พิมพ์
Font Size

                โรคความดันโลหิตสูง ระยะแรกอาจไม่แสดงอาการที่ชัดเจน เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียง เหนื่อยง่ายเป็นครั้งคราว ทำให้ผู้ป่วย ไม่ค่อยตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เช่น

  1. “อายุ” เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้นตาม
  2. พันธุกรรม
  3. อารมณ์ และ ความเครียด
  4. “อาหาร” ผู้ที่กินเกลือมากจะส่งผลให้มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าคนที่กินเกลือน้อย

                องค์การอนามัยโรคกำหนดว่าผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับแรงดันของการบีบตัวของหัวใจ (systolic) สูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ แรงดันของการคลายตัวของหัวใจ (diastolic) สูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าป่วยเป็น โรคความดันโลหิตสูง ต้องไปพบแพทย์ และต้องมีการควบคุมอย่างจริงจังเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังอาจนำไปสู่ อาการแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้หลายอย่างเช่น

  • ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก
  • ภาวะหลอดเลือดแดงตีบที่กล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart failure) และหลอดเลือดสมองตีบเกิดอาการอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต รวมทั้งหลอดเลือดแดงในไตตีบเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง

                ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวายร้อยละ 60-75 เสียชีวิตจากหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ แตกร้อยละ 20-30 และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10 เป็นต้น ข้อแนะนำใน

การควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ไม่ให้ลุกลามเรื้อรังคือ

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้สูงเกินไป
  2. ควบคุมปริมาณโซเดียมหรือเกลือในอาหารให้ไม่เกิน 2,300 มิลลิกรรมต่อวัน  เช่น กินเกลือแกงวันละไม่เกิน 1 ช้อนชา (มีโซเดียมประมาณ 2,300 มิลลิกรรม) น้ำปลาหรือซีอิ้วไม่เกินวันละ 5-6 ช้อนชา
  3. กินผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืช เป็นประจำในปริมาณที่เหมาะสม
  4. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ งดบุหรี่ เป็นต้น