19 มี.ค.64 - นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กรายงานสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก 19 มีนาคม 2564 มีเนื้อหาดังนี้

ทะลุ 122 ล้านไปแล้ว ในขณะที่ตุรกีกำลังเจอระลอกสามที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเกินสองหมื่นคนต่อวัน สูงสุดในปีนี้ คาดว่าเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 632,764 คน รวมแล้วตอนนี้ 122,302,490 คน ตายเพิ่มอีก 12,902 คน ยอดตายรวม 2,700,929 คน
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 64,441 คน รวม 30,347,354 คน ตายเพิ่มอีก 1,667 คน ยอดตายรวม 551,959 คน
บราซิล ติดเพิ่ม 171,219 คน รวม 11,780,820 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 39,999 คน รวม 11,513,945 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 9,803 คน รวม 4,428,239 คน
สหราชอาณาจักร ติดเพิ่มอีก 6,303 คน รวม 4,280,882 คน  
อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน ตุรกี และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่นต่อวัน

แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงบังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น

แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็ยังมีติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่หลักร้อยถึงพันกว่า
ในขณะที่แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักพัน

เกาหลีใต้ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนเมียนมาร์ สิงคโปร์ ไทย ฮ่องกง กัมพูชา และออสเตรเลีย ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่จีน และเวียดนาม ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ

...อัพเดตเรื่องการทบทวนความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ชนิดหนึ่ง ของ European Medicines Agency (EMA)
ทาง EMA เพิ่งถ่ายทอดสดการแถลงผลสรุปทบทวนเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนเมื่อคืนนี้ มีสาระสำคัญดังนี้

หนึ่ง โดยรวมแล้ววัคซีนนี้ยังถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้ผลและมีความปลอดภัย โดยชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

สอง จากการทบทวน พบว่ามีการฉีดวัคซีนนี้ในยุโรปไป 20 ล้านคน โดยมีภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจาย (Disseminated intravascular coagulation: DIC) จำนวน 7 คน และมีภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน (Cerebral venous sinus thrombosis) จำนวน 18 คน

สาม ทั้งนี้ภาวะ DIC และ venous sinus thrombosis นั้น มีความเชื่อมโยงกับการใช้วัคซีน แม้จะไม่สามารถฟันธงว่าวัคซีนเป็นสาเหตุโดยตรงก็ตาม แต่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้น (possible risk) และจำเป็นต้องมีการติดตามและศึกษาวิจัยอย่างถี่ถ้วนต่อไป

สี่ แนะนำให้ระบุความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวข้างต้นในเอกสารกำกับการใช้วัคซีน และจำเป็นต้องให้ข้อมูลนี้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนที่จะมารับวัคซีน เพื่อเป็นมาตรการเตือน ให้ได้รับทราบความเสี่ยง ซึ่งถือเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ (possible adverse effect) หากจะตัดสินใจรับวัคซีนนี้

ดังนั้นจึงเป็นบทเรียนที่ดี โดยเราสามารถเรียนรู้ได้ว่า กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นมีกระบวนการมาตรฐานในการพิจารณาติดตามและทบทวนเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนที่นำมาใช้ในประเทศอย่างเข้มข้น และให้ความสำคัญมากกับสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน ไม่กระทำการแบบเร่งด่วนที่จะรีบใช้รีบสรุป ตราบใดที่ยังไม่แน่ใจในข้อมูลวิชาการที่ถี่ถ้วนจริง

การตัดสินใจรับหรือไม่รับวัคซีนใดๆ เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนทุกคน เราจำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง รู้รายละเอียดต่างๆ ของวัคซีนว่ามีสรรพคุณอย่างไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง ก่อนตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับ
ประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนมุ่งหน้าจัดซื้อจัดหา หรือเปิดทางให้มีวัคซีนที่หลากหลายมาใช้ในประเทศของตน โดยเน้นการหาวัคซีนที่มีสรรพคุณสูง และปลอดภัย เพราะเป็นการพิสูจน์ถึงความจริงใจ ความมุ่งมั่น และความสามารถในการจัดการกับปัญหาโรคระบาดอย่างแท้จริง

สรรพคุณของวัคซีนควรสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ป้องกันการเจ็บป่วยได้ ลดความรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตได้ และสามารถป้องกันกับไวรัสที่กลายพันธุ์ได้ โดยมีข้อมูลความปลอดภัยในการใช้อย่างชัดเจน
สถานการณ์ในไทยเรายังคงมีการระบาดกระจายไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ปลอดภัย ขอให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด

