พิมพ์
Font Size
 
"อาการโควิดลงปอด" เช็คก่อนสาย ลองสังเกตดี ๆ พร้อมบอกวิธีดูอาการเบื้องต้น 

สังเกตก่อนสาย "อาการโควิดลงปอด" อาการรุนแรงหลังรับเชื้อโควิด19 พร้อมบอกวิธีเช็คเบื้องต้นก่อนอาการทรุดหนักเสี่ยงเสียชีวิต

จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยที่กลับเข้าสู่ช่วงนิวไฮอีกครั้ง ขณะนี้มีผู้เสียชีวิต และมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าปัจจุบันโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเมื่อติดแล้วอาการจะไม่รุนแรง แต่ก็ยังพบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้ออาการหนักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 769 ราย  ผู้ป่วยปอดอักเสบ 1,854 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 4 เม.ย.65) โดยส่วนใหญ่พบว่า เกิดจากภาวะการติดเชื้อโควิด19ลงปอด ดังนั้น เพื่อเป็นการเช็คตัวเองเบื้องต้น วันนี้ "คมชัดลึกออนไลน์" ได้รวม "อาการโควิดลงปอด" ผลข้างเคียงจากการติดเชื้อโควิด มาให้ได้ลองเช็คอาการของตัวเองเบื้องต้น ทั้งนี้เมื่อเชื้อโควิดลงปอดไปแล้วปอดจะถูกทำลาย ไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง และทำให้เนื้อปอดไม่สามารถทำงานได้ในที่สุด เหากอาการหนักอาจจะอันตรายถึงชีวิต

 

วิธีสังเกต "อาการโควิดลงปอด" ผู้ติดเชื้อ หรือญาติสามารถสังเกต ได้ดังนี้ 

1. แน่นหน้าอก
 2. หายใจลำบาก
 3. เหนื่อย หอบ แม้ว่าจะไม่ได้ออกแรงกระทำการใดก็ตาม
 4. ไข้ขึ้นมากกว่า 37.5°C ขึ้นไป
 5. มีอาการไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ
 6. ค่าออกซิเจนในเลือดไม่ควรมีระดับต่ำกว่า 95% และควรวัดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
 7. หากมีค่าออกซิเจนในเลือดระดับต่ำกว่า 94% ให้วัดค่าออกซิเจนในเลือดทันที หลังจากการลุกนั่งในเวลา 1 นาที หรือการกลั้นหายใจ ในเวลา 10 – 15 วินาที 

วิธีเช็ค "อาการโควิดลงปอด" หรือไม่

เดินไปมา ลุกยืนหรือลุกนั่ง 3 ครั้ง หรือ กลั้นหายใจ 10 – 15 วินาที หากทำแล้วเหนื่อย และวัดออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94 ลงไป ให้สงสัยว่าเชื้อโควิดลงปอดไว้ก่อน

การรักษา "อาการโควิดลงปอด"

1. การใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งยาต้านไวรัสจะเข้าไปฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสโควิด-19 แบ่งตัวเพิ่มเติม และทำลายเซลล์ในอวัยวะต่างๆ อีกทั้งยังมีการใช้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาแก้อักเสบ เพื่อลดการอักเสบภายในร่างกาย
 

2. การใช้เครื่องช่วยหายใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก โดยเฉพาะบริเวณเนื้อปวดที่ถูกทำลาย หรือปอดมีอาการบวมน้ำ
 

3. ใช้เครื่องปอด - หัวใจเทียมแบบเคลื่อนย้าย (Extracorporeal Membrane Oxygenation) หรือ ECMO ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้ สามารถฟอกโลหิตของผู้ป่วยแล้วเติมออกซิเจนเข้าไป ก่อนที่จะคืนกลับเข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย 

ที่มา :   โรงพยาบาลเพชรเวช , โรงพยาบาลศิครินทร์  

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/510340?adz=