พิมพ์
Font Size

สำหรับคนที่ไม่ฉีด หรือรอวัคซีนอื่นอยู่ต้องเข้มงวดกับตัวเองสุดๆ (คนที่ฉีดแล้วก็เช่นกัน) อย่าให้ติด covid-19 เพราะอาจจะเป็นปัญหาสุขภาพระยะยาวได้ ด้านล่างเป็นข้อคิดเห็นหนึ่ง

Long Covid ปัญหาสุขภาพระยะยาว
โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
Published 5/10/20
Update 24/12/20
11/06/21

16 เดือนหลังจากที่ covid-19 ระบาด มีคนป่วยแล้วทั่วโลกมากกว่า 170 ล้านคน ในบรรดาคนป่วย มีจำนวน165 ล้านคนที่รอดชีวิตจาก covid-19 คนเหล่านี้ 10% ถึง 30 % ยังต้องผจญกับปัญหาทางสุขภาพในระบบต่างๆ ของร่างกาย อันเป็นผลพวงจากความเสียหายที่ covid-19 ได้ส่งผลเสียหายระยะยาวต่ออวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกาย

พบว่าคนไข้ covid-19 จำนวน 8 ใน 1000 คน จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี จากปัญหาต่างๆ รวมทั้งติดยาแก้ปวดและฆ่าตัวตาย

จากการติดตามคนไข้จำนวนมากในยุโรปและอเมริกาพบว่า มีคนป่วยส่วนหนึ่งมีอาการนานถึง 16 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น อาจเป็นปี คนป่วยเหล่านี้เรียกว่ากลุ่ม long covid

ตามปกติหลังจากป่วยเป็น covid-19 จะใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ในการฟื้นตัว

กลุ่มอาการที่พบบ่อยในพวก long covid คือ อ่อนเพลีย chronic fatigue หายใจไม่เต็มอิ่ม ความจำระยะสั้นไม่ดี brain fog

จากการศึกษาของ King ‘s College พบว่า คนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็น long covid คือคนแก่ ผู้หญิง คนที่นำ้หนักมาก คนที่มีหอบหืด asthma

คนป่วยที่มีอาการมากมีโอกาสที่จะเป็น long covid สูง แต่คนติดเชื้อที่ไม่มีอาการก็เป็น long covid ได้ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว คนที่มีอาการเมื่อป่วย covid 19 เกิน 5 อย่าง ไอ ปวดหัว ท้องเสีย สูญเสียการดมกลิ่น etc

ในอังกฤษ ที่ King's College ได้ใช้ app : Covid symtom study ศึกษาติดตามคนที่เคยติดเชื้อ covid-19 พบว่ายังมีคนไข้ที่เป็น long covid นับหลายแสนคน

ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งเชื่อว่า คนไข้ long covid ส่วนหนึ่งจะมีอาการไปตลอดชีวิตเหมือนคนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสบางอย่างเช่นใน myalgia encephalitis

แต่ในอเมริกาผู้เชี่ยวชาญจาก Mayo Clinic คือ Dr. Greg Vanichkachorn บอกว่าเรายังไม่รู้จำนวนคนไข้ที่แน่นอนว่ามีเท่าไหร่ที่หายป่วยแล้วเป็น long covid แต่อาจจะมีอยู่ 10-30% ของคนเคยติดเชื้อ covid-19

แต่เชื่อกันว่าคนอเมริกันนับแสนคนรวมทั้งคนหนุ่มสาวเป็น long covid และ Dr. Greenspan จาก ศูนย์ปอดใน New York บอกว่าคนไข้ long covid ในอเมริกาส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว

ในเยอรมนี พบว่ามีคนเป็น long covid 3.5 แสนราย ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อระบบสุขภาพ

เชื้อ covid-19 เข้าไปทำร้ายอวัยวะระบบต่างๆ ในร่างกาย และทิ้งความเสียหายไว้ ถึงแม้ตัวไวรัส covid-19 จะถูกขจัดไปแล้ว

