Font Size
"เทียบอาการโควิดกับไข้เลือดออก" คล้ายกันหลายจุด แต่พบ 2 อาการที่แตกต่าง 

"เทียบอาการโควิดกับไข้เลือดออก" พบมีอาการคล้ายคลึงกันหลายจุด ไข้สูง-ท้องเสีย แต่สามารถแยกอาการได้ง่าย ๆ เพียงแค่สังเกตความต่างจาก 2 อาการนี้

เกาะติดสถานการณ์การระบาดของโควิ19  สายพันธุ์ "โอไมครอน" ซึ่งล่าสุดมีข้อมูลระบุว่าเกิดการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่องและขณะนี้ในประเทศไทยพบว่ามีผู้ติดเชื้อ โอไมครอนสายพันธุ์ BA.2 มากถึง 80% แต่เบื้องต้นพบว่าผู้ที่ติดเชื้อไม่ได้มีอาการที่ชัดเจร และรุนแรงในบางหลายที่ได้รับเชื้ออาการคล้าย ไข้หวัดใหญ่ หรือในบางรายอาจจะมีการคล้ายไข้เลือดออก ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้ลองสังเกตุอาการเพื่อ "เทียบอาการโควิดกับไข้เลือดออก"    กันแบบชัด ๆ ว่าตกลงแล้วเราเป็นอะไรกันแน่ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาให้ถูกต้อง และถูกวิธี  

 

"เทียบอาการโควิดกับไข้เลือดออก"   อาการไข้เลือดออก : โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี    ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาจึงเป็นไปตามอาการ มีไข้ให้เช็ดตัวและรับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้เท่านั้น ห้ามใช้แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาจให้ดื่มนม นํ้าผลไม้ หรือนํ้าเกลือแร่ร่วมด้วย

อาการไข้เลือดออกที่แสดงออกอย่างชัด ๆ มีดังนี้ 

  • มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน และต่อเนื่องเป็นเวลา 2-7 วัน
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • ส่วนใหญ่มีอาการหน้าแดง
  • อาจมีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามลำตัว แขน ขา
  • ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้องและเบื่ออาหาร

ทั้งนี้ หากพบว่ามีอาการไข้ลดลงอย่าเพิ่งวางใจ เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะช็อกจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หรือหากมีไข้สูงต่อเนื่องกว่า 2 วัน แม้จะเช็ดตัวหรือทานยาลดไข้แล้วก็ไม่ดีขึ้น ให้สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกไว้ก่อน และรีบพบแพทย์   

"อาการโอไมครอน"  โดย "โอไมครอน" เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ของโควิด  ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2) สามารถแพร่จากคนสู่คนได้ทางละอองฝอย เสมหะน้ำลาย ผ่านการสัมผัสเยื่อบุตา จมูก ปาก 

"อาการโอไมครอน" มีดังนี้  

มีไข้
ไอ เจ็บคอ
ปวดกล้ามเนื้อ
มีน้ำมูก
ปวดศีรษะ
หายใจลำบาก
ได้กลิ่นลดลง
 

ลักษณะการติดเชื้อโควิด "โอไมครอน"  จะเป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนไม่ได้ลงปอด ส่วนใหญ่ติดแล้วอาการไม่หนักมาก  คล้ายกับเป็นไข้หวัด หรือในบางรายมีอาการคล้ายกับไข้เลือดออกเช่นกัน   ในผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วมักจะอาการไม่รุนแรง   บางครั้งอาจจะไม่แสดงอาการเลยจึงทำให้มีอัตราการแพร่ระบาดเร็ว และส่งผลให้มีคนติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น  

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/509418?adz=