดมขจัดล้างยาพิษเหล่านี้ อย่าไปแคร์ว่างานวิจัยต้องตีพิมพ์ระดับโลก องค์กรต้องติดอันดับนานาชาติ งานที่ตอกย้ำเพื่อช่วยชีวิตและสุขภาพควรมาก่อน

ลองนึกภาพนะครับถ้าคนไทยเกือบครึ่งประเทศต่อมหมวกไตฝ่อไม่ทำงาน เวลามีเชื้อโรคแม้ไม่ดุเดือดเข้ามา กลับต้องเข้าโรงพยาบาลเสียชีวิตทั้งๆ ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น เหมือนอย่างที่เคยพูดก่อนหน้าครับ ขอร้องให้กระทรวง สำนัก ขยับเป็นระบบเถิดครับ จะให้หมอไหว้ ก็ยอม.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/general-news/142416/

ศ.webp

หมอธีระวัฒน์'ยันการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง ไม่ใช่ประหยัดอย่างเดียว แต่เพื่อความปลอดภัยสูงสุดและผลแทรกซ้อน เผยทำการทดสอบแล้วได้ผลดี ผลข้างเคียง ต่ำกว่าการฉีดเข้ากล้าม 10 เท่าหรือมากกว่า

19 พ.ย. 2564 - ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง ไม่ใช่ประหยัดอย่างเดียว แต่เพื่อความปลอดภัยสูงสุดด้วย
ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ประหลาดมหัศจรรย์ ในการนำวัคซีนทุกประเภทมาใช้ในการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง

ทั้งนี้ประโยชน์ที่จะได้รับนั้นคือการที่จะสามารถประหยัดวัคซีนลงได้มหาศาล โดยเฉพาะในเรื่องของวัคซีนโควิด
ซึ่งข้อมูลในปัจจุบันยืนยันกันแล้วว่าต้องสามารถฉีดให้ได้ 90% ของคนในพื้นที่หรือในประเทศภายในระยะเวลาอันสั้น นั่นคือไม่เกินสามเดือน ทั้งนี้ เพื่อไม่เปิดโอกาสให้ไวรัสมีการแพร่เป็นลูกโซ่ออกไปต่อ

ซึ่งในระหว่างการแพร่นั้นจะมีการพัฒนาตนเองให้เก่งกาจมากขึ้น ทั้งในการติดง่ายซึ่งหมายถึงหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตามธรรมชาติและดื้อต่อภูมิที่ได้จากวัคซีนและยังร่วมทั้งดื้อต่อภูมิที่ได้จากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นมาก่อนและทำให้อาการหนัก ตายมากขึ้น

โดยเห็นตัวอย่างมากมายแล้วว่าการติดเชื้อซ้ำครั้งที่สอง ยังเกิดได้ ตั้งแต่หนึ่งเดือนครึ่ง เป็นต้นไปและจะชัดเจนขึ้นตั้งแต่สามเดือนไปแล้ว แม้ว่าชื่อไวรัสยังคงเป็นยี่ห้อเดิมเช่นเดลต้า ถ้าเป็นเดลต้าที่มีทั้งไมเนอร์และเมเจอร์เชนจ์ แบบรถยนต์ที่ออกใหม่ที่มีเปลี่ยนไฟหลังไฟหน้าเบาะคอนโซลเป็นต้น นั้นเป็นผลจากการปล่อยให้มีการระบาดอย่างต่อเนื่องโดยควบคุมป้องกันไม่ทัน

จากการที่สามารถใช้วัคซีนปริมาณน้อย เลยทำให้สามารถเผื่อแผ่วัคซีนให้กับคนอื่นได้ทั่วถึง โดยที่วัคซีนแอสตร้านั้น หนึ่งโดสจะกลายเป็นห้า โมเดนา จากหนึ่งจะกลายเป็น 10 และไฟเซอร์จากหนึ่งจะกลายเป็นสาม และวัคซีนเชื้อตายก็เช่นกัน

