พิมพ์
Font Size

 

MIC กับการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ

 

รัฐบาลเห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติแก้ปัญหาเชื้อดื้อยา

                การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการดื้อยาต้านจุลชีพไทย พ.ศ. 2560-2564 ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีการยกระดับการทำงานให้สามารถหยุดยั้งปัญหาดื้อยาทั้งประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยตั้งเป้าว่าในปี 2564 จะมีการเจ็บป่วยจากเชื้อดื้อยาลดลงร้อยละ 50

 

 

                การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียที่สามารถปรับตัวจนกลายเป็น  super bug ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ หลายชนิดทำให้การรักษาไม่ได้ผลและผู้ป่วยเสียชีวิตซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยที่สำคัญดังนี้

                1.การใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคเล็กๆน้อยๆ อย่างพร่ำเพรื่อโดยไม่จำเป็น รวมทั้งการ ได้รับยาไม่ครบตามที่แพทย์สั่งและการได้รับยาที่มีประสิทธิภาพต่ำและขนาดไม่เหมาะสม ทำให้เชื้อแบคทีเรียบางส่วนสามารถพัฒนาเป็นเชื้อดื้อยาในร่างกาย และ แพร่กระจายสู่ภายนอก

                2.การใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์เลี้ยง มีข้อมูลจากการวิจัยชี้ว่าการให้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารในสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ หมู วัว จะช่วยเร่งการเติบโตของสัตว์ ทำให้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ส่งผลให้มีการดื้อยาของเชื้อเกิดขึ้นและติดต่อสู่คนที่ทำงานใกล้ชิดกับสัตว์รวมทั้งมูลสัตว์ที่มีเชื้อดื้อยาแพร่กระจายลงในดิน ในแหล่งน้ำไปสู่พืชผักและผลไม้และเข้าสู่คนในที่สุด

 

มีรายงานเมื่อปี 2550 พบว่าผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาทั่วโลกประมาณ 10ล้านคน สูงกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง (8ล้านคน) ในจำนวนนี้ผู้เสียชีวิตจากการดื้อยาร้อยละ 90 เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย และ แอฟริกา สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข รายงานเมื่อปี 2556 พบว่าคนไทยติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะกว่า 100,000 คน เสียชีวิต 38,000 คน โดยเชื้อดื้อยาและพบบ่อยในโรงพยาบาลมี 6 ชนิดได้แก่

1.Escherichia coli ทำให้เกิดโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ และ ทางเดินอาหาร

2.Klebsiella pneumoniae ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดอักเสบ

3.Acinetobacter baumannii ทำให้เกิดโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ปอดบวม และ เข้าสู่กระแสเลือด

4.Pseudomonas aeruginosa ทำให้ติดเชื้อในหลายระบบของร่างกาย โรคเฉพาะ โรคปอดบวมและเข้าสู่กระแสเลือด

5.Staphylococcus aureus ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในเกือบทุกระบบของร่างกาย

6.Mycobacterium tuberculosis ทำให้เกิดโรควัณโรคในหลายระบบของร่างกาย เป็นเชื้อที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยปัจจุบันพบเชื้อวัณโรคดื้อยาร้อยละ 3-5

 

เชื้อดื้อยาทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยรายงานข้อมูลของสำนักงานนิเทศ และ ประชาสัมพันธ์กระทรวงสาธารณสุข ปี 2556 สรุปไว้ดังนี้

               

 

1.อัตราติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ

2.อัตราการเสียชีวิต

3.ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น

4.มูลค่าปฏิชีวนะ

5.ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

กว่า 100,000 คน

       38,481 คน

       3.24 ล้านวัน

กว่า 10,000 ล้านบาท

2,535-6084 ล้านบาท

 

MIC จะแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาได้อย่างไร

 

MIC =    minimum inhibitory concentration (ปริมาณความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของยาปฏิชีวนะ ที่ต้องใช้ในการ หยุดยั้งหรือกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด) โดยทั่วไปเป็นที่รู้ว่าการรักษาโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่จะได้ผลดีที่สุดประกอบด้วย

1.ต้องรู้ถึงชนิดของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค

2.ต้องรู้ชนิดของยาปฏิชีวนะที่สามารถหยุดยั้ง หรือ กำจัดแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อหาชนิดของยาปฏิชีวนะนำมาให้ในการรักษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ การเพาะเชื้อแบคทีเรีย(culturing)การทดสอบเพื่อจำแนกชนิดของแบคทีเรีย (identification) และการ ทดสอบเพื่อวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ (sensitivity testing) วิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีข้อด้อยที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก และไม่สามารถระบุ ขนาดของยาปฏิชีวนะ ที่จะให้ผลการรักษาที่ดีที่สุดในผู้ป่วยแต่ละคน

 

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถลดเวลาและขั้นตอนดังกล่าวแล้วได้ด้วยเครื่อง VITEK 2 Automate โดย เครื่องจะรวมขั้นตอนการวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรีย และ การวิเคราะห์ ชนิดของยาปฏิชีวนะมารวมกันทำให้สามารถลดเวลาลงได้มากพร้อมๆกันนอกจากจะบอกชนิดของยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาแล้วยังบอกถึงขนาดของยาปฏิชีวนะที่น้อยที่สุดที่จะให้ผลการรักษาที่ดีที่สุดได้ (antibiotic susceptibility)

การวิเคราะห์ที่เครื่อง VITEK 2 Automate สามารถทำได้ เช่น

1.จำแนกชื้อ Gram Negative Bacteria ได้ 159 spp.

2.จำแนกชื่อ Gram Positive Bacteria ได้ 123 spp.

3.สามารถจำแนกเชื้อแบคทีเรียที่ปกติต้องใช้วิธีพิเศษ เช่น Streptococcus suis , Francisella tularensis, yeast,anaerobic,hacek group ได้

4.รายงานผลเป็น MIC ที่จะช่วยให้แพทย์ สามารถเลือกชนิดของยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วย และ               ลดโอกาสการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผล

 

บริษัทกรุงเทพพยาธิ-แลป จำกัด ได้ทดลองนำเครื่อง VITEK 2 มาใช้บริการตั้งแต่ปลายปี 2559 ขณะนี้สามารถให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว และ เชื่อมั่นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์และผู้ป่วยโดยตรง และ เป็นส่วนหนึ่งที่จะตอบสนองต่อแผนยุทธศาสตร์การจัดการดื้อยาต้านจุลชีพของกระทรวงสาธารณสุขได้