หากทางเลือกในการป้องกันยังมีจำกัด และไม่แน่ใจในทางเลือกที่มีเหล่านั้น หนทางที่จะป้องกันโรคได้ดีที่สุดคือ การป้องกันตัวเองด้วยการใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างคนอื่นหนึ่งเมตร ลดละเลี่ยงการตะลอนท่องเที่ยวพบปะสังสรรค์ เลี่ยงที่แออัดและที่อโคจร นอกจากนี้คือการร่วมกันเรียกร้องให้เกิดช่องทางนำเข้าวัคซีนป้องกันอื่นๆ เข้ามาเป็นทางเลือกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นรูปธรรม

ด้วยรักและปรารถนาดี

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/96548

 

อ่านแล้วสบายใจ
เป็นโควิดก็ตาย
ไม่เป็นโควิดก็ตาย
ฉีดวัคซีนกันก็ตาย
ไม่ฉีดวัคซีนก็ตาย

จนก็ตาย

รวยก็ตาย

สวยก็ตาย

หล่อก็ตาย

ขี้เหร่ก็ตาย

ป่วยก็ตาย

สุขภาพดีก็ตาย

ไม่มีใครไม่ตาย

อย่าไปคิดเยอะกับชีวิต ว่าจะต้องได้อะไร ว่าจะเป็นแบบไหน ว่าจะต้องเป็นเหมือนใคร
อะไรคว้ามาได้
"ก็ยินดี"
อะไรสุดมือสอย
"ก็ปล่อยไป"

เราเป็นเพียงแขกมาเยือนบนโลกนี้ สักวันเราก็ต้องไป

อยู่กับปัจจุบันให้ได้ ทำทุกวินาทีให้มีความหมาย เพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว

อยู่เป็นกำลังใจให้กัน🌺 แล้วเราจะจากกันอย่างมีความสุข

...หิว ก็ กิน
...อิ่ม ก็ พอ
...ท้อ ก็ พัก
...หนัก ก็ วาง
...ง่วง ก็ นอน

อย่าจริงจังกับชีวิตนัก เดี๋ยวมันก็ผ่านไป แบ่งปันความสุขกัน ให้อภัยกันมากๆ แล้วเราจะจากไปอย่างสง่างาม (บ๊ายบาย)

'RSV' เกิดจากอะไร? เด็กเล็กเสี่ยงเป็นง่าย เช็ค 5 อาการต้องรู้!

 

โรคระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส "RSV" เกิดขึ้นกับเด็กๆ ได้บ่อยในช่วงปลายฝนต้นหนาว หากเกิดกับเด็กเล็กมักจะมีอาการรุนแรง ถ้าพ่อแม่ไม่ทันสังเกตจนลูกป่วยหนัก และรักษาไม่ทันอาจถึงขั้นเสียชีวิต!

เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนผ่านอีกครั้งในรอบปี โดยเฉพาะช่วงนี้ที่เป็นช่วงปลายฝนต้นหนาว มักจะทำให้คนเราป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ภูมิต้านทานน้อยกว่าผู้ใหญ่ ก็ยิ่งป่วยง่ายขึ้นไปอีก สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก ควรหมั่นสังเกตอาการลูกให้ดี เพราะช่วงนี้เด็กเล็กมักจะป่วยจากการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี "RSV" ซึ่งหากปล่อยไว้จนอาการรุนแรง และรักษาไม่ทันอาจอันตรายถึงชีวิตได้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนพ่อแม่ที่มีลูกเล็กไปรู้จักกับไวรัสตัวร้าย RSV และ "โรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก" ให้มากขึ้น ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้ลูกป่วย หรือหากป่วยเป็นโรคนี้ก็จะได้รีบพาไปรักษาได้ทันท่วงที

  • "RSV" คืออะไร เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจอย่างไร

อาจารย์แพทย์หญิงโสภิดา บุญสาธร สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เอาไว้ในบทความวิชาการ ระบุว่า RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus  คือไวรัสสุดฮิตที่ทำให้เด็กเล็กป่วยติดเชื้อชนิดนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว

โดยเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจได้ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ทำให้ร่างกายผลิตเสมหะออกมาจำนวนมาก ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้มีมานานหลาย 10 ปีแล้ว แต่ปัจจุบันเริ่มมาเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ มักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงในเด็กเล็ก

160387114661

 

 

