Font Size

สึนามิอุดมศึกษาไทยที่ก่อตัวมานานจากจำนวนประชากรวัยเรียน ถูกปัจจัยเร่งจาก KOVID-19 คือสภาพเศรษฐกิจที่ทรุดและถดถอยไปทั่วโลก ส่งผลให้สึนามิอุดมศึกษาไทยและทั่วโลกลูกใหญ่กว่าและรุนแรงรวดเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งปรากฎผลขึ้นแล้ว จากข้อมูลจำนวนนิสิตนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนปีการศึกษา 2563 ดังต่อไปนี้ (ดูรายละเอียดในตารางตามภาพประกอบ)

##ปีการศึกษา 2563 มีสถาบันอุดมศึกษาไทยสมัครใช้ ระบบTCAS (Thai University Central Admission System) คือระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 82 สถาบัน จากจำนวนทั้งหมด 310 สถาบัน ปัญหาจำนวนผู้สมัครซ้ำรอยเดิม ของปีที่ผ่านๆมา คือมีที่นั่งในสถาบันอุดมศึกษาในระบบ TCAS ว่างหลายแสนที่นั่ง จำแนกได้ตามกลุ่มสถาบันดังต่อไปนี้

1.กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม(ทปอ.) จำนวน 29 สถาบัน (เข้าร่วม TCAS ทุกสถาบัน) จำนวนเรียกรับตามแผน มอค.2 จำนวน 168,996 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 145,813 คน มีที่นั่งเหลือ 23,183 คน คิดเป็นร้อยละ 13.72 ดังข้อมูลต่อไปนี้
1.1 จำนวนหลักสูตร 2,348 หลักสูตร จำนวนรับทั้งสิ้น 168,996 คน เฉลี่ย 1 หลักสูตร 72 คน
1.2 ม. เกษตรศาสตร์ สูงสุด มี 236 หลักสูตร รับ 17,520 คน รับเข้าได้ 17,472 คน ร้อยละ 99.73
1.3 ม. นครพนม ต่ำสุด มี 61 หลักสูตร รับ 3,530 คน รับเข้าได้ 1,203 คน ร้อยละ 34.08
สรุป .กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม(ทปอ.)มีสถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 มี 3 สถาบันได้แก่ (1) ม แม่โจ้ รับเข้าได้ 2,624 คน ร้อยละ 46.36 (2) ม กาฬสินธุ์ รับเข้าได้ 727 คน ร้อยละ 40.17 และ (3) ม.นครพนม รับเข้าได้ 1,203 คน ร้อยละ 34.08
คำเตือน สถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 3 สถาบัน เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูง

2.กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ 16 สถาบัน จาก 38 สถาบัน (ไม่เข้าร่วม TCAS จำนวน 22 สถาบัน) จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 57,785 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 38,246 คน มีที่นั่งเหลือ 19,539 คน คิดเป็นร้อยละ 33.81 ดังข้อมูลต่อไปนี้
2.1 จำนวนหลักสูตร 1.008 หลักสูตร จำนวนรับทั้งสิ้น 57,785 คน เฉลี่ย 1 หลักสูตร 58 คน
2.2 มรภ.สวนสุนันทา สูงสุด มี 107 หลักสูตร รับ 7,130 คน รับเข้าได้ 7,564 คน ร้อยละ 106.09
2.3 มรภ.จันทรเกษม ต่ำสุด มี 51 หลักสูตร รับ 3,500 คน รับเข้าได้ 886 คน ร้อยละ 25.31
สรุป .กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ 16 สถาบัน มีสถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50
จำนวน 4 สถาบัน ได้แก่ (1) มรภ.พระนคร รับเข้าได้ 1,162 คน ร้อยละ 39.26 (2) มรภ.ชัยภูมิ รับเข้าได้ 435 คน ร้อยละ 35.08 (3) มรภ.อุตรดิตถ์ รับเข้าได้ 936 คน ร้อยละ 27.37 และ (4) มรภ.จ้นทรเกษม รับเข้าได้ 886 คน ร้อยละ 25.31
คำเตือน สถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 4 สถาบัน เป็น กลุ่มมีความเสี่ยงสูง

