Related image

 

          เนื้อปลาแซลมอน เป็นอาหารยอดนิยมในประเทศไทยมากว่า 20 ปี โดยเฉพาะในอาหารญี่ปุ่น ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของปลาสด เนื้อปลารมควัน หรือเนื้อปลาย่าง ปลาแซลมอน ซึ่งเคยมีราคาแพงมาก ปัจจุบันราคาต่ำกว่า เนื้อปลาบางชนิดในทะเลไทยเนื่องจากปลาแซลมอน ที่นำเข้ามาเกือบทั้งหมดมาจากฟาร์มเลี้ยงปลา ที่ใหญ่มากในประเทศยุโรป โดยเฉพาะประเทศนอร์เวย์ ทำให้มีราคาถูกมาก ขณะที่ปลาแซลมอนที่จับได้จากธรรมชาติจะมีราคาแพงมาก ความนิยมกินปลาแซลมอนมาจากข้อมูลที่ว่า ปลาแซลมอนมีกรดไขมัน โอเมกา-3 สูง มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

          มีรายงานพบว่าเนื้อปลาแซลมอนเป็นหนึ่งในเนื้อสัตว์ที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุดเนื่องจากฟาร์มมีการเลี้ยงอย่างแออัด ทำให้ต้องใส่สารเคมีและยาปฏิชีวนะลงในบ่อปริมาณมาก เพื่อกำจัดปรสิตและแบคทีเรียหลายชนิด มีรายงานว่าเนื้อปลาแซลมอนที่ขายในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีสาร polychlorinated biphenyls (PCB) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งขณะที่เนื้อปลาแซลมอนในธรรมชาติที่มีสีชมพูเนื่องจาก ปลากินกุ้งตัวเล็กๆและสาหร่ายทะเล แต่ปลาแซลมอนจากฟาร์มกินอาหารที่ให้สีจำพวก astaxanthin และ canthaxanthin ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบประสาท และยังมีรายงานว่าเนื้อปลาแซลมอนจากฟาร์ม มีกรดไขมัน โอเมกา-3 น้อยกว่าเนื้อปลาแซลมอนธรรมชาติถึง 3 เท่า แต่มีสารก่อมะเร็งจากฟาร์มเลี้ยงสูงกว่าเนื้อปลาแซลม่อนธรรมชาติถึง 16 เท่า และมากกว่าเนื้อวัว 4 เท่า

          การกินอาหารให้ปลอดภัยจึงต้องกระจายความเสี่ยงโดยกินให้หลากหลายและกินพอประมาณจะช่วยให้โอกาสปลอดภัยจากโรคร้ายมากขึ้น

 

 

          ไข่เป็นอาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก ไข่มีราคาถูก ปรุงอาหารได้ง่าย และย่อยง่ายแม้ไข่จะมีโคเลสเตอร์รอลสูง (ไข่ 1 ฟองมีโคเลสเตอร์รอลประมาณ 200 มิลลิกรัม) แต่มีไขมันอิ่มตัวน้อย ไข่ 1 ฟองให้พลังงาน 72 calories มีโปรตีน 6 กรัม มีไขมันไม่อิ่มตัว 5 กรัม ไข่ไม่มีแป้งแต่มีสารต่างๆ ที่ร่างกายต้องการมากมาย เช่น โซเดียม (71กรัม) , ฟอสฟอร์รัส โพแทสเซียม วิตามิน A , D และวิตามิน B อีกหลายชนิด มีสาร Lutein และ zeaxanthin ที่ช่วยรักษากล้ามเนื้อไม่ให้เสื่อมเร็ว ไข่แดงมี Choline สูงที่ช่วยทำให้สมองและประสาทมีสุขภาพดี

          ล่าสุดมีงานวิจัยหลายชิ้นที่รายงานในวารสารทางวิชาการ แสดงให้เห็นว่าการกินไข่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาทิเช่น ได้มีการศึกษาติดตามประชาชนทั้งหญิงและชาย ที่ไม่มีประวัติโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 30,000 คน การกินไข่ประจำเพียงเล็กน้อย แค่วันละครึ่งฟองก็มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคสมองขาดเลือด (stroke) และ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร และมีรายงานการศึกษาอีกครั้งหนี่ง พบว่าการกินไข่วันละครึ่งฟอง หรือ สัปดาห์ละ 3 ฟอง จะมีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มจากปกติ 6% นอกจากนั้น มีรายงานผลการศึกษาในอาสาสมัครที่ได้รับ โคเลสเตอร์รอลในอาหารวันละ 300 มิลลิกรัม (ไข่แดงมีโคเลสเตอร์รอล 200 มิลลิกรัม) นาน 17.5 ปี พบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 17% ทำให้ไข่กำลังถูกมองว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

          แต่มีผลวิจัยที่ขัดแย้งกันอยู่มาก อาทิเช่น มีรายงานว่าการกินไข่ 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ไม่มีผลต่อระดับโคเลสเตอร์รอลในเลือดแต่อย่างใด การควบคุมระดับโคเลสเตอร์รอลในเลือดขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของบุคคลผู้ที่มีความไวต่อการดูดซึมโคเลสเตอร์รอลในอาหารสูง (hyper responders) จะดูดซึม โคเลสเตอร์รอลในอาหารได้ดีกว่าผู้ที่มีความไวน้อย (hypo responders)

          ก่อนที่จะมองว่าไข่เป็นอันตรายต่อสุขภาพควรเปรียบเทียบกับอาหารประเภทอื่นโดยเฉพาะเนื้อแดง ซ่งมีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูงมีผลโดยตรงต่อระดับโคเลสเตอร์รอลในเลือดมากกว่าไข่มาก ดังนั้นข้อแนะนำคือเพิ่มการกินอาหารจำพวก ผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ปีก ลดอาหารจำพวก เนื้อแดง นม เนย ให้น้อยลง ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลต่อการกินไข่มากเกินไปแต่อย่างใด

 

 

          มีข้อมูลจาก ผ.ศ.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ.อยุธยา หัวหน้าศูนย์สเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าในร่างกายเรามีสเต็มเซลล์หลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติไม่เหมือนกันให้กำเนิดเซลล์ต่างชนิดกัน ขึ้นอยู่กับสเต็มเซลล์ชนิดนั้นมาจากเนื้อเยื่อชนิดใดปกติ สเต็มเซลล์ของแต่ละเนื้อเยื่อจะทำหน้าที่สร้างเซลล์ใหม่ของเนื้อเยื่อชนิดนั้นขึ้นทดแทนที่สูญไปในแต่ละวันหรือหลังจากเนื้อเยื่อนั้นได้รับบาดเจ็บ สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนไปสร้างเซลล์ของเนื้อเยื่ออีกชนิดหนึ่งได้ เช่น สเต็มเซลล์เลือดไม่สร้างสมอง หรือเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ

          ปัจจุบันการนำสเต็มเซลล์ไปใช้ทางการแพทย์ ที่ได้รับการยอมรับได้แก่ การปลูกสเต็มเซลล์ของเลือดที่ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดและสเต็มเซลล์ผิวหนังในผู้ป่วยแผลไหม้เพื่อสร้างผิวหนังใหม่ นอกเหนือจากนี้การปลูกสเต็มเซลล์ระบบอื่นยังทำได้ยาก

          การฉีดสเต็มเซลล์เพื่อหวังสรรพคุณอื่นๆ เช่นลดอาการอักเสบ เพื่อการเกิดเส้นเลือดใหม่ ลดความเสื่อมของร่างกาย แก้สมองพิการ ความสวยงาม ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้เพียงพอว่าจะเกิดประโยชน์เพียงพอที่จะนำไปใช้ในเวชปฏิบัติทั่วไปและยังผิดกฎหมายด้วย

          คลินิกที่โฆษณาว่ามีการฉีด สเต็มเซลล์บอกเลยว่า 90% ปลอม ไม่รู้ว่านำอะไรมาฉีด และจากการนำสิ่ง ที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์เพื่อความงามต่างๆมาส่องดูก็ไม่พบเซลล์ซักตัวแต่กลับมีโปรตีนบางตัวที่เป็นอันตราย บางรายอาจถึงตาย มีสารกดภูมิคุ้มกันที่ฉีดแล้วอาจทำให้กระปรี้กระเปล่าแต่เป็นสารก่อมะเร็งหรือมียาสเตียรอยด์ ฉีดแล้วมีผลทำให้อวัยวะในร่างกายเสื่อม

อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจฉบับวันที่ 25 ธันวาคม 2561

 

 

                องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กินเกลือโซเดี่ยม ไม่เกินวันละ 2000 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา แต่คนไทยกินเกลือมากกว่านั้นถึง 2 เท่า ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรค หัวใจ หลอดเลือดสมองและไตวาย สูงมาก เป็นผลทำให้มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 98,976 ล้านบาท

                ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการติดเค็มถึงประมาณ 22.05 ล้านคน แบ่งเป็นกลุ่มโรคต่างๆเช่น