  • "RSV" มีสาเหตุเกิดจากอะไร

จริงๆ แล้วไวรัส RSV มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป แต่หากร่างกายอ่อนแอและอยู่ในช่วงฤดูกาลเปลี่ยนผ่าน อากาศเปลี่ยนแปลง ร่างกายก็สามารถติดเชื้อไวรัสนี้ได้ง่าย การติดเชื้อไวรัส RSV นั้นเกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หากเกิดในผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่มีสุขภาพแข็งแรง อาการป่วยจะหายได้เอง

แต่ถ้าหากเกิดในเด็กเล็กๆ ที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำ อาจทำให้มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุประมาณ 3-5 ขวบ ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นเดียวกัน

เชื้อไวรัส RSV เป็นเชื้อไวรัสที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกาย มักติดต่อผ่านทางการ ไอ จาม รวมถึงการสัมผัสโดยตรงจากสารคัดหลั่ง (น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ)

  • อาการป่วย "RSV" ที่พ่อแม่ต้องรู้!

ข้อมูลจาก อาจารย์แพทย์หญิงโสภิดา ยังระบุอีกว่าเนื่องจากการติดเชื้อไวรัส RSV ระยะเริ่มต้นนั้นใช้เวลาในการฝักตัวประมาณ 3-6 วัน หลังจากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา ทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองรู้ตัวช้า ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตอาการของลูกหลานอย่างใกล้ชิด

อีกทั้งต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เพิ่มด้วย เช่น อยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ลูกป่วยด้วยอาการมีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล เจ็บคอ มีเสมหะจำนวนมาก หายใจเหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด หรือเสียงครืดคราด 

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมจาก นายแพทย์พรเทพ สวนดอก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ ระบุถึงอาการที่พึงระวังของโรคนี้ว่า หากเด็กมีอาการไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส ไอจนอาเจียน หายใจเร็วหอบจนชายโครงหรืออกบุ๋ม หายใจออกลำบากหรือหายใจมีเสียงวี้ด (Wheezing) กินข้าวหรือนมได้น้อย ซึมลง ปากซีดเขียว นั่นแสดงว่าอาการหนัก ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการหนักมีโอกาสว่าระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้สูง

160387115278

  • โรคติดเชื้อ "RSV" อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต?

ปัจจุบันเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV โดยตรงนั้นน้อยมาก เพราะไวรัส RSV ไม่ใช่เชื้อโรคที่ร้ายแรง แต่สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มักมาจากการเกิด "ภาวะแทรกซ้อน"

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กมากๆ หรือเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด เด็กที่คลอดก่อนกำหนด และมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจจะเกิดภาวะรุนแรงถึงขั้นการหายใจล้มเหลว ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเสียชีวิตในเวลาต่อมาได้ 

  • การรักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV 

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV โดยตรง แต่ใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ไอละลายเสมหะ ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมาก ต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลมผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอด และดูดเสมหะออก จะช่วยลดความรุนแรงของอาการไอและอาการหายใจหอบเหนื่อยได้

โรคติดเชื้อไวรัส RSV ใช้เวลาในการฟื้นไข้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ไวรัสชนิดนี้ทำให้เกิดอาการได้ตั้งแต่ไข้หวัดธรรมดา รวมถึงอาการรุนแรงเป็นปอดบวมซึ่งมีความอันตรายสูงกับเด็กเล็ก เชื้อไวรัสนี้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากร่างกายอ่อนแอ

160387115131

 

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส RSV

พ่อแม่ต้องหมั่นรักษาความสะอาดให้ลูก เช่น หมั่นล้างมือตัวเองและลูกน้อยบ่อยๆ เพราะการล้างมือสามารถลดเชื้อที่ติดมากับมือทุกชนิดได้ถึงร้อยละ 70 ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะครบ 5 หมู่ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายในอากาศที่ถ่ายเท ไม่อยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา เป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่ลูกมีอาการป่วย ควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติ ไม่ไปอยู่ในสถานที่แออัด ควรดูแลทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวและแยกไว้ต่างหากเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ และหากลูกเข้าเรียนอนุบาลแล้ว เมื่อลูกป่วยก็ควรให้ลูกหยุดเรียนจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อสู่เด็กคนอื่นๆ 

-------------------

อ้างอิง:  

rama.mahidol.ac.th

chulalongkornhospital.go.th

bangkokhospital.com

 

บทความจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/904787?anf= 

 

