รอยเตอร์ระบุว่า สยามไบโอไซเอนซ์มีผลกำไรเพิ่มขึ้นราว 4,650% สู่ระดับ 1,698,763,604.65 บาท ในปี 2021 ขณะที่รายได้เพิ่มขึ้น 1,500% สู่ระดับ 4,900 ล้านบาท ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่บริษัทได้ทำสัญญารับผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 200 ล้านโดส ให้แอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาและชีวเภสัชภัณฑ์สัญชาติอังกฤษ-สวีเดน

ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้าทำสัญญาว่าจ้างให้สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตวัคซีนโควิด-19 เพื่อส่งมอบให้กระทรวงสาธารณสุขของไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สยามไบโอไซเอนซ์ เป็นบริษัทผลิตยาชีววัตถุสัญชาติไทยที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของคนไทย โดยข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ปี 2552 ด้วยทุนจดทะเบียน 4,800 ล้านบาท ระบุประเภทของธุรกิจว่าเป็นการวิจัยและพัฒนาเชิงทดลองด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และจดวัตถุประสงค์ว่าประกอบกิจการรับจ้าง ทำการวิจัย วิเคราะห์ ตรวจสอบทดสอบ และพัฒนายารักษาและป้องกันสำหรับคนหรือสัตว์ สารเคมีที่ใช้ในทางเภสัชกรรม ยาชีวภาพ โปรตีนเพื่อการบำบัด เครื่องมือแพทย์ รวมถึงนำเข้า-ส่งออก

บริษัทแห่งนี้ได้รับเงินอุดหนุน 600 ล้านบาทจากรัฐบาลไทย และดำเนินการผลิตวัคซีนโดยยึดนโยบาย “ไม่กำไร ไม่ขาดทุน” (no profit, no loss) ซึ่งหมายความว่าวัคซีนที่ผลิตจะถูกจำหน่ายในราคาเท่าทุน

ที่มา : รอยเตอร์, MGROnline
 
 

28 ส.ค. 2565 – นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุถึงโรคไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu) ว่า ดังที่เป็นข่าวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการกล่าวถึงไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu) เกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย เมือง Kerala ในเด็กต่ำกว่า 5 ปี ร่วมร้อยคน และยังมีการพบเพิ่มเติมที่เมือง Tamil Nadu และ Odishaการตั้งชื่อไข้หวัดมะเขือเทศ เพราะเด็กที่ป่วยจะมีลักษณะ ผื่นแดง เป็นตุ่มน้ำ คล้ายมะเขือเทศ ลักษณะอาการ จะมีอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และต่อมามีผื่นขึ้น ผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแดง และเป็นตุ่มน้ำ

โรคไม่รุนแรงและหายได้เอง ไม่มีผู้ใดเสียชีวิต

จากการสันนิษฐานลักษณะอาการคล้าย ไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) ไข้เลือดออก มือเท้าปาก

ที่จริงแล้วการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุไวรัสในปัจจุบัน ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดียน่าจะรู้แล้วว่าเกิดจากไวรัสตัวไหน แต่ปัจจุบันยังไม่มีประกาศออกมาเป็นทางการ

 
 

จากที่ผมได้ติดตาม และดูลักษณะผื่นที่ขึ้นจากรูปถ่าย ที่รายงานตามหนังสือพิมพ์ของอินเดีย แทบจะบอกได้เลยว่า ลักษณะนี้คือผื่นที่ขึ้นเหมือนกับ โรคมือเท้าปาก ที่พบในบ้านเรา โดยเชื้อหลักของลักษณะผื่นแบบนี้ คือ Coxsackie A6 ลักษณะผื่นๆที่ขึ้นที่มือ ที่เท้า ที่ข้อศอก ข้อเข่า รอบก้น และถ้าเป็นมาก ก็จะดูค่อนข้างรุนแรง ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของเชื้อไวรัส CA6 ที่เราได้ติดตามมาตั้งแต่ปี 2012 เคยระบาดในบ้านเรา และในปีนี้ ในบ้านเราก็ระบาดด้วยสายพันธุ์ CA6 และมีลักษณะผื่นค่อนข้างรุนแรง ดังแสดงในรูป เป็นโรคมือเท้าปากที่พิสูจน์แล้วว่าเป็น จากเชื้อไวรัส CA6 ส่วนมากเป็นในเด็ก แต่ก็เคยพบในผู้ใหญ่

