พิมพ์
Font Size

น่ายินดี !! วัคซีนของบริษัท AstraZeneca หลังฉีดเข็มแรก พบภูมิคุ้มกันขึ้นถึง 98% และหลังฉีดครบสองเข็มภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมากกว่า 99%

ในขณะเดียวกันรายงานการศึกษาของไทย ก็ได้ตัวเลขใกล้เคียงกันคือ เข็มแรกมีภูมิคุ้มกันขึ้น 96.7%

หลังจากที่ทางบริษัท AstraZeneca ได้มายื่นจดทะเบียนขออนุมัติฉีดวัคซีนในประเทศไทย และได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วนั้น

วัคซีนของ AstraZeneca จำนวนนับล้านเข็ม จะทยอยออกมาฉีดให้กับคนไทยได้ในต้นเดือนมิถุนายนนี้ อย่างน้อย 6,000,000 เข็ม เดือนกรกฎาคมอีก 10,000,000 เข็ม

ข้อมูลอย่างเป็นทางการของการศึกษาวิจัยของบริษัท AstraZeneca พบว่า หลังฉีดวัคซีนไปแล้วเข็มหนึ่ง มีภูมิคุ้มกันขึ้น 98% และเมื่อฉีดเข็มสองจะมีภูมิคุ้มกันขึ้นมากกว่า 99%

ในขณะที่การเก็บข้อมูลเบื้องต้น 61 คน ของศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ ได้ตัวเลขคล้าย กัน กล่าวคือ หลังฉีดเข็มหนึ่งในคนไทยแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันขึ้น 96.7%

ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งปกติภูมิคุ้มกันจะสู้คนอายุน้อยกว่าไม่ได้

ในกรณีของวัคซีน AstraZeneca ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้วภูมิคุ้มกันขึ้น 97.8% และในเข็มที่สองขึ้นถึง 100%

นอกจากนั้นถ้าดูระดับภูมิต้านทานในกระแสเลือด หลังจากฉีดวัคซีน พบว่า หลังฉีดวัคซีนเข็มหนึ่งแล้ว 28 วัน ระดับภูมิต้านทานขึ้นสูง 8386.46 GMT

แต่ถ้าวัดหลังฉีดเข็มสองไปแล้วแปดสัปดาห์ ระดับภูมิต้านทานขึ้นสูงกว่าสามเท่าตัวเป็น 29,034.74 GMT

และถ้าทิ้งระยะเวลาห่างออกไป 9-11 สัปดาห์ ภูมิต้านทานจะขึ้นสูงถึง 34,754.10 GMT

และถ้าเลยระยะเวลา 12 สัปดาห์ ภูมิต้านทานจะขึ้นถึง 63,181.59 GMT

ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก และสนับสนุนวิธีการฉีดวัคซีนได้แก่

1) วัคซีนของบริษัท AstraZeneca สามารถฉีดในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีได้ และมีระดับการเกิดภูมิคุ้มกันไม่แตกต่างกับคนอายุน้อยกว่า

2) วัคซีนของ AstraZeneca ถ้าทิ้งช่วงเข็มสองห่างจากเข็มหนึ่งนานกว่า 4 สัปดาห์ เป็น 12 สัปดาห์ภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูงกว่าเดิมเกือบแปดเท่า

การที่ประเทศไทยมีวัคซีนของบริษัท AstraZeneca อยู่ใน
โควต้าของเราเอง 61,000,000 โดส จึงเป็นความมั่นคงทางวัคซีนเป็นอย่างมาก

เพราะวัคซีนดังกล่าวผลิตในประเทศไทยเราเอง และมีกำลังการผลิตที่สูงกว่า 61,000,000 โดสกว่าสามเท่าตัว (ซึ่งจะต้องส่งไปช่วยฉีดประเทศที่มีการแพร่ระบาดและมีฐานะยากจนในอาเซียน เช่น อินโดนีเซียเป็นต้น ตามข้อตกลงที่ทางบริษัท AstraZeneca มีกับบริษัทสยามไบโอซายน์)

ถ้าเราตกลงซื้อวัคซีนกับบริษัทอื่น ที่มีฐานการผลิตอยู่นอกประเทศ ก็จะมีความเสี่ยง ที่อาจจะได้วัคซีนช้ากว่ากำหนด หรือได้วัคซีนไม่ครบ

เพราะวัคซีนผลิตอยู่นอกประเทศเรา ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดีย เป็นฐานการผลิตใหญ่ของบริษัท AstraZeneca มีหลายประเทศที่ยากจนในโครงการ COVAX ได้รับโควต้าของวัคซีนที่จะผลิตจากอินเดียไปฉีด

แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับวัคซีนตามที่ตกลงกันไว้ เพราะอินเดียเก็บไว้ฉีดในประเทศตนเอง เนื่องจากมีการระบาดอย่างรุนแรง ภายในประเทศ
Cr:Chalermchai Boonyaleepan