-           โรคความดันโลหิตสูง   13.2         ล้านคน

-           โรคหลอดเลือดสมอง    0.5           ล้านคน

-           โรคหัวใจขาดเลือด        0.75         ล้านคน

-           โรคไต                            7.6           ล้านคน

มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเค็มปีละประมาณ 20,000 คน

                ปกติเรากินอาหารวันละ 3 มื้อ ดังนั้นแต่ละมื้อควรมีเกลือโซเดี่ยมเฉลี่ยไม่เกิน 600 มิลลิกรัม

ตัวอย่างเช่น

-           บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีเกลือ 1275 มิลลิกรัม

-           โจ๊กหรือข้าวตัม 1 ชาม มีเกลือ 1263 มิลลิกรัม

-           ขนมขบเคียวต่างๆ เช่น มันฝรั่ง ปลาเส้น ข้าวเกรียบ สาหร่าย 1 ซอง มีเกลือ 200-600 มิลลิกรัม

ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือของประเทศไทยจะต้องลดการบริโภคเกลือของประชาชนลง 30 % ภายในปี 2568    

                นักวิทยาศาสตร์จีน ได้ประกาศในที่ประชุมวิชาการว่าประสพความสำเร็จในการให้กำเนิดเด็กที่ได้รับการตัดต่อยีน (gene edited babies) เป็นครั้งแรกในโลก โดยให้ชื่อเด็กที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผู้หญิงว่า Luna และ Nana เด็กทั้ง 2 คนมี DNA ที่สามารถต้านการติดเชื้อ HIV ได้ โดยการตัดต่อยีน ทำโดยเทคนิค CRISPR technology (ดูรายละเอียดวิธีการใน web site ก่อนหน้านี้)

                ขบวนการตัดต่อยีนทำโดยการตัดต่อยีนในตัวอ่อนมนุษย์ แล้วปลูกถ่ายเข้าไปในมดลูกของหญิงคนหนึ่ง ผลปรากฏว่าเด็กเกิดขึ้นมาสมบูรณ์ดี หลักการคือทำให้ยีน CCR5 ซึ่งเป็นยีนที่อยู่บนผิวของเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่เป็นตัวรับ (receptor) เชื้อไวรัส HIV และนำไวรัสผ่านผนังเซลล์เข้าไปสู่ภานในเซลล์ ไม่สามารถเป็นตัวรับเชื้อไวรัสได้อีกต่อไป ส่งผลให้เชื้อไวรัส HIV ไม่สามารถเข้าไปเพิ่มจำนวนภายในที่สุด

                อย่างไรก็ตามการวิจัยนี้ยังได้รับการวิภาควิจารณ์จากนักวิทยาศาสตร์หลายฝ่าย เนื่องจากเป็นความเสี่ยงต่อด้านของจริยธรรมเนื่องจากเด็กที่เกิดจากการได้รับการตัดต่อยีนแม้จะป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ได้แต่อาจมีความไวต่อการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ อาทิเช่น West nile virus และ Japanese encephalitis เป็นต้น นอกจากนั้นต่อไปอาจมีการสร้างเด็กที่มีการตัดต่อยีนตามความต้องการเช่น มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าเด็กทั่วไป สวยงามกว่าเด็กทั่วไป รวมทั้งมีความสามารถพิเศษอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คงจะต้องมีการติดตามการวิจัยนี้ต่อไป อาทิเช่น เด็กที่เกิดจากการตัดต่อยีนจะมีชีวิตต่อไปได้ตามปกติหรือไม่รวมทั้งจะมีผลข้างเคียงอื่นๆตามมาหรือไม่ เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น รวมทั้งปัญหาเรื่องจริยธรรมที่ต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง

 

            ยาแอสไพรินได้ถูกนำมาใช้สำหรับแก้ไข้ แก้ปวดมานานหลายสิบปี ก่อนที่จะมีการพบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของ เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ปัจจุบันจึงมีการเลิกใช้ไปแล้ว แต่คุณประโยชน์ของ             ยาแอสไพริน ก็ยังคงมีอยู่เนื่องจากมีหลักฐานว่า ยาแอสไพริน สามารถช่วยป้องกันอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart attacks) รวมทั้งมีข้อมูลว่าแอสไพรินจะช่วยลดโอกาสเป็นโรคมะเร็งของลำไส้ (colorectal cancer) ได้ กรณีที่กินยาในขนาดต่ำกว่าปกติ หรือประมาณ 80-100 มิลลิกรัม ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า baby aspirin