โดยที่จะเป็นการฉีดกระตุ้นเข็มที่สาม หรือแม้แต่จะเป็นการฉีดตั้งแต่เข็มที่หนึ่งก็ตาม ยกเว้นในกรณีของวัคซีนเชื้อตายถ้าจะใช้ควรใช้เป็นเข็มที่หนึ่งและสองไม่ควรใช้เป็นตัวกระตุ้นเข็มที่สามเนื่องจากไม่ได้มูลค่าเพิ่มหรือกำไรเพิ่มเพราะเชื้อตายนั้นมีประโยชน์เพื่อวางเป็นรากฐานและให้วัคซีนยี่ห้ออื่นต่อยอด

ซึ่งการต่อยอดโดยยี่ห้ออื่นนี้ จะทำให้ภูมิคุ้มกันที่ตกลงอย่างรวดเร็วภายในสองเดือนหลังจากเข็มที่สองของเชื้อตายพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็วภายในเวลาสองสัปดาห์และอยู่ในระดับสูงมากของภูมิที่ยับยั้งไวรัสได้
และนอกจากนั้นยังสามารถ คลุมข้ามสายพันธุ์ดั้งเดิมคือสายจีนมาเป็นสายอังกฤษและเดลต้าได้

วัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามนั้น เมื่อฉีดตามเข็มที่หนึ่งและสองของเชื้อตาย ถ้าใช้เอสตร้า จะป้องกันสายแอฟริกาไม่ได้ซึ่งอาจหมายรวมถึงสายเปรูด้วย ในขณะที่เข็มที่สามถ้าเป็นไฟเซอร์จะคุมสายแอฟริกาได้ด้วย แม้ว่าจะไม่ดีนักก็ตาม ซึ่งอาจจะอนุมานได้ว่าวัคซีนโมเดน่า ควรจะมีประสิทธิภาพคล้ายกัน

สำหรับวัคซีนเข็มที่หนึ่งและที่สองในกรณีของเชื้อตายที่ทางการนำมาฉีดไขว้ คือชิโนแว็กต่อด้วยแอสตร้า ตามหลักแล้วจะไม่ค่อยได้กำไรหรือไม่ได้เลย

เพราะหลักการฉีดไขว้นั้น หมายความว่าวัคซีนชนิดนั้นเข็มเดียวต้องเริ่มได้ผลแล้วและยอมรับกันแล้วว่าเข็มแรกแอสตร้า ซึ่งก็ทำให้ภูมิขึ้นได้แล้วและต่อด้วยไฟเซอร์หรือโมเดนา ซึ่งเข็มเดียวก็ได้ผลบ้างอยู่แล้ว เมื่อนำมาฉีดต่อกันจะทำให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันขึ้นดีกว่ายี่ห้อเดี่ยวสองเข็ม

ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการคือในเรื่องของความปลอดภัยและผลแทรกซ้อน การฉีดเข้าชั้นผิวหนังจะใช้ปริมาณน้อยมาก

ดังนั้นการกระตุ้นทำให้เกิดผลแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงจะน้อยกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นยังสามารถอธิบายได้จากการที่การฉีดเข้าชั้นผิวหนังนั้นกลไกในการกระตุ้นภูมิจะแยกออกอีกสายที่เรียกว่าเป็น Th2 ในขณะที่การฉีดเข้ากล้ามการกระตุ้นจะเป็นสาย Th1

และสาย Th1 นี้เองที่เป็นขั้นตอนกระบวนการ ของโควิดที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง ต่อจาก เม็ดเลือดขาว นิวโตรฟิล (กระบวนการ NETS สุขภาพพรรษา กลไกที่ทำให้เกิดเสมหะเหนียวขุ่นคลั่กและพังผืด) และต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดมีลิ่มเลือดอุดตันหรือเนื้อเยื่อและอวัยวะอักเสบทั่วร่างกาย

รวมกระทั่งถึงกล้ามเนื้อหัวใจและสมองอักเสบที่เราเรียกว่ามรสุมภูมิวิกฤติ (cytokine storm)