รูปที่แสดง เป็น โรคมือเท้าปาก เชื้อ CA6

ส่วนไข้ปวดข้อยุงลาย เท่าที่ติดตามอยู่ขณะนี้ ในเด็กเล็กจะมีอาการปวดข้อน้อยมาก ไม่เหมือนผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ

เราคงต้องติดตามว่าไวรัสที่เกิดในอินเดียเกิดจากตัวไหน จากการคาดการณ์ของผมเชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส Coxsackie ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมือเท้าปาก และไม่รุนแรง ไม่เหมือนเชื้อ enterovirus A 71 ที่อาจทำให้เกิดสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/general-news/209354/

 

 
"ไข้เลือดออก" "ป่วยพุ่ง" รัฐบาลแนะประชาชน"ป้องกันตัวเอง"
 
 

กรมควบคุมโรคชี้ยอดป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศยังสูงแนวโน้ม รัฐบาลเตือนประชาชนป้องกันตนเองและคนในครอบครัวพบระบาดในผู้ใหญ่มากขึ้น ขณะสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติแนะเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้ยังอยู่ในช่วง ฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูกาลที่มีโรคหลายชนิดที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะโรค ไข้เลือดออก ที่ล่าสุด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานพบผู้ป่วยทั่วประเทศเพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 10 ส.ค. 2565 พบ ผู้ป่วยไข้เลือด ออกจำนวน 16,276 ราย เสียชีวิตแล้ว 14 ราย โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป สอดคล้องกับแนวโน้มที่ผู้ป่วยเป็นกลุ่มผู้ใหญ่มากขึ้น

ดังนี้ จึงขอให้ประชาชนสังเกตอาการของบุตรหลาน คนในครอบครัว หากมี ลักษณะอาการ ไข้สูงเฉียบพลัน และสูงลอยร่วมกับ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีจุดแดงเล็กๆ ขึ้นตามลำตัว แขน ขา คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และเบื่ออาหาร โดยหากอาการไข้สูงเกิน 2 วัน เช็ดตัวหรือทานยาแล้วไข้ไม่ลดลงให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา ลดโอกาสการเสียชีวิต

นอกจากนี้ ควรกำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รอบบ้าน โรงเรียน และชุมชน เช่นใช้ทรายกำจัดลูกน้ำบริเวณน้ำขัง หรือทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง ปิดฝาถังขยะให้มิดชิด ทิ้งขยะประเภทภาชนะใส่อาหารลงในถังขยะที่มีฝาปิด เพื่อไม่เป็นการเพิ่มแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ทางด้าน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ก็ได้มีคำเตือนขอให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมถึงครูผู้ดูแลเด็กเล็กในโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก เพิ่มความระมัดระวังการเกิดโรคมือ เท้า ปาก เนื่องจากโรคนี้แม้จะเกิดขึ้นตลอดปีแต่จะเพิ่มขึ้นมากในช่วงฤดูฝน

โดยต้องเฝ้าระวังเด็กเล็กโดยเฉพาะกลุ่มต่ำกว่า 5 ขวบ ทั้งในเรื่องของของความสะอาด การคัดกรอง และสังเกตอาการ ซึ่งผู้ป่วยจะมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บปาก กลืนน้ำลายลำบากเนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม มีตุ่มพองใสแดงที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า โดยส่วนใหญ่อาการในเด็กมักไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่ก็ต้องมีการดูแลใกล้ชิด โดยเฉพาะหากเป็นกรณีไข้สูง ไม่ยอมทานอาหารหรือดื่มน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก ต้องรีบพบแพทย์ เพราะอาจเกิดภาวะสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันโควิด19 สามารถป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การ สวมหน้ากากอนามัย ทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน การล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือภายหลังการขับถ่าย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม  หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เป็นต้น

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/society/527789?adz=

 

 
"ลองโควิด" หมอธีระ เผยผลวิจัยคนเลือดกรุ๊ปโอเจอปัญหา Long COVID สูงมาก
 
 

ภาวะ "ลองโควิด" หมอธีระ เผย ผลวิจัยพบว่าเลือดแต่ละกรุ๊ปเจอปัญหา Long COVID ต่างกัน คนเลือดกรุ๊ปโอ มีโอกาสเป็นมากกว่าคนอื่น เพราะสาเหตุนี้