3.กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล 9 สถาบัน (เข้าร่วม TCAS ทุกสถาบัน) จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 34,588 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 15,806 คน มีที่นั่งเหลือ 18,782 คน คิดเป็นร้อยละ 54.30 ดังข้อมูลต่อไปนี้
3.1 จำนวนหลักสูตร 714 หลักสูตร จำนวนรับทั้งสิ้น 34,588 คน เฉลี่ย 1 หลักสูตร 49 คน
3.2 มทร.ธัญบุรี สูงสุด มี 111 หลักสูตร รับ 6,290 คน รับเข้าได้ 4,495 คน ร้อยละ 71.46
3.3 มทร.สุวรรณภูมิ ต่ำสุด มี 111 หลักสูตร รับ 4,890 คน รับเข้าได้ 1,011 คน ร้อยละ 20.67
สรุป กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล 9 สถาบัน มีสถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 6 สถาบัน ได้แก่ (1) มทร.อีสาน รับเข้าได้ 2,103 คน ร้อยละ 47.53 (2) มทร.ศรีวิชัย รับเข้าได้ 1,673 คน ร้อยละ 44.11 (3)มทร.ล้านนา รับเข้าได้ 1,393 คน ร้อยละ 36.95 (4) มทร.รัตนโกสินทร์ รับเข้าได้ 738 คน ร้อยละ 29.76 (5) มทร.ตะวันออก รับเข้าได้ 759 คน ร้อยละ 23.50 และ (6) มทร.สุวรรณภูมิ รับเข้าได้ 1,011 คน ร้อยละ 20.67
คำเตือน สถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 6 สถาบัน เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูง

4.กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน 23 สถาบัน จาก 75 สถาบัน (ไม่เข้าร่วม TCAS จำนวน 52 สถาบัน) จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 44,708 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 1.423 คน มีที่นั่งเหลือ 43,285 คน คิดเป็นร้อยละ 96.82 ดังข้อมูลต่อไปนี้
4.1 จำนวนหลักสูตร 457 หลักสูตร จำนวนรับทั้งสิ้น 44,708 คน เฉลี่ย 1 หลักสูตร 98 คน
4.2.วิทยาลัยเซ็น์หลุยส์ สูงสุด มี 3 หลักสูตร รับ 250 คน รับเข้าได้ 119 คน ร้อยละ 47.60
4.3 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ต่ำสุด มี 68 หลักสูตร รับ 10,855 คน รับเข้าได้ 174 คน ร้อยละ 1.60
4.4 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มี 45 หลักสูตร รับ 5,535 คน รับเข้าได้ 74 คน ร้อยละ 1.34
4.5 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มี 23 หลักสูตร รับ 2,490 คน รับเข้าได้ 4 คน ร้อยละ 0.16
หมายเหตุ
4.5 มี 3 สถาบันที่มีนักศึกษา 1,2,3 คน ตามลำดับ ได้แก่ วิทยาลัยสันตพล วิทยาลัยดุสิตธานี และมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย
4.6 มี 5 สถาบัน ที่ไม่มีนักศึกษาสมัครเข้าศึกษา คือมีจำนวนรับ ร้อยละ 0.00 ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียใหม่ มหาวิทยาลัยการจัดการแะเทคโนโลยีอิสเทิร์น วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ และสถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย
4.7 .กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน 23 สถาบัน มีสถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน ทั้ง 23 สถาบัน
คำเตือน สถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 23 สถาบัน เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูงมาก

