พิมพ์
Font Size
 
"ติดโควิดกินอะไรหายไว" งด อาหาร แบบ IF ลดรุนแรง เมื่อ ติดโควิด ได้จริงหรือ?
 
 

"ติดโควิดกินอะไรหายไว" หมอดื้อ กางข้อมูล งด อาหาร เป็นระยะ แบบ IF ลดรุนแรง เมื่อ ติดโควิด เมื่อเทียบกับคนกิน อาหาร ปกติได้ จริงหรือ?

"ติดโควิดกินอะไรหายไว" สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด โดยเฉพาะระลอกสายพันธุ์โอไมครอน ที่ครองการระบาดอยู่ในขณะนี้ ประกอบกับ หลังจากมีการปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นแบบผู้ป่วยนอก (Outpatient with Self Isolation : OPSI) เน้นการดูแลรักษาตัวที่บ้านด้วยตัวเอง การเลือกรับประทานอาหาร เมื่อติดโควิด จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยในการบรรเทาอาการของโรคได้

"หมอดื้อ" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ให้ข้อมูลเรื่องอาหารที่น่าสนใจ สำหรับคน ติดโควิดกินอะไรหายไว ระบุว่า การงดอาหารเป็นระยะ IF ลดความรุนแรงเมื่อติดโควิด

โดย หมอดื้อ อ้างอิงจากรายงานในวารสาร british medical journal (nutrition) ชี้ประโยชน์ของคนที่ทำ IF intermittent fasting วันละ 12-14 ชม. ช่วงเวลานั้นทานแต่น้ำ ไม่ใช่น้ำหวาน น้ำอัดลม (ระยะเวลาที่เหลือต้องไม่ทาน มโหฬาร) เมื่อติดโควิด เข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 11% เทียบกับคนกินปกติ 24% ทั้งนี้ ไม่จำกัดเชื้อชาติ การดื่มเหล้า และปัจจัยทางสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งการศึกษานี้ เป็นการศึกษาก่อนที่จะมีการใช้วัคซีน 

อาหาร IFอาหาร IF

ข้อสำคัญการงดอาหาร IF

ไม่ได้ช่วยป้องกันการติดโควิด และนี่คือประโยชน์ของการกินไม่มาก และรายงานอื่น ๆ ของการเข้าใกล้มังสวิรัติ ออกกำลัง ตากแดด ช่วยปรับการใช้พลังงานของเซลล์ให้สมดุลย์ ช่วยภูมิคุ้มกันต่อสู้กับโรคร้ายรวมกระทั่งถึงไวรัสต่าง ๆ

ต้องเสียสตางค์หรือไม่?

ต้องใช้ยาหรือไม่?

ทำง่ายเพื่อตัวเองครอบครัวและประเทศ

อาหารแบบ IF

อาหารแบบ IF

Intermittent Fasting (IF) คืออะไร

การทำ Intermittent Fasting (IF) เป็นวิธีการลดน้ำหนักอีกวิธีหนึ่ง โดยการควบคุมแคลอรี และจำกัดเวลาในการทานอาหาร โดยมีหลากหลายวิธีในการปฏิบัติ แต่วิธีที่ได้รับความนิยมก็คือ จำกัดเวลาทานอาหาร ชั่วโมง และอดอาหาร 16 ชั่วโมง ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ เราสามารถ ทานได้เวลา 6:00-14:00 โดยหลังจาก 14:00 เป็นช่วงงดอาหาร ทานได้เพียงแต่น้ำเปล่า หรือกาแฟ ชา ที่ไม่ใส่น้ำตาล (งดเว้นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในช่วงอดอาหาร เพราะจะกระตุ้นให้เกิดความหิวและอยากน้ำตาลได้)  สรุปคือ จะไม่ได้ทานอาหารมื้อหนึ่ง นั่นก็คือ มื้อเย็น 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/health/526021?adz=