จากผลสำรวจคนไข้ที่เป็น long covid 1,500 คนในเดือน กรกฎาคม 2020 ส่วนหนึ่งจะปรากฏความเสียหายในปอดและหัวใจให้เห็นในการตรวจ แต่คนไข้อีกส่วนหนึ่งถึงแม้จะมีอาการมากแต่ตรวจเลือดหรือตรวจวิเคราะห์ต่างจะไม่พบสิ่งผิดปกติถึงแม้จะมีอาการมาก และพบว่ามีอาการต่างๆ ถึง 100 ชนิด

การศึกษาทำ MRI ของคนไข้หนุ่มสาวในอังกฤษ 4 เดือนหลังจากป่วยเป็น covid-19 พบว่ามีความเสียหายของอวัยวะหลายระบบ

พบว่า 25 %ของคนไข้จะมีความเสียหายมากกว่าสองระบบ ส่วนหนึ่งจะสัมพันธ์กับอาการที่เหลืออยู่

อีกการศึกษาหนึ่งในอังกฤษ โครงการ Coverscan program ศึกษาในคนที่ป่วยด้วย covid-19 จำนวน 58 คนแล้วต้องอยู่โรงพยาบาล หลัง 3 เดือนทำ MRI พบว่า 60% มีความเสียหายที่ปอด 28%เสียหายที่ไต 26%เสียหายที่หัวใจ และคนไข้ 10% มีความเสียหายที่ตับ

ระบบหายใจ
เป็นระบบที่พบบ่อยที่สุดในความเสียหายจาก long covid อาจเกิดจากความเสียหายโดยตรงต่อเนื้อปอด หรือเกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้อปอดเกิดอุดตันอันเป็นผลสืบเนื่องจากไวรัส covid-19

คนไข้ส่วนหนึ่งหลังออกจากโรงพยาบาลแล้วยังมีปัญหา หายใจไม่เต็มอิ่ม อาจมาจากเนื้อปอดถูกทำลาย ทำให้เหนื่อยง่าย บางคนต้องใช้ออกซิเจนกระป๋องตลอดเวลา ผลการศึกษาของ Mayo clinic ทำ CT scan ในกลุ่มคนที่ไม่มีอาการ ก็พบว่าเนื้อปอดมีร่องรอยการถูกทำลาย มี scar ในเนื้อปอด

การศึกษาของ Oxford ก็สนับสนุนว่ามีความเสียหายในเนื้อปอด โดย Professor Gleeson พบว่าในคนไข้ที่มีอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม หลังจากป่วยจาก covid-19 พบว่า 8 ใน 10 คนมีความเสียหายของเนื้อปอด จากการศึกษาด้วย xenon scan คนไข้เหล่านี้ตอนป่วยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ventilator การตรวจ scan ธรรมดาจะไม่พบสิ่งผิดปกติ

ระบบประสาท
คนไข้ส่วนหนึ่งหลังจากออกจากโรงพยาบาล ต้องพิการจาก stroke เป็นอัมพาตจากการที่ covid ทำให้เส้นเลือดที่ไปที่สมองอุดตัน ปกติ stroke จะเกิดในคนอายุมากเฉลี่ย 70 ปีขึ้นไป แต่ covid-19 อาจทำให้เกิด stroke ในคนอายุน้อยคือระหว่าง 40-50 ปี

ในการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Lancet ได้ทำ MRI ของสมองของคนที่ตรวจพบว่าเคยติดเชื้อ covid-19 จำนวน 60 คน พบว่าเนื้อสมองมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับคนปกติเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน ซึ่งทำให้อธิบายได้ว่าทำไมคนไข้บางคนมีความจำเสื่อม เสียสมาธิง่าย เกิด brain fog

คนไข้จำนวนหนึ่งจะสูญเสียระบบประสาทการรับรสและการดมกลิ่นอย่างถาวร

พบว่าคนไข้ส่วนหนึ่งมีอาการปวดจากปลายประสาทอักเสบเรื้อรัง burning pain

ระบบหัวใจ
ไวรัส covid-19 จะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง ทำให้การสูบฉีดโลหิตของหัวใจสูญเสียคุณภาพไป หรืออาจเกิดจากเส้นเลือดหัวใจอุดตันจาก blood clot