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ "หมอธีระ" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงประเด็นสถานการณ์ "โควิด" และ การเกิดภาวะ "ลองโควิด" หรืออาการคงค้างภายหลังจากที่มีการ ติดโควิด มาแล้ว โดยระบุ ว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 503,050 คน ตายเพิ่ม 1,053 คน รวมแล้วติดไป 605,292,816 คน เสียชีวิตรวม 6,486,500 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย ไต้หวัน และอิตาลี เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลกจำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.07 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 80.05

สถานการณ์ระบาดของ "โควิด" ในประเทศไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 6 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

 

ภาวะ "ลองโควิด" หรือ Long COVID กับกรุ๊ปเลือด

รศ.นพ. ธีระ ระบุต่อว่า Diaz-Salazar S และคณะจากประเทศสเปน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์โรคติดเชื้อ Infectious Diseases เมื่อวานนี้ 27 สิงหาคม 2565เป็นการศึกษาแบบ case-control study ในกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19  จำนวน 121 คน โดยมี 36 คนที่มีปัญหา "ลองโควิด" และอีก 85 คนที่ไม่มีปัญหา"ลองโควิด" พบว่า ผู้ที่มีเลือดกรุ๊ป O จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหา Long COVID มากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าทำให้เสี่ยงมากกว่าราว 6 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่น 95% ตั้งแต่ 1.6-23 เท่า)

นอกจากนี้ยังมีจำนวนอาการผิดปกติต่างๆ มากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่นอีกด้วย ทั้งนี้พบว่าผู้ที่มีเลือดกรุ๊ป O จะมีค่าสารเคมีในเลือดที่บ่งถึงการเกิดกระบวนการอักเสบมากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่น  แม้การศึกษานี้มีจำนวนกลุ่มประชากรที่ศึกษาไม่มากนัก แต่ก็ให้ผลการศึกษาที่น่าสนใจ และน่าติดตามว่าจะมีการศึกษาขนาดใหญ่ในอนาคตที่จะพิสูจน์ให้เห็นผลที่สอดคล้องกันหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ปัญหา "ลองโควิด" Long COVID เป็นเรื่องจริงและทำให้ประเทศทั่วโลกต้องเตรียมรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม

การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
WHO Webinar on "Scientific strategies from recent outbreaks to help us prepare for Pathogen X" องค์การอนามัยโลกกำลังจะจัดประชุมเพื่อพัฒนาแนวทางรับมือโรคระบาดในอนาคต ในวันจันทร์และอังคารที่จะถึงนี้ 29-30 สิงหาคม 2565 เนื้อหาการประชุมจะมีการทบทวนประสบการณ์ทั่วโลกที่ได้เรียนรู้จากการรับมือโรคระบาดหลายชนิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา 
ทบทวนข้อมูลความรู้วิชาการ วิธีการจัดการโดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ คาดการณ์อนาคตว่าการระบาดทั่วโลกจะเป็นไปในลักษณะใด
รวมถึงการวางแผนรับมือการระบาด ทั้งที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น และที่จะเกิดขึ้นโดยที่ไม่คาดคิด

นอกจากนี้ยังจะมีการหารือถึงแผนการศึกษาวิจัยที่จำเป็น และระบบการสนับสนุนให้เกิดการศึกษาวิจัยให้ตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ใครสนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมรับฟังได้ฟรีในเว็บไซต์องค์การอนามัยโลกครับ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อลงไปได้มาก

อ้างอิง
Diaz-Salazar S et al. Blood group O is associated with post-COVID-19 syndrome in outpatients with a low comorbidity index. Infectious Diseases. 27 August 2022.