ทั้งนี้เราทุกคนต้องไม่ลืมว่าวัคซีนนั้นคือร่างจำลองของไวรัสโควิดนั่นเองและส่วนที่วัคซีนทุกยี่ห้อนำมาใช้นั้นจะมีส่วนหรือชิ้นของไวรัสที่เกาะติดกับเซลล์มนุษย์และเป็นตำแหน่งเดียวกันกับที่ทำให้เกิดการอักเสบ จาก ACE2 รวมกระทั่งถึงการทำให้มีความเบี่ยงเบน ขาดสมดุลระหว่าง Th1 และTh2 โดยออกไปทาง Th1 และ ต่อด้วยอีกหลายสายย่อยรวมทั้ง 17 เป็นตัน

การฉีดเข้าชั้นผิวหนังเริ่มตั้งแต่ 37 ปีที่แล้ว โดยที่คณะของเราพยายามแก้ปัญหาที่ต้องการเลิกใช้วัคซีนเชื้อตายพิษสุนัขบ้าที่ทำจากสมองสัตว์และเกิดสมองอักเสบมากมาย แต่เมื่อจะใช้วัคซีนชนิดดีก็มีราคาแพงจึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นการฉีดเข้าชั้นผิวหนังและเริ่มใช้ที่สถานเสาวภาก่อนในปี 1987 และขยายไปใช้ทั่วประเทศและได้แสดงให้ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันปาสเตอร์ของฝรั่งเศส จากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐและสถาบันไวรัส เอสเสน ของเยอรมัน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญอื่นๆรับทราบและในที่สุดองค์การอนามัยโลกยอมรับให้ใช้ทั่วโลกในปี 1991 จากนั้นมีการทบทวนและการติดตามความปลอดภัยและประโยชน์ที่ได้รับเป็นระยะ ทุก 4-5 ปี และจวบจนกระทั่งครั้งสุดท้ายมีการจัดประชุมขององค์การอนามัยโลกที่คณะแพทยศาสตร์จุฬา ในปี 2017 และออกคู่มือคำแนะนำในปี 2018 ก็ยังยืนยันการฉีดเข้าชั้นผิวหนังอยู่เช่นเดิม จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้โดยที่มีคณะทำงานอิสระภายใต้องค์การอนามัยโลกทำการประเมินและรายงานในปี 2018 เช่นกัน
ทั้งนี้ได้มีการติดตามวิเคราะห์ข้อมูลทั่วโลกโดยยืนยันว่า คนที่ถูกหมากัดที่สงสัยหรือพิสูจน์ว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า 30,000 รายรอดชีวิตทั้งหมด

การฉีดเข้าชั้นผิวหนังยังนำมาใช้ในทวีปแอฟริกากับวัคซีนไข้เหลืองและยังรวมไปจนถึงวัคซีนสมองอักเสบ JE วัคซีนตับอักเสบบี และแม้แต่วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ได้อนุมัติจากองค์การอนามัยโลกและสหรัฐ ที่ใช้จนถึงปัจจุบันนี้ก็ใช้วิธีการฉีดเข้าชั้นผิวหนังเช่นกัน

มีผู้สงสัยอยู่ว่า แล้วทำไมไม่เอาวิธีการฉีดเข้าชั้นผิวหนังตั้งแต่ต้น

คำถามนี้เป็นคำถามตั้งแต่ 37 ปีที่แล้ว และเราก็ได้ทราบคำตอบจากบริษัทวัคซีนหลายแห่งว่าเพราะขายได้น้อยลง แต่เราก็ช่วยอธิบายว่าถ้าสามารถใช้ได้ทั่วทุกคนจำนวนที่ขายแท้จริงแล้วก็ไม่ได้ลดลงและอาจจะเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ
คำถามที่ว่าการฉีดยุ่งยากแท้จริงแล้วเป็นการฉีดที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาลปฏิบัติกัน ด้วยความช่ำชองยกตัวอย่างเช่น การฉีดวัคซีน บีซีจี ในเด็กแรกเกิด เป็นต้นและแม้แต่การฝึกการฉีดเพียง 15 นาทีหรือครึ่งชั่วโมงก็ฉีดเป็น โดยใช้กระบอกฉีดยาที่ใช้ฉีดในคนเป็นเบาหวานและใช้เข็มขนาดเล็กมาก