5.กลุ่มสถาบันสมทบ 4 สถาบัน จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 7,727 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 2,900 คน มีที่นั่งเหลือ 4,827 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 ดังข้อมูลต่อไปนี้
5.1 จำนวนหลักสูตร 122 หลักสูตร จำนวนรับทั้งสิ้น 7,727 คน เฉลี่ย 1 หลักสูตร 64 คน
5.1 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย สูงสุด มี 54 หลักสูตร รับ 2,947 คน รับเข้าได้ 2,670 คน ร้อยละ 90.60
5.2 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ต่ำสุด มี 66 หลักสูตร รับ 4,470 คน รับเข้าได้ 28 คน ร้อยละ 0.63
สรุป กลุ่มสถาบันสมทบ 4 สถาบัน มีสถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 2 สถาบัน ได้แก่ (1) วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า รับเข้าได้ 6 คน ร้อยละ 6.00 (2) มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ รับเข้าได้ 28 คน ร้อยละ 0.63
คำเตือน สถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 2 สถาบัน เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูง

###สรุป กลุ่มสถาบันที่เข้าร่วมระบบ TCAS จำนวน 82 สถาบัน มีจำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 313,804 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 204,188 คน มีที่นั่งคงเหลือ 109,616 คน คิดเป็นร้อยละ 34.93

6.สถาบันอื่นในสังกัด อว. ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง และวิทยาเขต และสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาเขตในสังกัดกระทรวงอื่นๆ 103 สถาบัน (ไม่มีข้อมูล เนื่องจากเป็นการรับตรงของแต่ละสถาบัน)

จากข้อมูลจำนวนนิสิตนักศึกษาข้างต้นจะเห็นว่า

1.กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม(ทปอ.) จำนวน 29 สถาบัน ที่เข้าร่วม ระบบ TCAS ทุกสถาบัน
1.1 มีสถาบันที่รับได้เกินจำนวนรับตามแผน มคอ.2 เกิน 100% มีจำนวน 6 สถาบัน ได้แก่ (1)มหาวิทยาลัยนเรศวร (117.94%) (2)มหาวิทยาลัยทักษิณ (117.55%) (3)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (116.78%) (4)มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (114.65%) (5)มหาวิทยาลัยบูรพา (110.43%) (6)มหาวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (109.05%) มหาวิทยาลัยลำดับที่ (1)-(5)เป็นมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดทั้งสิ้น สะท้อนถึงผู้เรียนที่นิยมเรียนในสถาบันตามภูมิลำเนามากขึ้น
2. กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม(ทปอ.) จำนวน 2 มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำจาก World Ranking ได้แก่ (1)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (80.44%) และ (2)มหาวิทยาลัยมหิดล (58.98%) นับนิสิตนักศึกษาได้ไม่เต็มจำนวนรับตาม มคอ.2 สะท้อนถึงคุณภาพของนักเรียนที่สมัครเข้ารับการคัดเลือก
3.กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ 16 สถาบัน จาก 38 สถาบัน (ไม่เข้าร่วม TCAS จำนวน 22 สถาบัน)
มีที่นั่งเหลือ 19,539 คน คิดเป็นร้อยละ 33.81. สะท้อนถึงความนิยมเรียนในสถาบันในท้องถิ่นลดลง และสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา
ข้อสังเกต มหาวิทยาลัยราชภัฎที่รับตรง โดยไม่เข้าร่วมรับระบบ TCAS ก็น่าจะอนุมานได้ว่า มีจำนวนผู้เข้าเรียนไม่แตกต่างกันกับสถาบันที่เข้าระบบ TCAS หากคิดเป็นค่าร้อยละตามสัดส่วน สถาบันที่รับได้เกินร้อยละ 50 จำนวน 12 สถาบัน (75%) และต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน 4 สถาบัน (25%) มหาวิทยาลัยราชภัฎที่รับตรงอีก 22 สถาบัน มีความน่าจะเป็นคือรับได้เกินร้อยละ 50 จำนวน 16 สถาบัน (72.73%) และต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน 6 สถาบัน (27.27%) รวมเป็นสัดส่วน 28:10 สถาบัน
4. กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล 9 สถาบัน (เข้าร่วม TCAS ทุกสถาบัน) มีจำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 34,588 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 15,806 คน มีที่นั่งเหลือ 18,782 คน คิดเป็นร้อยละ 54.30 สะท้อนถึงความนิยมการเรียนวิชาชีพทางและด้านสังคมศาสตร์ลดลงตามลำดับ
5.กลุ่มสถาบันสมทบ 4 สถาบัน จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 7,727 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 2,900 คน มีที่นั่งเหลือ 4,827 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 มีสถาบันที่ทีจำนวนรับต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน 2 สถาบัน สะท้อนถึงทั้งด้านคุณภาพและปริมาณในการผลิตแพทย์ ในขณะเดียวกันก็น่าเป็นห่วงด้านการพัฒนาสัขภาพโดยรวมที่ไม่มีผู้สนใจเรียนในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติเท่าที่ควร
6.กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน 23 สถาบัน จาก 75 สถาบัน (ไม่เข้าร่วม TCAS จำนวน 52 สถาบัน) จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 44,708 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 1.423 คน มีที่นั่งเหลือ 43,285 คน คิดเป็นร้อยละ 96.82 แม้ว่าสถาบันเอกชนอีกจำนวน 52 สถาบัน จะใช้ระบบรับตรง โดยไม่เข้าระบบ TCAS แต่จากสถานการณ์ด้านประชากรที่ลดลงและสภาพเศรษฐกิจจากพิษ KOVID-19 น่าจะอนุมานได้ว่า จำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนในสถาบันเอกชนน่าจะไม่แตกต่างกับการรับระบบ TCAS ของทั้ง 23 สถาบัน นั่นคือกลุ่มมหาวิทยาลััยเอกชนทั้ง 75 สถาบัน