23 มี.ค.64- นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่าขณะนี้ถึงกำหนดการให้วัคซีนเข็มที่ 2 ของวัคซีนจีน  Sinovac ส่วนวัคซีน AstraZeneca เริ่มให้มาแล้ว  1 อาทิตย์ ทางศูนย์ได้ทำการศึกษาวิจัยกับวัคซีนทั้ง  2 ตัว โดยมีการตรวจภูมิต้านทานก่อนและหลังฉีดวัคซีน โดยทำการศึกษาร่วมกับ โรงพยาบาลบ้านแพร้ว จำนวน 180 คน เป็นวัคซีน  Sinovac  และทำการศึกษาที่ศูนย์เองอีก 180 คน เป็นวัคซีน  Sinovac  และ AstraZeneca  อย่างละ 90 คน โดยดูอาการข้างเคียงอย่างละเอียด และผลของภูมิต้านทานทั้ง  antibody ต่อ nucleocapsid  (เปลือกไวรัส)  และภูมิต้านทานต่อ  Spike (หนามแหลม) 

จากการศึกษาที่ผ่านมาวัคซีนมีความปลอดภัยดีมาก อาการข้างเคียงส่วนใหญ่ พบเพียงเล็กน้อย ไม่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง หรือกล่าวว่า อาการทั่วไปเหมือนกับฉีดวัคซีนชนิดอื่น 

การตรวจภูมิต้านทานก่อนฉีดวัคซีน   มาจนถึงวันนี้ กว่า  300 คน ไม่มีใครเคยติดเชื้อมาก่อน ตรวจไม่พบภูมิต้านทาน

วันนี้มีการตรวจเลือดดูผลภูมิต้านทานของเข็มที่ 1 วัคซีน Sinovac  ก็คงจะรู้ว่าหลังจากเข็มแรก ภูมิต้านทานขึ้นเท่าไหร่ และเมื่อครบ 2 เข็มแล้วปลายเดือนหน้า ก็น่าจะรู้ผลของภูมิต้านทานในประชากรไทย ในการฉีดวัคซีนของจีน ส่วนวัคซีน  AstraZeneca  กว่าจะรู้ผลเข็ม 2 จะช้าหน่อย เพราะระยะห่างการฉีดเข็มที่ 2 ใช้เวลา  10-12 สัปดาห์ อยากเชิญชวนทุกท่าน เมื่อถึงคิวฉีดวัคซีน กรุณาไปฉีดวัคซีน

และถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะให้มีการฉีดวัคซีนในประชากรไทย ให้มากที่สุดและเร็วที่สุด เพราะขณะนี้ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า  450 ล้านโด๊ส 

วันหนึ่งฉีดมากกว่า  10 ล้านโด๊ส .

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/96980

'WHO'เตือนทั่วโลกเตรียมรับโควิดระลอกใหม่
 
องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนนานาประเทศให้เตรียมรับมือกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่กำลังเริ่มแพร่กระจายไปทั่ว และขอให้ประชาชนดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขเพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ติดและแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

 ตัวเลขล่าสุดจาก ดับเบิลยูเอชโอ บ่งชี้ว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 30% ทั่วโลกในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสถิติปัจจุบันนั้นระบุว่า มีผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสไปแล้วเกือบ 558 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตเพราะอาการป่วยโควิด-19 ถึงกว่า 6.3 ล้านคนแล้ว

 ข้อมูลจากดับเบิลยูเอชโอ ระบุว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 คือ สายพันธุ์ที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในระลอกล่าสุดในพื้นที่ทวีปยุโรปและสหรัฐ ขณะที่มีการพบไวรัสสายพันธุ์ที่แตกต่างออกไปในพื้นที่อื่น ๆ เช่น อินเดีย ด้วย

นายแพทย์เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ดับเบิลยูเอชโอ  กล่าวว่า การทดสอบการติดเชื้อโควิด-19 ลดลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงระดับความรุนแรงของการระบาดระลอกล่าสุดนี้ได้อย่างแท้จริงแต่ขณะเดียวกันก็หมายความว่ามีผู้คนจำนวนมากไม่ได้รับการรักษาที่จำเป็นเพื่อป้องกันอาการป่วยหนักหรือเสียชีวิต

ผู้อำนวยการดับเบิลยูเอชโอ ระบุด้วยว่า ขณะที่ไวรัสยังกลายพันธุ์ยังคงมีอยู่ การรับวัคซีน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการป่วยหนักและการเสียชีวิต ก็ลดลงไปพร้อม ๆ กัน และการลดลงของการสร้างภูมิคุ้มกันก็ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของวัคซีนกระตุ้นภูมิ (boosters) โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/world/1014323?anf=

 

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