โดยประโยชน์ที่ได้รับและทำให้คนเข้าถึงได้ทุกคน เท่าเทียมกันในระยะเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งมีความปลอดภัยมากกว่า

ทั้งนี้จนกระทั่งถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2564 คณะทำงานประสานทีมต่างๆของเราอันประกอบไปด้วย อาจารย์หมอเขตต์ ศรีประทักษ์สถาบันโรคทรวงอก อาจารย์หมอทยา กิติยากร โรงพยาบาลรามาธิบดี และอาจารย์ด็อกเตอร์อนันต์ จงแก้ววัฒนา ไบโอเทค สวทช และหมอเองและคณะศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬา
ได้ทำการทดสอบการฉีดเข้าชั้นผิวหนังไม่ต่ำกว่า 400 ราย ได้ผลดีและมีผลข้างเคียงเป็นเฉพาะที่ตุ่มแดงหรือคันโดยผลข้างเคียงรุนแรงไข้ปวดหัวปวดเมื่อยและอาการร้ายแรงอื่นๆไม่ปรากฏหรือน้อยมาก ซึ่งประสบการณ์การศึกษาของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และจากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ก็ได้แสดงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในลักษณะเดียวกัน โดยผลข้างเคียงที่เกิดแก่ระบบทั่วร่างกาย ต่ำกว่าการฉีดเข้ากล้าม 10 เท่าหรือมากกว่า

จนกระทั่งถึงเวลานี้ เดี๋ยวนี้คงต้องเป็นเรื่องที่ทางการต้องรีบตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของคนไทยทั้งประเทศและความปลอดภัยสูงสุด

 
 
 

1 ส.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “ลองโควิด” ..การป้องกันและรักษา

ลองโควิดเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่การติดเชื้อได้จบสิ้น (เชื้อไม่พบแล้ว)

1.อาการของลองโควิด ไม่ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการที่เป็นตอนแรก

2.เกิดได้ทุกอายุ ได้ทุกเพศ แต่แนวโน้มในต่างประเทศ อาจเจอในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุ 18 ถึง 30 ปี และทุกอายุที่สูบบุหรี่อ้วน และแน่นอนมีโรคประจำตัวต่างๆ

 

3.เกิดอาการได้ตั้งแต่หัวจดเท้า หลายระบบหรืออวัยวะพร้อมกัน และทางความรู้สึกทางเพศ ลด หรือหายไป ทั้งชาย หญิง และประจำเดือนผิดปกติ ร่วมเพศมีอาการเจ็บปวด

4.เป็นอาการเดิมขณะติดเชื้อที่สามารถทอดยาวนานกว่าสามเดือน หรือ อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการใหม่

5.กลุ่มอาการเป็นลักษณะที่เรารู้จักกันดีมานานแล้ว เกือบ 80 – 90 ปี ในรูปของ chronic fatique syndrome หรือ Myalgia encephalomyelitis ในไวรัสต่างๆ แต่โควิดเกิดได้รุนแรง และยาวนานกว่าไวรัสตัวอื่นๆ มาก

6.กลุ่มอาการทางสมองและจิตอารมณ์พบได้ 30% หรือมากกว่า และส่งผลทำให้เฉื่อยชา คิดช้า ความจำสั้น สมองเสื่อมและอารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะคนที่เป็นอยู่แล้วหรือกำลังจะเป็น โรคสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสัน