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/covid-19-updated/527788?adz=

 

15 ส.ค. 2565 – ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวันว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 1,663 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยในประเทศ 1,663 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 0 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,398,653 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน2,335 ราย หายป่วยสะสม 2,401,480 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 20,256 ราย เสียชีวิต 30 ราย เสียชีวิตสะสม 10,160 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 937 ราย

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ฝากกระทรวงสาธารณสุข ความห่วงใยถึงผู้หายป่วยแล้ว อาจพบภาวะลองโควิด (Long Covid) ซึ่งเป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยที่เคยเป็นโควิด-19 และรักษาจนหายแล้ว มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองหากเกิดภาวะดังกล่าวเช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย สมองล้า หัวตื้อ (brain fog) หายใจติดขัด และอาจมีอาการอื่นๆ ประกอบ เช่น เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ ท้องเสีย อย่างไรก็ตามอาการลองโควิด (Long Covid) จะค่อยๆ ดีขึ้นตามระยะเวลา

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า สำหรับผู้สงสัยว่ามีอาการลองโควิดใน กทม. สามารถสอบถามและเข้ารับบริการปรึกษาผ่านคลินิก (Long Covid) ติดตามอาการแบบ One Stop Service ผ่านศูนย์ BFC ทั้ง 9 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลลาดกระบัง โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธฺโร อุทิศ และโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ หรือบริการผ่าน App “หมอ กทม.” ซึ่งจะครอบคลุมการให้คําปรึกษา การตรวจประเมิน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจพิเศษ การวินิจฉัย การดูแลรักษา ติดตามอาการ รวมถึงการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (ในกรณีจําเป็น) โดยเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิของผู้ป่วยได้.

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/200650/

 

 
 


เมื่อวันที่ 15 ส.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายที่ 5 ว่า ผู้ติดเชื้อเป็นหญิงไทยเดินทางกลับมาจากดูไบ มีประวัติความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศเห็นความผิดปกติและขอให้มาแยกกักและส่งเชื้อไปตรวจและพบเชื้อ ขณะนี้นำเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลเรียบร้อย เห็นว่าตั้งแต่เราพบฝีดาษลิงในไทยมา 5 ราย พบว่า 3 คนเป็นคนไทย 2 คนเป็นต่างชาติ แต่ทุกคนมีประวัติเรื่องนั้นหมด เราก็รู้ว่าถ้าประชาชนทั่วไปถ้าไม่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือไม่เลือกก็จะไม่มีปัญหาอะไรแน่นอน โรคนี้อาจดูน่าเกลียดน่ากลัว แต่ถ้าไม่มีโรคแทรกก็หายได้เร็วหายได้เอง

 
ถามว่ารายนี้รู้ตัวว่าติดเชื้ออยู่แล้วเดินทางกลับมาหรือเพิ่งมารู้ นายอนุทินกล่าวว่า ดูจากสภาพแผลก็ไม่ใช่เพิ่งเกิด เขาเดินทางเข้ามา เราไม่รู้ระบบการคัดกรองผู้โดยสารต้นทาง แต่เมื่อมาถึงด่านควบคุมโรคฯ ที่สุวรรณภูมิเห็นก็เชิญมากักกันโรคทันที นี่คือประสิทธิภาพของประเทศไทยและส่งรายงานทันที และติดตามคนที่นั่งข้างๆ มาเฝ้าระวัง เป็นระบบที่มั่นคงของ สธ.อยู่แล้ว

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ป่วยรายที่ 5 เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี เดินทางจากดูไบมาถึงไทย ผ่านจุดคัดกรอง เจ้าหน้าที่ด่านพบผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยเพลีย มีตุ่มที่ใบหน้าและแขน 2 ข้าง จึงเรียกผู้ป่วยเข้ารับการตรวจคัดกรอง จากการสอบถามผู้ป่วยมีประวัติเสี่ยงคือ ระหว่างอยู่ที่ต่างประเทศมีประวัติเปลี่ยนคู่นอน เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. พบมีตุ่มขึ้นที่อวัยวะทั่วร่างกาย จากนั้นเริ่มมีไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ได้รับการรักษาโดยการฉีดยาฆ่าเชื้อไม่ทราบชนิด แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงเดินทางกลับประเทศไทย
 
 

นักไวรัสวิทยาระบุผู้ฉีดวัคซีนโควิดแล้วไปติดเชื้อมา ถ้าหายดีไม่มีอาการ Long COVID ถือเป็นผู้โชคดี เพราะจะมีภูมิคุ้มกันแม้จะไม่ใช่ถาวร

