พิมพ์
Font Size

 bacteria

                      ถอยหลังไปประมาณ พ.ศ.2510 เป็นต้นมาวงการแพทย์เริ่มหันมาให้ความสนใจกับโรคเรื้อรังชนิดไม่ติดเชื้อ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น เนื่องจากเชื่อว่าจะสามารถใช้ความรู้ และเทคโนโลยีที่มีอยู่ ทั้งด้วยการรักษา และการป้องกันโรคด้วยยาปฏิชีวนะ และวัคซีนในการควบคุมโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสได้ แต่ปัจจุบันเหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากในระยะ 30ปี ที่แล้วมีปรากฏการณ์ที่น่าวิตกเกิดขึ้น 2 อย่างคือ

1.   แบคทีเรียหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคปอดบวม โรคอุจจาระร่วง และวัณโรค กำลังเป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากการที่เชื้อสามารถพัฒนาสายพันธ์ที่ดื้อยาขึ้นหลากหลายชนิดมากขึ้นทำให้ประสิทธิภาพของยาที่ใช้รักษาลดลงมาก ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคปอดบวม อุจจาระร่วง และวัณโรค ปีละประมาณ 8 ล้านคน

2.   มีการพัฒนาของเชื้อไวรัสที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนหลายชนิดที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงแก่มนุษย์ เช่น โรคหวัดนก (Avian Influenza) โรคไข้สมองอักเสบจากไวรัสนิปาท์ (Nipah virus encephalitis) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (MERS-CoV) โรคเอดส์ (AIDS) โดยเฉพาะปัจจุบันโรคอีโบลา กำลังระบาดอย่างรุนแรงใน 4 ประเทศ ฝั่งตะวันตกของทวีป อาฟริกา ได้แก่ ไลบีเรีย เชียร์ราลีโอน ไนจีเรีย และกินี มีผู้ติดเชื้อกว่า 9000คน เสียชีวิตไปแล้วกว่าครึ่ง ไวรัสอีโบลา พัฒนามาจากการติดเชื้อในค้างคาว เข้ามาสู่สัตว์ใหญ่ เช่น ลิงชิมแปนซี ลิงกอริลลา กวาง และเม่น ดังนั้น เมื่อคนนำเนื้อสัตว์เหล่านี้มาปรุงเป็นอาหาร ไวรัสจึงเข้าสู่คนและพัฒนาต่อไปจนสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ และเนื่องจากไวรัสพัฒนาเร็วมากทำให้เราไม่มียา และวัคซีนที่จะใช้ในการรักษา และป้องกันโรคจึงมีการระบาดขึ้นอย่างเร็ว โรคอีโบลารุนแรงกว่าโรคเอดส์ เนื่องจากไวรัสจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง ทำให้ผู้ได้รับเชื้อมีอาการทรุดหนักภายใน 5 – 7 วัน กว่าครึ่งของผู้ติดเชื้อเสียชีวิตในเวลาสั้นโดยไม่มีทางแก้ไขได้