การศึกษาในเยอรมนี คนไข้ 78 คน จาก 100 คน มีหัวใจที่ผิดปกติ การศึกษาที่ Wuhan ศึกษาในคนไข้ 416 คนที่เคยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 20% มีกล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติ

ระบบการทำงานของไต
พบว่า covid-19 ทำให้คนไข้ส่วนหนึ่งมีไตวายเรื้อรัง ทำให้คนป่วยต้องมาล้างไตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากเนื้อไตถูกทำลายจากไวรัส หรือไวรัสทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงไต ทำให้ไตเสียหาย

ที่อังกฤษ 28% ของคนป่วยใหม่อายุระหว่าง 20-29 ปี จะอ่อนเพลียเหนื่อยง่ายกลับไปทำงานหรือออกกำลังกายไม่ได้ เป็น long covid ที่เรียกว่า chronic fatigue syndrome นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เกิดจากการแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้ร่างกายคิดว่ายังมีไวรัสอยู่ ทำให้รบกวนระบบประสาทและ hypothalamus

การศึกษาจาก Emory university พบว่า ผู้ป่วย covid-19 ส่วนหนึ่งจะสร้าง antibody ที่มีผลต่ออวัยวะผู้ป่วยเอง คือ autoantibodies ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ long covid

เมื่อเชื้อ covid-19 เข้าสู่ร่างกาย ส่วนหนึ่งของ gene ของ covid จะกระตุ้นให้ B cell สร้าง antibody แต่บางครั้งระบบแปรปรวน B cell จะสร้าง antibody ที่มาต่อต้าน gene ของคนไข้เอง

ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Emory ตรวจเลือดของคนไข้ที่เคยป่วยหนักที่ Atlanta 52 คน พบว่า 44% มี autoantibodies ภูมิคุ้มกันต่อตัวเองต่อ gene ของผู้ป่วย

ดังนั้น คนไข้ long covid อาจจัดเป็นโรคกลุ่มเดียวกันกับ SLE และโรค Rheumatoid ซึ่งเป็น autoimmune มีภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง จะไม่สามารถรักษาให้หายขาด

Dr. Greg Vanichakorn จาก Mayo Clinic เมื่อดูจากประสบการณ์ของโรค Sars ปี 2003 ซึ่งเป็น coronavirus เหมือนกัน long covid อาจใช้เวลาประมาณหนึ่งปี อาการถึงจะดีขึ้น

คำอธิบายสำหรับการเกิด long covid มี 3 ทฤษฎี

ทฤษฎืที่หนึ่ง คือระบบภูมิคุ้มกันเกิดเรรวนหลังจากการติดเชื้อ covid-19 ทำให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง autoimmunity

ทฤษฎีที่สอง หลังติดเชื้อ covid-19 แล้วยังมีเศษชิ้นส่วนของไวรัสอยู่ในร่างกายคนไข้ ทำให้มีการอักเสบเรื้อรังเกิดขึ้นอีก

ทฤษฎีที่สาม คือไวรัสยังซ่อนตัวอยู่ในร่างกาย รอจนร่างกายอ่อนแอแล้วจึงกลับมาปรากฏตัวเป็นปัญหากับร่างกายอีกครั้ง

Dr. Fedrico Cerrone จาก New Jersey รักษาคนไข้ long covid 500 ราย นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020 บางคนอาการดีขึ้น บางคนยังมีอาการทางระบบหายใจเรื้อรังอยู่

แต่ในระยะหลังเป็นที่น่าแปลกใจที่คนไข้ long covid ส่วนหนึ่งมีอาการดีขึ้น โดยเฉพาะหลังจากฉีดวัคซีน covid-19

ซึ่งมีคำอธิบายว่า วัคซีนอาจกระตุ้นให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ไปต่อสู้กับระบบภูมิคุ้มกันที่ทำร้ายคนไข้จากผลของไวรัส autoimmunity

ยังมีหลายๆ สิ่งที่เรายังไม่เข้าใจธุรกิจ เกี่ยวกับ long covid ซึ่งคงต้องติดตามศึกษาต่อเไป

โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร