Font Size

            องค์การอนามัยโลกจัดไวรัสตับอักเสบบี (HepB) เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลกเนื่องจากผู้ได้รับเชื้อมีความเสี่ยงสูง จากการเสียชีวิตด้วยโรคตับแข็ง และ มะเร็งตับ ประมาณว่า ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีเรื้อรัง 240 ล้านคน และทุกปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคตับแข็งและมะเร็งตับไม่น้อยกว่า 686,000 คน

                สำหรับประเทศไทยมีรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีประมาณ 3 ล้านคน  ในจำนวนนั้น 90-95 % อยู่ในสภาวะ ติดเชื้อเฉียบพลัน สามารถรักษาได้ ส่วนอีก 5-10 % อยู่ในสภาวะติดเชื้อเรื้อรัง ซึ่งจะนำไปสู่โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้

                ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีจะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด และในน้ำคัดหลั่งต่างๆของร่างกายดังนั้นการติดต่อจึงเกิดได้หลายช่องทาง เช่น การได้รับเลือดจากผู้ที่ติดเชื้อจากการรักษา การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัก การใช้มีดโกนร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนั้นไวรัสยังสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ จากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารกขณะคลอด ด้วย

ข้อมูลของปี 2555 พบว่า ชายไทยเป็นมะเร็งตับ และ มะเร็งท่อน้ำดี เป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขณะที่หญิงไทยมะเร็งตับเป็นอันดับ 5 รองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ มะเร็งปอด

                วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีทำได้หลายวิธี โดยเฉพาะ จะต้องลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อดังกล่าวแล้ว ผู้หญิงมีครรภ์ควรได้รับการตรวจสภาวะการติดเชื้อไวรัสเพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อทารกขณะคลอดและทารกที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อไวรัสต้องได้รับการฉีกวัคซีนเพื่อได้รับ แอนติบกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัสทันที่ที่คลอดเพื่อกำจัดไวรัส สำหรับผู้ใหญ่ทุกคนควรได้รับการฉีกวัคซีน ปัจจุบันการตรวจเลือด ทางห้องปฏิบัติการสามารถบอกได้ว่าควรได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่หรือควรได้รับการดูแลอย่างไรถ้ามีการติดเชื้อแล้ว เป็นต้น การฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม ในช่วงเวลา 6 เดือน  หรือ 4 เข็มในเวลา 1 ปี วัคซีนมีประสิทธิภาพสูงถึง 95 % และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นาน 5 ปี หลังจากนั้นจึงควรมีการฉีดกระตุ้นซ้ำทุก 5 ปี  เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านการติดเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่อง