Font Size

แนะวิธีสังเกตอาการ ‘หัวใจวาย’ เช็คความพร้อมก่อนออก ‘วิ่งมาราธอน'

 
ถอดบทเรียนกรณีรองอธิบดีกรมควบคุมโรคเสียชีวิตหัวใจวายกระทันหันขณะเข้าร่วมกิจกรรมวิ่ง และความรู้เกี่ยวกับข้อควรระวัง สำหรับนักวิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย

กรณีการเสียชีวิตของ นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิน รองอธิบดี กรมควบคุมโรค ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมวิ่ง ถิ่นวีรชน. มินิฮาล์ฟ มาราธอน ณ อุทยานวีรชนค่ายบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และหมดสติระหว่างวิ่ง แพทย์ได้ทำการปฐมพยาบาล ณ ที่เกิดเหตุและนำส่งถึงโรงพยาบาล และเสียชีวิต ด้วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เมื่อเวลา7.15น. วันที่ 29 พ.ย.63


ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุนักวิ่งเสียชีวิตระหว่างการวิ่งมาราธอนอยู่หลายเหตุการณ์ เช่น เมื่อเดือน ส.ค.62 ก็มีนักวิ่ง 2 ราย เสียชีวิตในการจัดการแข่งขัน "วังขนาย มาราธอน ครั้งที่ 9" ที่วัดวังขนายทายิการาม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

โดยจากเคสดังกล่าว เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อควรระวัง สำหรับนักวิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย ดังนี้

160662514421

สำหรับกรณี “การวิ่งออกกำลังกายบนท้องถนนทั่วไป” ที่ไม่ใช่งานวิ่งตามเทศกาลที่เขาจัดขึ้นตามงานต่างๆ โดยทางด้านสภาพแวดล้อมในการวิ่งผู้วิ่งควรจะต้องประเมินความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมเป็นอันดับแรกโดยไม่ควรใส่หูฟังเพื่อฟังเพลงในขณะวิ่ง เพราะจะทำให้เราไม่ได้ยินเสียงจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเราที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นเสียแตรรถยนต์ เสียงรถที่อาจจะทำให้เราเกิดอุบัติเหตุ

และหากวิ่งตอนกลางคืนผู้วิ่งควรใส่เสื้อสะท้อนแสงหรือเสื้อสีสว่างที่จะทำให้รถยนต์หรือคนอื่นๆเห็นผู้วิ่งได้ชัดเจน และที่สำคัญคือควรพกบัตรประจำตัวประชาชนและบัตรผู้ป่วยที่บอกโรคประจำตัวของเราอย่างชัดเจนพร้อมทั้งพกโทรศัพท์และเบอร์คนที่ผู้พบเห็นสามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็วหากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับเราได้

ส่วนในกรณีของ “การวิ่งมาราธอน” หรือการวิ่งระยะยาวในสนามต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีประชาชนจำนวนมากหันมาออกกำลังกายด้วยการวิ่งชนิดนี้

สำหรับการวิ่งมาราธอนนั้นเป็นการวิ่งที่ผู้วิ่งต้องใช้ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือด เพราะการวิ่งในลักษณะนี้จะต้องใช้พลังงานในการวิ่งอย่างมากและต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นผู้ที่จะออกกำลังกายด้วยการวิ่งมาราธอนนั้นจะต้องมีการเตรียมตัวให้ดีโดยต้องประเมินสุขภาพของตนเองก่อนวิ่งเป็นอันดับแรก และหากเรายังไม่แน่ใจว่าร่างกายของเราพร้อมกับการวิ่งหรือไม่เราควรพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจสุขภาพว่าเราไม่ได้เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910155?anf=