            อย่างไรก็ตามผู้ที่กินยาแอสไพริน ประจำก็ยังคงมีความเสี่ยงของการเลือดออกในระบบทางเดินอาหารอยู่ดี ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องตัดสินใจว่า ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพปกติควรกินยาแอสไพริน เพื่อป้องกันอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart attacks) อาการเลือดเลี้ยงสมองไม่พอ (strokes) ความจำเสื่อม (dementia) และมะเร็ง (cancer) หรือไม่ มีรายงานผลการวิจัยในประชาชนหลายเชื้อชาติเป็นระยะเวลานานกว่า 4 ปี พบว่า การกินยาแอสไพรินไม่ได้ช่วยอะไรมาก แต่อาจสร้างผลเสียมากกว่าด้วยซ้ำ จากการที่มีความเสี่ยงจากการมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร สมอง และอวัยวะอื่นๆ

            แม้ว่าจะมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าการกินยาแอสไพรินในปริมาณต่ำๆ (8-100มิลลิกรัม/วัน) จะช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็งของลำไส้ใหญ่ในผู้สูงวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวแต่ไม่ควรกินยาแอสไพรินด้วยตัวเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ มีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญว่าผู้สูงวัยที่สุขภาพดีไม่ควรเริ่มกินยาแอสไพริน หรืออาจกล่าวได้ว่า ไม่จำเป็นก็อย่าเริ่มกิน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่กำลังกินยาแอสไพรินอยู่ควรหยุดกิน และปรึกษาแพทย์ก่อน  

 

                โรคความดันโลหิตสูง ระยะแรกอาจไม่แสดงอาการที่ชัดเจน เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียง เหนื่อยง่ายเป็นครั้งคราว ทำให้ผู้ป่วย ไม่ค่อยตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เช่น

  1. “อายุ” เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้นตาม
  2. พันธุกรรม
  3. อารมณ์ และ ความเครียด
  4. “อาหาร” ผู้ที่กินเกลือมากจะส่งผลให้มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าคนที่กินเกลือน้อย

                องค์การอนามัยโรคกำหนดว่าผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับแรงดันของการบีบตัวของหัวใจ (systolic) สูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ แรงดันของการคลายตัวของหัวใจ (diastolic) สูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าป่วยเป็น โรคความดันโลหิตสูง ต้องไปพบแพทย์ และต้องมีการควบคุมอย่างจริงจังเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังอาจนำไปสู่ อาการแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้หลายอย่างเช่น

  • ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก
  • ภาวะหลอดเลือดแดงตีบที่กล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart failure) และหลอดเลือดสมองตีบเกิดอาการอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต รวมทั้งหลอดเลือดแดงในไตตีบเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง

                ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวายร้อยละ 60-75 เสียชีวิตจากหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ แตกร้อยละ 20-30 และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10 เป็นต้น ข้อแนะนำใน

การควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ไม่ให้ลุกลามเรื้อรังคือ

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้สูงเกินไป
  2. ควบคุมปริมาณโซเดียมหรือเกลือในอาหารให้ไม่เกิน 2,300 มิลลิกรรมต่อวัน  เช่น กินเกลือแกงวันละไม่เกิน 1 ช้อนชา (มีโซเดียมประมาณ 2,300 มิลลิกรรม) น้ำปลาหรือซีอิ้วไม่เกินวันละ 5-6 ช้อนชา
  3. กินผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืช เป็นประจำในปริมาณที่เหมาะสม
  4. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ งดบุหรี่ เป็นต้น

            CRISPR มีความหมายถึง “clustered regularly interspaced palindromic repeats” โดยทั่วไป CRISPR technology จะประกอบไปด้วย เอนไซม์ชนิดหนึ่งได้แก่ CAS9 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่แทนมีดผ่าตัดเข้าไปตัด DNA โดยใช้RNA เป็นตัวทำหน้าที่นำเอนไซม์ไปตัด DNA ตรงจุดที่ต้องการให้ตัด เพื่อให้ได้ โมเลกุลของ DNA ที่ต้องการ

 

