พิมพ์
Font Size

วัคซีน HPV ควรฉีดหรืไม่ควรฉีด

 

                ไวรัส HPV (Human papilloma virus) มีหลายสายพันธ์แต่มี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ HPV16 และ

HPV18 ที่ผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก (cervical cancer) สูงถึง 70-75% ส่วนอีก 2 สายพันธุ์ คือ

HPV6 และ HPV11 เป็นสาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์  (genital warts) โรคมะเร็งปากมดลูกจัด

เป็นโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในสตรีเป็นอันดับที่ 4 รองจากโรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งเต้านม

วัคซีน HPV ได้ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2549 และถูกบรรจุให้อยู่ในแผนการควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ ระยะแรก

มีการให้วัคซีนแก่นักเรียนระดับมัธยมปีที่ 5 ทั้งประเทศจำนวน 400,000 คน เนื่องจากองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า

วัคซีนมีผลดีกับสตรีอายุ 9-14 ปี ซึ่งจะให้ผลการป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ถึง 90%

 

                วัคซีน HPV มีทั้งชนิดที่ป้องกันไวรัส 2 สายพันธุ์  (HPV16 และ HPV18) หรือ bivalent และที่ป้องกันทั้ง 4 สายพันธุ์

(quadrivalent) สำหรับสตรีอายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องได้รับวัคซีน 2 ครั้ง หลังการฉีดวัคซีนครั้งแรก 6 เดือน ส่วนสตรีอายุเกิน 15 ปี

จะต้องได้รับการฉีด 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 2 หลังการฉีดครั้งแรก 1-2 เดือน และ อีกครั้งหลังฉีดครั้งแรก 6 เดือน

 

 

                แม้ว่า วัคซีน HPV จะมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก แต่อาการข้างเคียง (side effects) จากการ

ได้รับวัคซีนก็มีอยู่เช่นกันที่พบบ่อย ได้แก่ เจ็บ บวม แดง และคัน บริเวณที่ฉีดวัคซีน แต่โดยทั่วไปก็จะหายได้เอง อาการอื่นๆที่พบบ่อย

เช่น ได้แก่มีไข้ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย และมีผื่นแดง แต่อาการเหล่านั้นจะหายได้เองเช่นกัน ส่วนอาการแพ้วัคซีนที่รุนแรง

จนถึงแก่การเสียชีวิตพบได้น้อยมาก ประมาณ 2.6 ใน 10,000 จากข้อมูลนี้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นระงับการแนะนำให้ฉีดวัคซีนให้แก่นักเรียน

สำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณะสุขแนะนำให้การฉีดวัคซีนเป็นไปตามความสมัครใจ พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองจะเป็นผู้ตัดสินใจว่า

จะให้ลูกได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่