5 อันดับโรคเรื้อรังของคนไทย
สำรวจโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2552
ชาย หญิง รวม
- โรคหัวใจและหลอดเลือด 1,500,000 2,600,000 4,100,000
- โรคเบาหวานและโรคต่อมไร้ท่ออื่นๆ 700,000 1,600,000 2,300,000
- โรคเรื้อรังของระบบหายใจ 800,000 1,000,000 1,800,000
- โรคความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ 500,000 900,000 1,400,000
- โรคประจำตัวอื่นๆ 300,000 400,000 700,000
ที่น่าสังเกตคือ หญิงมีจำนวนผู้เจ็บป่วยสูงกว่าชาย แต่อายุเฉลี่ยของชายกลับน้อยกว่าหญิงซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่า หญิงเอาใจใส่ต่อสุขภาพมากกว่าชาย
ชื่อยา |
การใช้ |
ราคาปี 2556 |
ราคาปี 2557 |
%เพิ่มขึ้น |
||
US$ |
บาท(ประมาณ) |
US$ |
บาท(ประมาณ) |
|||
Doxycycline Hyclate Albuterol Sulfate Glycopyrrolate
Digoxin
Divalproex Sodium ER Pravastatin Sodium |
ยาปฏิชีวนะทั่วไป
รักษาโรคหอบหืด
รักษาอาการหัวใจเต้นผิดปกติขณะผ่าตัด
รักษาอาการหัวใจล้มเหลว
รักษาอาการ ไมเกรน ยาลดโคเลสเตอรอล |
4 เซนต์
11 เซนต์
6.50
11 เซนต์
39 เซนต์
5 เซนต์ |
1.44
3.96
234
3.96
14.0
1.8 |
3.70
4.34
127.7
1.1
2.93
39 เซนต์ |
133
156
4,597
40
105
14 |
8,281
4,014
2,728
884
736
573 |
Aspirin และ Heart attacks
มีรายงานทางการแพทย์ว่ายาแอสไพรินที่ใช้แก้ไข้ แก้ปวดสามารถยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือดตั้งแต่ประมาณ 60 ปีที่แล้วมา ขณะเดียวกันก็ค้นพบว่าการกินยาแอสไพรินไม่ถูกวิธีอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้เกิดแผลและมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร แพทย์จึงงดการสั่งยาแอสไพริน แต่ไปใช้ยาอื่นทดแทน แต่จากประสิทธิภาพของยาแอสไพรินที่ยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เมื่อ 20 ปีที่แล้วแพทย์เริ่มนำยาแอสไพรินขนาดต่ำๆ มาใช้เพื่อลดความเสี่ยงของอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart attacks) ขนาดและเวลากินยาแอสไพรินที่เหมาะสมคือ 100 มิลลิกรัมก่อนนอน ในทางกลับกัน การกินยาแอสไพรินขนาดต่ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายได้เนื่องจากเลือดมีการไหลมากกว่าปกติ
Autism
ออร์ติสติกส์ เป็นอาการผิดปรกติของระบบประสาท ปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด ไม่มีหลักฐานว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม แต่มีการพบว่าเด็กที่มีอาการ ออร์ติสติกส์ มียีนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิด mutation (autism risk genes) ซึ่งนำไปสู่อาการออร์ติสติกส์ได้มากกว่าเด็กปกติ จากการศึกษาพบว่า เด็กชายมีโอกาส ที่จะเป็น ออร์ติสติกส์ สูงกว่าเด็กหญิง ประมาณ 4 เท่า ปัจจุบันยังคงเป็นการยากที่แพทย์จะวินิจฉัยได้ก่อนเด็กอายุ 18 เดือน แต่เมื่อเร็วๆนี้ มีการพบว่าเด็กที่มีอาการ ออร์ติสติกส์ จะปล่อยสารบางอย่างออกมาในปัสสาวะ ที่อาจนำมาพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยอาการระยะเริ่มแรกได้ในอนาคต
Band-Aid
พลาสเตอร์ปิดแผล หรือ Band-Aid ถูกประดิษฐ์ขึ้น ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2463 จากความคิดสร้างสรรค์ของลูกจ้างของบริษัท Johnson & Johnson คนหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยตัดแผ่นผ้ากอสเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ วางลงบนแผ่นเทปกาว แล้วปิดด้วยกระดาษใสเพื่อให้ภรรยาซึ่งมักจะเป็นแผลเล็กๆน้อยๆบ่อยๆ สามารถนำแผ่นใสออกแล้วนำเอาเทปกาวที่มีผ้ากอสเล็กๆติดอยู่มาปิดแผลได้ด้วยตัวเอง ต่อมาบริษัท Johnson & Johnson ได้นำมาผลิตขาย ปัจจุบันแผ่น Band-Aid ที่พัฒนาแล้วนี้ขายได้ปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ลูกจ้างบริษัทคนนี้เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.2504 ในตำแหน่ง กรรมการบริหาร บริษัท Johnson & Johnson จำกัด