18 ส.ค.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนโควิดแล้วเผลอไปติดเชื้อมา ถ้าหายแล้วและไม่มีอาการ Long COVID จะถือว่าเป็นผู้ที่โชคดีครับ เพราะภูมิคุ้มกันบริเวณที่ภูมิจากวัคซีนไปไม่ถึงที่ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือในจมูกของเราจะได้รับภูมิที่ธรรมชาติให้มา และเนื่องจากจมูกเป็นส่วนของร่างกายที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อและเพิ่มจำนวนของไวรัสการที่มีภูมิคุ้มกันที่พร้อมรบ ภูมิดังกล่าวที่ได้มาก็จะช่วยเรารบในการติดเชื้อซ้ำครั้งต่อไป ถึงแม้จะเกิดขึ้นได้อีก การเพิ่มจำนวนของไวรัสก็จะไม่มากเท่าเดิม

หลังติดเชื้อนอกจากในจมูกของเราจะมีแอนติบอดีชนิด IgA รอจับไวรัสในจมูกแล้ว งานวิจัยชิ้นล่าสุดของทีมสิงคโปร์นำเซลล์ในเยื่อจมูกของผู้ที่ได้รับวัคซีนกับผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วติดเชื้อไปเปรียบเทียบดูพบว่า ผู้ที่เคยสัมผัสกับไวรัสตัวจริงในบริเวณจมูกมีเม็ดเลือดขาว T cell ที่จำโปรตีนของไวรัสได้หลายชนิด ที่ไม่จำกัดแค่โปรตีนสไปค์เท่านั้น เม็ดเลือดขาวเหล่านี้ถ้าไปเจอเซลล์ที่มีโปรตีนที่จำได้อีกครั้งก็จะเข้าทำลายไม่ให้ไวรัสมีเวลาเพิ่มจำนวนได้มากมายเหมือนก่อนที่ตำแหน่งในจมูกนั้นเอง ทีมวิจัยพบว่าในบรรดาโปรตีนที่ T cell ในจมูกจำได้แม่น และจำนวนเยอะที่สุดคือ โปรตีนชื่อว่า Nsp12 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ไม่ได้อยู่ในวัคซีนสูตรใดๆ ถ้าไม่เคยติดเชื้อเราไม่มีทางมี T cell ที่รู้จักโปรตีนตัวนี้ ที่สำคัญคือ ไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์หนีภูมิอย่างไร Nsp12 ดูเหมือนจะอยู่นิ่งมาก ไม่เปลี่ยนแปลงไปเหมือนสไปค์ ดังนั้นสิ่งที่ T cell จำได้ก็จะใช้งานได้อยู่

แต่น่าเสียดายที่ T cell ในจมูกหลังติดเชื้อลดลงไปตามกาลเวลาเหมือนแอนติบอดี ทีมวิจัยพบว่า ระดับของ T cell ยังไม่เปลี่ยนแปลง 3 เดือนหลังติดเชื้อแต่พอดูอีกทีที่ 6 เดือนพบว่า ระดับลดลงไปมากกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่เห็นคนติดเชื้อซ้ำแล้วมีอาการได้หลังจากติดเชื้อไปนานๆแล้วนั่นเอง
https://rupress.org/.../SARS-CoV-2-breakthrough-infection...

 
  

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/202785/

 

 
"ติดโควิด" หายแล้ว ไม่เจอภาวะ ลองโควิด เพราะอะไร โชคดี หรือ มีภูมิ
 
 

ดร.อนันต์ เปิดผลวิจัย "ติดโควิด" หายแล้ว ไม่เจอภาวะ "ลองโควิด" Long Covid เป็นเพราะอะไร โชคดี หรือ มีภูมิคุ้มกัน

หากพูดถึงภาวะ ลองโควิด (Long COVID) เชื่อว่า หลายคนน่าจะรู้จักกันดีแล้ว โดยเฉพาะคนที่เคยติดโควิด คงรู้สึกกังวล เพราะไม่อยากต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ถึงแม้ว่าเชื้อโควิด จะหายจากร่างกายไปแล้ว แต่บางอาการกลับไม่หายไปด้วย และทำให้ผู้ที่หายป่วยบางราย ยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิม ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง แล้วคนที่เคยติดโควิด มีโอกาสที่จะไม่เจอภาวะ ลองโควิด หรือไม่ 