7.หลักในการบำบัด ต้องทำการยับยั้งการอักเสบ โดยคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาด้วย และยังต้องประกอบด้วยการหลีกเลี่ยงที่จะทำให้มีการกระตุ้นการอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น ได้แก่ หลีกเลี่ยงอาหารร้อนแรงที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น เนื้อแดง ระวังพืชผักผลไม้ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีฆ่าหญ้าฆ่าแมลง รวมกระทั่งถึงมลพิษพีเอ็ม 2.5 เป็นต้น

8.จากปรากฏการณ์นี้อาจเป็นเครื่องเตือนใจว่าไม่ควรปล่อยตัวให้ติด เพราะอาจเคราะห์ร้ายระยะยาว และยิ่งติดซ้ำ ลองโควิดจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

 

9.วิธีที่ “อาจ” ป้องกันการเกิดลองโควิด ได้คือการให้การรักษาเร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าติด เพื่อให้ระยะของการติดเชื้อสั้นที่สุด

10.ตากแดด เดินหมื่น อบร้อน เข้าใกล้มังสวิรัติ ลดแป้ง

เพียงขยันเท่านั้น ไม่เสียสตางค์ ลดการอักเสบ อัตโนมัติ กินผักผลไม้กากไยให้มาก เท่านี้เอง

ถูกแดดเช้า หรือ บ่าย เย็น และอากาศร้อน อาบน้ำร้อน มีหลักฐานแล้ว ลด mitochondrial stress ลดอนุมูลอิสระ จนเพิ่ม innate immunity เดินวันละ 10,000 ก้าว

ถึงเวลาสร้างความแข็งแกร่ง ทุกระบบของภูมิคุ้มกัน ต่อสู้การติดเชื้อ เพราะวัคซีนตามไวรัสไม่ทัน และแม้พลาดท่า ติดแล้ว มีลองโควิด ก็เอาอยู่

งานวิจัยและพัฒนาเชิงรุกผลกระทบลองโควิด ของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/191378/

 

9 มิ.ย.63- นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได่โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก " Thiravat Hemachudha" ถึงข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว มาทางเครื่องบิน ดังต่อไปนี้

1- สามารถตรวจหาหลักฐานของการติดเชื้อได้ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน

2-ทั้งนี้โดยให้มีการตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันแอนติบอดีทั้ง IgM IgG ตรวจ 5 วันก่อนที่จะขึ้นบิน

3- แม้ตรวจยังไม่พบ ระยะแรกเพราะเพิ่งติดเชื้อ วันที่ขึ้นบินตรวจซ้ำครั้งที่ สอง ก็จะพบ IgM

4- มาถึงประเทศไทย 4วันไปแล้ว ตรวจ ซ้ำ ถ้าได้ผลลบ ไม่ต้องกักตัว 14 วัน

ในกรณีที่ประเทศต้นทางไม่สามารถหาการตรวจแอนตี้บอดี้ที่เป็น”มาตรฐานได้ “ ก็ให้ใช้วิธี
•แยงจมูก แทน โดยตรวจ พีซีอาร์ •

ตรวจเลือด IgM 200 IgG 200 บาท คนตรวจ ไม่ต้อง PPE ครบสูตร เจาะเลือดปลายนิ้ว เท่านั้น
ถ้าใช้ elisa ต้องส่งเลือดมาที่
แลปเราที่กาชาดครับ ตรวจ12 ชม ก็เสร็จ

ถ้าตรวจรู้ผลเลยใน 2 นาที ก็คือ chula strip test (rapid test) เจาะปลายนิ้ว
แต่อาจมี ผลบวกปลอมของ IgM ประมาณ 3% ซึ่ง อีก 4 -7 วันตรวจใหม่ก็จะตัดปัญหาเพราะ ถ้าติดจริง  IgM จะเป็น IgG เรากลัวผลลบปลอมมากกว่า เพราะคนติดเชื้อจะหลุดเข้ามา

เข้าใกล้ความจริง ลดภาระกักกันตัว 14 วัน ประเมินความเสี่ยงได้เลยในการคัดกรอง.

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/68251

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