                การนำทางของ RNA มีความแม่นยำสูงมากทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถใส่ส่วนของ DNA ที่สร้างขึ้นเข้าไป แทนที่ DNA ที่ถูกตัดออกไปได้อย่างถูกต้องพร้อมๆกับเอนไซม์ CAS9 จะทำหน้าที่กำจัด DNA ที่ถูกตัดออกไป เทคโนโลยีนี้นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ สามารถทำการเปลี่ยนแปลง ขจัดออก หรือจัดระเบียบใหม่ของโมเลกุลของ DNA ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดได้อย่างรวดเร็วทำให้เป็นความหวังของการนำมาใช้ในการควบคุม หรือรักษาโรคได้หลายอย่างอาทิเช่น การควบคุมประชากรยุง ซึ่งเป็นพาหะของโรคหลายโรค อาทิเช่น ยุง Genus Anopheles นำเชื้อมาลาเรีย ยุง  GenusAedes นำเชื้อโรคหลายอย่างเช่นโรค yellow fever,โรค dengue fever,โรค chikungunya , โรค west nile virus และโรค Zika ซึ่งสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนยีนของยุงเพื่อให้เสียความสามารถในการแพร่กระจายโรค เช่น การเปลี่ยนแปลงของยุงพ่อแม่ ให้ออกลูกที่เป็นหมัน เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้มีความพยายามศึกษาที่จะใช้เทคโนโลยีนี้กำจัด HIV จาก DNA ของมนุษย์การวิจัยในการที่จะนำ CRISPR เทคนิคมาใช้ในทางการแพทย์มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว อาทิเช่น การวิจัยเพื่อค้นคว้าหายาที่มีประสิทธิภาพจำเพาะในการหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด การวิจัยเพื่อเปลี่ยนแปลงยีนในเซลล์ต้นกำเนิด (stem cells) ของผู้ป่วยโรคเลือดออกไม่หยุด (hemofilia) ให้กลับมาเป็นเซลล์ปกติ หรือการวิจัยเพื่อหาวิธีการกำจัดไวรัส PERVs (porcine endogenous retrovirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีอยู่ใน DNA ของหมูโดยทั้วไป เพื่อที่จะสามารถนำอวัยวะของหมูมาปลูกถ่ายให้แก่คนได้เป็นต้น รวมทั้งการสร้างสายพันธ์ของพืชที่มียีนที่สามารถต่อต้านศัตรูพืช หรือยีนที่ทำให้พืชไม่เป็นที่สนใจของแมลง เป็นต้น หรือการสอดใส่ยีนเข้าไปใน DNA ของพืชเพื่อให้สามารถสร้างสารที่ต้องการได้จำนวนมากขึ้น เทคโนโลยีนี้เรียกรวมๆว่าวิศวกรรมพันธุศาสตร genetics engineering

 

            สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ genetically modified organisms (GMOs) นี้แม้จะมีประโยชน์มากแต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบในทางเสียหายด้วยเช่นกัน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงให้กลับสู่สภาวะเดิมทำได้ยาก สัตว์หรือพืช GMOs ที่ถูกสร้างขึ้นแล้วเมื่อมีการแพร่กระจายออกไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและภาวะแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่เรายังไม่รู้แน่ชัดจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

 

โรคไลม์ (Lyme disease)

                โรคไลม์มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย genus borrelia ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม spirochetes มี flagellum ช่วยใน

การเคลื่อนไหว ชนิดที่พบทำให้เกิดโรคได้บ่อยคือ Borrelia burgdorferi และ ยังมีชนิดอื่นๆที่พบได้เช่นกัน อาทิเช่น

B.afzelii , B. garinii และ B.burgdorferi sensu stricto etc.

                สัตว์ที่ติดเชื้อโรคไลม์ และ เป็นแหล่งกักตุนโรคมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า จำพวก สุนัข ม้า วัว ควาย เป็นต้น

รวมทั้งเคยมีรายงานการติดเชื้อในหนูด้วย เห็บ (ticks) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ Ixodes scapularis และ

I.pacificus ซึ่งได้รับเชื้อจากการกินเลือดจากสัตว์ที่เป็นตัวกักตุนโรค และนำเชื้อโรคเข้าสู่คนโดยการมากัดกินเลือดคนจาก

การที่คนเข้าไปใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่ติดเชื้อ

                อาการของโรคไลม์ในคนจะแสดงขึ้นหลังได้รับเชื้อ 2-4 สับดาห์ โดยอาการที่พบได้บ่อยคือมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว

ปวดข้อ รวมทั้งอาการ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นทำได้โดย สังเกตอาการณ์มีผื่นบวมแดงบน

ผิวหนังบริเวณที่เห็บกัด ซึ่งมีลักษณะกลมและมีขอบนูนขึ้นโดยรอบคล้ายตาวัวเรียกว่า erythema migrans หรือ       

bull-eye rash สำหรับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทำโดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Borrelia ในเลือดหรือใน

น้ำไขสันหลัง ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น enzyme immunoassay (EIA) , immunofluorescent antibody (IFA) เป็นต้น

โรคนี้สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม