มะเร็งต่อมลูกหมากกับการตรวจคัดกรอง
มะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยให้ผู้ป่วย เมื่ออายุสูงขึ้นความเสี่ยงของ
การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากก็จะเพิ่มขึ้นจามลำดับโรค มะเร็งต่อมลูกหมากอาจรุนแรงจนถึงกับเสียชีวิตในผู้ป่วยบางกลุ่ม
แต่ในทางตรงกันข้ามอาจไม่มีอาการใดๆเลย จนกระทั่งพบเมื่อมีการตรวจคัดกรอง ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่าสมควรทำหรือไม่ การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากทำโดยการตรวจเลือดเพื่อหาโปรตีนที่มีชื่อว่า
Prostate-Specific Antigen หรือ PSA ซึ่งจะถูกสร้างและปล่อยออกสู่กระแสโลหิตโดยต่อมลูกหมาก ดังนั้น กรณีที่
ผลการตรวจพบว่ามีปริมาณ PSA ในกระแสโลหิตสูงกว่าปกติจึงอาจสงสัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
แต่ปัญหาก็คือการที่มีปริมาณของ PSA สูงกว่าปกติในเลือดยังมีสาเหคุมาจากเหตุอื่นด้วยโดยเฉพาะ มีการอักเสบของต่อมลูกหมาก
ดังนั้นการแปลผลการตรวจระดับ PSA จึงควรทำโดยความระมัดระวัง และควรมีการตรวจซ้ำเมื่อพบว่ามีความผิดปกติของระดับ PSA เกิดขึ้น