###สึนามิอุดมศึกษาไทย:ใครรอด?ใครร่วง?
1.กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐจากการวิเคราะห์ภาพรวม ได้แก่ (1)กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม(ทปอ.) จำนวน 3 สถาบัน (2) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ จำนวน 10 สถาบัน และ (3) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล จำนวน 6 สถาบัน (4) กลุ่มสถาบันสมทบ 2 สถาบัน รวมทั้งสิ้น 21 สถาบัน เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีความเสี่ยงสูงมาก (จากจำนวน 80 สถาบัน)
2.กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน 75 สถาบัน ทุกสถาบันมีความเสี่ยงสูงมากทั้งสิ้น เนื่องจากไม่มีสถาบันใดมีจำนวนรับที่นักศึกษายืนยันสิทธิ์ถึง ร้อยละ 50 นอกจากนั้นหากอนุมานามสัดส่วนมหาวิทยาลัยที่น่าจะมีผู้เรีนน้อยต่ำกว่า 5 คนถึง 0 คน น่าจะมีจำนวนถึง 25 สถาบัน (จากจำนวน 75 สถาบัน)

#####อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยเอกชนเป็นธุรกิจประเภท “ธุรกิจการศึกษา (Business Education)ในเมื่อไม่มีสถาบันเอกชนใดรับนักศึกษาได้เกินกว่าร้อยละ50 จึงมีความน่าจะเป็นเป็นอย่างยิ่งว่า ภายใน 5 ปี ไม่เกิน 10 ปี คือ ภายใน พ.ศ.2573 คำว่า”มหาวิทยาลัยเอกชน”อาจจะเป็นเพียงสิ่งที่เล่าขานกันในประวัติอุดมศึกษาไทย เท่านั้น

“รออ่านตอนต่อไปอีกนานหน่อยครับ กับ สึนามิมหาวิทยาลัยของรัฐ”

##หลุมดำมหาวิทยาลัยของรัฐ?
“กระทรวงอุดมฯเป็นเป็ดง่อย
ผู้บริหารคอยครบวาระ
นักศึกษาสถานะตกงาน
อาจารย์ถูกลอยแพ”