(18 ส.ค.2565) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยาไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค Anan Jongkaewwattana ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนโควิด แล้วเผลอไปติดโควิดมา ถ้าหายแล้วและไม่มีอาการ ลองโควิด Long COVID จะถือว่าเป็นผู้ที่โชคดี เพราะภูมิคุ้มกันบริเวณที่ภูมิจากวัคซีนไปไม่ถึงที่ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือ ในจมูกของเราจะได้รับภูมิที่ธรรมชาติให้มา และเนื่องจากจมูกเป็นส่วนของร่างกายที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อ และเพิ่มจำนวนของไวรัสการที่มีภูมิคุ้มกันที่พร้อมรบ ภูมิดังกล่าวที่ได้มาก็จะช่วยเรารบในการติดเชื้อซ้ำครั้งต่อไป ถึงแม้จะเกิดขึ้นได้อีก การเพิ่มจำนวนของไวรัสก็จะไม่มากเท่าเดิม

 

ดร.อนันต์ ระบุว่า หลังติดเชื้อ นอกจากในจมูกของเราจะมีแอนติบอดีชนิด IgA รอจับไวรัสในจมูกแล้ว งานวิจัยชิ้นล่าสุดของทีมสิงคโปร์ นำเซลล์ในเยื่อจมูกของผู้ที่ได้รับวัคซีน กับ ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วติดเชื้อไปเปรียบเทียบดู พบว่า ผู้ที่เคยสัมผัสกับไวรัสตัวจริงในบริเวณจมูก มีเม็ดเลือดขาว T cell ที่จำโปรตีนของไวรัสได้หลายชนิด ที่ไม่จำกัดแค่โปรตีนสไปค์เท่านั้น เม็ดเลือดขาวเหล่านี้ ถ้าไปเจอเซลล์ที่มีโปรตีนที่จำได้อีกครั้ง ก็จะเข้าทำลายไม่ให้ไวรัสมีเวลาเพิ่มจำนวนได้มากมาย เหมือนก่อนที่ตำแหน่งในจมูกนั้นเอง 

ทีเซล

ทีเซล

ทีมวิจัยพบว่า ในบรรดาโปรตีนที่ T cell ในจมูกจำได้แม่น และจำนวนเยอะที่สุดคือ โปรตีนชื่อว่า Nsp12 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ไม่ได้อยู่ในวัคซีนสูตรใด ๆ ถ้าไม่เคยติดโควิด เราไม่มีทางมี T cell ที่รู้จักโปรตีนตัวนี้ ที่สำคัญคือ ไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์หนีภูมิอย่างไร Nsp12 ดูเหมือนจะอยู่นิ่งมาก ไม่เปลี่ยนแปลงไปเหมือนสไปค์ ดังนั้น สิ่งที่ T cell จำได้ก็จะใช้งานได้อยู่ แต่น่าเสียดายที่ T cell ในจมูกหลังติดเชื้อลดลงไปตามกาลเวลาเหมือนแอนติบอดี 

นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพบว่า ระดับของ T cell ยังไม่เปลี่ยนแปลง 3 เดือน หลังติดเชื้อ แต่พอดูอีกทีที่ 6 เดือนพบว่า ระดับลดลงไปมากกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่เห็นคนติดเชื้อซ้ำแล้วมีอาการได้ หลังจากติดเชื้อไปนาน ๆ แล้วนั่นเอง

ทีเซล

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/covid-19-updated/526655?adz=

"โอไมครอน" เปิด ผลวิจัย น่ากังวล ไม่เคยรู้มาก่อน เด็ก ต้องเจอ หนักถึงขั้นนี้
 

เปิด ผลวิจัย ไวรัสสายพันธุ์ "โอไมครอน" Omicron น่ากังวล เกี่ยวกับ เด็ก ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ถึงขั้น ความจำเสื่อม

อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด โดยเฉพาะสายพันธุ์ "โอไมครอน" Omicron ถึงแม้จะพบแนวโน้มว่า การระบาดจะลดลง แต่ก็ยังมีสิ่งที่น่ากังวลออกมาเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่คาดคิด ทั้งเรื่องความสามารถในการแพร่กระจายของสายพันธุ์โอไมครอน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ๆ และปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เกี่ยวกับอาการโควิด ที่บางคนเคยเป็น ซึ่งล่าสุด งานวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญนานาประเทศ ก็พบว่า เด็กสามารถรับเชื้อโอไมครอนทางจมูกได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า และปัญหาการ ไม่ได้กลิ่นหลังติดเชื้อ อาจบ่งบอกถึงปัญหาทางสมอง-ความจำในอนาคต

สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้รวบรวมบทสรุปของ ผลการศึกษาล่าสุด เกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งรวมถึงผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ และน่าจะนำไปสู่การค้นคว้าเพิ่มเติม รวมทั้ง รายงานที่ยังรอการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญรายอื่น ๆ ก่อนจะมีการตีพิมพ์ ไว้ดังนี้

 
 

1. เด็ก รับเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทางจมูกได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น

การศึกษา ระบุว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน อาจแพร่เชื้อไปสู่เด็กผ่านทางจมูกได้ง่ายกว่าโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ โดยในช่วงต้นของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จมูกของเด็กรับเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโควิด-19 ได้น้อยกว่าจมูกของผู้ใหญ่ โดยการศึกษาเชื้อไวรัส ซาร์ส-โควี-ทู สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์อื่น ๆ พบว่าเซลล์เยื่อบุจมูกของเด็ก ๆ มีภูมิคุ้มกันไวรัสเหล่านั้นได้ดีกว่าเซลล์เยื่อบุจมูกของผู้ใหญ่ และไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวก็ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้มากเมื่ออยู่ในจมูกของเด็ก ๆ

เด็กป่วยโควิด

เด็กป่วยโควิด

ทั้งนี้ การทดลองในหลอดทดลองเมื่อเร็ว ๆ นี้ เปิดเผยผลการทดลอง ที่ผสมไวรัสกับเซลล์จมูกจากเด็กสุขภาพดี 23 คน และผู้ใหญ่สุขภาพดี 15 คน พบว่า การต้านไวรัสในจมูกของเด็ก “เด่นชัดน้อยกว่าในกรณีของ โอไมครอน Omicron” นักวิจัยรายงานเมื่อวันจันทร์ใน PLOS Biology ระบุว่า Omicron สามารถแบ่งตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในเซลล์เยื่อบุจมูกของเด็ก เมื่อเทียบกับทั้ง Delta และไวรัสดั้งเดิม 

2.การรับรู้กลิ่นที่มีปัญหาอาจเป็นสัญญาณปัญหาสมองและความจำในอนาคต

การศึกษาอีกชิ้นจากประเทศอาร์เจนตินา ระบุว่า ระดับความรุนแรงของความผิดปกติในการรับรู้กลิ่นหลังการติดเชื้อโควิดนั้น อาจเป็นสิ่งที่ทำนายภาวะถดถอยทางสมองในระยะยาวได้ โดยนักวิจัยได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มจำนวน 766 คน ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี โดยประมาณ 90% ในจำนวนนี้เคยติดเชื้อโคโรนาไวรัสมาแล้ว

นักวิจัยได้ทำการการทดสอบทางกายภาพ ความรู้ความเข้าใจ และอาการทางจิตประสาทของคนกลุ่มนี้เป็นเวลา 3-6 เดือน หลังจากการติดเชื้อโควิด และพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ที่เคยติดเชื้อมีอาการ "ความจำเสื่อม" ในระดับหนึ่ง และหลังจากพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของแต่ละบุคคล เช่น การสูญเสียการรับรู้กลิ่นอย่างรุนแรง หรือ Anosmia แล้ว ก็ทำให้สามารถทำนายภาวะถดถอยทางสมองได้อย่างมีนัยสำคัญ 

กาบรีเอลา กอนซาเล-อาเลแมน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Pontificia Universidad Catolica Argentina ในกรุงบัวโนสไอเรส เปิดเผยว่า ยิ่งมีข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุ หรืออย่างน้อยก็คาดการณ์ได้ว่า ใครจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะถดถอยทางสมองในระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญจากการติดเชื้อโควิด-19 เราก็จะสามารถจะติดตามและเริ่มพัฒนาวิธีการป้องกันได้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ข้อมูลเหล่านี้ สอดคล้องกับจำนวนการติดเชื้อในเด็กที่เพิ่มขึ้นในช่วงคลื่นโอไมครอน Omicron ซึ่งนักวิจัยเขียนในขณะที่เรียกร้องให้มีการศึกษาเพิ่มเติม

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/covid-19-updated/526863?adz=